หน่วยงานด้านภาษีของเม็กซิโก (SAT) ออกมาตรการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 19% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Shein และ Temu
เป้าหมายของการปรับอัตราภาษีในครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อปกป้องธุรกิจในท้องถิ่น และสร้างการแข่งขันที่ยุติธรรม ทำให้ Shein และ Temu ได้รับผลกระทบ เนื่องจากจีนไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศกับเม็กซิโก
สินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา หรือ USMCA จะต้องเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า คือ 17% หากมีสินค้ามีมูลค่าสูงกว่า 50 แต่ไม่เกินถึง 117 ดอลลาร์ แต่ประเทศที่ไม่อยู่ในข้อตกลงนี้จะต้องจ่ายภาษีเมื่อสินค้ามีมูลค่าสูงเกิน 1 ดอลลาร์ ทำให้การส่งสินค้าแทบทุกชิ้นติดศุลกากรทั้งหมด
สรรพากรสหรัฐฯ ออกประกาศสั่งให้โบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ในกลุ่ม decentralized finance (DeFi) ต้องส่งข้อมูลการซื้อขายให้สรรพากรสหรัฐฯ โดยต้องกรอกแบบฟอร์ม 1099-DA ที่แสดงชื่อผู้ซื้อ, ผู้ขาย, และรายการธุรกรรมทั้งหมด
สหรัฐฯ มีแนวทางเก็บภาษีคริปโตทุกรูปแบบเสมอมา โดยมองคริปโตทุกรูปแบบเป็นสินทรัพย์ไม่ใช่เงิน ตั้งแต่เงินคริปโตอย่างบิตคอยน์, stablecoin, และ NFT เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ต้องรายงานรายได้จากคริปโตด้วยตัวเอง
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ UAE ได้ออกกฎหมายยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในธุรกรรมของเงินคริปโต ซึ่งทำให้เงินคริปโตมีสถานะใกล้เคียงบริการธุรกรรมทางการเงินอื่นมากขึ้น
กฎหมายยกเว้นภาษีนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นต้นไป และให้มีผลย้อนหลังไปถึงธุรกรรมตั้งแต่ 1 มกราคม 2018
ก่อนหน้านี้ธุรกรรมของเงินคริปโตไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายหรือโอน จะถูกคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% แต่หลังจากนี้ธุรกรรมจะได้รับการยกเว้นภาษีส่วนนี้
ที่มา: CoinDesk
- Read more about UAE ออกกฎหมายยกเว้นการเก็บภาษี VAT ธุรกรรมของเงินคริปโต
- Log in or register to post comments
ฟิลิปปินส์เตรียมออกกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 12% โดยมีผลกับผู้ให้บริการดิจิทัลที่ไม่ได้มาจากภายในประเทศรวมทั้ง Amazon, Netflix, Disney+ และ Alphabet
ประธานาธิบดี Ferdinand Marcos Jr ได้ลงนามอนุมัติกฎหมายนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยให้มีผลทั้งบริการวิดีโอสตรีมมิ่งและบริการค้นหาข้อมูล จากเดิมมีเฉพาะผู้ให้บริการในประเทศที่ถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่บริการจากต่างประเทศไม่ได้เสียภาษีส่วนนี้
กรมสรรพากรของฟิลิปปินส์บอกว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียม และสร้างประโยชน์ให้ผู้บริโภคในฟิลิปปินส์
ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปออกคำตัดสิน ยืนยันคำตัดสินของคณะกรรมาธิการยุโรปในปี 2016 ที่บอกว่า แอปเปิลเลี่ยงภาษีในไอร์แลนด์ ช่วงปี 1991-2014 คิดเป็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านยูโร ซึ่งนี่เป็นคำตัดสินสูงสุดแล้ว ไอร์แลนด์จึงต้องเรียกภาษีที่ไม่ได้จ่ายคืนจากแอปเปิล
ย้อนไปในปี 2020 หลังจาก แอปเปิลแย้งในชั้นอุทธรณ์ ว่าข้อกล่าวเลี่ยงภาษีนั้นเกินจริง ทำให้ศาลทั่วไปยุโรป กลับคำตัดสิน บอกว่าไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนพอว่าไอร์แลนด์ได้ให้สิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษีกับแอปเปิล แอปเปิลจึงไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนนี้ แต่ก็มีการอุทธรณ์ถึงชั้นสูงสุด
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานได้มีการเผยแพร่รายชื่อของประชาชนจำนวนกว่า 506,000 คนที่คาดว่าไม่จ่ายภาษี เป็นไฟล์ PDF กว่า 8,737 หน้าลงบนอินเทอร์เน็ต พร้อมข้อมูลซิมมือถือ และสั่งให้บริษัทโทรคมนาคม และผู้ให้บริการทุกเจ้า บล็อกสัญญาณมือถือซิมของผู้อยู่ในรายชื่อทั้งหมด
Muhammad Aurangzeb รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยด้วยว่ามีแผนที่จะปรับ 100 ล้านรูปี (ราว ๆ 13 ล้านบาท) หากผู้ให้บริการรายไหนไม่ตัดสัญญาณซิมของผู้ที่อยู่ในรายชื่อไม่จ่ายภาษี
สาเหตุของการเคลื่อนไหวที่เด็ดขาดของปากีสถานในครั้งนี้เป็นเพราะว่าตอนนี้ปากีสถานเป็นหนี้ IMF ก้อนใหญ่ จึงพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจให้เติบโตและมีความเสถียรมากขึ้น
Canadian Radio-television and Telecommunications Commission (CRTC) หรือ กสทช. ของแคนาดา เตรียมเก็บส่วนแบ่งรายได้ 5% จากผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง
CRTC ใช้อำนาจตามกฎหมาย Online Streaming Act ฉบับใหม่ที่มีผลในปี 2023 เป็นการปรับปรุงกฎหมายโทรทัศน์ฉบับเดิม (Broadcasting Act) ให้เข้ากับยุคสมัย สิ่งที่ CRTC จะทำคือเก็บส่วนแบ่งรายได้ 5% ของรายได้ในแคนาดาจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง เพื่อนำเงินนี้ไปสนับสนุนกิจการด้านโทรทัศน์ในประเทศ เช่น ข่าวท้องถิ่น ข่าวภาษาฝรั่งเศส ข่าวภาษาของชนกลุ่มน้อย
แคนาดาเตรียมเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติขนาดใหญ่ (ซึ่งก็คือเพื่อนบ้านจากสหรัฐอเมริกาทั้งนั้น) ด้วยอัตรา 3% จากรายได้ของบริษัทนั้นๆ ที่ได้จากผู้ใช้บริการในแคนาดา และมีผลเฉพาะกับบริษัทที่มีรายได้มากกว่าปีละ 1.1 พันล้านดอลลาร์แคนาดาขึ้นไป
กฎหมาย digital service tax ของแคนาดา คล้ายกับ กฎหมายภาษีบริการดิจิทัลของยุโรปที่เริ่มใช้ในปี 2020 โดยกฎหมายของแคนาดาจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2024 แต่จะย้อนคิดรายได้กลับไปถึงปี 2022
แคนาดาบอกว่าจริงๆ ตั้งใจรอข้อตกลงภาษีนานาชาติที่เก็บผ่านองค์กร OECD แต่สหรัฐอเมริกาไม่ยอมลงนามสักที จึงตัดสินใจไม่รอแล้ว และเลือกออกกฎหมายภาษีของตัวเองแทน
สรรพากรสหรัฐฯ (Internal Revenue Service - IRS) เปิดบริการ Direct File บริการรับยื่นภาษีประจำปีโดยที่ประชาชนสามารถยื่นแบบเข้าไปยังสรรพากรได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านบริการรับยื่นภาษีเอกชนอื่นๆ
ชาติสมาชิกของกลุ่ม Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes จำนวน 48 ชาติ (จากทั้งหมด 168 ชาติ) ทำข้อตกลงเตรียมแชร์ข้อมูลการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลตามแนวทาง Crypto-Asset Reporting Framework (CARF) โดยจะเก็บข้อมูลจริงปี 2026 และเริ่มแชร์ข้อมูลกันครั้งแรกปี 2027
ชาติที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นชาติในทวีปยุโรปจำนวน 31 ชาติ ส่วนเอเชียมีเฉพาะสิงคโปร์, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ ที่น่าสนใจคือกลุ่มดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เช่น หมู่เกาะเคย์แมน และยิบรอลตา ก็เข้าร่วมด้วย แต่เนื่องจากชาติสมาชิกยังมีจำนวนจำกัด หลายดินแดนที่ถูกมองว่าเป็น tax-heaven สำหรับการเลี่ยงภาษีก็ยังไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงนี้
ทายาทของ Lee Kun-hee อดีตประธาน Samsung Group ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2020 ทำข้อตกลงกับ Hana Bank เพื่อขายหุ้นบริษัทต่างๆ ในกองมรดกรวมมูลค่า 2.57 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายภาษีมรดก หุ้นที่ขายมีตั้งแต่ Samsung Electronics, Samsung C&T, Samsung Life Insurance
หุ้นที่ขายรอบนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาษีมรดกทั้งหมดที่กลุ่มทายาทต้องจ่าย มูลค่ารวมภาษีทั้งหมดประมาณ 12 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 326,000 ล้านบาท แบ่งจ่าย 5 ปีตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ตอนนี้จ่ายไปแล้วครึ่งทางประมาณ 6 ล้านล้านวอน
ไมโครซอฟท์รายงานผลจากสรรพากรสหรัฐฯ เข้าตรวจสอบภาษีย้อนหลัง โดยทางสรรพากรสหรัฐฯ เรียกภาษีย้อนหลังช่วงปี 2004-2013 เพิ่มเติม 28.9 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.05 ล้านล้านบาท ไม่รวมค่าปรับและดอกเบี้ย
