ก่อนหน้านี้ มีข่าวลืออยู่เรื่อยๆ ว่ากูเกิลจะเปลี่ยนผู้ผลิตชิป Google Tensor ที่ใช้ใน Pixel จากซัมซุงมาเป็น TSMC
ข่าวลือรอบล่าสุดมาจากสื่อเกาหลี BusinessKorea ว่าชิป Tensor G5 ที่จะใช้ใน Pixel 10 รุ่นของปีหน้า น่าจะย้ายมาใช้กระบวนการผลิต 3 นาโนเมตรของ TSMC แทน ส่วนชิป Tensor G6 รุ่นของปี 2026 (ใช้กับ Pixel 11) จะขยับมาเป็น 2 นาโนเมตร
ในงานเปิดตัว Pixel 9 ของใหม่ที่กูเกิลไม่ได้พูดลงรายะเอียดมากนักคือชิป Tensor G4 ที่เป็นชิปคัสตอมเองรุ่นที่ 4 แล้ว สิ่งที่กูเกิลพูดในงานคือ Tensor G4 เป็นครั้งแรกที่ทีม DeepMind มาทำงานร่วมกับทีม Google Silicon โดยตรง เพื่อให้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ทำงานได้ดีที่สุด
เว็บไซต์ Tom's Hardware มีโอกาสสัมภาษณ์ตัวแทนจาก DeepMind และ Google Silicon เพื่อขยายความเรื่องนี้
สำนักข่าวจีน China Times รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวในซัพพลายเชนที่เผยว่า Google พูดคุยกับ TSMC ในการผลิตชิป Tensor G5 ขนาด 3 นาโนเมตรบน Pixel 10 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็น่าจะเป็นเพราะความเชี่ยวชาญของ TSMC บน node ขนาด 3 นาโนเมตร
ปัจจุบันชิป Tensor ของ Google จ้างซัมซุงเป็นผู้ผลิต ซึ่งรวมถึง Tensor G4 บน Pixel 9 ที่กำลังจะเปิดตัวด้วยกระบวนการผลิต 4 นาโนเมตร (SF4) ขณะที่ดีลกับ TSMC ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้กระบวนการผลิต N3E (เจน 2) หรือ N3P (เจน 3) แต่ที่แน่ๆ คือเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายของการดีไซน์ (tape out) กับ TSMC แล้ว
ที่มา - CTEE
Seang Chau ผู้บริหารตำแหน่ง VP of Devices & Services Software ของกูเกิล ออกรายการ Made by Google Podcast อธิบายเหตุผลที่ Pixel ยืดระยะเวลาซัพพอร์ตซอฟต์แวร์เป็น 7 ปี
Chau บอว่าสถิติของกูเกิลเองพบว่าคนที่ใช้มือถือรุ่นเก่าๆ นานๆ มักเปลี่ยนเครื่องตอนอายุ 7 ปีพอดี ตัวอย่างคือยังมีคนใช้ Google Pixel 1 ที่ออกในปี 2016 อยู่เลย แต่พอเครื่องมีอายุราว 7 ปี สถิติการใช้งานจะลดลงอย่างมาก จึงตัดสินใจเลือกซัพพอร์ตมือถือนาน 7 ปี
กูเกิลให้รายละเอียดของชิป Tensor G3 ที่ใช้ใน Pixel 8/8 Pro ว่าเน้นที่สมรรถนะการประมวลผล AI มากขึ้น หากเทียบกับ Tensor G1 ที่ใช้ใน Pixel 6 แล้วมีประสิทธิภาพการรันโมเดล machine learning เพิ่มมากกว่า 2 เท่า
กูเกิลบอกว่าแนวทางของชิป Tensor นั้นไม่ได้สนใจเรื่องความเร็ว หรือประสิทธิภาพในแบบดั้งเดิมมาตั้งแต่แรก แต่เน้นการสร้างประสบการณ์ของการประมวลผลบนอุปกรณ์พกพาไปข้างหน้าต่างหาก ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลสเปกละเอียดของ Tensor G3 บอกเพียงแค่ว่าทุกส่วนในชิป SoC ถูกอัพเกรด ตัวซีพียูเป็น ARM รุ่นล่าสุด, จีพียูใหม่, ISP/DSP ใหม่ และที่สำคัญคือ TPU รุ่นใหม่ที่ออกแบบร่วมกับ Google DeepMind เพื่อปรับแต่งให้รันโมเดล AI ของกูเกิลได้เป็นพิเศษด้วย
