Elon Musk และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI คนอื่นๆ มองว่าข้อมูลในโลกจริง (real-world data) สำหรับการฝึกอบรมโมเดล AI เหลือให้ใช้ไม่มากแล้ว เพราะความรู้ของมนุษย์ที่สะสมมา ถูกนำมาใช้ในการฝึกอบรม AI หมดแล้ว
เหมือนกับที่ Ilya Sutskever อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ OpenAI ที่เคยบอกว่าอุตสาหกรรม AI เข้าถึงจุดที่พีกของข้อมูล (peak data) แล้ว ซึ่งคาดว่าข้อมูลการฝึกอบรมที่มีน้อยลง จะทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการฝึกอบรมโมเดลในปัจจุบัน
แนวทางแก้ไขที่ Musk เสนอคือการใช้ข้อมูลสังเคราะห์ (synthetic data) หรือข้อมูลที่สร้างโดยโมเดล AI เอง บริษัทต่างๆ เช่น Microsoft, Meta, OpenAI และ Anthropic ได้นำแนวทางนี้ไปใช้แล้ว
ในยุคที่ Digital Transformation เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการความคล่องตัวและประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานบนแอพพลิเคชั่นต้องรองรับ Cloud-Native อย่างดี แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดด้วย IBM Fusion HCI แพลตฟอร์มที่รวมเทคโนโลยีจาก Red Hat OpenShift และ Data Services ของ IBM ช่วยให้องค์กรก้าวสู่ Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็ว ลดความซับซ้อน และมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมรองรับการทำงานร่วมกับ Virtual Machines และ Container นอกจากนี้ ยังมาพร้อม 5 Enterprise Data Services ได้แก่ Data Persistence, Data Resilience, Data Security, Data Mobility และ Data Cataloging เพื่อความครบถ้วนในการทำงานบน Cloud-Native สำหรับองค์กรที่มองหา Infrastructure ที่มีความสามารถและความยืดหยุ่นสูง IBM Fusion HCI คือทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
องค์กรจำนวนมากเตรียมรับมือยุค AI ด้วยการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ ขยายความสามารถของระบบ Data Lake ในองค์กร แต่หากสตอเรจขององค์กรไม่พร้อมก็จะนำไปสู่ข้อจำกัดทั้งด้านประสิทธิภาพ และพื้นที่สตอเรจที่รองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลไม่ไหว
IBM Storage Scale by G-Able โซลูชันสตอเรจที่รองรับทุกแอปพลิเคชันในองค์กร พร้อมกับความสามารถในการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งนโยบายการจัดเก็บข้อมูลและความปลอดภัย เปิดทางให้องค์กรสร้างแพลตฟอร์มสตอเรจได้อย่างสมบูรณ์
Cohesity ผู้ให้บริการระบบจัดการความปลอดภัยข้อมูล ประกาศซื้อกิจการส่วนธุรกิจดูแลความปลอดภัยข้อมูลจาก Veritas โดยประเมินหลังการรวมธุรกิจเข้ามาแล้วจะมีมูลค่าประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์
Sanjay Poonen ซีอีโอ Cohesity จะเป็นซีอีโอส่วนธุรกิจใหม่นี้หลังการควบรวม นอกจากนี้ Greg Hughes ซีอีโอ Veritas จะมาร่วมเป็นกรรมการบอร์ดของ Cohesity ด้วย
Cohesity กล่าวว่าดีลนี้เป็นการเสริมความแข็งแกร่งบริการจัดเก็บและดูแลความปลอดภัยข้อมูล โดยนำ AI มาช่วยในการจัดการให้กับลูกค้าองค์กรต่าง ๆ
ทั้งนี้ Cohesity ยังมีสถานะเป็นสตาร์ทอัพที่มีลูกค้าองค์กรใหญ่ระดับ Fortune 100 อยู่ 42 ราย มีผู้ลงทุนรายสำคัญ เช่น SoftBank
Lily Cohen ผู้ดูแลระบบของ Firefish Social เว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายงานถึงเหตุการณ์ข้อมูลหาย ว่าเป็นอุบัติเหตุระหว่างการจัดไฟล์คอนฟิกใหม่ ทำให้ข้อมูลสูญหาย แถมพบว่าระบบสำรองข้อมูลที่คอนฟิกเอาไว้ทำงานผิดพลาดจนข้อมูลไม่ได้ backup ไว้จริง
