Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

บริการ PromptPay เตรียมเปิดใช้งานจริงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ตอนนี้มีการประชาสัมพันธ์ออกมาหลายช่องทาง (บางช่องทางก็ดูจะ "พยายาม" มากเกินไปสักหน่อย) แต่ด้วยความที่โครงการ Nation e-Payment เป็นโครงการขนาดใหญ่ และมีข้อมูลที่หลายครั้งสับสน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสมาคมธนาคารจึงเชิญบล็อกเกอร์และสื่อหลายคนไปพูดคุยกัน ผมเองได้เข้าร่วมด้วย จึงสรุปประเด็นที่พูดคุยกันไว้มาให้

alt=

ใช้อะไรโอนได้บ้าง

บริการ PromptPay ถูกวางให้รับข้อมูลระบุตัวผู้รับได้ 5 ประเภท ได้แก่ เลขบัตรประชาชน, เลขโทรศัพท์มือถือ, เลขบัญชีธนาคาร, กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์, และอีเมล อย่างไรก็ดี ช่วงแรกจะเปิดให้บริการเฉพาะ เลขบัตรประชาชนและเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

PromptPay กับภาษี?

ประเด็นแรกๆ หนึ่งที่มีการพูดกันมากคือ การเก็บภาษีกับ National e-Payment ที่ทำให้คนสงสัยว่าการสมัคร PromptPay จะเกี่ยวกับภาษีหรือไม่ บางคนอาจจะกลัวไปถึงว่ารับเงินผ่าน PromptPay แล้วรัฐจะตามมาตรวจภาษีได้ง่ายขึ้น

ที่จริงแล้ว กระบวนการด้านภาษีเป็นเฟสที่สามของโครงการ National e-Paymentในภาพใหญ่ ที่ในอนาคต เมื่อมีการจ่ายเงินระหว่างองค์กรธุรกิจ จะไม่ต้องเก็บใบกำกับภาษีและใบหักภาษี ณ ที่จ่ายกันให้ยุ่งยากเหมือนทุกวันนี้อีกต่อไป แต่หักกันและยื่นแบบต่างๆ ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์เลย

สำหรับกระบวนการโอนเงิน PromptPay ทุกวันนี้ความเป็นส่วนตัวก็ยังอยู่ระดับเดียวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้งานกัน มีหน่วยงานบางหน่วยงานมีอำนาจตามกฎหมายเข้าตรวจสอบตามกระบวนการเหมือนๆ กัน

พร้อมเพย์กับการจ่ายเงิน

แม้ว่าจะชื่อว่าพร้อมเพย์ แต่โครงการ National e-Payment จะเริ่มเป็นโครงการจ่ายเงินอย่างจริงจังในขั้นที่สอง การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานเดียวกับพร้อมเพย์

ทุกวันนี้คนไทยมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก เป็นบัตรเดบิต 48 ล้านใบ และบัตรเอทีเอ็มถึง 20 ล้านใบ แต่ปริมาณการใช้เงินสดก็ยังสูงมาก เป็นต้นทุนของทั้งผู้ใช้ (คนซื้อของต้องถือเงินสด ร้านค้าต้องเก็บเงินสดมากๆ ไว้ในร้าน) และธนาคารเองที่ต้องขนส่งเงินไปมา

เมื่อโครงการ National e-Payment ถึงขั้นที่สอง จะมีการออกเครื่องรับจ่ายเงิน (Electronic Data Capture - EDC) เพื่อรับจ่ายเงินกันเป็นวงกว้าง แม้จะยังไม่มีรายละเอียดออกมา แต่ทางสมาคมธนาคารก็ระบุว่าต้นทุนการติดตั้ง EDC ในอนาคตจะถูกลงมาก ร้านค้ารายย่อยจะรับจ่ายกันได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการพัฒนา mobile EDC ที่ติดตั้งกับโทรศัพท์มือถือออกมา