Android Authority อ้างแหล่งข่าวภายในกูเกิล ให้ข้อมูลของชิป Tensor G3 โค้ดเนม zuma ที่น่าจะใช้ใน Google Pixel 8 ช่วงปลายปีนี้ ภาพรวมของ Tensor G3 เป็นการอัพเกรดใหญ่ ต่างจาก Tensor G2 ที่เปลี่ยนจาก Tensor G1 ไม่มากนัก
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Tensor G3 จะใช้ซีพียู 9 คอร์ สูตร 1+4+4 คือคอร์ใหญ่ Cortex-X3 1 คอร์, คอร์กลาง Cortex-A715 4 คอร์ และคอร์เล็ก Cortex-A510 4 คอร์ แตกต่างจากรุ่นพี่ Tensor G1/G2 ที่ใช้สูตร 2+2+4 เหมือนกัน
กูเกิลอัพเดตหน้าเว็บของ Pixel 7 และ Pixel 7 Pro ก่อน งานแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 6 ตุลาคม ว่ามือถือทั้งสองรุ่นจะใช้ชิปตัวใหม่ Google Tensor G2 ที่เป็นเวอร์ชันอัพเกรดจาก Tensor รุ่นแรกที่ใช้กับ Pixel 6 ของปีที่แล้ว ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดอื่นของ Tensor G2 ยกเว้นชื่อรุ่น แต่ก็คาดกันว่าน่าจะเป็น ชิปคัสตอมบนฐาน Samsung Exynos เหมือนกับ Tensor รุ่นแรก จุดต่างสำคัญคือกูเกิลใช้ซีพียูสูตร 2+2+4 แทนสูตร 1+3+4 ที่ซัมซุงใช้
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint Research ออกรายงานส่วนแบ่งตลาดชิป SoC ของสมาร์ทโฟน Android ประจำปี 2021 โดยแยกตามระดับช่วงราคาของสมาร์ทโฟน
ผลที่ออกมาไม่ผิดคาดหนัก เพราะ MediaTek ที่ครองตลาดล่าง (ซึ่งเติบโตสุงสุด) มีส่วนแบ่งตลาดรวมเพิ่มเป็น 46% ในขณะที่ Qualcomm ที่ครองตลาดบน มีส่วนแบ่งตลาดรวมลดลงเหลือ 35% อันดับสามคือซัมซุงที่ตามมาห่างๆ โดยเลิกสนใจตลาดล่างไปแล้ว และอันดับสี่ UNISOC ที่มาแรงในตลาดล่างอย่างมาก
ผู้ผลิต SoC หน้าใหม่ที่น่าสนใจคือ Google Tensor ที่ติดชาร์ทเข้ามาราว 1% ในตลาดบน ส่วนหนึ่งเพราะยอดขาย Pixel 6 ที่ทำได้ดีเกินมาตรฐานกูเกิลในอดีตด้วยนั่นเอง
มีข่าวลือของ Pixel 6a สมาร์ทโฟนรุ่นราคาถูกของกูเกิลออกมาเรื่อยๆ ล่าสุดมีข้อมูลในฐานข้อมูล Geekbench ทำให้เรารู้สเปกคร่าวๆ ของ Pixel 6a แล้ว
โค้ดเนมของ Pixel 6a คือ bluejay ตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ , หน่วยประมวลผลของมันคือ ชิป Tensor ตัวเดียวกับ Pixel 6 (ใช้คอร์ 2+2+4 ที่แปลกกว่า Soc ทั่วไป) และแรม 5.4GB ซึ่งน่าจะเป็นแรม 6GB (Pixel 6 รุ่นปกติได้แรม 8GB)
