พม่าเตรียมประกาศกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ โดยเน้นความมั่นคงของรัฐบาลทหารปัจจุบันอยู่หลายส่วน
กฎหมายใหม่นี้จะให้อำนาจรัฐบาลเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, แบนเนื้อหาได้ค่อนข้างกว้าง, เปิดทางให้ดักฟักการสื่อสาร, และจำคุกผู้วิจารณ์รัฐบาลหรือแม้แต่พนักงานของบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ อีกส่วนหนึ่งคือการเพิ่มโทษจำคุกผู้ที่ใช้บริการ VPN เพื่อหลบเลี่ยงการบล็อคเว็บ
ปีที่แล้ว Telenor เคยออกมายอมรับว่าถอนตัวออกจากพม่าเพราะ รัฐบาลบีบให้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟัง การปรับกฎหมายครั้งนี้ก็เป็นการประกาศแนวทางนี้ออกมาชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรจากเดิมที่เป็น คำสั่งลับของรัฐบาล
เมื่อเดือนกรกฎาคม Telenor ประกาศถอนตัวจากพม่า เตรียมขายหุ้นธุรกิจมือถือให้ M1 Group จากเลบานอน
ล่าสุด Telenor ออกมายืนยันแนวทางเดิม พร้อมอธิบายว่าการทำธุรกิจในพม่าต่อไป จะถูกรัฐบาลทหารบีบให้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟัง (intercept equipment) ซึ่งขัดกับกฎหมายของนอร์เวย์และมาตรฐานจริยธรรมของบริษัท
Telenor บอกว่านับจนถึงปัจจุบัน Telenor Myanmar ยังไม่ได้เปิดใช้อุปกรณ์ดักฟังใดๆ และยืนยันว่าจะไม่ปฏิบัติตามถ้าไม่ถูกบังคับ แต่การฝ่าฝืนก็อาจมีผลต่อความปลอดภัยของพนักงาน จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขายกิจการในพม่า
Telenor เตรียมขายหุ้นธุรกิจมือถือทั้งหมดในประเทศพม่า (Telenor Myanmar) ให้ M1 Group
บริษัทสัญชาติเลบานอน ในราคา 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Telenor แจ้งเหตุผลของการถอนตัวว่าเหตุการณ์ในพม่าทำให้ Telenor ดูแลความปลอดภัยของพนักงานไปพร้อมๆ กับการทำตามระเบียบท้องถิ่นได้ยาก หลังก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าสั่งให้โอเปอร์เรเตอร์ทุกรายต้องติดตั้งระบบดักฟังข้อมูล และห้ามผู้บริหารเดินทางออกนอกประเทศ
ดีลนี้ตีมูลค่าของ Telenor Myanmar ที่ 600 ล้านดอลลาร์ กระบวนการจ่ายเงินจะแบ่งจ่ายบางส่วนทันทีและอีก 55 ล้านดอลลาร์จ่ายในอีก 5 ปีข้างหน้า M1 Group จะถือหุ้นทั้งหมดของ Telenor Myanmar และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจต่อ ที่ผ่านมา Telenor เข้าไปเปิด Telenor Myanmar ตั้งแต่ปี 2014 และเริ่มมีกระแสเงินสดเป็นบวกตั้งแต่ปี 2017 รวมจ่ายเงินปันผลออกมาแล้วกว่า 3,200 ล้าน NOK (11,800 ล้านบาท)
สำนักข่าว Reuters รายงานว่าบริษัทโทรคมนาคมหลายแห่งในเมียนมา ได้รับคำสั่งลับจากรัฐบาลทหารเมียนมา ห้ามผู้บริหารระดับสูงเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าเป็นผู้บริหารชาวเมียนมาหรือชาวต่างชาติก็ตาม
นอกจากนี้ บริษัทโทรคมนาคมเหล่านี้ยังได้รับคำสั่งให้ติดตั้งระบบดักจับข้อมูล โดยมีกำหนดว่าต้องเสร็จภายในวันที่ 5 กรกฎาคม (วันนี้) ซึ่งรัฐบาลทหารมีแรงกดดันอย่างต่อเนื่องให้บริษัทเหล่านี้ติดตั้งระบบดักจับข้อมูลให้เสร็จโดยเร็ว
เมียนมามีโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือรายใหญ่ 4 ราย ได้แก่
Twitter เปิดตัวอีโมจิสำหรับ #MilkTeaAlliance หรือพันธมิตรชานม เป็นอีโมจิรูปแก้วชานมที่มีพื้นหลังสามสีซึ่งสะท้อนถึงสีต่างๆ ของชานมในแต่ละประเทศ โดย MilkTeaAlliance เป็นพันธมิตรความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปี 2020 ที่ผ่านมา
การแสดงอีโมจิชานม สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยว่า พันธมิตรชานม และภาษาอื่นๆ คือ ภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี เมียนมา ทาง Twitter บอกด้วยว่า มีการทวีตพูดคุยถึงพันธมิตรชานม 11 ล้านทวีตในปีที่ผ่านมา
