มีรายงานจาก The New York Times เผยว่าเมื่อเดือนที่แล้ว Larry Page และ Sergey Brin สองผู้ก่อตั้งกูเกิล ซึ่งปัจจุบัน ลดบทบาท และไม่ได้ทำงานกับกูเกิลมากนัก ได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล เพื่อหารือผลกระทบจากเสิร์ชแชตบอต และวางกลยุทธ์การนำแชตบอตมาใช้กับเสิร์ชของบริษัท
ในสไลด์การประชุม พูดถึงแผนการนำแชตบอตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกูเกิลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งโครงการนี้ซีอีโอ Sundar Pichai ให้ความสำคัญสูง มีโค้ดเนมภายในว่า code red ซึ่งกูเกิลตั้งเป้าเปิดตัวแชตบอตในมากกว่า 20 ผลิตภัณฑ์ของบริษัทภายในปีนี้ โดยคาดว่าจะเปิดตัวในงาน I/O ช่วงกลางปี
Kittyhawk บริษัทรถยนต์บินได้-เครื่องบินเล็กที่ได้รับการสนับสนุนโดย Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล ประกาศยุติกิจการ หลังจากก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2010
Kittyhawk ตอนแรกใช้ชื่อว่า Zee.Aero มีแกนหลักคือ Sebastian Thrun คนทำโปรเจครถยนต์ไร้คนขับของกูเกิล ที่ Page ดึงตัวมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ โดยที่เขาลงทุนเองส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการลงทุนของกูเกิล บริษัทยังมีสัญญาพันธมิตรธุรกิจกับ Boeing ด้วย
Larry Page และ Sergrey Brin สองผู้ก่อตั้งกูเกิลประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอและประธาน Alphabet (ตามลำดับ) ประกาศลาออกจากทั้งสองตำแหน่ง ทำให้คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้ร่วมก่อตั้ง, ผู้ถือหุ้น, และกรรมการบริษัท โดย Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิล จะขึ้นมารับตำแหน่งซีอีโอ Alphabet ควบไปด้วย
Larry และ Sergrey เขียนจดหมายเปิดผนึก ระบุว่านับจากการตั้งบริษัท ตอนนี้ก็ 21 ปีแล้ว หากบริษัทเป็นคนก็กำลังเป็นผู้ใหญ่ และทั้งสองคนก็น่าจะเป็นผู้ปกครองคอยให้คำปรึกษาและความรักมากกว่าการบ่นรายวัน
The New York Times ทิ้งระเบิดอย่างจังโดยออกมารายงานเปิดเผยเบื้องหลังการลาออกจาก Google ของ Andy Rubin ว่ามาจากพฤติกรรมคุกคามทางเพศลูกน้องในที่ทำงาน และยังบอกด้วยว่าแม้จะทำความผิดแต่ก็ยังได้รับเงินตอบแทนถึง 90 ล้านดอลลาร์ โดย The New York Times อ้างอิงแหล่งข่าวในบริษัทหลายรายที่ไม่เปิดเผยชื่อ
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Google+ บริการโซเชียลของกูเกิล ที่เคยหมายมั่น ปั้นมาเป็น Social Network ตัวใหม่ ได้ประกาศ ปิดตัว ในปีหน้า สิ่งน่าสนใจคือหลายคนก็ยังใช้งาน Google+ อยู่ เพียงแต่เมื่อไปดูผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล ... พวกเขาเลิกใช้มาระยะหนึ่งแล้ว
Business Insider รวบรวม Google+ ของผู้บริหารระดับสูงในกูเกิล พบว่าทุกคนเลิกใช้ Google+ (โพสต์แบบสาธารณะ) มาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว
เดือนที่แล้ว รัฐสภาสหรัฐเรียกตัวแทนจาก Google, Facebook, Twitter มาหารือเรื่องปัญหาข่าวปลอม ซึ่ง Twitter ส่งซีอีโอ Jack Dorsey มาเอง ในขณะที่ Facebook ส่งซีโอโอ Sheryl Sandberg ที่เป็นบุคคลเบอร์สองขององค์กร รองจาก Mark Zuckerberg เท่านั้น
แต่ Google กลับเสนอชื่อ Kent Walker ผู้บริหารด้าน Global Affairs มาแทนผู้บริหารระดับท็อปๆ ที่เราคุ้นชื่อกัน โดยระบุว่าเลือกส่ง Kent Walker มาแทน เพื่อให้ผู้บริหารสูงสุดอย่าง Larry Page มีเวลาโฟกัสกับปัญหาเทคโนโลยีในระยะยาวของ Alphabet แทน
สำนักข่าว The Huffington Post รายงานข่าวจากแหล่งข่าวที่ไม่ระบุตัวตนว่า มีการพบปะระหว่างมหาเศรษฐี, ผู้นำบริษัทไอที และสมาชิกระดับสูงของพรรครีพับลิกัน เพื่อเข้าร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการ World Forum จัดโดย American Enterprise Institute ที่เกาะส่วนตัวแห่งหนึ่ง
จากรายงานข่าว บอกว่าผู้ร่วมประชุมจากฝั่งไอทีมี Tim Cook ซีอีโอ Apple, Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้ง Google, Sean Parker ผู้ก่อตั้ง Napster และเคยทำงานตำแหน่งบริหารใน Facebook และ Elon Musk ซีอีโอ Tesla ส่วนนอกนั้นจะเป็นผู้คนจากวงการการเมืองอย่างเช่น Paul Ryan โฆษกรัฐสภา, Karl Rove กูรูทางด้านการเมือง รวมถึงมหาเศรษฐีอีกหลายคน
ปกติแล้วเรามักเห็นซีอีโอของบริษัทไอทีรายใหญ่ ขึ้นเวทีนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ และประชุมเพื่อตอบคำถามผู้ถือหุ้น แต่ Larry Page ซีอีโอของ Alphabet กลับไม่เคยไปประชุมกับผู้ถือหุ้นเลยในช่วงหลัง และต่อให้เป็นเวทีงาน Google I/O ของบริษัทตัวเอง เขาก็ขึ้นเวทีครั้งสุดท้ายในปี 2013 (แม้จะยังไปงานทุกปีแต่ไม่ขึ้นเวทีแล้ว)
ในทางกลับกัน Page กลับไปร่วมงานสัมมนาทางวิชาการด้านหุ่นยนต์, งานประชุมระดมไอเดียแบบ TED, งานวิทยาศาสตร์ Solve for X ของกูเกิล และงาน Sci Foo Camp ที่จัดร่วมกับสำนักพิมพ์ O'Reilly อย่างสม่ำเสมอ แม้เขาไม่ได้ขึ้นพูดในงาน (เขามีปัญหาเรื่องเส้นเสียง) แต่เขาจะเดินคุย ถามคำถาม และนำเสนอไอเดียกับผู้ร่วมงานเป็นปกติ
นิตยสาร Forbes ได้เผยผลการจัดอันดับผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกประจำปีนี้แล้ว โดยส่วนใหญ่คือผู้ที่อยู่ในแวดวงการเมืองโลก ขณะเดียวกันก็มีผู้คนจากแวดวง IT ติดอันดับอยู่หลายคนด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีเพียง Bill Gates และ Larry Page เท่านั้นที่ติดในอันดับท็อปเท็นผู้ทรงอิทธิพลของโลก
ขณะที่คนในแวดวง IT ที่ติดอันดับทั้งหมดมีดังนี้
Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล ขึ้นเวทีงานสัมมนา Fortune Global Forum ตอบคำถามว่าเขามีวิธีการเลือกจะทำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของ Alphabet อย่างไร
เขาบอกว่าวิธีตัดสินใจง่ายมาก เกณฑ์การคัดเลือกของเขามีแค่ว่าสิ่งนั้นสำคัญมากแค่ไหน ถ้าส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก เขาจะตัดสินใจทำสิ่งนั้น
