NASA ประกาศว่าภารกิจส่งมนุษย์เดินทางไปดวงจันทร์ 2 ภารกิจข้างหน้า ได้เลื่อนกำหนดการออกไป โดย Artemis II ที่จะส่ง นักบินอวกาศ 4 คน เดินทางวนรอบดวงจันทร์ แล้วเดินทางกลับโลก เลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2026 และ Artemis III ที่จะส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์บริเวณขั้วใต้ เลื่อนออกไปเป็นกลางปี 2027
NASA ให้เหตุผลของการเลื่อนภารกิจจากความปลอดภัย หลังผลการสอบสวนเพิ่มเติมของ ภารกิจ Artemis I ที่ส่งยานอวกาศเดินทางรอบดวงจันทร์แบบไม่มีมนุษย์ พบปัญหาการสูญเสียแผ่นป้องกันความร้อนเมื่อเดินทางกลับโลก ทำให้ต้องแก้ไขปัญหาส่วนนี้ให้เรียบร้อยก่อน
NASA มีภารกิจ Artemis III ที่จะส่งมนุษย์กลับไปลงดวงจันทร์ในปี 2026 โดยคัดเลือกให้บริษัทอวกาศ Axiom Space พัฒนาชุดอวกาศสำหรับภารกิจครั้งนี้
เมื่อ 1 ปีที่แล้ว Axiom Space ประกาศจับมือกับแบรนด์แฟชั่น Prada พัฒนาชุดอวกาศ ด้วยเหตุผลว่า Prada มีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์สร้างชุดเฉพาะกิจมาก่อน
เวลาผ่านมา 1 ปี Axiom และ Prada เปิดตัวชุดอวกาศที่ว่านี้ ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Axiom Extravehicular Mobility Unit (AxEMU)
NASA ประกาศว่าโครงการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ Artemis ได้เลื่อนกำหนดจากแผนเดิม ทั้ง Artemis II ที่ส่งนักบินอวกาศเดินทางวนรอบดวงจันทร์ และ Artemis III ที่ส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ ด้วยเหตุผลความปลอดภัย และความท้าทายจากข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยี
โดย Artemis II เลื่อนออกไปเป็น กันยายน 2025 (เดิม 2024) และ Artemis III เลื่อนออกไปเป็น กันยายน 2026 (เดิม 2025) ส่วนโครงการ Artemis IV ยังคงกำหนดเดิมคือปี 2028
ภารกิจ Artemis I ที่ส่งยานอวกาศแบบไม่มีมนุษย์วนรอบดวงจันทร์ เสร็จสิ้น ไปตั้งแต่ปี 2022 แต่ก็พบปัญหาบางอย่างที่ยังต้องทำการสอบสวนต่อ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในกลางปีนี้ เพื่อให้แน่ใจว่ายานอวกาศ Orion มีความปลอดภัยพอในภารกิจถัดไป
ความคืบหน้าหลัง NASA เลือก Blue Origin ทำยาน Blue Moon ลงจอดดวงจันทร์ในภารกิจ Artemis V ปี 2029 ผ่านมาหลายเดือน บริษัท Blue Origin ได้โชว์ต้นแบบของยานลงจอดดวงจันทร์รุ่นแรกชื่อว่า Blue Moon Mark 1
ยาน Blue Moon Mark 1 ยังมีสถานะเป็นแค่ต้นแบบดีไซน์ (mockup) โดยเป็นยานลงจอดใช้ครั้งเดียว (single use) ใช้ขนส่งสิ่งของลงไปบนพื้นผิวดวงจันทร์แล้วไม่ต้องบินกลับขึ้นมาอีก ยานรองรับการขนส่งสิ่งของหนัก 3 ตัน
Blue Origin จะยังมียาน Blue Moon Mark 2 ที่ขนาดใหญ่ขึ้น รองรับการขนส่งนักบินอวกาศขึ้น-ลงระหว่างพื้นผิวดวงจันทร์ โดยจะเปิดตัวตามมาในระยะถัดไป
Axiom Space บริษัทผู้ผลิตชุดนักบินอวกาศให้ NASA ประกาศความร่วมมือกับ Prada แบรนด์แฟชั่นหรูจากอิตาลี เพื่อร่วมพัฒนาชุดสำหรับนักบินอวกาศในภารกิจ Artemis III ที่จะส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ในปี 2025
ทีมวิศวกรของ Parda จะมาร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และพัฒนาวัสดุ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานทั้งในอวกาศและสภาพบนพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่ง Prada มีประสบการณ์การออกแบบชุดสำหรับภารกิจเฉพาะมานาน
เนื่องจากเป็นการออกแบบพัฒนาชุดนักบินอวกาศ ผลลัพธ์ที่ได้จึงเน้นไปที่การใช้งาน ต้องสามารถรักษาสภาพให้นักบินอวกาศผู้สวมใส่ได้ ภายใต้ความดัน ออกซิเจน ตลอดจนอุณหภูมิภายในชุดได้ดี ซึ่งชุดนักบินอวกาศนี้มีน้ำหนักประมาณ 55 กิโลกรัม ส่วนดีไซน์ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็ต้องรอชมกันต่อไป
NASA เปิดตัวคณะนักบินอวกาศที่จะไปวนรอบดวงจันทร์ในปี 2024 กับภารกิจ Artemis II หลังจาก ภารกิจ Artemis I ประสบความสำเร็จ ในการส่งจรวดเปล่าไปบินวนรอบดวงจันทร์
นักบินอวกาศคณะนี้มีจำนวน 4 คน มาจาก NASA 3 คน และมาจาก CSA หน่วยงานอวกาศของแคนาดา 1 คน ได้แก่