ปัญหาเริ่มต้นจากการย้ายไฟล์ yaml จัดโครงสร้างใหม่ แต่ปรากฎว่า yaml บางส่วนถูกจัดไปอยู่ในโฟลเดอร์ที่ ArgoCD มองไม่เห็น ส่งผลให้ ArgoCD ลบข้อมูลใน namespace ที่ถูกย้ายไฟล์คอนฟิกออกไปทั้งหมดทันที รวมถึงข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมดที่อยู่ใน Persistent Volume Claims (PVC)
ท่ามกลางประเด็นเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ARM, Baidu, Google Cloud, Intel, Microsoft, Red Hat, Swisscom และ Tencent รวมตัวกันภายใต้ Linux Foundation จัดตั้ง Confidential Computing Consortium องค์กรที่จะดูแล พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี Confidential Computing แบบโอเพนซอร์ส
เบื้องต้นเทคโนโลยีที่ถูกมอบให้กับ Consortium มี Confidential Consortium Framework ของไมโครซอฟท์ สำหรับการสร้างแอปบน TEE, ชุด SDK จาก Intel สำหรับปกป้องข้อมูลหรือโค้ดในระดับฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์ม Enarx สำหรับรันแอปบน TEE แบบ serverless
เมื่อข้อมูล (data) มีค่าดั่งน้ำมันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล นายกรัฐมนตรี Shinso Abe ของญี่ปุ่นเลยเสนอไอเดียในการสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการดูแลจัดการและขนส่งข้อมูลไปมาอย่างอิสระ (free flow of data) ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ทั้งในแง่ภัยไซเบอร์, ความเป็นส่วนตัวและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ไอเดียนี้ถูกเสนอเอาไว้ตั้งแต่ World Economic Forum ต้นปีก่อนที่จะถูกยกขึ้นมาอีกครั้งในการประชุม G20 สัปดาห์ที่แล้ว ภายใต้ชื่อ Osaka Track และคอนเซ็ป Data Free Flow with Trust และมีผู้นำจากหลายชาติ อย่าง สหภาพยุโรป, สหรัฐและจีนลงนามเห็นชอบในคอนเซ็ปนี้แล้ว โดยหลังจากนี้ก็ต้องมีการพูดคุย ตกลงเพื่อสร้างกรอบความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นรูปธรรม
ดูเหมือนว่า Facebook ยังไม่ยอมแพ้กับการเก็บข้อมูล ล่าสุดเปิดตัวแอพใหม่ Study from Facebook เป็นแอพให้ผู้ใช้งานไปติดตั้งและขอเก็บข้อมูลโดยมีเงินตอบแทน โดยมีเป้าหมายเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
โดยข้อมูลที่ Study from Facebook จะขอเก็บคือ แอพที่ผู้ใช้งานติดตั้งมีอะไรบ้าง, เวลาที่ใช้ไปกับการใช้โทรศัพท์, ประเทศที่ผู้ใช้งานอาศัย เครือข่ายที่ใช้งานอยู่ อุปกรณ์อะไร, แอพที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น โดย Facebook ระบุว่าสิ่งที่แอพจะไม่เก็บคือ ข้อมูล ID-password, รูป, ข้อความ, วิดีโอ และยืนยันจะไม่ขายข้อมูลให้บุคคลที่สามเด็ดขาด
GSMA สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เผยรายงานเรื่องการส่งข้อมูลข้ามพรมแดน หรือ Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows ระบุว่าการปล่อยให้ข้อมูลไหลเวียนอย่างเป็นอิสระ จะช่วยเพิ่มจีดีพีโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศยังมีการจำกัดการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, กังวลเรื่องการสอดแนมจากต่างชาติ และ ความมั่นคงของชาติ
กองทุน Vision Fund ของ SoftBank ลงทุนใน Cohesity สตาร์ทอัพทำดาต้าสตอเรจ 250 ล้านดอลลาร์ เป็นผู้นำการลงทุนในซีรีส์ D