เขาเล่าวิธีการมองหาสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยการคุยกับพนักงานของบริษัทแล้วถามคำถามเยอะๆ เพื่อหาไอเดียว่าจะทำอะไรดี ตัวอย่างเช่น เขาคุยกับทีมศูนย์ข้อมูลของกูเกิล เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการกระแสไฟฟ้า ทั้งกรอบของเวลาและราคา แล้วดูว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างไร
กูเกิลออกแถลงการณ์วันนี้ถึงแผนการปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานในส่วนธุรกิจใหม่ๆ ทั้งหลายมีความคล่องตัวมากขึ้น ที่ผ่านมาส่วนธุรกิจใหม่ของกูเกิลอย่างเช่น Nest , Calico หรือโครงการอย่าง Google X ถูกตั้งคำถามว่าจะสร้างประโยชน์อย่างไรให้กับกูเกิลในฐานะบริษัทแม่ ซึ่งโครงสร้างองค์กรใหม่จะแก้ปัญหาดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เคยได้รับการสนับสนุนอย่างท้วมท้นจากบริษัทไฮเทคในซิลิคอนวัลเลย์ แต่งานประชุมด้านความมั่นคงไซเบอร์ที่รัฐบาลจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในวันนี้ (โอบามาบินมาพูดเอง รัฐมนตรีเข้าร่วมเพียบ และเชิญแขกสำคัญรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน) กลับไม่มีผู้นำโลกไอทีหลายคนเข้าร่วม
ตามรายงานข่าวบอกว่าบรรดาซีอีโอชื่อดัง Mark Zuckerberg, Marissa Mayer, Larry Page, Eric Schmidt ได้รับเชิญให้มางานนี้ แต่คนกลุ่มนี้ปฏิเสธไม่เข้าร่วมงานโดยตรง โดยส่งตัวแทนเป็นผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัยของข้อมูลไปร่วมงานแทน
Jonathan Rosenberg อดีตผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล เล่าประสบการณ์การทำงานกับ Larry Page ในช่วงแรกๆ ที่เขาเริ่มงานกับกูเกิลในปี 2002
Rosenberg จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ (MBA) โดยตรง และเคยเป็นผู้บริหารบริษัทไอทีชื่อดังอย่าง palmOne และ Excite มาก่อน เขาอธิบายว่าวิธีคิดแบบ MBA จะบริหารโครงการด้วยการ "เขียนแผน" และวางตารางเวลาแบบ Gantt chart
นิตยสาร Fortune มอบรางวัล "นักธุรกิจแห่งปี" ให้ Larry Page ซีอีโอของกูเกิล ด้วยเหตุผลว่าการทำงานของเขายอดเยี่ยมในทุกด้าน ผลประกอบการดีเยี่ยม ราคาหุ้นพุ่งสูง ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลครองส่วนแบ่งในทุกตลาด และที่สำคัญคือ Page กล้าคิดใหญ่ ผลักดันให้กูเกิลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนโลก
หนังสือพิมพ์ Financial Times มีบทสัมภาษณ์ Larry Page ซีอีโอของกูเกิลอย่างละเอียด โดย Page เล่า เบื้องหลังการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ และเป้าหมายของกูเกิลในอนาคต
ต่อจากข่าว Larry Page เพิ่มอำนาจให้ Sundar Pichai ดูแลผลิตภัณฑ์หลักของกูเกิลทั้งหมด ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้เอกสารที่ระบุว่าเป็นบันทึกภายในของกูเกิล เขียนโดยซีอีโอ Larry Page มีใจความที่เปิดเผย (เป็นบางส่วน) ดังนี้
ข่าวลือจากเว็บไซต์ Re/code อาจแสดงให้เห็นถึง "ขาขึ้น" ของ Sundar Pichai ผู้บริหารระดับสูงของกูเกิลที่ดูแลทีม Chrome และภายหลังขยายความรับผิดชอบมาถึง Android ด้วย