โครงการ EDC จะเริ่มเห็นรายละเอียดกันช่วงต้นปีหน้า

alt=

ตัวอย่างหน้าจอ PromptPay เป็นเมนูแยกออกจากเมนูการโอนต่างธนาคารตามปกติ สังเกตว่าไม่ต้องมีกระบวนการ "เพิ่มบัญชีบุคคลอื่น" เหมือนการโอนทุกวันนี้แล้ว

ประโยชน์ของ PromptPay ในระยะยาว

ตัว PromptPay เอง แม้จะเป็นเพียงระบบโอนเงินใหม่ และต้องรอโครงการเฟสต่อๆ ไปจึงเห็นกระบวนการรับจ่ายอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง แต่ตัวระบบ PromptPay เองก็จะมีการปรับปรุงตามมาในอนาคต ที่น่าเราน่าจะเห็นผลกันได้แก่

  • รับจ่ายเงินเดือนระบบ payroll ทุกวันนี้แยกตามธนาคาร ย้ายงานแต่ละครั้งจำเป็นต้องเปิดบัญชีตามที่ทำงานกำหนด แต่ในอนาคต PromptPay จะใช้จ่ายเงินเดือนได้ด้วย ถึงตอนนั้นก็เลือกใช้ธนาคารตามใจชอบได้
  • บันทึกช่วยจำอันนี้ร้านค้าออนไลน์คงพบปัญหากันเป็นประจำคือยอดโอนเงินเข้ามาแล้วไม่รู้ว่าของใคร ลำบากว่าต้องให้โอนเศษสตางค์เพื่อให้อ้างอิงได้ เนื่องจาก PromptPay มีการปรับปรุงระบบศูนย์กลางโอนเงิน ในอนาคตก็จะมีข้อความแนบไปกับการโอนเงินได้ (แต่ยังไม่ประกาศว่าจะเสร็จเมื่อใด)
Get latest news from Blognone

Comments

By: Mr.X
iPhone Android
on 19 September 2016 - 08:01 #941223

เข้าใจเลยว่า เงินสดมันมีต้นทุนการจัดเก็บ ขนส่ง
มีประโยชน์เวลาควบคุมเงินเฟ้อ พวกเศษสตางค์งี้ด้วย
ผมเข้าใจว่า รับจ้างรายบุคคล ถ้าหันมาใช้หมดจะมีคุณูปการกับประเทศด้วย
เพราะจะทำให้บุคคลนั้นๆ เห็นกระแสเงินสดได้ดีขึ้น
อาจจะช่วยให้เกิดการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลที่ดีขึ้น

ว่าแต่ที่ผลักดันออกมาตอนนี้ ไม่เห็นจะมีอะไรจูงใจให้ผู้ใช้ในระยะสั้นนี้เลยนี่ครับ
ถ้าจะเริ่ม ต้องไปเริ่ม ผลักทางด้านร้านค้าก่อนรึเปล่า
แล้วก็บังคับต่อไปที่เงินเดือนข้าราชการ เงินที่รัฐจ่ายให้บริษัทที่รับงานมาจากรัฐ

ประชาชนทั่วไปน่าจะหลังๆ เลยนี่ครับ ทำไมดูกลับหัวกลับหางชอบกล

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 19 September 2016 - 09:31 #941240 Reply to:941223

ตอนนี้ผมเห็นแรงจูงใจเดียวคือค่าโอนถูกมากครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Holy
Contributor Android WindowsIn Love
on 19 September 2016 - 15:39 #941369 Reply to:941240
Holy's picture

ค่าโอนถูกมาก + ไม่ต้องจำเบอร์บัญชีครับ ถ้าซื้อของออนไลน์แบบโอนเงิน ผู้ขายก็ไม่ต้องเปิดบัญชีหลายๆ แบงก์ครับ

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 19 September 2016 - 18:23 #941430 Reply to:941369

