Meta และซีอีโอ Mark Zuckerberg ประกาศการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าว (Fact-Checking) จากที่ใช้แหล่งข้อมูลจากองค์กรภายนอก 3rd Party มาเป็นระบบให้ชุมชนช่วยกันรายงานและตรวจสอบเนื้อหาที่ถูกต้องหรือ Community Notes แบบเดียวกับ X ซึ่งจะ มีผลในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก
Meta บอกว่า Community Notes มีแผนเตรียมขยายไปยังผู้ใช้งานประเทศอื่นด้วย เมื่อเครื่องมือนี้มีการปรับปรุงมากขึ้น โดยปัจจุบันการตรวจสอบ Fact-Checking ของ Meta ใช้ข้อมูลผ่านเครือข่าย International Fact-Checking Network และ European Fact-Checking Standards Network สำหรับผู้ใช้งานในยุโรป มีผลทั้งบน Facebook, Instagram และ Threads
Eric Schmidt อดีตซีอีโอกูเกิล ไปออกรายการ Amanpour and Company ทางสถานี PBS ของสหรัฐ เนื่องในโอกาสเขาออกหนังสือใหม่ "Genesis: Artificial Intelligence, Hope and the Human Spirit" ที่เขียนร่วมกับ Henry A. Kissinger อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และ Craig Mundie อดีตผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์
Bluesky ปรับเกณฑ์การใช้งานแพลตฟอร์ม โดยบัญชีที่ล้อเลียนหรือปลอมเป็นบุคคลอื่น (impersonation) จะต้องแสดงข้อความให้ชัดเจนในชื่อและข้อมูลผู้ใช้งาน (name and bio) เพื่อให้ผู้ติดตามบัญชีเหล่านี้รับทราบแต่แรกว่าไม่ใช่ตัวจริง โดย Bluesky จะแปะป้าย impersonation ให้เห็นชัดๆ อีกทางด้วย
Bluesky ยังบอกว่าการเปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ (identity churning) เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตาม เป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ทำ และทีมงานได้เพิ่มกำลังการตรวจสอบเนื้อหา 4 เท่า เพื่อให้สามารถรับมือกับ ผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดปัญหาสแปม บ็อต และบัญชีปลอมตามมา
Taylor Swift ประกาศตัวใน โพสต์บน Instagram ว่าเธอสนับสนุนรองประธานาธิบดี Kamala Harris ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐช่วงเดือนพฤศจิกายน 2024
การที่ดาราหรือคนดังประกาศสนับสนุนผู้สมัครคนใดไม่ใช่เรื่องแปลกของสหรัฐอเมริกา แต่กรณีของ Taylor นั้นเธออ้างถึง ปัญหาภาพปลอมที่สร้างด้วย AI นำรูปเธอไปสนับสนุน Donald Trump โดย ตัวของ Trump เองถึงขั้นโพสต์ภาพปลอมของเธอและชาว Swifties บนบัญชี @RealDonaldTrump บนเครือข่าย Truth Social ของเขาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
Meta ประกาศเปลี่ยนแนวทางจัดการสำหรับคอนเทนต์ที่สร้างจาก AI ตามความเห็นของคณะกรรมการอิสระ Oversight Board โดยจะขึ้นป้ายกำกับ "Made with AI" คอนเทนต์ทั้งวิดีโอ เสียง และภาพ หากตรวจสอบพบว่าสร้างด้วย AI มีผลทั้ง Facebook, Instagram และ Threads
