คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกเอกสารเพื่อขอความเห็นจากสาธารณะ (public consultation) เรื่องฟีเจอร์ของ iOS ที่ควรเปิดให้อุปกรณ์ยี่ห้ออื่นเชื่อมต่อได้ด้วย
เอกสารนี้กล่าวถึงฟีเจอร์หลายอย่างของ iOS แต่ที่สำคัญคือ AirDrop และ AirPlay ที่มุมมองของคณะกรรมการยุโรปเห็นว่า แอปเปิลควรเปิด AirDrop และ AirPlay ให้แอพหรืออุปกรณ์ค่ายอื่นๆ เข้าถึงได้ (กรณีของ AirPlay นั้น แอปเปิลเคยเปิดบ้างแล้ว )
ในเอกสารฉบับเดียวกัน ยังมีประเด็นว่าแอปเปิลควรอนุญาตให้แอพ 3rd party จากผู้พัฒนารายอื่น สามารถรันในแบ็คกราวน์ได้แบบเดียวกับแอพ 1st party ของแอปเปิลเอง
ที่ผ่านมาการแชร์ข้อมูลโดยตรงหากันระหว่างอุปกรณ์ผ่านบลูทูธ โดยเฉพาะช่องทางอย่าง AirDrop ในอุปกรณ์ของแอปเปิล เป็นช่องทางที่หน่วยงานของจีนพยายาม ออกระเบียบควบคุม เพราะสามารถติดตามตรวจสอบได้ยากกว่าช่องทางอื่น
ล่าสุดมีรายงานว่าหน่วยงานวิจัยของปักกิ่ง อ้างว่าพบวิธีดึงข้อมูล หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล และชื่ออุปกรณ์ ของผู้รับและผู้ส่งรูปภาพผ่าน AirDrop ได้แล้ว โดยแกะข้อมูลจาก log ของอุปกรณ์
หน่วยงานวิจัยนี้บอกว่าข้อมูลผู้ส่งไฟล์ใน AirDrop นั้น มีการเก็บแบบเข้ารหัสไว้ใน log ที่ระดับอุปกรณ์ แต่สามารถถอดรหัสได้โดยใช้วิธี Rainbow Tables ซึ่งวิธีการนี้ทำให้หน่วยงานของจีนสามารถตรวจสอบผู้ต้องสงสัยหากมีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้
หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีนออกร่างกำกับดูแลเทคโนโลยีล่าสุด โดยระบุว่าเพื่อควบคุมเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งไฟล์ ข้อมูล รูปภาพ หากันระหว่างอุปกรณ์ได้ โดยไม่ต้องใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งในร่างนี้ไม่ได้ระบุชื่อ แต่ก็หมายถึงเทคโนโลยีเช่น AirDrop ของแอปเปิล หรือวิธีการส่งไฟล์ทางบลูทูธต่าง ๆ
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 และ iPadOS 16.1.1 โดยแอปเปิลบอกเพียงเป็นการแก้ไขบั๊ก และปรับปรุงความปลอดภัยทั่วไป ซึ่งแนะนำให้ผู้ใช้งานอัพเดต ทั้งนี้บั๊กสำคัญที่คาดว่าแอปเปิลได้แก้ไขไปคือปัญหา Wi-Fi หลุดสำหรับผู้ใช้งานบางคน
ในอัพเดตนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลง มีผลเฉพาะผู้ใช้งานในจีน โดยฟีเจอร์รับส่งไฟล์ AirDrop จะไม่สามารถเปิดโหมด Everyone (รับไฟล์จากทุกคน) ค้างไว้ได้ แต่จะเปิดได้เพียง 10 นาทีเท่านั้น ซึ่งคาดว่าเป็นการร้องขอจากหน่วยงานในจีน เพื่อควบคุมการส่งต่อข้อมูล
นอกจากนี้แอปเปิลยังออกอัพเดต macOS Ventura 13.0.1 แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัย 2 รายการอีกด้วย
เป็นที่ทราบกันว่ารัฐบาลจีนใช้ The Great Firewall ในการควบคุมข้อมูลข่าวสารของคนจีน ทว่าต่อให้กำแพงไฟนั้นใหญ่แค่ไหนก็ไม่อาจจะปิดกั้นข้อมูลที่ถูกส่งกันผ่าน Bluetooth และ Wi-Fi อย่าง AirDrop ของแอปเปิลได้ ซึ่งผู้ประท้วงฮ่องกงก็อาศัยฟีเจอร์นี้ในการส่งข้อมูล (ที่รัฐบาลจีนปิดกั้น) ไปให้กับคนจีนที่เดินทางมาฮ่องกง
เราได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้โดยสาร จนทำให้เครื่องบินที่กำลังเดินทางอยู่ต้องลงจอดฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหานั้นอยู่บ่อยครั้ง สำหรับกรณีล่าสุดนี้น่าจะถือเป็นความผิดพลาดในการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน จนทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น
โดยมีรายงานว่าเที่ยวบินของสายการบิน Hawaiian Airlines HA23 เดินทางจาก Oakland ไป Kahului ได้วนกลับมาลงจอดที่สนามบินนานถึง 90 นาที หลังออกเดินทางได้ไม่นาน เนื่องจากมีผู้โดยสารหลายคนร้องเรียนกับลูกเรือ ว่าโทรศัพท์พวกเขาได้รับภาพเด็กถูกฆาตกรรมเสียชีวิต (ภาพดูได้จากที่มา)
เว็บ 9to5Mac บอกว่าจากข้อมูลที่พวกเขาเห็นในโค้ดของระบบปฏิบัติการตัวใหม่ แอปเปิลได้เลือกใช้ชิป Wi-Fi แบบ Dual-band ใหม่จาก Broadcom รุ่น BCM4334 ซึ่งเป็นชิปสถาปัตยกรรมขนาด 40nm ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารุ่นที่ใช้บน iPad 3 และ iPhone 4S ซึ่งถูกผลิตด้วยขั้นตอนสถาปัตยกรรมขนาด 65nm โดยชิปตัวใหม่นี้จะประหยัดไฟมากกว่าชิปเดิม 40-50% ทำให้แอปเปิลสามารถจัดสรรการใช้พลังงานใหม่ให้กับไอโฟนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจอภาพที่ใหญ่ขึ้นและชิป LTE ที่จะกินไฟมากกว่าไอโฟนรุ่นที่วางขายปัจจุบัน