อ้อ ใช่ครับ ไม่ต้องจำบัญชี และกรณีบางบัญชีมีค่ารักษาบัญชี ก็ประหยัดค่ารักษาบัญชีได้อีกทางนึง


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: ploy1375 on 19 September 2016 - 09:21 #941239
ploy1375's picture

อยากให้ การจัดเก็บภาษี เป็นเรื่องที่เข้าถึงทุกคน
เหมือนซื้อของ ต้องจ่าย VAT ที่ทุกคนเจอจนเป็นเรื่องปรกติ
คนที่มีรายได้แต่ที่ไม่อยู่ในระบบ ยอดรายได้ ไม่ได้น้อย ไม่เคยเสียภาษี
ขณะที่พนักงาน บริษัท หรือที่อยู่ในระบบ รายได้พอๆกัน เสียภาษี เต็มๆ
ภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน ส่วนที่ ใครจะเอาภาษีไปใช้ ยังไง
ข้อนี้เชื่อว่าถ้าคนใช้เงินภาษีจะโกง คงซวยกันทั้งประเทศ

By: tstcnr1u
iPhone Windows Phone Android Ubuntu
on 20 September 2016 - 06:34 #941522 Reply to:941239

+1 ครับ ภาษีเป็นหน้าที่ ชอบหาวิธีเลี่ยงกันแล้วอ้างว่าไม่ถูกเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกัน

By: btoy
Contributor Android Windows
on 19 September 2016 - 10:26 #941268
btoy's picture

อยากให้ภาครัฐผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังเหมือนกัน ทุกวันนี้มีคนที่อยู่นอกระบบภาษีจำนวนมาก ซึ่งมีรายได้ค่อนข้างสูง แต่มีช่องโหว่ ช่องว่าง ก็เลยไม่ต้องจ่าย

ผมเชื่อว่าถ้าเราเก็บภาษีได้คลอบคลุม เราจะได้เงินมาอีกเยอะ ซึ่งถึงตอนนั้น เราสามารถลดอัตราการจ่ายภาษีลงยังได้เลย

ไม่ได้องุ่นเปรี้ยว่าหลบเลี่ยงไม่ได้ ส่วนตัวเต็มใจเสียภาษี ถึงแม้จะรู้ว่ามันถูกเอาไปใช้แบบว่านะ... แต่คนไทยบางกลุ่มยังคิดเรื่องเลี่ยงภาษีคือไม่จ่ายเลย ไม่ใช่แบบว่าหาวิธีลดหย่อนตามที่กฏหมายกำหนดไว้ให้


..: เรื่อยไป

By: komsanw
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 19 September 2016 - 11:12 #941301
komsanw's picture

ทุกวันนี้คนไทยมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก เป็นบัตรเดบิต 48 ล้านใบ และบัตรเอทีเอ็มถึง 20 ล้านใบ
--บัตรเดบิตมักจะพ่วงค่าธรรมเนียมรายปีสุดโหด+ประกันอุบัติเหตุที่แทบไม่ได้ใช้จริง
48 vs 20 ล้านใบแสดงถึงการยัดเยียดบัตรที่มีค่าธรรมเนียม

By: notnull
Android
on 20 September 2016 - 20:45 #941710

ถ้าเอาไว้จ่ายเงินเดือน ยกเว้นค่าธรรมเนียมถ้าโอนไม่เกิน 5000 น่าจะน้อยไปเยอะเลยครับ

By: Holy
Contributor Android WindowsIn Love
on 21 September 2016 - 14:43 #941871 Reply to:941710
Holy's picture

ก็คงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามปกติครับ ทุกวันนี้บริการ Payroll ของแบงก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมอยู่แล้ว ต่อให้เป็นภายในแบงก์เดียวกันก็เถอะ แต่อันนี้จะโอนเข้าบัญชีธนาคารไหนก็ได้ ราคาเท่ากัน