Meta บอกว่า Oversight Board ให้ความเห็นว่ากฎปัจจุบันของแพลตฟอร์มนั้นแคบเกินไป ครอบคลุมเฉพาะวิดีโอที่สร้างด้วย AI และเฉพาะวิดีโอปลอมที่สวมรอยเป็นบุคคลอื่น ซึ่งปัจจุบันแนวทางของวิดีโอจาก AI มีความหลากหลายและพัฒนาไปมาก
OpenAI นำเสนอเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ด้าน AI โดยเป็นโมเดลสร้างเสียงเสมือนชื่อว่า Voice Engineมีจุดเด่นคือใช้ข้อมูลตั้งต้นคือ เสียงพูดต้นฉบับความยาว 15 วินาที และข้อความตัวหนังสือของเสียงต้นแบบนั้น ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเสียงพูดที่มีจังหวะ และการแสดงออกอารมณ์เหมือนกับต้นฉบับ
โมเดล Voice Engine นี้ OpenAI นำมาใช้งานแล้วสำหรับความสามารถการ ตอบด้วยเสียงของ ChatGPT ซึ่งใช้ชุดข้อมูลเสียงตั้งต้นก่อน แต่ไม่มีแผนเปิดให้ใช้งานทั่วไปกับสาธารณะ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการนำไปใช้งานที่ไม่เหมาะสม
YouTube เปิดตัวเครื่องมือใหม่ใน Creator Studio เพื่อให้ครีเอเตอร์ใส่ป้ายกำกับหากคอนเทนต์นั้นสร้างด้วย AI ทั้งกรณีที่เป็นคอนเทนต์ถูกสังเคราะห์ (synthetic) หรือมีการปรับแก้ไข (altered) ตามแนวทางที่ YouTube ประกาศ ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
YouTube บอกว่าการใส่ป้ายกำกับนี้ ทำเพื่อเป็นการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยต่อผู้ชม อย่างไรก็ตามคอนเทนต์ที่มีความชัดเจนว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นอนิเมชัน มีการใส่เอฟเฟกต์ หรือใช้ Generative AI ช่วยในขั้นตอนการผลิต กรณีแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ป้ายกำกับ
YouTube เตรียมรับมือปัญหาคอนเทนต์ปลอมที่สร้างด้วย AI โดยประกาศกฎใหม่ว่าวิดีโอที่อัพโหลดขึ้นแพลตฟอร์ม ต้องใส่ป้ายกำกับด้วยว่าเป็นคอนเทนต์ที่ถูกสังเคราะห์ (synthetic) หรือปรับแก้ (altered) หรือไม่ โดยกดติ๊กตอนอัพโหลด แล้วระบบจะขึ้นป้ายแจ้งให้ผู้ชมรับทราบ
YouTube ยกตัวอย่างคอนเทนต์ที่เข้าข่าย เช่น วิดีโอที่สร้างด้วย AI จำลองเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจริง แต่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง, วิดีโอที่โชว์บุคคลกำลังพูดหรือทำบางอย่างที่ไม่ได้ทำจริงๆ
ครีเอเตอร์ที่ถูกตรวจพบว่าละเมิดกฎนี้ ไม่เปิดเผยข้อมูลตอนอัพโหลด อาจถูกพิจารณาลบคอนเทนต์หรือแบนไปเลยก็ได้
ที่ผ่านมามีประเด็นเรื่องเพจปลอมแล้วยิงโฆษณาหลอกลวงประชาชนมาโดยตลอด ที่เด่นๆ และเห็นกันบ่อยหน่อยก็กรณี เพจอมตะปลอม หรือเพจ ดร. นิเวศน์ เหมวิชรวรากรปลอม ชักชวนลงทุน จนถึงขนาด กระทรวงดิจิทัลออกมาขู่จะบล็อคแพลตฟอร์ม
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรปส่งจดหมายถึง Mark Zuckerberg ขอให้ตระหนักในการนำข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม เนื่องจากสหภาพยุโรปเห็นข่าวปลอมบนแพลตฟอร์มในประเด็นการโจมตีระหว่างอิสราเอลและฮามาสเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงขอให้ Mark Zuckerberg ปฏิบัติตามอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง
Meta มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมายเช่น เนื้อหาของผู้ก่อการร้าย, คำพูดแสดงความเกลียดชัง ภายใต้กฎหมาย Digital Services Act ของยุโรป ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้เสียค่าปรับ 6% จากรายได้ต่อปีของบริษัท
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์เตือนผู้ใช้จากภาพปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์เนื่องจากช่วงหลังภาพจากปัญญาประดิษฐ์นั้นสมจริงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้สร้างข่าวปลอมได้โดยง่าย โดยแบ่งออกเป็นสองฟีเจอร์
ฟีเจอร์แรกคือ About this image สืบประวัติภาพว่าเริ่มต้นโพสจากที่ใด ทำให้เห็นว่าภาพมีที่มาที่ไปอย่างไร การใช้งานสำคัญคือภาพที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์อาจจะถูกสร้างมาโพสในเว็บบอร์ดเพื่อความขำขันแต่ถูกนำไปเสริมเติมแต่งจนกลายเป็นข่าวปลอม
ฟีเจอร์ต่อมาคือการขอความร่วมมือกับบริการสร้างภาพให้ใส่ข้อมูลลงไปในภาพว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นมา แล้ว Google Search จะแสดงข้อความเตือนว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์เสมอ
กูเกิลเผยสถิติการต่อสู้กับ "ข้อมูลปลอม" ใน Google Maps ที่เปิดให้ผู้ใช้คนไหนก็ได้สามารถอัพเดตข้อมูลสถานที่และแผนที่ได้
เทคนิคของกูเกิลต่างจาก OpenStreetMap ที่ใช้แรงคนคอยตรวจสอบ โดยใช้โมเดล machine learning เข้ามาช่วยตรวจจับด้วย ล่าสุดกูเกิลยังอัพเดตโมเดล AI ตัวใหม่ให้ตรวจจับข้อมูลปลอมเหล่านี้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม
แพทเทิร์นใหม่ที่กูเกิลพบคือการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจปลอมโดยใช้โดเมน .design หรือ .top และการอัพโหลดรูปที่มีเบอร์โทรปลอมๆ ลงในรูป เพื่อล่อให้คนที่ค้นหาธุรกิจโทรไปยังเบอร์ปลอมเหล่านี้แทนเบอร์จริง ซึ่งโมเดลตัวใหม่ของกูเกิลตรวจจับได้
สถิติการตรวจจับของปี 2022 มีดังนี้
แนวทางของ Elon Musk ในฐานะเจ้าของใหม่ของ Twitter ประกาศเอาไว้ว่า อยากให้เป็นพื้นที่ถกเถียงทางความคิดที่แตกต่างกัน และ จะตั้งกรรมการกำกับดูแลเนื้อหา เพื่อตัดสินว่าควรแบนหรือไม่แบนใคร ในทางตรงข้าม เขาไล่ซีอีโอ และหัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลเนื้อหาที่ตัดสินใจแบน Donald Trump ออก
ท่าทีของ Musk ทำให้คนจำนวนมากจับตาดูว่าแนวทางกำกับดูแลเนื้อหาของ Twitter จะเป็นอย่างไรต่อไป ในโลกยุคที่เต็มไปด้วยปัญหา fake news มากมาย
และ Musk ก็ไม่ทำให้ทุกคนรอนาน ด้วยการโพสต์ลิงก์จากเว็บรวมข่าวปลอมด้วยตัวเอง ก่อนลบออกไปในภายหลัง
Google Search เพิ่มฟีเจอร์ต้านข่าวปลอมชุดใหญ่
เริ่มจากเหตุการณ์ข่าวสำคัญๆ ในท้องถิ่น มีสื่อลงข่าวแล้วอ้างอิงต่อๆ กันจำนวนมาก จนเราไม่รู้ว่าสื่อไหนเป็นจุดเริ่มต้น กูเกิลจะแปะป้าย Highly Cited ในหมวด Top Stories ไว้ให้รู้ว่าข่าวนี้คือต้นเรื่อง
