กูเกิลเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมไทย) เข้าร่วมโครงการ Google for Startups Accelerator for Southeast Asia บ่มเพาะสตาร์ตอัพเป็นเวลา 3 เดือน โดยวิทยากรจากกูเกิลและเครือข่ายพันธมิตร
สตาร์ตอัพที่มีสิทธิสมัครเข้าร่วมต้องเป็นระดับ seed ถึง Series A จากประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, ปากีสถาน เน้นที่สตาร์ตอัพด้านอีคอมเมิร์ซ, การเงิน, สุขภาพ, โซลูชัน B2B สำหรับ SME, การศึกษา, การเกษตร, ลอจิสติกส์
โครงการจะเปิดรับจำนวน 10-15 บริษัท เริ่มช่วงบ่มเพาะช่วงต้นปี 2023 สมัครได้ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2022
Techsauce บริษัทสื่อธุรกิจและเทคโนโลยีของไทยเตรียมปล่อยโครงการ Accerator เพื่อช่วยเหลือบริษัท สตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “Thailand Accelerator”
อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Techsauce กล่าวว่า ตามปกติแล้วสตาร์ทอัพใหม่ๆ มักเจออุปสรรคในการระดมทุนรอบ seeding เพราะนักลงทุนมักให้ความสนใจลงทุนในซีรีส์ A ขึ้นไปกับสตาร์ทอัพที่มีการเติบโตแล้ว ซึ่ง Techsauce มองว่าประเทศไทยมีสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพจำนวนมาก Thailand Accelerator จึงอยากเข้ามาช่วยอุดช่องว่างตรงนี้
เมื่อวาน Allianz Ayudhya เปิดตัวโครงการ Allianz Ayudhya Activator โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รับสตาร์ทอัพในกลุ่มประกัน (InsurTech) โดยยังคงมีกลุ่ม FinTech และ Healthcare อยู่ด้วย
แนวคิดหลักๆ ของโครงการนี้คือการรับมือกับ Digital Disruption ของทาง Allianz โดยการร่วมมือกับสตาร์ทอัพ (พาร์ทเนอร์) เป็นหนึ่งใน 3 กลยุทธของบริษัท ส่วนอีกสองกลยุทธคือการนำ Big Data มาใช้งานโดยมีการจัดตั้ง Digital Lab ที่สิงคโปร์ไปแล้ว สุดท้ายคือการเปิดแพลตฟอร์ม Allianz-as-a-Service ผ่าน APIs ให้พาร์ทเนอร์
โครงการ Activator มีช่วงเวลาอบรมราว 12 สัปดาห์ โดยมีเงิน Seed Investment รวมกว่า 2 ล้านบาท รับสมัครวันนี้ถึง 15 ธันวาคมนี้
Accenture บริษัทให้บริการและปรึกษาด้านเทคโนโลยีในสิงคโปร์ เปิดตัวศูนย์เรียนรู้และพื้นที่บ่มเพาะความรู้ทางธุรกิจบนโลกดิจิทัล ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการพื้นที่สตูดิโอและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเพื่อนำไปผลักดันธุรกิจดิจิทัลได้ ในการเปิดตัวศูนย์บ่มเพาะนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือ Singapore Economic Development Board หรือ SEDB ด้วย
dtac Accelerate ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพจากดีแทค เปิดตัวโครงการ Global Expansion Track คัดสตาร์ทอัพไทยเข้าโครงการคือ T2P สตาร์ทอัพฟินเทคทำบริการบัตรเติมเงินเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ และสิ่งที่ T2P จะได้รับคือ
- ทำการตลาดในกลุ่มลูกค้าในกลุ่มเทเลนอร์ 13 ประเทศกว่า 200 ล้านคน
- เข้าถึงพาร์ทเนอร์ในระดับโลกเพิ่มโอกาสเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคต
- ได้รับแพ็กเกจจากพันธมิตรเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือในการทำธุรกิจ เช่น Google, AWS, Microsoft, IBM และ Samsung
- ได้รับเงินลงทุนจากดีแทคในฐานะที่เป็น Corporate Venture Capital รายแรก
วันนี้ มจธ.หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน Hatch Startup Demo Day 2017ที่อาคาร KX เปิดให้สตาร์ทอัพผลงานนักศึกษามา pitch เพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุน
มจธ. ทำศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ ในชื่อ Hatch โดยมีเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้ความรู้นักศึกษาที่สนใจทำนวัตกรรม รวมถึงบ่มเพาะนักศึกษาให้สามารถสร้างธุรกิจได้ต่อไป