เมื่อคืนนี้ประมาณตี 1 ตามเวลาท้องถิ่นเมียนมา (ช้ากว่าบ้านเรา 30 นาที) รัฐบาลทหารเมียนมาตัดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศอีกรอบ โดยรอบนี้เป็นการตัดเน็ตบรอดแบนด์ที่ยังเคยใช้งานได้ ส่วนเน็ตมือถือโดนปิดกั้นมาก่อนนานแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม
Reuters รายงานข่าวว่าการตัดเน็ตครั้งนี้เป็นคำสั่งของรัฐบาลที่ไม่ได้แจ้งต่อสาธารณะ แต่ระบุว่าเป็นจดหมายส่งมายัง ISP ในเมียนมา โดยไม่ได้แจ้งเหตุผลเพิ่มเติม
- Read more about รัฐบาลเมียนมาสั่งตัดเน็ตทั้งประเทศอีกรอบแล้ว
- 10 comments
- Log in or register to post comments
TikTok เป็นโซเชียลมีเดียรายล่าสุดที่ออกมาจัดการบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลปลอมและความรุนแรงในเมียนมาร์อย่างเป็นทางการ หลังจากสื่อหลายรายเริ่มรายงานว่าบริษัทหละหลวมในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ และปล่อยให้เผยแพร่ในเมียนมาร์เป็นเวลานาน
Rest of World รายงานว่า ทหารเมียนมาร์ได้โพสต์วิดีโอนับร้อยลง TikTok ตั้งแต่ยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตั้งแต่โฆษณาชวนเชื่อในรัฐบาลทหาร ไปจนถึงข้อมูลปลอมที่สร้างความสับสนให้ผู้ประท้วง หรือแม้กระทั่งการข่มขู่จากทหารพร้อมกับอาวุธ
สถานการณ์ในเมียนมาร์ยังตึงเครียด และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากการประท้วงรัฐประหาร 38 คนแล้วตามรายงานของ UN และประเทศต่างๆ เริ่มมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาร์แล้ว ล่าสุด YouTube ลบช่องทีวีที่ดำเนินการโดยกองทัพเมียนมาร์ออก 5 ช่อง เช่น MRTV (Myanma Radio and Television), Myawaddy Media, MWD Variety และ MWD Myanmar
หลังกองทัพของเมียนมา (ตะมะดอว์) ถูกทั่วโลกประนามและยึดทรัพย์สินไปจนถึงห้ามเดินทาง ล่าสุด Facebook ออกมาประกาศท่าทีคล้ายกันคือสั่งแบนทุกแอคเคาท์ ทุกกิจกรรมของกองทัพบนแพลตฟอร์มทั้ง Facebook และ Instagram รวมถึงสื่อและโฆษณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
Facebook บอกว่าปฏิบัติกับกองทัพเมียนมาบนมาตรฐานเดียวกันกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น แต่กรณีนี้มีข้อพิจารณาเพิ่มเติมจากข้อมูลของหน่วยงานอิสระที่ดูแลด้านการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีเมียนมาของสหประชาชาติเมื่อปี 2019 (UN Fact-Finding Mission on Myanmar) และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) พบว่า
ต่อเนื่องจากข่าว Facebook ลดการแพร่กระจายโพสต์จากเพจของกองทัพพม่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุดวันนี้ (21 ก.พ.) เพจหลักของกองทัพพม่าคือ Tatmadaw True News Information Team Page ถูกลบแล้ว เนื่องจากทำผิดกฎเรื่องความรุนแรงของเฟซบุ๊กหลายครั้ง
สถานการณ์ในเมียนมาตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ หลังทหารเข้ายึดอำนาจ มีการจับกุมผู้ประท้วงและปิดการใช้งานโซเชียลมีเดียหลายรอบ ล่าสุด กลุ่ม NetBlocks ผู้มอนิเตอร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตระบุว่า เมียนมามีการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตรอบใหม่ การใช้งานอัมพาตแทบทั่วประเทศ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูบภาพสตรีมสดตามท้องถนน พบว่าทหารนำรถถังและกองทัพเพื่อควบคุมประชาชนในหลายสาขาอาชีพที่เข้าร่วมประท้วงต่อต้านรัฐประหารมากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้แก๊สน้ำตา และอาวุธด้วย Tom Andrews ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติกล่าวว่าความพยายามของรัฐบาลทหารในการควบคุมการประท้วงที่กำลังขยายตัวนี้ เป็นสัญญาณของความสิ้นหวังและเป็นการประกาศสงครามกับประชาชนของตน