Meta รายงานว่าทางบริษัทสั่งตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky บนแพลตฟอร์ม Facebook แล้ว เป็นไปตามกฎของ Facebook ที่ไม่อนุญาตให้มีวิดีโอประเภทนี้บนแพลตฟอร์ม
วิดีโอปลอมของประธานาธิบดี Zelensky นี้ออกแถลงการณ์ในลักษณะขอให้ประชาชนวางอาวุธเลิกต่อต้านทหารรัสเซีย และมีรายงานว่าวิดีโอนี้เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของสำนักข่าว Ukraine 24 ที่มีรายงานว่าโดนแฮกด้วย
กูเกิลประกาศมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครน-รัสเซีย ประเด็นสำคัญคือ YouTube หยุดรับโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ และจะแสดงคลิปวิดีโอจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ให้เด่นชัดขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของข่าวปลอม
กูเกิลบอกว่าในช่วง 2-3 วันมานี้ แบนคลิปปลอมและช่องข่าวปลอมไปแล้วจำนวนมาก ซึ่งกูเกิลจะเฝ้าระวังเรื่องนี้ต่อไป
Neal Mohan ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ YouTube โพสต์บล็อกอธิบายแนวทางแก้ปัญหาข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ (misinformation) ของ YouTube เวอร์ชันปี 2022
Mohan บอกว่าเดิมที YouTube ใช้นโยบาย 4R (Remove, Raise, Reduce, Reward) ที่ในอดีตเคยเวิร์ค แต่เมื่อข่าวปลอมแพร่กระจายเร็วขึ้นกว่าเดิม บริษัทก็ต้องปรับตัวตามเพื่อตอบสนองให้เร็วขึ้น โดยแนวทางใหม่ของปี 2022 ต้องการแก้ปัญหา 3 ข้อหลักคือ
Joe Rogan นักจัดพ็อดแคสต์ชื่อดังที่เป็นศูนย์กลางความขัดแย้งกรณี Spotify ออกมาโพสต์คลิปขอโทษกับสิ่งที่เกิดขึ้นผ่าน Instagram ของตัวเอง โดยเขาบอกว่าการจัดพ็อดแคสต์ของเขาเป็นรายการสด หลายครั้งเขาไม่รู้ล่วงหน้าว่าผู้ร่วมรายการจะพูดเรื่องใดบ้าง บางครั้งสิ่งที่เขาพูดในรายการก็เกิดจากความคิดของเขาในตอนนั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นเสน่ห์ของรายการแบบนี้
ในกรณีของนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกวิจารณ์ว่าเผยแพร่ข้อมูลปลอมเรื่องวัคซีน COVID-19 ทาง Rogan บอกว่าเขาไม่ใช่แพทย์ เขาไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ร่วมรายการพูดนั้นถูกหรือผิด เขาเป็นแค่คนสัมภาษณ์เท่านั้น เขาอยากให้มุมมองของแขกร่วมรายการมีหลายด้าน และว่ายินดีแก้ไขหากให้ข้อมูลผิดไป
จาก การประท้วงของ Neil Young ต่อรายการพ็อดแคสต์ Joe Rogan บน Spotify ส่งผลสะเทือนไม่น้อย ทั้งในแง่ผู้ใช้งานบอกเลิกสมาชิก และ ศิลปินคนอื่นขอถอดเพลงออกตาม
ล่าสุด Spotify ทนแรงกดดันไม่ไหว ออกมาชี้แจงแล้ว โดย Daniel Ek ซีอีโอของบริษัทบอกว่ามีกฎเรื่องเนื้อหาผิดกฎหมาย-ข่าวปลอมที่ใช้เป็นการภายในอยู่แล้ว แต่ไม่เคยนำมาประกาศให้คนนอกทราบ ตอนนี้ นำมาขึ้นบนเว็บไซต์แล้ว และจะแปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อเข้าถึงครีเอเตอร์ในภาษาอื่นๆ ด้วย