Cohesity เน้นเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ข้อมูลแบ็กอัพ, ข้อมูลที่ได้จากระบบวิเคราะห์หรือ analytic ซึ่งจากข้อมูลของ Cohesity ระบุว่า 80% ของการเก็บข้อมูลในบริษัทต่างๆ ใช้ไปกับการเก็บสำรองข้อมูล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูง และอาจเป็นการจัดสรรทรัพยากรการจัดเก็บได้ไม่ดี เพราะข้อมุลสำรองนั้นบริษัทแทบไม่ได้เข้ามาใช้ และเมื่อต้องการใช้งานก็ค้นหายุ่งยาก ซึ่ง Cohesity แก้ปัญหาด้วยการใช้โซลูชั่น Hyper-Converged Infrastructure
SoftBank ลงทุนอย่างมากในการเริ่มต้นธุรกิจทั่วโลกหลังจากประกาศกองทุน Vision Fund ที่จะลงมูลค่า 1 แสนล้านเหรียญในปี 2016 แต่ในบรรดาการลงทุนก็ไม่ค่อยเน้นบริษัทด้านสตอเรจมากเท่าไร จนกระทั่งมาลงทุนใน Cohesity
Deep Nishar หุ้นส่วนอาวุโสของ SoftBank Investment Advisers บอกมีความเชื่อว่า Cohesity ที่เป็นหัวหอกในการจัดเก็บข้อแบบ hyper-converged จะเป้นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชนได้
Facebook มีฟังก์ชั่น ดาวน์โหลดข้อมูลออกมาได้ แต่ Instagram ยังไม่มี ล่าสุดทางบริษัทระบุว่ากำลังทำฟีเจอร์ให้ผู้ใช้โหลดข้อมูลใน Instagram ออกมาได้ ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ข้อความ
กฎหมายปกป้องข้อมูลในอังกฤษ ระบุให้แลพตฟอร์มต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถย้ายข้อมูลของตัวเองจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ง่าย Facebook เองที่ตกเป็นประเด็นข้อมูลหลุดก็ต้องพยายามทำทุกทางให้ทั้ง Facebook และ Instagram มีนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้รัดกุม และสอดคล้องกับกฎใหม่ GDPR ที่ Facebook ระบุว่าจะนำมาเป็นมาตรฐานของ Facebook ทั่วโลก
สำนักข่าว CNBC เผย Facebook ทำโครงการวิจัยโดยใช้ข้อมูลบน Facebook กับข้อมูลการแพทย์ เป้าหมายคือเพื่อพัฒนาด้านการรักษาและการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยได้หยุดไปเมื่อเดือนที่แล้ว หรือช่วงที่ปัญหาข้อมูลระหว่าง Facebook และ Cambridge Analytica ปะทุขึ้น
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์สื่อหลายแห่งทางโทรศัพท์เป็นเวลาเกือบชั่วโมงต่อเรื่องข้อมูลหลุด และกรณีกับ Cambridge Analytica เขาพูดถึงวิสัยทัศน์ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ดังนี้
AIS เปิดตัวเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใหม่ AIS NEXT G ความเร็ว 1 Gbps ให้ลูกค้าที่ใช้แพ็คเกจ 4G Max Speed Unlimited 1,099 บาท/เดือนขึ้นไป และเปิดให้ใช้งานในโทรศัพท์ซัมซุง 4 รุ่นคือ Samsung Galaxy S8, S8+, S7 และ S7 Edge
รัฐบาลอังกฤษมีแผนขยายกฎหมายคุ้มครองข้อมูล เพิ่มสิทธิประชาชนในข้อมูลของตัวเองมากขึ้น และป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางข้อมูล ให้สิทธิ์ประชาชนเรียกร้องไปยังบริษัทให้ลบข้อมูลของตนเองออกได้ หากองค์กรใดไม่ปฏิบัติตาม จะถูกปรับถึง 17 ล้านปอนด์ หรือไม่ต่ำกว่า 4% ของปริมาณเงินหมุนเวียนในบริษัท
รัฐบาลระบุว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลใหม่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ คือ
นอร์เวย์ออกกฎให้ Tinder เปลี่ยนวิธีการใช้ข้อมูลของผู้ใช้เสียใหม่ โดยอ้างอิงตาม พ.ร.บ. การควบคุมด้านการตลาดของประเทศนอร์เวย์