- Reid Wiseman (Commander)
- Victor Glover (Pilot)
- Christina Hammock Koch (Mission Specialist 1)
- Jeremy Hansen (Mission Specialist 2, ตัวแทนจาก CSA)
นักบินของ NASA ทั้ง 3 คนล้วนแต่เคยไปอวกาศมาก่อนแล้วคนละหนึ่งครั้ง ได้แก่
NASA จับมือกับ Minecraft ออกบทเรียนให้ผู้สนใจภารกิจยิงจรวดไปดวงจันทร์ Artemis สัมผัสประสบการณ์ได้ในเกม Minecraft
ยานอวกาศ Orion ที่ NASA ส่งไปวนรอบดวงจันทร์ตามภารกิจ Artemis I ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน กลับสู่โลกเรียบร้อยแล้ว โดยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วตกลงมาที่มหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับคาบสมุทร Baja California ในเม็กซิโก
ภารกิจ Artemis I เป็นการส่งยานอวกาศที่ไร้มนุษย์ไปบินวนรอบดวงจันทร์เพื่อทดสอบระบบต่างๆ ตั้งแต่จรวด Space Launch System (SLS) ที่มีปัญหาเชื้อเพลิงรั่วบ่อยครั้ง, นำยานบนวนรอบดวงจันทร์ 2 รอบแล้วบินกลับโลก จนกระทั่งนำยาน Orion กลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ใช้เวลาภารกิจทั้งหมด 25.5 วัน เดินทางไกลเป็นระยะทั้งหมด 1.4 ล้านไมล์ หรือ 2.1 ล้านกิโลเมตร
ในที่สุดหลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง วันนี้ NASA ก็ได้ปล่อยจรวด SLS ของโครงการ Artemis I ขึ้นสู่อวกาศแล้วเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเวลา 1:47 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 13.47 น. ในวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) จากฐานปล่อยจรวด 39B ที่ Kennedy Space Center ใน Florida
จรวด SLS (Space Launch System) นี้จะพายาน Orion ขึ้นสู่อวกาศ โดยยาน Orion นี้จะเดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ และเดินทางเลยดวงจันทร์ไปเป็นระยะราว 40,000 ไมล์ ก่อนเดินทางกลับสู่โลกโดยไม่มีนักบินอวกาศไปด้วย โดยจะใช้เวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 25 วันครึ่ง ซึ่งนี่คือภารกิจทั้งหมดของ Artemis I
หลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง NASA ได้โพสต์บล็อกอัพเดตแผนการปล่อยจรวด Artemis I เป็นช่วงกลางดึกคืนวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้
ช่วงเวลาที่เอื้อให้ปล่อยจรวดได้มีระยะเวลา 69 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 0.07 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น และในกรณีที่ต้องเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปอีก NASA ได้เตรียมแผนสำรองโดยเลือกช่วงเวลาตั้งแต่ 1.04 น. ของวันที่ 16 พฤศจิกายน หรือไม่ก็เวลา 1.45 น. ของวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยแผนสำรองใน 2 วันดังกล่าวนั้นจะมีกรอบเวลาที่สามารถปล่อยจรวดได้ 2 ชั่วโมงในแต่ละรอบ
ภารกิจยิงจรวด Artemis I รอบใหม่ 27 กันยายน มีเหตุให้ไม่ได้ยิงอีกแล้ว รอบนี้ [ยัง] ไม่มีอะไรพัง แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากมีพายุ Ian จะขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน
NASA ระบุว่าตัดสินใจเลื่อนการยิงจรวดวันที่ 27 กันยายนแล้ว และกำลังประเมินสถานการณ์สภาพอากาศอีกครั้ง ว่าจะต้องนำจรวดกลับเข้าโรงเก็บ Vehicle Assembly Building ด้วยหรือไม่
ตามแผนของ NASA โอกาสยิงครั้งถัดไปคือวันที่ 2 ตุลาคม
ที่มา - NASA
NASA ประกาศกำหนดวันยิงจรวด Artemis I อีกครั้ง เป็นวันที่ 27 กันยายน ในเวลา 11:37 a.m. EDT ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 22:37น. ในไทย มีกรอบเวลาการยิงจรวด (launch window) 70 นาที จรวดมีกำหนดกลับสู่โลกวันที่ 5 พฤศจิกายน
ในครั้งนี้ NASA ยังประกาศแผนสำรองพร้อมกันด้วย หากไม่สามารถยิงจรวดได้ตามกำหนดแรก โดยจะเลื่อนเป็นวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 2:52 p.m EDT มีกรอบเวลา 109 นาที
ภารกิจ Artemis I ยังเป็นมหากาพย์ไม่จบไม่สิ้น หลัง NASA เตรียมพยายามยิงจรวดเป็นรอบที่สองคืนนี้ราว 1.17 น.