Facebook ประกาศมาตรการรับมือรัฐประหารในพม่า โดยจะลดการแสดงผลโพสต์จากเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ เช่น เพจข่าวสารของทหาร Tatmadaw Information Team และบัญชีโฆษกของกองทัพ Brigadier-General Zaw Min Tun
Facebook ยังจะไม่รับคำขอของรัฐบาลพม่าในการลบโพสต์ต่างๆ ในระบบ (อย่างที่รัฐบาลประเทศอื่นๆ สามารถทำได้), เดินหน้าแบนบัญชี IO แบบที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว, คุ้มครองบัญชีของนักเคลื่อนไหว สื่อมวลชน นักการเมือง จากการโดนแฮ็กบัญชี เป็นต้น
ที่มา - Facebook
- Read more about Facebook ลดการแพร่กระจายโพสต์จากเพจของกองทัพพม่า
- Log in or register to post comments
เมื่อวานนี้อินเทอร์เน็ตในเมียนมาร์ดับไปแทบทั้งหมด แต่ช่วงบ่ายที่ผ่านมาก็พบว่ากลับมาประมาณครึ่งหนึ่งของทราฟิกปกติแล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าทางรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ยกเลิกคำสั่งหรือไม่
ทางด้าน Telenor ประกาศทางทวิเตอร์เพียงสั้นๆ ว่า Telenor Myanmar กลับมาให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ทางด้าน Netblocks แสดงทราฟิกว่ากลับมาประมาณ 50% ของช่วงเวลาปกติ ซึ่งเท่ากับวันก่อรัฐประหารที่บริการหลักๆ หลายตัวถูกตัดขาด แม้จะไม่ได้ตัดอินเทอร์เน็ตไปทั้งหมด
- Read more about อินเทอร์เน็ตในเมียนมาร์กลับมาบางส่วน
- 19 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อวานนี้ (6 ก.พ.) รัฐบาลเมียนมาร์ สั่งตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในประเทศ โดยอ้างสาเหตุเรื่องข่าวปลอมและความสงบเรียบร้อยในประเทศ ส่งผลให้เว็บไซต์หลายแห่งของพม่าไม่สามารถเข้าถึงได้จากนอกประเทศ
เครือข่าย Telenor ประกาศว่าต้องทำตามคำสั่งนี้ แต่ก็แสดงความไม่เห็นด้วย และระบุว่าเครือข่ายโทรศัพท์แบบเดิม (โทรด้วยเสียงและ SMS) ยังสามารถใช้งานได้
เมื่อวานนี้ยังมีเหตุการณ์ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารเมียนมาร์ในเมืองย่างกุ้ง ทำให้แอพแชทที่คุยผ่าน mesh network อย่าง FireChat หรือ Bridgefy ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน
กระทรวงการสื่อสารของเมียนมา สั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศบล็อค Twitter และ Instagram เพิ่มเติมจากที่สั่งบล็อค Facebook ไปก่อนแล้ว หลังเหตุการณ์รัฐประหาร
ข้อมูลนี้เปิดเผยโดย Telenor ที่มีธุรกิจในเมียนมาร์ ทาง Telenor ระบุชัดว่าไม่เห็นด้วยกับการบล็อคครั้งนี้ แต่ต้องทำตามเพราะเป็นคำสั่งตามกฎหมายของเมียนมาร์ ซึ่งบริษัทจะพยายามหาวิธีให้เปิดการเข้าถึงโดยเร็วที่สุด
คำสั่งบล็อคนี้ยังมีผลให้ Twitter ล่มในแถบเอเชียเมื่อคืนนี้ ซึ่งเกิดจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในพม่าปรับคอนฟิกเราเตอร์ใหม่
วันนี้ (4 ก.พ.) ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเมียนมาร์รวมถึง MPT เครือข่ายโทรคมนาคมของรัฐ ปิดกั้นการเข้าถึง Facebook เป็นเวลา 3 วัน หลังเมื่อเช้าตรู่วันจันทร์ที่ผ่านมา ทหารทำการรัฐประหาร และ มีรายงานว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่ม ประชาชนถูกตัดขาดการเชื่อมต่อ