ประเด็นหลักที่ทำให้เกิดการเรียกภาษีย้อนหลังเป็นมูลค่าสูงขนาดนี้ คือสรรพากรสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการจัดสรรกำไรในแต่ละประเทศของไมโครซอฟท์ ซึ่งบริษัทลูกของไมโครซอฟท์นอกสหรัฐฯ ทำกำไรในประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐฯ
ผลการตรวจสอบนี้เป็นผลจากฝั่งสรรพากรสหรัฐฯ ฝั่งเดียว โดยไมโครซอฟท์ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับผลนี้และจะต่อสู้กระบวนการต่อไป โดยขั้นแรกคือการอุทธรณ์ผลการตรวจสอบนี้กับสรรพากรสหรัฐฯ เอง กระบวนการนี้ก็อาจจะกินเวลาหลายปีแล้ว และหากยังตกลงกันไม่ได้ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการศาลต่อไป
ไต้หวันเพิ่งผ่านร่างแก้ไขกฎหมายภาษี เปิดทางให้บริษัทอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ สามารถนำงบ 25% ที่ใช้ลงทุนใน R&D ไปใช้ลดหย่อนภาษีได้
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ชัดเจนว่ารัฐบาลไต้หวัน ต้องการรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตชิป ซึ่งไม่ใช่แค่ในแง่การมีคู่แข่งอย่างจีน แต่รวมถึงการที่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศเช่นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐหรือแม้แต่สหภาพยุโรป ออกนโยบายผลักดันหรือส่งเสริมการผลิตและพัฒนาชิปภายในประเทศ (หรือภูมิภาค) ของตัวเอง ซึงตรงนี้รัฐบาลไต้หวันก็ต้องหาทางรักษาความเป็นผู้นำในแง่เทคโนโลยีและต้นตอของเทคโนโลยีเอาไว้ในประเทศ
สรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office - ATO) พร้อมกับหน่วยงานร่วมด้านภาษี 5 ชาติ (J5) บุกจับธุรกิจหลายสิบแห่งพร้อมกันฐานใช้ซอฟต์แวร์แต่งยอดขายเพื่อลดภาษีที่ต้องจ่าย เฉพาะในออสเตรเลียมีธุรกิจถูกบุกจับ 35 แห่ง ทั้งที่เป็นผู้ใช้ซอฟต์แวร์และผู้ขายซอฟต์แวร์เหล่านี้เอง
ซอฟต์แวร์ในกลุ่ม electronic sales suppression tools (ESST) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างบัญชีสองเล่มให้กับธุรกิจอย่างเป็นระบบ โดยระบบจะเชื่อมเข้ากับระบบ POS ที่แคชเชียร์ แล้วลบรายการออกจากระบบ, สลับรายการ, แก้ไขมูลค่าใบเสร็จ, ไปจนถึงการสร้างรายการปลอมเข้ามา โดยเป้าหมายสุดท้ายคือให้ร้านสามารถรายงานภาษีน้อยลง
สรรพากรของฝรั่งเศสใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายมุมสูงด้วย AI จนค้นพบสระว่ายน้ำส่วนตัวตามบ้านเรือนที่ไม่มีการแจ้งทางการมาก่อนมากกว่า 20,000 แห่ง นำไปสู่การจัดเก็บภาษีโรงเรือนได้มากขึ้น 10 ล้านยูโร
ทั้งนี้กฎหมายฝรั่งเศสระบุว่าสถานที่ใดที่มีสระว่ายน้ำจะต้องแจ้งข้อมูลให้ทางการรับทราบเนื่องจากสระว่ายน้ำถูกประเมินว่าเป็นองค์ประกอบที่ทำให้มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสรรพากรฝรั่งเศสจะจัดเก็บภาษีโรงเรือนเพิ่มเติมโดยคิดตามขนาดของสระ ทั้งนี้อ้างอิงข้อมูลจาก Le Parisien สระว่ายน้ำขนาด 30 ตารางเมตรจะถูกนำไปคิดภาษีปีละ 200 ยูโร
เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 744) พ.ศ. 2565 ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล ที่กระทำในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566
กรมสรรพากรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าอินโดนีเซียมีแผนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกรรมสินทรัพย์คริปโต และจะคิดภาษีจากกำไรการขาย (Capital Gain) ที่อัตราร้อยละ 0.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป
ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้สินทรัพย์คริปโต มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และเนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ธุรกรรมซื้อขายต้องถูกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ข้อมูลระบุว่าตลาดการซื้อขายคริปโตในอินโดนีเซียก็เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันในหลายประเทศ โดยมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวจากปี 2020
เมื่อวานนี้ สภาผู้แทนราษฎรของอินเดีย (โลกสภา) ลงมติผ่านกฎหมายงบประมาณประจำปี 2022 โดยมีเนื้อหาครอบคลุม การเก็บภาษีคริปโต ตามแนวทางที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียเสนอเข้าสภา
กฎหมายภาษีคริปโตของอินเดีย (ครอบคลุมเงินคริปโตและ NFT) จะเก็บภาษีในอัตรา 30% จากกำไรในการขาย (capital gain) โดยไม่สามารถนำการขาดทุนมาหักกับกำไรได้ และเก็บภาษี 1% กับทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าซื้อหรือขาย (TDS หรือ tax deductible at source) โดยภาษี TDS สามารถนำไปยื่นรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี เผื่อบุคคลนั้นสามารถลดหย่อนได้
ตามที่กรมสรรพากรเคย ชี้แจงแนวทางปรับเปลี่ยนการเก็บภาษีคริปโตก่อนหน้านี้ ล่าสุด ครม. เห็นชอบกฎหมาย 3 ฉบับ โดยเป็นร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 ฉบับ และร่างกฎกระทรวงอีก 1 ฉบับ
ฉบับแรกเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการโอนคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลใน Exchange และฉบับที่สองเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Retail CBDC) โดยทั้งสองฉบับมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
Nirmala Sitharaman รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอินเดียแถลงงบประมาณปี 2022-2023 พร้อมกับประกาศแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการลงทุน แต่ประเด็นใหญ่คือการประกาศแผนเก็บภาษีกำไรจากสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทที่อัตรา 30% โดยไม่สามารถนำรายการขาดทุนมาหักลบได้ พร้อมกับภาษีรายธุรกรรมอีก 1%
สรรพากรชี้แจงแนวทางปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีคริปโตเพิ่มเติม จากที่ ระบุก่อนหน้านี้ หลังรับฟังแนวคิดจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางสามสิ่งหลักที่เตรียมปรับปรุง คือ “ทำให้ชัด ผ่อนปรน มองอนาคต” สรุปคร่าวๆ แต่ละหัวข้อได้ดังนี้
กรมสรรพากรระบุว่ากำลังเร่งดำเนินการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางการคิดภาษีจากกำไรการขายหรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโทเคอเรนซี ให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบหมาย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ปี 2565 นี้
กรมสรรพากรระบุด้วยว่าเตรียมคุยกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงเดินหน้าเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่ดำเนินการ ในเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และมีประโยชน์กับทุกฝ่าย พร้อมยืนยันยึดหลักผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง
เมื่อเช้านี้คุณสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี และโฆษกกรมสรรพากร ให้ข้อมูลในรายการ The Morning Wealth ถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีคริปโต (ช่วงนาทีที่ 33 เป็นต้นไป) โดยระบุว่าการคิดภาษี เป็นการคิดภาษีเงินได้ คิดจากการทำธุรกรรมคริปโตทุกรายการ (transactions) ที่มีกำไรเป็นเงินสด
จากการที่ อีลอน มัสก์ สร้างโพลล์บนทวิตเตอร์ให้ร่วมโหวตว่าเขาควรขายหุ้นเทสลา เพื่อจะได้เสียภาษีหรือไม่ และผลโหวตเสียงข้างมากเคาะว่าควรขาย ล่าสุด มัสก์ ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ตามรายงานทางการเงินที่ยื่นต่อ SEC (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ) ระบุว่า มัสก์ กำลังขายหุ้นจำนวน 934,091 หุ้น มูลค่ากว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เขายังคงถือหุ้นในบริษัทมากกว่า 170 ล้านหุ้น
จากการที่ Elon Musk ซีอีโอ Tesla ตั้งโพลล์ใน Twitter ผ่านบัญชีส่วนตัวของเขา ถามว่าเขาควรขายหุ้น Tesla ที่ถืออยู่ออกมา 10% หรือไม่ เพื่อให้เกิดการเสียภาษี ล่าสุดผลโหวตจากผู้ใช้งานใน Twitter ร่วม 3.5 ล้านโหวตออกมาแล้ว อยู่ที่ควรขาย 57.9% และไม่ควรขาย 42.1%
ซึ่งถ้า Musk ทำตามที่สัญญาไว้จริงๆ เขาก็จะต้องขายหุ้นใน Tesla เกือบ 2 หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