ล่าสุด NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดแล้ว หลังพบปัญหาไฮโดรเจนเหลวรั่วขณะเติมในถังเชื้อเพลิงของจรวด Space Launch System (SLS) ซึ่งเป็น อาการคล้ายๆ กับปัญหาของรอบที่แล้ว แต่รายละเอียดยังต้องรอการสอบสวนของ NASA อีกครั้ง
NASA ประกาศวันยิงจรวด Artemis I รอบใหม่วันที่ 3 กันยายน เวลาท้องถิ่น 2:17 p.m. EDT ตรงกับเวลาประเทศไทย 01.17 น. ของวันที่ 4 กันยายน โดยมีกรอบเวลาที่ยิงจรวดได้ (launch window) 2 ชั่วโมง
ความพยายามยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ครั้งแรกในวันที่ 29 สิงหาคม ไม่ประสบความสำเร็จ หลังพบปัญหาเครื่องยนต์หมายเลข 3 อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องยนต์อื่นๆ (มีทั้งหมด 4 เครื่องยนต์) และปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วในบริเวณชิ้นส่วน Tail Service Mast Umbilicals ของฐานยิง ซึ่งทีมวิศวกรกำลังแก้ไขปัญหากันอยู่
NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ตามแผนการที่วางไว้ เนื่องจากพบปัญหาเชื้อเพลิงรั่วในเครื่องยนต์ของจรวด SLS
NASA บอกว่าจะพยายามแก้ปัญหาและประกาศวันยิงจรวดใหม่อีกครั้งในภายหลัง จาก ประกาศเดิมคราวก่อน โอกาสยิง (launch opportunity) รอบหน้าที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการยิงจรวดคือวันที่ 2 กันยายน และ 5 กันยายน
ในที่สุด ภารกิจ Artemis I ยิงจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ของ NASA ที่ล่าช้ามาหลายรอบ ก็จะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในวันนี้ 29 สิงหาคม 2022 มีกรอบเวลายิง 2 ช่วงโมง เริ่มตอน 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย (เวลาการถ่ายทอดสดจะเริ่ม 17.30 น. ผ่านทาง YouTube และเว็บไซต์ NASA)
ภารกิจ Artemis I มีความสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของ NASA ในการกลับสู่ดวงจันทร์ ถือเป็นการซ้อมครั้งแรกโดยยิงจรวดที่ยังไม่มีมนุษย์ ( มีหุ่นนั่งไปแทนในที่นั่งมนุษย์ ) ก่อนส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ Artemis III ราวปี 2025
NASA อนุมัติแผนการของภารกิจ Artemis I ที่จะส่งจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ โดยเดินหน้าตาม แผนการยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคม ตามกำหนดเดิม
ก่อนหน้านี้ NASA มีปัญหาเรื่องความพร้อมของจรวด Space Launch System (SLS) จนต้อง เลื่อนภารกิจ Artemis I มาแล้วหลายรอบ แต่ตอนนี้คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อม (Flight Readiness Review) อนุมัติเรียบร้อยแล้ว
NASA ประกาศรายชื่อ 13 ตำแหน่ง ที่มีโอกาสเป็นจุดจอดยาน Artemis III ซึ่งเป็นโครงการที่จะส่งนักบินอวกาศกลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้ประกาศว่าจะมีนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีไปเหยียบดวงจันทร์ด้วย
ทั้ง 13 ตำแหน่ง อยู่บริเวณขั้วดวงจันทร์ใต้ (South Pole) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไปสำรวจมาก่อน และคาดว่าจะใช้ศึกษาโอกาสในการตั้งสถานีระยะยาว (ดูรายละเอียดทั้ง 13 ตำแหน่งท้ายข่าว)
โครงการ Artemis III กำหนดส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ในปี 2025 จะใช้เวลาสำรวจบนจันทร์ 6.5 วัน ส่วน Artemis I ซึ่งเป็นจรวดลำแรกในโครงการ Artemis ที่จะไปดวงจันทร์ มีกำหนดยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคมนี้ ตามด้วย Artemis II ที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์
NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่สำหรับการยิงจรวด Space Launch System (SLS) พายานอวกาศ Orion ขึ้นไปวนรอบดวงจันทร์ หลังล่าช้ามาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่วระหว่างซ้อมวางบนฐานยิงที่ Kennedy Space Center จนต้องกลับไปซ่อมมาใหม่)
กรอบเวลายิงจรวด (launch opportunity) ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของดวงจันทร์ มุมการรับแสงอาทิตย์ของแผงโซลาร์บนยาน สภาพอากาศ ฯลฯ โดย NASA ประกาศกรอบเวลายิงเบื้องต้น (potential launch opportunities) 3 ช่วงคือ
NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่ของการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ในโครงการ Artemis ที่จะส่งมนุษย์ไปลงผิวดวงจันทร์อีกครั้ง
โครงการ Artemis แบ่งออกเป็น 3 ภารกิจคือ I ซ้อมส่งจรวดที่ไม่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2022), II ซ้อมส่งจรวดที่มีมนุษย์ไปวนรอบดวงจันทร์ (2024) และ III พามนุษย์ลงจอดบนดวงจันทร์จริงๆ
ภารกิจ Artemis I มีกำหนดต้องขึ้นอวกาศในปี 2022 นี้ แต่ถูกเลื่อนมาแล้วหลายครั้งจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยทางเทคนิคของจรวดใหม่ Space Launch System (SLS) ที่ยังไม่พร้อมดี
Amazon และ Cisco ประกาศแผนการส่งบริการ Alexa และ Webex ของตัวเองขึ้นยานอวกาศ Orion ของ NASA ไปดวงจันทร์ในภารกิจ Artemis I ซึ่งคาดว่าจะมีกำหนดยิงช่วงกลางปี 2022 นี้
Artemis I ถือเป็นภารกิจแรกของ โครงการ Artemis ส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง โดย Artemis I เป็นภารกิจทดสอบที่ไม่มีมนุษย์ขึ้นอวกาศไปด้วย ยานจะบินรอบดวงจันทร์แล้วกลับโลกโดยไม่ลงจอด, จากนั้นจะตามมาด้วย Artemis II ที่มีมนุษย์ไปด้วยแต่บินรอบเหมือนกัน และ Artemis III ที่นำมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์ (คาดว่าเป็นปี 2024/2025 ตามลำดับ)
NASA ประกาศเลื่อนแผนการส่งยานที่มีมนุษย์ไปดวงจันทร์ ภายใต้ภารกิจ Artemis จากเดิมตั้งเป้าส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ปี 2024 กลายเป็น "อย่างเร็วในปี 2025"
โครงการ Artemis ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
นาซ่าประกาศเลือก 5 บริษัทให้ออกแบบยานสำหรับลงจอดดวงจันทร์ (lunar lander) ให้เวลาออกแบบ 15 เดือน โดยเป็นการออกแบบคอนเซ็ปต์เบื้องต้นเพื่อดูประสิทธิภาพของดีไซน์ว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงใด พร้อมกับต้องทดสอบชิ้นส่วนบางชิ้นว่าเทคโนโลยีใช้งานได้จริง
บริษัทที่ชนะโครงการครั้งนี้ ตามลำดับอักษรได้แก่
NASA ประกาศชะลอโครงการพัฒนายานจอดดวงจันทร์ HLS ของ SpaceX ชั่วคราว หลัง Blue Origin ยื่นฟ้อง NASA เมื่อไม่กี่วันก่อน
NASA ระบุว่าจะหยุดโครงการนี้ไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ระหว่างรอศาลไต่สวน โดยศาลนัดทั้งสองฝ่ายมาให้การในวันที่ 14 ตุลาคม
ที่มา - Reuters/Yahoo Finance
Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos ยื่นฟ้อง NASA แล้ว จาก กรณีเลือก SpaceX เป็นผู้พัฒนายานลงจอดดวงจันทร์ LHS ในภารกิจ Artemis
บริษัทที่ส่งข้อเสนอ LHS มีทั้งหมด 3 รายคือ SpaceX, Blue Origin, Dynetics โดยตอนแรก NASA เคยมีแนวทางว่าจะเลือกข้อเสนอมากกว่า 1 ราย แต่สุดท้ายงบประมาณไม่พอ จึงเลือก SpaceX ที่เสนอราคาต่ำที่สุดเพียงรายเดียว
Blue Origin และ Dynetics เคยยื่นคัดค้านไปยังสำนักงานตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐ (US Government Accountability Office) และ Jeff Bezos เคยเสนอออกเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ให้เอง แลกกับ NASA เลือกข้อเสนอของ Blue Origin เพิ่มเข้ามา แต่สุดท้าย NASA ก็ไม่ได้สนใจ