ไมโครซอฟท์เปิดตัวคอนโทรลเลอร์สำหรับผู้พิการ Xbox Adaptive Controller รุ่นปรับปรุงใหม่ ซึ่ง เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 เพื่อให้เกมสามารถเข้าถึงได้กับทุกคน โดยเพิ่มการรองรับอุปกรณ์เสริมใหม่ผ่านการเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัว Proteus Controller ซึ่งออกแบบโดยทีม Xbox ร่วมกับทีม Byowave มีชิ้นส่วนซึ่งสามารถถอดประกอบสลับชิ้นส่วนให้รองรับความต้องการ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงของแต่ละคน ใช้งานได้ทั้งกับ Xbox และพีซี โดย Byowave บอกว่าสามารถปรับแต่งได้นับ 100 ล้านรูปแบบ (รวมกับสี LED)
Tamás Nemes เป็นเด็กหนุ่มชาวเยอรมันวัยเพียง 18 ปี สิ่งที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในระดับประเทศคือผลงานการประดิษฐ์กล้องห้อยคอที่มาพร้อมระบบ computer vision ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยจำแนกสิ่งที่กล้องมองเห็นและจำแนกวัตถุในภาพเหล่านั้น
การจำแนกวัตถุจากภาพของกล้องนั้นทำไปเพื่อบอกเสียงแจ้งเตือนแก่ผู้ใช้ซึ่งมีปัญหาด้านการมองเห็นให้ได้รับรู้ว่ามีกีดขวางอะไรอยู่รอบตัวผู้ใช้บ้าง และช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ดีขึ้น
นักวิจัยจาก University of Utah ร่วมกับ Ottobock ผู้ผลิตขาเทียมรายใหญ่ที่สุดของโลก พัฒนาขาเทียมแบบใหม่ Utah Bionic Leg ที่มาพร้อมปัญญาประดิษฐ์ในตัว ช่วยให้มันสามารถปรับการทำงานให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ใช้ได้
ตัว Utah Bionic Leg มีมอเตอร์ไฟฟ้า, ชิปประมวลผล และระบบปัญญาประดิษฐ์ในตัวซึ่งจะเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวของผู้ใช้และปรับการทำงานของตัวมันเองให้สอดคล้อง หากผู้ใช้เดินเร็วขึ้น มันจะเคลื่อนไหวข้อต่อจุดหมุนทั้งบริเวณเข่าและข้อเท้าให้เร็วขึ้นตามจังหวะการเดินทั้งยังช่วยเสริมแรงในจังหวะก้าวเดินให้ผู้ใช้ด้วย คล้ายกับการเดินของคนที่ขาปกติที่มีการออกแรงส่งจากกล้ามเนื้อขาและเท้าในระหว่างการเดิน
ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่โดดเด่นในแง่อุปกรณ์เสริมสำหรับผู้พิการ เริ่มตั้งแต่ Xbox Adaptive Controller ในปี 2018 ตามด้วย Surface Adaptive Kit ในปี 2021
ปีนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Adaptive Accessories ชุดอุปกรณ์เสริม เมาส์ จอยสติ๊ก และปุ่มกดหลากหลายรูปแบบ ให้เลือกประกอบและปรับแต่งตามความเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน หากยังไม่พอใจสามารถพิมพ์ 3D print ชิ้นส่วนมาประกอบเองได้อย่างอิสระด้วย
อุปกรณ์เสริมเหล่านี้จะวางจำหน่ายจริงช่วงปลายปีนี้ ยังไม่ประกาศราคา
ePARA หนึ่งในผู้จัดแข่งขันเกม eSports ในประเทศญี่ปุ่น เน้นที่การแข่งขันเกมสำหรับผู้พิการ ประกาศจัด Shingan Cup การแข่งขันเกม Street Fighter V ที่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนตาบอดสนิท แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งละ 3 คน โดย 3 คนแรกเป็นทีมงานของ ePARA และอีก 3 คนเป็นทีมนักพัฒนาเกมที่เน้นเรื่องการเข้าถึงสำหรับทุกคน