ตามข่าวบอกว่าซีอีโอ Larry Page ตัดสินใจขยายอำนาจของ Sundar Pichai ให้ครอบคลุมไปถึง Search, Maps, Google+, Commerce, Ads รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและงานสายวิจัยของกูเกิลด้วย การแต่งตั้ง Pichai ทำให้เขากลายเป็นคนคุมงานสายผลิตภัณฑ์ (products) ของกูเกิลทั้งหมด และผู้บริหารของแต่ละสายผลิตภัณฑ์จะอยู่ภายใต้การดูแลของ Pichai แทนการขึ้นตรงต่อ Larry Page อย่างที่แล้วๆ มา
เทศกาลเทน้ำแข็งราดตัวยังระบาดต่อไปเรื่อยๆ คราวนี้เป็นคิวของสองคู่หูผู้ก่อตั้งกูเกิล Larry Page และ Sergey Brin บ้างครับ
Larry Page ถูกแท็กมาจาก Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ แต่เขาไม่ยอมถูกราดคนเดียว เลยนำคู่หู Sergey Brin มาถูกราดพร้อมกันด้วย
ในวิดีโอไม่ได้บอกว่าสองผู้ก่อตั้งกูเกิลส่งหน้าที่ให้ใครต่อ แต่โดยรวมแล้ว ตอนนี้ซีอีโอของกูเกิล แอปเปิล ไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊ก ถูกราดน้ำกันครบหมดแล้ว
- Read more about ถึงคิว Larry Page และ Sergey Brin ถูกราดน้ำแข็งแล้ว
- 16 comments
- Log in or register to post comments
จากข่าว Mark Zuckerberg ยอมเอาน้ำเย็นรดตัว และท้า Bill Gates ให้ทำแบบเดียวกัน ตอนนี้การเทน้ำแข็งราดตัวเองเพื่อสนับสนุนแคมเปญระดมทุนเพื่อต่อสู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ระบาดไปทั่ววงการไอทีอเมริกาแล้ว
ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทใหญ่ที่ลงมาเล่นแคมเปญนี้มีทั้ง Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ (แท็ก Jeff Bezos และ Larry Page) กับ Phil Schiller ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของแอปเปิล (แท็กเจ้านายตัวเอง Tim Cook และนักแสดง Chris O'Donnell)
ต้องรอดูว่าท่านซีอีโอทั้งสามแห่งกูเกิล แอปเปิล อเมซอน จะร่วมมาเล่นแคมเปญนี้ด้วยหรือไม่ครับ
สองผู้ก่อตั้งกูเกิล Larry Page และ Sergey Brin ให้สัมภาษณ์กับ Vinod Khosla นักลงทุนชื่อดัง ( อันเดียวกับข่าวนี้ ) เล่าประวัติศาสตร์กูเกิลในช่วงแรกที่เกือบจะขายให้ Excite เว็บค้นหารายใหญ่ในช่วงนั้น
Brin เล่าว่าตอนนั้นพวกเขาพัฒนาเทคนิคค้นหา PageRank (เขากล่าวติดตลกว่าเสียดายที่ไม่ชื่อ BrinRank) แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีแต่ข้อมูล title และ URL ของเว็บเพจ ไม่มีตัวเนื้อหาของเพจจริงๆ ในช่วงนั้นเขาโชว์เทคโนโลยีนี้ให้บริษัทด้านค้นหาหลายราย เช่น Infoseek, Excite, Lycos แต่ไม่มีรายไหนสนใจมากนัก
ในงานสนทนา Fireside ซึ่งจัดโดย Khosla Ventures โดยมีผู้ก่อตั้งกองทุน Vinod Khosla เป็นผู้สัมภาษณ์และมี Larry Page กับ Sergey Brin เป็นแขกร่วมสนทนา เนื้อหาตอนหนึ่ง Khosla ถามว่ากูเกิลมีวิธีบริหารจัดการโครงการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นตลอดอย่างไร ซึ่ง Page บอกว่าวิธีการก็ตรงไปตรงมา เมื่อมีโครงการมากขึ้น ก็เพิ่มจำนวนคนให้มากขึ้น