กระทรวงการสื่อสารและข้อมูลโพสต์จดหมายระบุว่า Facebook จะถูกบล็อกจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เพื่อความมั่นคง และยังบอกด้วยว่า มีคนที่สร้างปัญหาให้กับเสถียรภาพของประเทศ กำลังแพร่กระจายข่าวปลอมและข้อมูลที่ผิดและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดใน Facebook
- Read more about เมียนมาอ้างความมั่นคง ประกาศบล็อก Facebook 3 วัน
- 22 comments
- Log in or register to post comments
จากเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. NetBlocks Internet Observatory องค์กรด้านสิทธิดิจิทัลในอังกฤษเผยว่า จากการใช้แผนที่พื้นที่ IP address ของประเทศแบบเรียลไทม์เพื่อระบุระดับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พบว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์ในเมียนมาร์หดหายไป 50% ในช่วงเวลา 03.00 - 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
เช้าวันนี้กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาของเมียนมาร์เริ่มฉีดวัคซีน Covishield จากอินเดีย (เป็นตัวเดียวกับ AstraZeneca ผลิตโดย Serum Institute of India) เป็นวันแรกหลังจากได้รับวัคซีน 1.5 ล้านโดสเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มแรกที่จะได้ฉีดคือกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 110,000 คน ตามด้วยเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและผู้สูงอายุเกิน 65 ปีตามลำดับ
รัฐบาลเมียนมาร์ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ครบ 40% ของประชากรภายในปีนี้ โดยนอกจาก Covishield จากอินเดียแล้ว ทางการคาดว่าจะได้รับวัคซีนผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกอีก 20% ของประชากร เริ่มส่งมอบภายในเดือนเมษายนนี้ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนจากรัสเซียและจีน เฉพาะจีนนั้นเคยสัญญาว่าจะส่งมอบวัคซีนให้ 300,000 โดส
แอปเปิลแจ้งนักพัฒนาแอปว่าบริการ App Store จะขยายเพิ่มเติมไปอีก 20 ประเทศ จากเดิมที่มีให้บริการอยู่แล้วใน 155 ประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักพัฒนาได้เข้าถึงตลาดใหม่มากขึ้น
ทั้งนี้นักพัฒนาต้องไปยอมรับเงื่อนไขบริการใหม่ในเว็บ Apple Developer เพื่อให้แอปของตนมีให้ดาวน์โหลดใน 20 ประเทศใหม่ ส่วนแอปแบบเสียเงินต้องเข้าไปเลือกรูปแบบราคาค่าบริการด้วย ก่อนวันที่ 10 เมษายน
20 ประเทศใหม่ที่ App Store จะเปิดให้บริการได้แก่ อัฟกานิสถาน, กาบอง, โกตดิวัวร์, จอร์เจีย, มัลดีฟส์, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, แคเมอรูน, อิรัก, โคโซโว, ลิเบีย, มอนเตเนโกร, โมร็อกโก, โมซัมบิก, เมียนมาร์, นาอูรู, รวันดา, ตองกา, แซมเบีย และวานูอาตู
Telenor เครือข่ายมือถือที่เปิดให้บริการในเมียนมาร์ เผย รัฐบาลบล็อกการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นเวลาชั่วคราวในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูงในยะไข่และชีน โดยการบล็อกมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน เวลา 10 โมงตามเวลาท้องถิ่น แต่การติดต่อพวกการโทรและข้อความ SMS ยังใช้งานได้
Facebook เผยว่าได้กวาดล้างบัญชีในเมียนมาร์อีกครั้ง โดยลบบัญชีผู้ใช้งานออกไป 135 บัญชี, 425 เพจ, Facebook Groups 17 กลุ่ม และ Instagram 15 บัญชี โดยบัญชีและเพจที่ลบออกมีหลากหลายประเภททั้งข่าว ความสวยงาม ความบันเทิง ฯลฯ แต่เหตุผลที่ถูกลบ Facebook ไปพบความเชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมาร์