การที่ Pixel 6a รุ่นราคาถูกได้ใช้ชิป Tensor ตัวเดียวกับ Pixel 6 รุ่นท็อป อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก (กูเกิลลดจำนวนรุ่นชิป สั่งซื้อมากๆ จะได้ถูกลง) แต่ก็ถือเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็น Pixel รุ่น a ใช้ชิประดับเรือธง
ในงานเปิดตัว ชิปเรือธง MediaTek Dimensity 9000 ทาง MediaTek ได้โชว์ตัวเลขเบนช์มาร์คหลายชุด ที่แสดงให้เห็นว่า Dimensity เหนือกว่าชิปคู่แข่งในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น Snapdragon 888, Google Tensor หรือแม้กระทั่ง Apple A15 ที่ระบุว่าอยู่ในระดับเท่าๆ กัน
กูเกิลเขียนบล็อกอธิบายระบบความปลอดภัยของ Pixel 6 ประเด็นสำคัญอยู่ที่ชิปฮาร์ดแวร์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน (ตามแผนผัง)
9to5google รายงานว่าพบข้อมูลของชิป Tensor รุ่นที่สอง ที่น่าจะใช้กับ Pixel 7 ในปีหน้าแล้ว โดยชิปตัวนี้ใช้โค้ดเนมว่า Cloudripper และมีรหัสรุ่นคือ GS201
ส่วนชิป Tensor ที่ใช้ใน Pixel 6 ใช้โค้ดเนมว่า Slider ( ชื่อโครงการพัฒนาชิปทั้งหมดคือ Whitechapel ) มีรหัสรุ่น GS101 แสดงให้เห็นว่ากูเกิลใช้ระบบเพิ่มรหัสรุ่นทีละ 100
ตอนนี้เรายังไม่รู้ข้อมูลอื่นๆ ของ Cloudripper มากนัก และคงต้องรอกันถึงปลายปีหน้า 2022 เลยกว่าจะได้เห็นกัน
ที่มา - 9to5google
Google Tensor ออกแบบโดยทีม Google Silicon ที่พัฒนาชิปในมือถือรุ่นก่อนหน้านี้ ได้แก่ Pixel Visual Core ของ Pixel 2/3 และชิปความปลอดภัย Titan M แต่เป็นคนละทีมกับที่พัฒนาชิป TPU สำหรับคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์
แกนหลักของชิป Google Tensor อิงตามพิมพ์เขียวของ Arm เป็นหลักทั้งตัวซีพียู (Cortex) และจีพียู (Mali) ฝั่งซีพียูมีทั้งหมด 8 คอร์สูตร 2+2+4 ได้แก่
- คอร์ใหญ่ Cortex-X1 @ 2.8GHz จำนวน 2 คอร์
- คอร์กลาง Cortex-A76 @ 2.25GHz จำนวน 2 คอร์
- คอร์เล็ก Cortex-A55 @ 1.8GHz จำนวน 4 คอร์
ส่วนจีพียูเป็น Mali-G78 ของ Arm เวอร์ชัน MP20 (20 คอร์) แรงกว่าใน Exynos 2100 ที่เป็นเวอร์ชัน MP14 (14 คอร์)
Google เปิดตัวชิปเซ็ตของตัวเอง Google Tensor บน Pixel 6 และ Pixel 6 Pro ซึ่ง Google ชูจุดขายใช้ประมวลผล Machine Learning ภายในเครื่องให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ภายใน Google Tensor มีชิป TPU สำหรับประมวลผล Machine Learning โดยเฉพาะ, ISP ชิปประมวลผลภาพ, CPU ที่ไม่ได้ระบุรุ่น 8 คอร์ (2+2+4) แบ่งเป็น 2 คอร์ high performance, 2 คอร์ mid performance และ 4 คอร์ high efficiency
นอกจากนี้ยังมีชิปที่ Google เรียกว่า Context Hub สำหรับประมวลผล Machine Learning แบบใช้พลังงานน้อย รวมถึงโหมด Ambient ต่างๆ เช่น หน้าจอ Always-on หรือ Now Playing