dtac Accelerate เปิดโครงการรับสมัครสตาร์ทอัพและผู้มีไอเดียทางธุรกิจมาเข้าโครงการอบรมหรือบูธแคมป์ 4 เดือน ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 5 แล้ว นอกจากนี้ dtac Accelerate ได้ประกาศพาร์ทเนอร์ใหม่คือ เมืองไทยประกันชีวิต บริษัทไทยวา และ Google Developer เป้าหมายคือมาร่วมผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกันแก่ลูกค้า
ทาง dtac Accelerate ระบุเป้าหมายระยะยาวถึงปี 2020 ว่า ต้องการเพิ่มมูลค่าธุรกิจสตาร์ทอัพให้ถึง 5,000 ล้านบาท ต้องการเป็นศูนย์บ่มเพาะอันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สตาร์ทอัพในโครงการสามารถเข้าถึงลูกค้ากว่า 214 ล้านคน จาก 13 ประเทศในเครือเทเลนอร์ และต้องการสร้างสตาร์ทอัพไทยที่มีมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ (ยูนิคอร์น)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับ AGW Group กลุ่มนักลงทุนจากอิสราเอล ทำโครงการ Spark บ่มเพาะสตาร์ทอัพ หวังเป็นอีกแรงผลักดันวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติระบุว่าประเทศอิสราเอลเป็นศูนย์สตาร์ทอัพระดับโลก และกลุ่ม AGW ก็ลงทุนในสตาร์ทอัพชื่อดังมามาก มีการพูดคุยระหว่างไทยกับ AGW มาตั้งแต่งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ครั้งที่แล้ว การเปิดตัว Spark มีเป้าหมายคือสรา้งสตาร์ทอัพเติบโตสู่สากล เป็นสะพานส่วนหนึ่งช่วยสตาร์ทอัพไทยอีกแรงเพิ่มจากศูนย์บ่มเพาะภาคเอกชน เช่น Dtac, AIS
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) จัดกิจกรรมกระบวนการเร่งพัฒนาศักยภาพสตาร์ตอัพสู่สากล โดยเชิญชวนสตาร์ทอัพมาร่วมพูดคุยกับ David Passiak นักการตลาดที่มีดิจิตอลเอเจนซี่อยู่ในซิลิคอนวัลเล่ย์ และเป็นเจ้าของผลงานหนังสือหนังสืออย่าง Red Bull to Buddha: Innovation and the Search for Wisdom หนังสือสร้างแรงบันดาลใจทางธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมี Empower: How to Co-Create the Future และ Disruption Revolution: Innovation, Entrepreneurship, and the New Rules of Leadership
สำหรับคอนเซปต์งานเสวนาครั้งนี้คือ Co-Create the Future ที่เชื่อว่าการมีส่วนร่วมคือปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตทางธุรกิจที่สำเร็จอย่างยั่งยืน
ในงาน Digital Winners Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา วันก่อนที่จะมีการประกาศผล มีโอกาสไปเยี่ยมชม Co-working Space ในเมืองย่างกุ้งชื่อว่า Phandeeyar (พาน-ดี-ยา)
เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา dtac ได้เชิญคุณ Fadi Bishara ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการก่อตั้งสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้ง BlackBox ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพของตัวเอง มาพูดคุยและแสดงทัศนะ ผมมีโอกาสได้ไปฟังพบว่ามุมมองของคุณ Fadi ต่อวงการสตาร์ทอัพไทยค่อนข้างน่าสนใจและอาจมีประโยชน์เลยนำมาฝากกันครับ
วันนี้ Digital Ventures หรือ DV บริษัทลูกด้าน FinTech ของ SCB แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ (อ่าน บทสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร Digital Ventures ประกอบ) โดยเบื้องต้น DV จะมี 3 ส่วนธุรกิจ
Krungsri RISE โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพสาย FinTech ที่ Blognone เคยรายงานข่าวไป ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบแล้ว โดยขยายเพิ่มจากที่ประกาศไว้ตอนแรก 10 ทีมเป็น 15 ทีม
หลายทีมที่เข้ารอบก็เป็นทีมค่อนข้างมีชื่ออยู่แล้ว เช่น Piggipo ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย dtac Accelerate Batch 2 หรือ Pay Social บริษัทในเครือ efrastructure ของคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ส่วนทีมอย่าง iTAX, Meefund, Satangdee ก็ออกงานสตาร์ตอัพอยู่เรื่อยๆ และเป็นที่รู้จักในวงการ
ขั้นต่อไปคือทั้ง 15 ทีมจะต้องเข้าแคมป์บ่มเพาะแบบเข้มข้นนาน 8 สัปดาห์
เพื่อแก้ปัญหาการร้องเรียนผู้ขับขี่รถในแพลตฟอร์ม Uber ที่มีประเด็นเกี่ยวกับการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย หรือเร็วเกินไป ล่าสุด Uber ประกาศเริ่มทดลองเก็บข้อมูลจากสมาร์ทโฟนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว
ในบล็อคของ Uber ระบุว่าในเร็ววันนี้ Uber จะเริ่มเก็บข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจตราการขับขี่ โดยจะใช้ข้อมูลจาก gyrometer เพื่อวัดการเคลื่อนไหวเล็กๆ และใช้ GPS ร่วมกับ accelerometer เพื่อดูว่ารถหยุดบ่อยแค่ไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อดูว่าผู้ขับขี่นั้นมีพฤติกรรมการขับขี่เป็นอย่างไร เบรกบ่อยไหม ขับรถเร็วหรือไม่ และใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ตรวจสอบ เพื่อพูดคุยกับผู้ขับในการหาทางแก้ไขต่อไป
โครงการ dtac Accelerate Batch 3ถือเป็นการบ่มเพาะสตาร์ตอัพไทย ติดต่อกันเป็นปีที่สามของบริษัท dtac โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ Telenor Group
รูปแบบโครงการยังคล้ายของปีที่แล้ว นั่นคือคัดเลือกสตาร์ตอัพที่โดดเด่นเพื่อไปพัฒนาความสามารถ และผลักดันให้เติบโตในเวทีโลก
สิ่งที่สตาร์ตอัพที่ผ่านการเข้ารอบจะได้รับ มีตั้งแต่
วงการสตาร์ตอัพบ้านเรายังมีกิจกรรมน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง สำหรับคนที่สนใจเปิดกิจการสตาร์ตอัพของตัวเอง แต่ยังไม่มั่นใจหรือรู้สึกว่าขาดความรู้เกี่ยวกับวงการนี้ อาจเข้าร่วมโครงการ Startup Next
Bangkok
ซึ่งระบุว่าเป็นคอร์ส pre-acceleration (ขั้นก่อนคอร์ส acceleration) สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นจริงๆ
โครงการ Startup Next เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพจากต่างประเทศ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google Entrepreneur และ Techstars ซึ่งภายหลังขยายตัวไปยังหลายประเทศทั่วโลก และ Startup Next Bangkok ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
เมื่อสัปดาห์ก่อน MSeed Asia บริษัทในเครือ M Link Asia Corporation ได้จัดงาน Demo Day สำหรับนำเสนอผลงานของทีมผู้พัฒนาเกมจากโครงการ MSeed Accelerator สู่สายตาของนักลงทุน โดยคัดเลือกจาก 10 ทีมสุดท้ายที่เข้าร่วมฝึกอบรมมากกว่า 3 เดือน เหลือเพียง 5 ทีมที่ได้คัดเลือกมานำเสนอเกมในงานวันนี้
ทั้ง 5 ทีมที่ผ่านเข้ามาถึง Demo Day จะได้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมอีกทีมละ 400,000 บาท รวมกับเงินสนับสนุนก้อนแรกทื่ได้ไปก่อนแล้ว 100,000 บาท และจะมีผู้ชนะเพียงหนึ่งทีมที่จะได้ไปร่วมงาน Game Developer Conference 2015 (GDC2015) ที่ประเทศสหรัฐฯ เพื่อพบกับนักลงทุนทั่วโลกอีกต่อ
สำหรับ 5 ทีมที่เข้ามาโชว์ผลงานในงาน Demo Day มีดังต่อไปนี้ (เรียงตามลำดับการนำเสนอครับ)
เราอาจจะคุ้นเคยกับบริษัทหรือกองทุนที่ให้ทุนสนับสนุน (venture capital: vc) ในสายของซอฟต์แวร์อยู่พอสมควร แต่ถ้าพูดถึงทางฝั่งฮาร์ดแวร์หรือจำพวกอุปกรณ์ อาจจะยังเห็นความเคลื่อนไหวในด้านนี้ที่ไม่มากนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย เพราะหนึ่งในบริษัทหรือกองทุนเหล่านั้นมีกองทุนชื่อว่า HAXLR8R
สิ่งที่ทำให้ HAXLR8R มีความน่าสนใจอยู่ที่แนวคิดของการผลักดันบริษัทที่เป็นสตาร์ทอัพจำนวนหนึ่ง โดยเพียงในรอบสองปี กองทุนนี้ได้ผลักดันให้เกิดบริษัทไปแล้วเกือบ 30 บริษัท นั่นเอง โดยปัจจุบันทางกองทุนมีผู้ดูแลที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก และมีอุปกรณ์ที่ออกสู่ตลาดและน่าสนใจมากมาย ในวันนี้เราจึงจะมาเจาะลึกสำหรับ HAXLR8R ครับ