Page ได้เปิดประเด็นต่อไปว่ากูเกิลเป็นบริษัทใหญ่ และการที่มีพนักงาน 30,000 คนทำงานแค่ไม่กี่อย่างนั้นทำให้กูเกิล "ดูไม่น่าสนใจ" เอาเสียเลย เขายังยกตัวอย่างแอปเปิลว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่มาก แต่กลับทำผลิตภัณฑ์ขายแค่ไม่กี่อย่าง ซึ่งในอดีตเขาเองก็เคยถูกสตีฟ จ็อบส์บอกว่ากูเกิลทำหลายอย่างพร้อมกันมากเกินไป
ภายหลังงาน Google I/O 2014 ที่ผ่านไป ซีอีโอคนล่าสุดของกูเกิล Larry Page ได้ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของกูเกิลที่แสดงออกมาผ่านการนำเสนอบนเวทีในงานว่า ซอฟต์แวร์ของกูเกิลจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ผ่านแอนดรอยด์และ Chrome เป็นตัวกลางระหว่างอุปกรณ์ที่หลากหลาย ขณะที่อุปสรรคอย่างหนึ่งคือ ผู้คนมักจะตั้งแง่และมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนที่จะยอมรับมันได้
Larry Page กล่าวว่ากูเกิลมีแผนเกี่ยวกับโลกที่อุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่นทีวี แล็ปท็อป แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน เชื่อมถึงกันผ่านซอฟต์แวร์ (multiscreen world) มาสักพักใหญ่ๆ แล้ว โดยมีแอนดรอยด์และ Chrome เป็นตัวกลาง โดยซอฟต์แวร์เหล่านี้จะคอยช่วยเหลือผู้ใช้ทุกๆ เรื่องและทุกๆ ที่ที่ต้องการ
กูเกิลขายโมโตโรลาทิ้งไปแล้ว แต่ล่าสุดมี "เบื้องหลัง" ปัญหาระหว่างโมโตโรลากับกูเกิลถูกเปิดเผยออกมาครับ
เว็บข่าว The Information (ต้องสมัครสมาชิก) รายงานข้อมูลวงในว่าหลังโมโตโรลาโดนกูเกิลซื้อกิจการ ทีมงานก็มีไอเดียของ "สุดยอดมือถือ Android" มากมายไปเสนอกูเกิล โดยเฉพาะฟีเจอร์ด้านการสั่งงานด้วยเสียงพูดที่ต้องทำงานร่วมกับทีมกูเกิลอย่างใกล้ชิด แต่โมโตโรลากลับฝันสลายเพราะซีอีโอ Larry Page สั่งห้ามไม่ให้โมโตโรลาทำงานร่วมกับทีม Android โดยตรง เพราะกลัวพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ ไม่พอใจนั่นเอง
จากข่าว คุณอาจกำลังถูกองค์กรของสหรัฐเข้าถึงเฟซบุ๊ค, จีเมล, ฮอตเมล์, สไกป์ ที่พูดถึงโครงการลับ PRISM ของรัฐบาลสหรัฐ (NSA และ FBI) ที่เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนบริการออนไลน์จำนวนมาก
หลังข่าวนี้เผยแพร่ออกมาทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง (ของสหรัฐ) และล่าสุดผู้นำของสองบริษัทใหญ่บนโลกออนไลน์คือ Larry Page และ Mark Zuckerberg ก็ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับ PRISM แล้ว
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อหนึ่งปีก่อน Larry Page ซีอีโอของกูเกิลมีปัญหาเรื่องเสียง ไม่ได้ขึ้นเวที Google I/O 2012 และหลังจากนั้นก็มีข่าวว่า เขายังทำงานอยู่แม้จะมีปัญหาเรื่องเสียงแบบเรื้อรังก็ตาม
ล่าสุด Page เปิดเผยอาการป่วยของเขาผ่าน Google+ ว่าในอดีตเมื่อ 14 ปีก่อน เขาเป็นหวัดร้ายแรงและมีปัญหาเสียงแหบ เมื่อไปตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าเส้นเสียง ( vocal cord ) ด้านซ้ายเป็นอัมพาต เขาจึงมีเส้นเสียงใช้งานได้เพียงเส้นเดียวนับแต่นั้นมา