นอกจากนี้ยังมีชิปความปลอดภัยภายใน Google Tensor ที่ทำงานร่วมกับชิป Titan M2 ที่เป็นชิปความปลอดภัยแยกต่างหากอีกตัวด้วย
สัปดาห์หน้า เราจะเห็นกูเกิลเปิดตัว Pixel 6 ที่ใช้ หน่วยประมวลผลออกแบบเอง Tensor ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพราะมือถือตระกูล Pixel ใช้ชิป Snapdragon มาโดยตลอด
จะด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ บัญชีทวิตเตอร์ @snapdragon ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ โดยยกคำพูดลอยๆ ขึ้นว่า "We've decided to make our own smartphone SoC instead of using Snapdragon" พร้อมไอคอนธงแดง (red flag) ซึ่งทุกคนคงเดากันได้ว่าเป็นการแซะกูเกิลที่ออกไปทำชิปของตัวเอง แถมยังจับมือกับคู่แข่งคือซัมซุงอีกด้วย
ตอนนี้ยังไม่มี รายละเอียดทางเทคนิคของชิป Google Tensor ใน Pixel 6 ออกมามากนัก
ล่าสุดมีข่าวลือออกมาจากเว็บ Galaxy Club ของเนเธอร์แลนด์ ระบุว่าชิป Tensor ตัวนี้คือ Exynos 9855 รุ่นคัสตอมของซัมซุง ที่ใช้โค้ดเนมว่า Whitechapel ซึ่งตรงกับข่าวลือก่อนหน้านี้
ชิปตัวนี้จะมีสมรรถนะอยู่ตรงกลางระหว่าง Exynos 9840 ตัวที่ใช้ใน Galaxy S21 และ Exynos 9925 ตัวใหม่ที่จะใช้ใน Galaxy S22 ( เป็นตัวเดียวกับที่จะใช้จีพียู AMD RDNA2 ) ทำให้คนที่คาดหวังประสิทธิภาพระดับเรือธงของ Pixel 6 ก็น่าจะไม่ผิดหวังกัน เพราะน่าจะใกล้เคียงกับ S21 เป็นอย่างน้อย
Rick Osterloh หัวหน้าทีมฮาร์ดแวร์ของกูเกิล ให้สัมภาษณ์กับ Gizmodo อธิบายรายละเอียดของ ชิป Google Tensor ที่ใช้ใน Pixel 6 เพิ่มเติม
Osterloh บอกว่าที่ผ่านมา Pixel พยายามผลักดันฟีเจอร์ด้าน AI บนมือถือมาตลอด เช่น HDR+, Google Assistant (Pixel 1), Google Lens (Pixel 2), Night Sight (Pixel 3) แต่ก็ติดข้อจำกัดเรื่องการประมวลผล AI บนชิปที่มีในท้องตลาด ทำให้ Pixel ไปได้ไม่สุดตามที่กูเกิลตั้งใจไว้ ทางออกจึงเป็นการออกแบบชิปเอง
หลังจากมีข่าวลือและรูปหลุดมาประปราย ขณะนี้กูเกิลได้เผยโฉมสมาร์ทโฟน Pixel 6 และ 6 Pro ออกมาแล้ว พร้อมให้รายละเอียดจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าตรงกับรูปหลุดและข่าวลือที่ว่าจะใช้ชิปที่พัฒนาขึ้นเอง
Google Pixel 6 และ 6 Pro จะใช้ชิปชื่อ Tensor ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นมาเอง โฆษณาว่าสามารถประมวลผล AI และโมเดล Machine Learning ได้ในตัว โดยระบุว่าผู้ใช้จะสัมผัสได้ถึงประสบการณ์การใช้กล้องที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงฟีเจอร์เกี่ยวกับเสียงพูดอย่างคำสั่งเสียง, การแปล, การสร้างแคปชัน (Live Caption) และการแปลงคำพูดเป็นตัวอักษรจะถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก