Elizabeth Warren ผู้สมัครประธานาธิบดีปี 2020 จากพรรคเดโมแครต ผู้ซึ่งมีความแข็งขันในนโยบาลลดอิทธิพลบริษัทไอที ล่าสุด เธอขึ้นป้ายบิลบอร์ดที่ตอกย้ำถึงนโยบายของเธอถึงถิ่นบริษัทเทคโนโลยีในซานฟรานซิสโกเลย
ป้ายบิลบอร์ดระบุว่า Break Up Big Tech เป็นป้ายเดี่ยวที่ดูไม่ได้โดดเด่นมาก และตั้งอยู่ในจุดที่ไม่ได้มีคนสัญจรไปมาเยอะ แต่สถานที่ตั้งนั้นเป็นจุดที่ไม่ไกลจากสถานี Caltrain มีบริษัทเทคโนโลยีทำงานอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น Lyft Dropbox และในบริเวณนั้นก็เป็นที่ตั้งของบริษัทใหญ่กูเกิล เฟซบุ๊กด้วย เรียกได้ว่าจุดที่ป้ายบิลบอร์ดตั้งอยู่ คนทำงานบริษัทเทคโนโลยีจะต้องเห็น
ภาพจาก Elizabeth Warren Facebook
davetenhave posted Elizabeth Warren puts a giant tech breakup billboard in San Francisco’s face via /r/AntiFacebook https://t.co/EjtDUx5JJo pic.twitter.com/Bs0OGSEIS8
— James Glen (@JazBlog) May 29, 2019
ย้อนกลับไปยังตัวนโยบายของเธอ เนื่องจากบริษัทไอทีมีอิทธิพลและการผูกขาดมากเกินไป ทั้งในด้านอีคอมเมิร์ซ โซเชียลมีเดีย ข้อเสนอของ Warren ก็คือ ออกกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้มีสถานะเป็น "Platform Utilities" ถูกจำกัดไม่ให้ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดของตัวเองแข่งกับคู่ค้า ตัวอย่างที่จะเห็นได้ชัดคือ Amazon จะถูกสั่งให้แยกผลิตภ้ณฑ์แบรนด์ Amazon Basics ออกจาก Amazon Marketplace
ข้อเสนอข้อที่สองคือ ตั้งหน่วยงานกำกับดูแลมาควบคุมการควบรวมกิจการของบริษัทไอที ซึ่งเป็นแนวคิดที่ Chris Hughes อดีตผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กและรูมเมทสมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัยกับมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ยังเห็นด้วย
ที่มา - The Verge
Comments
เห็นด้วยในเรื่องของ Idea นะครับ แยกกันแล้วให้แข่งขันกันด้วยกฏเดียวกัน ใครทำได้ดีกว่าก็รับกำไรกันไป
น่าเอาไอเดียนี้มาใช้กับ CP ด้วย
จริงๆ ประเทศนี้ก็มี พรบ.การแข่งขันทางการค้า นะครับเพียงแต่...
.....ไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง และรัฐบาลเป็นฝ่ายเอื้อให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่เสียเอง (CP, Italian-Thai, PTT ฯลฯ)
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
..... นั่นเพราะเมื่อมีการพูดถึงเรื่องพวกนี้ เรามักถกเถียงกันไม่จบว่าจะเลือกผลักดันให้เกิดตลาดแบบเสรีและยุติธรรม หรือ แชโบล แบบเกาหลี