Human Rights Watch เผยว่าได้ทำการทดสอบแอพที่เจ้าหน้าที่ในมณฑลซินเจียงใช้ในการระบุและแบ่งประเภทประชากรในบริเวณนั้นโดยแอพได้ใช้ข้อมูลจากทั้งกล้องวงจรปิดและ ระบบจดจำใบหน้าที่รัฐบาลใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่
วันนี้มีรายงานว่าเว็บ Human Right Watch (HRW) กลุ่ม NGO ที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ถูกบล็อคหน้ารายงานของประเทศไทย https://www.hrw.org/asia/thailand โดยความผิดปกติจากการบล็อคอื่นๆ คือเว็บ hrw.org นั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบ HTTPS ที่ไม่ควรจะบล็อคราย URL ได้
อย่างไรก็ดี เมื่อตรวจสอบพบว่า เมื่อเข้าเว็บจากในประเทศไทยหมายเลขไอพีของ hrw.org จะอยู่ในวง 49.231.32.0 - 49.231.255.255 ที่เป็นวงของ AIS ทาง hrw.org ใช้บริการ CDN ของจีนที่ชื่อว่า wtxcdn.com ทำให้เมื่อ resolve DNS แล้วได้หมายเลขไอพีในวงนี้ (canonical name ที่ resolve ได้คือ www.hrw.org.wtxcdn.com)
พลเอกประยุทธ์ระบุการบล็อคเว็บ Human Rights Watch เป็นเรื่องของความมั่นคง, เว็บเปิด URL ใหม่สำหรับไทย
เมื่อวานนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้สัมภาษณ์นักข่าวระบุถึงเรื่องการบล็อคเว็บไซต์ Human Rights Watch เฉพาะหน้าของประเทศไทย โดยระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงไอซีที โดยเป็นเรื่องความมั่นคงที่ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีดูแล
วันเดียวกันเองทาง Human Rights Watch ก็ออกมาเปิดหน้าสำหรับประเทศไทยใหม่ จากเดิม www.hrw.org/asia/thailand กลายเป็น www.hrw.org/thailand ทำให้เข้าจากประเทศไทยได้อีกครั้ง (แถม URL สั้นลง)
นอกจากนี้ตัวเว็บ Human Rights Watch ยังรองรับการเข้ารหัส HTTPS ทำให้การบล็อคเว็บเป็นราย URL ไม่ได้ผล
เรื่องมีอยู่ว่าโรงเรียนระดับมัธยม John Jay High School ในเขตการศึกษา Northside Independent School District (NISD) ได้ออกกฏใหม่โดยให้นักเรียนทุกคนแขวนสายห้อยคอ ที่ข้างในมีชิป RFID อยู่ด้วย ซึ่งโรงเรียนได้ทำการวางระบบเพื่อตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน
โดย NISD อ้างว่าการนำ RFID มาใช้ทำให้โรงเรียน ทำให้สามารถตรวจสอบนักเรียนตั้งแต่เดินเข้ามา จนเดินออกจากโรงเรียนไป สามารถตรวจสอบเวลาเข้าเรียน การนั่งในชั้นเรียน การซื้อสินค้าในโรงอาหาร เพิ่มความปลอดภัยในโรงเรียนและเป็นประโยชน์กับผู้ปกครอง
Andrea Hernandez นักเรียนคนหนึ่งไม่พอใจในกฏนี้ เธอปฏิเสธที่จะสวมสายคล้องคอนี้ในขณะอยู่ที่โรงเรียน และได้ทำการฟ้องโรงเรียนต่อศาลว่าละเมิดสิทธิและความเชื่อทางศาสนา
Human Rights Watch (HRW) แสดงความเห็นในคดีประชาไทเมื่อวานนี้ว่าการลงโทษผู้ดูแลเว็บด้วยกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นการแสดงถึงการใช้กฏหมายอย่างผิดประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาลไทย และตัดสินโทษจำคุกเป็นการเพิ่มบรรยากาศความกลัวและผลักดันให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองมากขึ้นในสื่อของไทย
Brad Adams ผู้อำนวยการฝ่ายเอเซียของ HRW ระบุว่าคำพิพากษานี้จะทำให้ผู้ดูแลเว็บและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเซ็นเซอร์การพูดคุยในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความกลัวที่จะต้องโทษเสียเอง และการลงโทษทางอาญากับตัวกลางในอินเทอร์เน็ตเป็นการแสดงว่าขีดจำกัดความอดทนต่อเสรีภาพทางการพูดของไทยนั้นตกลงต่ำสุดอีกครั้ง