ถือเป็นมิติใหม่ของการแข่งขันเกมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นคนตาบอด เพราะเดิมทีจะมีแต่เกมดนตรี หรือเกมแนวตะลุยด่านที่ผู้เข้าแข่งตาบอดจะใช้วิธีจับจังหวะ หรือจดจำเสียงเพลง เพื่อเล่นเกมให้จบ หรือเอาชนะในการแข่งขันต่าง ๆ ได้ โดยการแข่งขัน Shingan Cup จะเกิดขึ้นในวันที่ 17 เม.ย. 2022 ถ่ายทอดสดผ่าน YouTube ของ ePARA
โครงการส่งเสริมอาชีพดิจิทัลสำหรับคนพิการ ภายใต้ความร่วมมือของ DEPA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับ Vulcan หน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนการจ้างงานคนพิการในสายงานดิจิทัล ทำบริการจับคู่คนพิการให้องค์กรและดำเนินเอกสารการจ้างงานตามมาตรา 35 ฟรี บริษัทที่อยากจ้างงานดิจิทัลผู้พิการสามารถเข้าไปลงชื่อได้ ที่นี่
เดือนตุลาคม ถือเป็น Disability Employment Awareness Month หรือเดือนแห่งการรับรู้เกี่ยวกับผู้พิการ นอกจาก ไมโครซอฟท์ ที่ออกมาประกาศสร้างชุดข้อมูลเพื่อผู้พิการแล้ว Google ก็ประกาศฟีเจอร์ใหม่ๆ บน Chromebook ที่จะทำงานตอบสนองต่อการใช้งานของผู้พิการได้ดีขึ้น ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศในบล็อกจะพัฒนาสร้าง AI และชุดข้อมูลในการฝึกสอนอัลกอริทึมให้มีการใช้งานที่ครอบคลุมคนพิการได้หลากหลายและตรงตามความจำเป็นของแต่ละคนมากขึ้น
สนามบิน Haneda ประเทศญี่ปุ่น ประกาศความร่วมมือกับสายการบิน JAL และ WHILL สตาร์ทอัพพัฒนารถวีลแชร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยจะนำรถวีลแชร์นี้มาทดสอบให้บริการกับผู้โดยสาร
รถวีลแชร์ที่นำมาทดสอบให้บริการนี้ จะอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่มีปัญหาในการเดินเป็นระยะทางไกล ๆ ตัวรถโดยควบคุมได้ง่าย เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายและหลบสิ่งกีดขวางได้เอง ทำให้ไม่ต้องมีผู้ช่วยเหลือขณะเดินทางแบบรถวีลแชร์เดิม และเมื่อถึงจุดหมายแล้วตัวรถจะกลับมายังจุดเริ่มต้นได้เอง ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่มาลำเลียงกลับ
ทั้งนี้ WHILL จะทดสอบการนำรถวีลแชร์นี้มาใช้เพิ่มเติมที่สนามบินดัลลัส (DFW) และสนามบินอาบูดาบี
Microsoft เปิดตัวคอนโซลเกมที่สามารถปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะกับผู้พิการได้ หรือ Xbox Adaptive Controller ในการพัฒนาอุปกรณ์ชุดนี้ Microsoft ระบุว่าได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเช่น มูลนิธิ AbleGamers Charity, มูลนิธิโรคอัมพาตสมอง, โรงพยาบาล Craig, SpecialEffect และ Warfighter Engaged โดยเป็นการทำงานใกล้ชิดกับคนเล่นเกมที่เป็นคนพิการจริงๆ
ในหลายครั้ง เกมเมอร์ที่มีปัญหาร่างกายบางอย่าง อาจไม่สามารถจับคันโยก หรือแช่นิ้วที่ปุ่มควบคุมได้นาน Xbox Adaptive Controller จะไม่มีคันโยก แต่เป็นแผ่นสัมผัส และปุ่มกดพื้นฐานเรียบๆ ไม่ซับซ้อน ตัวปุ่มกดสามารถปรับใช้งานให้เหมาะกับผู้เล่นแต่ละคนได้ผ่านแอพพลิเคชั่น Xbox Accessories
Xbox Adaptive Controller ราคา 99.99 ดอลลาร์ ขายเฉพาะที่ Microsoft Store
Ford เปิดตัวอุปกรณ์เสริมภายในรถชื่อว่า "Feel the View" อุปกรณ์นี้จะช่วยให้ผู้โดยสารในรถยนต์ผู้มีปัญหาทางการมองเห็นสามารถชมวิวทิวทัศน์นอกตัวรถได้
การชมวิวที่ว่านี้ไม่ใช่การเสพบรรยากาศด้วยการมอง หากแต่เป็นการสัมผัสด้วยมือ Feel the View จะทำการถ่ายภาพทิวทัศน์นอกตัวรถแบบเดียวกับที่ผู้โดยสารควรจะมองเห็นได้ผ่านกระจกด้านข้าง จากนั้นมันจะเปลี่ยนภาพถ่ายที่ได้จากภาพสีให้เป็นภาพขาว-ดำ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการสร้างการสั่นสะเทือน
Apple ได้เสนอต่อ Unicode Consortium ให้เพิ่มภาพอีโมจิที่สื่อความหมายเกี่ยวกับผู้พิการและทุพพลภาพ จำนวน 13 ภาพ
Apple บอกว่านี่ไม่ใช่ภาพอีโมจิทั้งหมดที่แทนตัวตนของผู้พิการและทุพพลภาพได้ทุกประเภท แต่อยากให้นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ท่ามกลางการสื่อสารบนโลกออนไลน์
เตือนความจำกันอีกครั้ง เผื่อว่าใครสนใจติดตามข่าวการแข่งขัน Cybathlon 2016 มหกรรมการแข่งขันมนุษย์จักรกลระดับนานาชาติ ที่ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจะเริ่มงานอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (8 ตุลาคม)
งานนี้ถูกจัดขึ้นที่ Swiss Arena Kloten เมือง Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 6 รายการ ทั้งการใช้แขนเทียม, ขาเทียม, ระบบสื่อประสาท, การควบคุมรถจักรยานหรือเล่นเกมด้วยคลื่นสมอง, ชุด exoskeleton และการควบคุมรถวีลแชร์ (ดูรายละเอียดได้จาก ข่าวเก่า )
อีก 7 เดือนข้างหน้า การแข่งขันกีฬา Cybathlon 2016 มหกรรมโอลิมปิกของมนุษย์จักรกล ก็จะเริ่มขึ้น ตอนนี้ทางผู้จัดก็เริ่มจำหน่ายตั๋วเข้าร่วมงานแล้วในราคา 16 ดอลลาร์
Cybathlon เป็นงานแข่งขันกีฬา 6 ประเภท ซึ่งมีทั้งการแข่งขันใช้แขนเทียม, ขาเทียม, ชุด exoskeleton ตลอดไปจนถึงการแข่งขันที่อาศัยคลื่นสมองในการเล่นเกม หรือใช้คลื่นไฟฟ้าในการควบคุมรถจักรยาน โดยงานนี้เจ้าภาพการจัดงานก็คือ ETH Zurich ซึ่งการแข่งขันที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2016 นี้จะมีขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม
ผู้ที่สนใจอยากไปร่วมงาน Cybathlon สามารถสั่งซื้อตั๋วเข้าร่วมงานได้ ที่นี่ หรือใครอยากไปร่วมงานในฐานะอาสาสมัครช่วยเหลือฝ่ายจัดการแข่งขันก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ที่มา - ZDNet
ปัญหาหนึ่งของผู้มีปัญหาด้านสายตาในการดำรงชีวิตประจำวันคือการเดินไปไหนมาไหนในที่ซึ่งไม่คุ้นเคย ครั้นจะดูแผนผังแผนที่แบบทั่วไปก็มองไม่เห็น ตอนนี้มีคนคิดใช้เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติมาทำแผนที่ซึ่งมีพื้นผิวสัมผัสบอกตำแหน่งและเส้นทางต่างๆ สำหรับผู้มีปัญหาด้านสายตาเหล่านี้แล้ว