ผู้ตรวจการรัฐสภาของนอร์เวย์ระบุว่า การปฏิบัติงานของ Tinder ละเมิดกฎหลายข้อ โดยรายการเปลี่ยนแปลงที่ Tinder ต้องนำไปใช้ประกอบด้วย เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อผู้ใช้แอพพลิเคชั่นชาวนอร์เวย์ทุกคน, เงื่อนไขการใช้งานต้องเข้าใจง่ายและกระชับ, ควรทำสรุปข้อกำหนดการใช้งานแบบย่อก่อนผู้ใช้จะกดตกลง, ใช้กฎการป้องกันข้อมูลผู้ใช้ตามมาตรฐานยุโรป, ต้องแจ้งผู้ใช้หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง และรายการที่สร้างโดยผู้ใช้ต้องถูกลบออกหากมีการยกเลิกบัญชีผู้ใช้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงานสัมมนาประจำปีเรื่อง "ปฏิรูปรัฐ ปฏิวัติข้อมูล" หลักการโดยรวมคืออยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อจัดการข้อมูล พร้อมทั้งเสนอแนวทางจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลข้ามหน่วยงานเพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน เปิดข้อมูลเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ภาคประชาชนนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้
ที่สำคัญ ระบบการศึกษาต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลโดยเฉพาะออกมามากกว่านี้ เพราะปัจจุบันยังมีปัญหาคุณภาพคนกับความต้องการทักษะงานยังไม่สอดคล้องกัน
ในงานสัมมนาแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ Blognone จะสรุปสาระสำคัญให้อ่านกันเป็นรายหัวข้อไป
Veritas บริษัทให้บริการจัดการข้อมูล และโซลูชั่นด้านการจัดเก็บข้อมูล เผยรายงาน Databerg Report สำรวจข้อมูลจากคนทำงาน IT ในองค์กรกว่า 2,500 คน จาก 22 ประเทศ พบว่า ข้อมูลที่องค์กรจัดเก็บทุกวันนี้ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทเพียงนิดเดียว ส่วนข้อมูลที่เหลือเป็นข้อมูลเก่า, ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจของบริษัทได้เลย
CTIA หรือสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเครือข่ายไร้สายของสหรัฐได้เปิดเผยรายงานข้อมูลการใช้ดาต้าของชาวอเมริกันเมื่อปีที่แล้ว ปรากฎว่ามีการใช้งานโมบายล์ดาต้าสูงถึงเกือบ 1 หมื่นล้านกิกะไบต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 137% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ชาวอเมริกันยกเลิกการติดตั้งอินเทอร์เน็ตในบ้าน และใช้ผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก
ขณะที่ YouTube และ Netflix เป็นสองผู้ให้บริการที่มีอินเทอร์เน็ตทราฟฟิครวมกันมากกว่าครึ่งในช่วง peak hours ของทวีปอเมริกาเหนือ และหากรวมบริการอย่างบริการเพลงสตรีมมิงและพ็อดคาสท์ ทราฟฟิคส่วนนี้ยิ่งเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 70% เลยทีเดียว
เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลทุกวันนี้ก้าวหน้าไปมาก คนรุ่นพ่อรุ่นแม่เราตอนที่พวกท่านยังหนุ่มสาวคงยากจะคิดว่าการจะเก็บภาพนับพันนับหมื่นภาพในอุปกรณ์ที่เล็กกว่าอุ้งมือแทนอัลบั้มภาพกองพะเนินนั้นจะเป็นอย่างไร ตอนที่พวกเรายังเด็กก็อาจจะไม่เคยฉุกคิดว่าไม่ทันที่เราจะแก่เราจะได้เห็นเทคโนโลยีที่เก็บบทเพลงจากเทปคาสเซทนับร้อยม้วนลงในการ์ดความจำที่เล็กเพียงปลายนิ้วมือได้สำเร็จ แต่ที่ว่ามานั้นยังห่างไกลจากการเก็บข้อมูลของสมอง กระบวนการธรรมชาติที่มีกลวิธีในการจดจำบันทึกเรื่องราวแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ที่มองทุกอย่างด้วยพื้นฐานเลข "0" และ "1"
