Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2020 ประกาศนโยบายว่าจะจับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon แยกเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทเหล่านี้ลง เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
Warren บอกว่าบริษัทไอทีเหล่านี้มีอิทธิพลสูงเกินไปแล้ว ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาธิปไตย บริษัทเหล่านี้พยายามจำกัดการแข่งขันจากคู่แข่งที่เล็กกว่าด้วยการทุ่มตลาดหรือไล่ซื้อกิจการ, นำข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไปใช้หากำไร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กและการสร้างนวัตกรรมโดยภาพรวม
Warren ยกตัวอย่างว่าในสหรัฐ ปริมาณธุรกรรมอีคอมเมิร์ซเกินครึ่งอยู่บน Amazon และปริมาณทราฟฟิกอินเทอร์เน็ต 70% ไปอยู่กับ Google หรือ Facebook ส่วนเทคนิคที่บริษัทเหล่านี้ใช้กำจัดคู่แข่ง มีทั้งการไล่ซื้อกิจการคู่แข่ง (เช่น กรณี Facebook ซื้อ WhatsApp/Instagram, Google ซื้อ Waze/DoubleClick หรือ Amazon ซื้อ Diapers.com) และการสร้างตลาด markpetplace ที่ตัวเองควบคุมได้ และลงมาแข่งขันกับผู้เล่นรายย่อยซะเอง (เช่น Amazon มาทำผลิตภัณฑ์แบรนด์ตัวเองขายแข่งกับคู่ค้า หรือ Google ลดอันดับของ Yelp ในผลการค้นหา)
ปัญหาที่สหรัฐไม่สามารถควบคุมบริษัทเหล่านี้ได้ เกิดจากช่องว่างของกฎหมายต่อต้านการแข่งขัน (antitrust) ที่ล้าสมัย และไม่ทันต่อรูปแบบของธุรกิจออนไลน์ที่ต่างไปจากธุรกิจแบบดั้งเดิม
ข้อเสนอของ Warren มี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1: ออกกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีสถานะเป็น "Platform Utilities"หากมีรายได้รวมมากกว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี และมีรูปแบบธุรกิจลักษณะเป็น "ตลาด" (marketplace/exchange/platform) ที่เปิดให้บริษัทภายนอกเข้ามาใช้งาน
บริษัทที่มีสถานะเป็น Platform Utilities จะถูกจำกัดไม่ให้ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดของตัวเองแข่งกับคู่ค้า และมีมาตรฐานการทำงานที่เป็นธรรม (fair, reasonable, and nondiscriminatory) ต่อลูกค้า รวมถึงไม่อนุญาตให้แชร์ข้อมูลของลูกค้าให้องค์กรอื่นๆ ด้วย
กฎหมายนี้จะทำให้อัยการของรัฐบาลหรือคู่แข่งที่ได้รับผลกระทบสามารถฟ้องแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ หากทำผิดกฎเรื่องการแข่งขัน
หากกฎหมายนี้ออกได้จริง Google จะถูกสั่งให้แยกส่วนธุรกิจตลาดโฆษณา (ad exchange) ออกจาก Google Search ส่วน Amazon จะถูกสั่งให้แยกผลิตภ้ณฑ์แบรนด์ Amazon Basics ออกจาก Amazon Marketplace
ขั้นที่ 2: ตั้งหน่วยงานกำกับดูแล มาควบคุมการควบรวมกิจการของบริษัทไอทีหาก Warren ชนะการเลือกตั้ง จะตั้งหน่วยงานกำกับดูแลภายใต้กฎหมาย antitrust ในปัจจุบัน มาย้อนกระบวนการซื้อกิจการที่เป็นปัญหาด้านการแข่งขัน ได้แก่
- Amazon ซื้อ WholeFoods, Zappos
- Facebook ซื้อ WhatsApp, Instagram
- Google ซื้อ Waze, Nest, DoubleClick
เพื่อให้ตลาดกลับมาเกิดการแข่งขันอีกครั้ง
Warren บอกว่าข้อเสนอนี้เป็นแค่การแก้ปัญหาเรื่องการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องอื่นๆ ในด้านดิจิทัลที่ต้องแก้ไขอีกมาก เช่น ปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้, ทางรอดของผู้ผลิตสื่อและคอนเทนต์, ปัญหาการถูกแทรกแซงการเลือกตั้งโดยหน่วยงานจากต่างประเทศ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ยาก แต่การจับแยกบริษัทไอทีเป็นบริษัทย่อยๆ ถือเป็นก้าวแรกในการทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
ภาพจาก Elizabeth Warren Facebook
Elizabeth Warren เคยเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายที่มีชื่อเสียง เคยสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และมีผลงานออกกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค-ส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจหลายฉบับ ก่อนมาเล่นการเมืองในปี 2012 และเป็นวุฒิสมาชิกมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา - Elizabeth Warren
Comments
ย้อนเวลาหา AT&T
นึกถึงสารคดี กำเนิดอเมริกาเป็นตอนที่บริษัทยักษ์ใหญ่กลัวผู้สมัครที่ชูนโยบายลดการผูกขาด เลยรวมหัวกันสนับสนุนผู้สมัครอีกคนให้ได้เป็นประธานาธิบดี แล้วดึงผู้สมัครรายที่เป็นปัญหามาเป็นรองประธานาธิบดี เพื่อไม่ให้ยุ่งเรื่องลดการผูกขาด แต่โชคดันไม่เข้าข้าง เพราะประธานาธิบดีตาย รองก็เลยขึ้นมาทำหน้าที่แทน แล้วออกกฎหมายแบ่งแยกกิจการของบริษัทขนาดใหญ่จนกลายเป็น 20-30 บริษัท
แต่เจ้าของบริษัทเหล่านั้นเค้าให้สัมภาษณ์ว่าสุดท้ายเค้ารวยขึ้นมหาศาลเลยนะครับ (ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไม) แต่กลับเป็นข้อดีที่มหาเศรษฐีเหล่านั้นเกิดเบื่อขึ้นมาเลยต้้งมูลนิธิขึ้นมาเต็มเลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ดูโหงวเฮ้งแล้วไม่น่าได้
จีนอาจยิ้ม
ก็พูดถูกบางส่วนนะ แต่อย่างว่าแหละคนจะตระหนักกันไหม
เจ้าแห่งตลาดหุ้นลงมาเล่นการเมืองเองเลย
ผมเห็นด้วยนะ
That is the way things are.
+1
+1 ควรทำตั้งนานแล้วครับ
+1 แม้แต่สายการบินก็ด้วย แค่เหตุผู้โดยสารโดนต่อยแล้วลากให้ลงจากเครื่อง ก็รู้แล้วว่าพอมีคู่แข่งน้อยลง ก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงอะไร ก็มีคนมาใช้บริการ แถมขึ้นราคาหรือเพิ่มค่าธรรมเนียมได้ดั่งใจเลยทีเดียว
ผลเสียของการควบรวมกิจการจนกลายเป็นการผูกขาดอย่างแท้จริง เหมือนกับที่ Disney กำลังทำกับธุรกิจสื่อเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ในไทย มีอะไรเทียบเคียงได้กับสถานการณ์ในข่าวบ้างมั้ยคับ?
หลักๆก็เครือ C เลยห้างร้าน อย่าง Mco, Ltu, Sefen มีสินค้ายี่ห้อตัวเองหมด
จริง ๆ ก็ modern trade ทุกเจ้าเลยครับ มีอิทธิพลเหนือตลาดเยอะไป ทุกวันนี้เราบริโภคของแพงมาก ๆ อยู่ เพราะ MT มีค่าแรกเข้าและบังคับทำโปรโมชันเป็นระยะ ๆ ผู้ผลิตเลยบวราคาเพิ่มไปตั้งแต่ต้นเลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มันก็มีส่วนถูกนะ แต่ผลดีที่ได้จะคุ้มกับผลเสียหรือเปล่า