เด็กชาย Alvin Garcia Flores วัย 9 ขวบเกิดมาพร้อมกับแขนซ้ายข้างเดียว ส่วนแขนขวายาวถึงข้อศอกเท่านั้น เขาเรียนอยู่ที่ Gateway Elementary School ในเมือง Omaha รัฐ Nebraska ประเทศสหรัฐอเมริกา
วันหนึ่งครูใหญ่ของโรงเรียนเห็นวิดีโอจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร Limbitless Solutions เดินทางไปมอบแขนเทียมที่แต่งเหมือนแขนของ Iron Man ให้กับเด็กชายรายหนึ่ง เขาจึงคิดถึง Alvin ทันที และเรียกเด็กมาพบพร้อมเปิดวิดีโอให้ดูด้วย Alvin บอกว่า "ผมอยากได้บ้างจัง" ครูใหญ่จึงลองเขียนจดหมายไปหาองค์กรดังกล่าว
เว็บข่าว The Sunday Times จากสหราชอาณาจักรรายงานว่า Microsoft กำลังพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ที่ถูกออกแบบมาสำหรับกลุ่มผู้มีปัญหาทางการมองเห็นโดยเฉพาะ
The Sunday Times ระบุว่าตอนนี้มีการทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวกับกลุ่มผู้ใช้ที่ตาบอดจำนวน 8 คนในเมือง Reading โดยตัวอุปกรณ์ที่ว่านี้สามารถจำแนกวัตถุที่อยู่รอบตัวผู้ใช้และแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่านทางหูฟังที่เชื่อมต่ออยู่ ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ว่ามีสิ่งใดอยู่บ้างในบริเวณนั้นแม้จะไม่สามารถมองเห็นได้
Cybathlon คือมหกรรมการแข่งขันระดับนานาชาติของเหล่ามนุษย์จักรกล ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2016 ที่เมือง Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
Cybathlon คือการแข่งขันในเชิงกีฬาของหุ่นยนต์สำหรับผู้พิการ ซึ่งพวกเขาใช้มันเพื่อประโยชน์ในการทุ่นแรงและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน และหากจะกล่าวว่าเป็นการแข่งขันของมนุษย์จักรกลก็คงไม่ผิดไปจากความจริงสักเท่าใดนัก
- Read more about Cybathlon 2016 มหกรรมโอลิมปิกของมนุษย์จักรกล
- 12 comments
- Log in or register to post comments
คณะกรรมการโทรคมนาคมของสหรัฐ (FCC - เหมือน กทช. บ้านเรา) ได้ออกกฎบังคับว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์ผ่านระบบ VoIP ต้องสนับสนุนคนพิการ โดยเฉพาะด้านการได้ยิน
กฎนี้ครอบคลุมทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์อย่าง Vonage และผู้ผลิตอุปกรณ์อย่าง Linksys ว่าอุปกรณ์, บริการ รวมไปถึงคู่มือการใช้งาน จะต้องสนับสนุนการใช้งานโดยคนพิการอย่างเต็มที่
นอกจากนี้บรรดาบริษัทยังต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน Telecommunications Relay Services (TRS) ซึ่งจะนำไปเป็นค่าจ้างของโอเปเรเตอร์ที่ช่วยโอนสายของคนพิการ (เค้าใช้วิธีส่งเป็นข้อความ) บริการโอนสายนี้เป็นบริการมาตรฐานของระบบโทรศัพท์ในสหรัฐอยู่แล้ว และ VoIP ก็ไม่มีข้อยกเว้น
ไม่รู้ว่า กทช. บ้านเรามีระเบียบพวกนี้บ้างหรือเปล่า ใครทราบช่วยเพิ่มเติมหน่อยก็ดีครับ
- Read more about ผู้ให้บริการ VoIP ในสหรัฐต้องสนับสนุนคนพิการ
- 1 comment
- Log in or register to post comments