Neil Young ศิลปินชื่อดังชาวแคนาดา ออกมาเรียกร้องให้ถอดเพลงของเขาทั้งหมดออกจาก Spotify หลังจากเขาไม่พอใจที่ Spotify สนับสนุนรายการพ็อดแคสต์ของ Joe Rogan ที่ให้ข่าวปลอมเรื่องการฉีดวัคซีน
Spotify เซ็นสัญญากับ Joe Rogan ให้มาทำรายการแบบเอ็กซ์คลูซีฟตั้งแต่ปี 2020 โดยว่ากันว่าดีลมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันรายการ The Joe Rogan Experience มีฐานผู้ฟังถึง 11 ล้านคน และมีเรื่องดราม่าเสมอๆ เพราะ Rogan มักเชิญแขกที่มีข่าวอื้อฉาวหรือประเด็นการเมืองมาออกรายการ ซึ่งกรณีล่าสุดเขาเชิญแพทย์รายหนึ่งมาพูดเรื่องวัคซีน COVID-19 และให้ข้อมูลที่ผิด จนทำให้กลุ่มแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์กว่า 1,000 คนส่งจดหมายประท้วงมาแล้ว
YouTube เผยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2020 จนถึงตอนนี้ ได้ทำการลบวิดีโอที่เผยแพร่ข้อมูลอันตรายและข้อมูลปลอมที่เกี่ยวกับโควิด-19 ไปแล้วร่วม 1 ล้านคลิป ตัวอย่างเนื้อหาที่ละเมิดนโยบายและถูกลบเช่น การรักษา โควิด-19 ที่ผิดพลาด หรือการกล่าวอ้างที่หลอกลวงเกี่ยวกับวิธีการรักษา เป็นต้น
Amazon และ GoPro ได้ยื่นฟ้องกลุ่มบริษัทจีนที่ขายผลิตภัณฑ์ GoPro ปลอมใน Amazon ทำการลอกเลียนแบบอุปกรณ์เสริมยอดนิยมของ GoPro และใช้ตราสินค้าอย่างโจ่งแจ้งเพื่อพยายามหลอกล่อผู้ซื้อให้เข้าใจว่านี่คือสินค้า GoPro ของจริง
Google Search จะเริ่มขึ้นป้ายเตือนสำหรับผลการค้นหาในประเด็นที่ "เปลี่ยนแปลงบ่อย" เช่น ประเด็นข่าวหรือสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีคำตอบหรือข้อมูลอย่างเป็นทางการ
ในตัวอย่างของกูเกิลเป็นเรื่อง คลิป UFO ที่เริ่มมีการพูดถึงในโซเชียล แต่ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าจริงแค่ไหน
กูเกิลบอกว่าขึ้นป้ายนี้เพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอมหรือข้อมูลผิดพลาด ซึ่งมักเกิดในข่าวด่วนหรือเหตุการณ์ด่วน ที่ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือขึ้นบนสื่อออนไลน์
การขึ้นป้ายจะเริ่มสำหรับผลการค้นหาเป็นภาษาอังกฤษ แสดงเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาก่อน แล้วค่อยขยายไปยังภาษา-ภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป
ที่มา - Google
Amazon แบนร้านค้าขาย gadget จากจีนไปสามแบรนด์คือ RAVPower ขายพาวเวอร์แบงค์, Taotronics ขายหูฟัง และ VAVA ขายกล้อง ซึ่งทั้งสามแบรนด์อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันคือ Sunvalley ก่อตั้งที่เสินเจิ้น
Jane Manchun Wong นักแกะแอปไปเจอทวิตเตอร์กำลังทดสอบฟังก์ชั่นติดป้ายกำกับโพสต์ที่มีเนื้อหาบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยคิดป้ายสามระดับคือ “รับข่าวสารล่าสุด” หรือให้คลิกเพิ่มเพื่อดูข่าวล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์, “รับทราบข้อมูล” ให้คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม และ “ทำให้เข้าใจผิด” ในโพสต์ที่ให้ข้อมูลบิดเบือนจากความจริง