Microsoft ลงทุนออกเงินสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลด้วย DNA โดยมีพันธมิตรทั้งห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยและบริษัทสตาร์ทอัพ
เริ่มที่ความร่วมมือแรกระหว่าง Microsoft กับห้องปฏิบัติการ MISL (Molecular Information Systems Lab) แห่ง University of Washington โดย Microsoft เป็นฝ่ายสนับสนุนเงินทุนให้แก่ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดเก็บข้อมูลลงใน DNA เนื้องานของ MISL นั้นเป็นการพัฒนาวิธีการแปลงข้อมูลไฟล์ดิจิทัลให้กลายเป็นข้อมูลในรูปแบบที่เข้ากับองค์ประกอบพื้นฐาน DNA ทั้ง 4 แบบ (แน่นอนว่าด้วยเทคนิคของงานวิจัยก็ย่อมแปลงข้อมูลจาก DNA กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัลได้ด้วย)
ทีมนักวิจัยจาก University of California ใน San Diego ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยคิดค้นเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงจนทำให้สามารถส่งข้อมูลในระยะที่ไกลขึ้นกว่าที่เคย แถมยังลดการพึ่งพาอุปกรณ์ช่วยปรับปรุงสัญญาณอย่าง repeater ลงด้วย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานระบบส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงทำได้ดีขึ้นโดยใช้เงินลงทุนในการติดตั้งน้อยลง
พฤติกรรมตามธรรมชาติของระบบส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสงนั้น หากมีการเพิ่มกำลังที่ตัวส่งสัญญาณ ก็จะทำให้สัญญาณเดินทางได้ไกลขึ้น ทว่าด้วยเหตุที่มีการเพิ่มกำลังในการส่งก็กลับทำให้มีสัญญาณรบกวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกันอันจะส่งผลให้ปลายทางฝั่งตัวรับสัญญาณได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น
วันนี้ในระหว่างงานเปิดตัวโครงการ Internet.org ที่ Bogota ประเทศโคลัมเบีย Mark Zuckerberg ได้ขึ้นเวทีในงานดังกล่าวและเปิดอกตอบคำถามที่มีคนกด like มากที่สุดบน Facebook โดยตอนหนึ่งเขาเผยว่าปัจจุบันแอพ Facebook ใช้ข้อมูลน้อยลงเหลือเพียง 1 ใน 10 ของการใช้ข้อมูลโดยแอพตัวเดียวกันเมื่อ 18 เดือนก่อน
เขายังบอกว่าในกระบวนการพัฒนาเพื่อให้ได้แอพที่ยังคงใช้งานได้ แม้อยู่ในพื้นที่อินเทอร์เน็ตแย่นั้น มีการสร้างห้องปฏิบัติการสำหรับทีมพัฒนาแอพ เพื่อจำลองสภาพอินเทอร์เน็ตในประเทศอื่นๆ ที่มีความเร็วต่ำกว่าใน Silicon Valley และให้ทีมได้ทดลองใช้งานแอพของพวกเขาเองว่ามันทำงานได้ดีหรือแย่ขนาดไหนในสภาพจำลองนั้นๆ
Google Genomics เป็นบริการจัดเก็บจีโนมของมนุษย์ ซึ่งก็คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่อยู่บนดีเอ็นเออันเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพของร่างกายนั้น โดย Google Genomics มีเป้าหมายเพื่อสร้างบริการที่ช่วยให้การศึกษาและค้นคว้าวิจัยข้อมูลพันธุกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในมุมมองของหน่วยงานรัฐอย่าง FBI ตอนนี้ Apple และ Google นั้นต่างก็ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญโดยการเข้ารหัสที่ดีมากจนยากที่จะไล่ทันแล้ว
ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่ผู้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่าง James Comey ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของ FBI ได้กล่าวแถลงต่อสื่อ ณ สำนักงานของหน่วยงานว่าเขารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะนั่นอาจหมายถึงการก่อตัวของพื้นที่ซึ่งกฎหมายมิอาจย่างกรายไปถึง โดยมีใจความว่า