การกวาดล้างครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นการกวาดล้างใหญ่ที่สุดเท่าที่ Facebook เคยทำในเมียนมาร์ ก่อนหน้านี้ Facebook ได้ ลบเพจพระที่ปลุกระดมความเกลียดชังชาวโรฮิงญา และ แบนเพจนายพลที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชังออกไป เป้าหมายคือบรรเทาปัญหาความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องคนเชื่อข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญา นำไปสู่ความเกลียดชังชนกลุ่มน้อย
Jack Dorsey โพสต์ทวิตเตอร์ว่าได้ไปนั่งสมาธิสงบจิตสงบใจที่เมียนมาร์เป็นเวลา 10 วัน โดยตัดขาดจากการใช้อินเทอร์เน็ต อ่านโซเชียล และยังถือปฏิบัติอย่างเข้มงวด ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่พูดคุย สบตากับใคร และยังบอกด้วยว่าเมียนมาร์เป็นประเทศที่สวยงาม ผู้คนมีความสนุกสนาน อาหารดี
สิ่งเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้ชาวทวิตเตอร์ เพราะที่เมียนมาร์มีปัญหาร้ายแรงอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องสงครามศาสนาระหว่างชาวพุทธและชาวโรฮิงญา มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มีการใส่ร้ายและข่าวปลอมเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาบนโซเชียลมีเดีย แม้ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่แพร่ใน Facebook ก็ตาม (ชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่ใช้ Facebook เป็นช่องทางตามข่าว)
ชาวเน็ตถึงกับบอกว่า เสียงกรีดร้องของชาวโรฮิงญาไม่ได้ทำลายความเงียบเลยหรือ มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้การฝึกฝนอย่างมากในการไปที่นั่นและละเลยว่ามีเรื่องน่ากลัวแบบนี้เกิดขึ้น
Facebook พยายามแก้ไขปัญหาความเกลียดชังในพม่ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจาก Facebook เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นสำคัญต่อเหตุสลดและการฆาตกรรมชาวโรฮิงญา เช่น แบนเพจที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชัง เพิ่มบุคลากรแก้ปัญหานี้โดยตรง
Facebook เผยว่าในการแก้ปัญหาได้ร่วมมือกับ Business for Social Responsibility หรือ BSR องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการทำรายงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในพม่า
ผลการรายงานคือ Facebook มีสิ่งต้องทำอีกมากในการแก้ปัญหานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ Facebook ต้องบังคับใช้นโยบายด้านเนื้อหาอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพม่าและกลุ่มประชาสังคมในพม่าด้วย รวมทั้งต้องเตรียมรับมือกับข้อมูลเท็จข่าวปลอมที่อาจแพร่สะพัดในช่วงเลือกตั้งพม่าปี 2020
MIH ผู้บริการอินเทอร์เน็ตในพม่า กลุ่มเดียวกับ UIH ในไทย เปิดตัวอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์บนโครงข่ายสื่อสารระดับ 100 Gbps ในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เตรียมโครงสร้างพื้นฐานรับการลงทุนจากต่างประเทศ
Facebook ประกาศแบนครั้งใหญ่ในพม่า หวังแก้ปัญหาข่าวปลอมและความเกลียดชัง ประกอบด้วย Facebook จำนวน 18 บัญชี, Instagram 1 บัญชี, เพจ 52 แห่ง ซึ่งมีคนติดตามรวมกันถึง 12 ล้านคน Facebook ยังระบุด้วยว่าได้แบนคนและองค์กรรวมกัน 20 ราย รวมถึงนายพลมินอองฮวายผู้บัญชาการกองกำลังทหาร และสถานีโทรทัศน์ Myawady ซึ่งเป็นของทหารด้วย
บัญชีและเพจที่ถูกแบนเป็นรายชื่อที่มีอยู่ใน รายงานของ UN ซึ่งพบหลักฐานว่าบุคคลและองค์กรเหล่านี้ได้กระทำหรือทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศ และมีเพจ 46 เพจ และอีก 12 บัญชี ที่ Facebook พบว่าพวกเขาใช้เผยแพร่แหล่งข่าวอิสระและเพจแสดงความคิดเห็นสนับสนุนฝ่ายทหารด้วย