ธนาคารกสิกรไทยคาดปี 2025 ยอดผู้ใช้ K PLUS เพิ่ม 1 ล้านราย เป็น 23.9 ล้านราย พร้อมตั้งเป้าว่าในปีดังกล่าวจะมี ROE (ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) สูงถึง 2 หลัก
ปัจจุบัน K PLUS มีส่วนแบ่งตลาด 30% ของปริมาณธุรกรรมโมบายแบงก์กิ้งทั้งระบบ มีผู้ใช้งาน K PLUS จำนวน 22.8 ล้านราย นอกจากนี้ ยังได้รับคะแนนจากผู้บริโภคเป็นอันดับ 1 ด้านความพึงพอใจและความผูกพันกับแบรนด์ (Net Promoter Score: NPS) ในกลุ่มธุรกิจธนาคารในประเทศไทย จากผลสำรวจของบริษัท นีลเส็นไอคิว (NielsenIQ) บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลก
ธนาคารกสิกรไทย อัพเดตฟีเจอร์ให้แอพ K PLUS โดยเป็นฟีเจอร์ด้านการจัดการเงิน และการลงทุน ดังนี้
- สินทรัพย์ของฉัน (My Asset)แสดงสินทรัพย์และสินเชื่อทั้งหมดที่มีกับธนาคารกสิกรไทย ทั้งในรูปชาร์ทรวมทั้งหมด และเจาะแยกตามรายการ เช่น เงินฝาก กองทุนรวม ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หลักทรัพย์ ฯลฯ
- ตั้งงบรายจ่าย (My Budget)ตั้งงบค่าใช้จ่ายตามชีวิตประจำวัน แยกตามหมวดหมู่ ตั้งหมวดเองได้ (สูงสุด 14 หมวด) เพื่อให้จัดการรายจ่ายประจำวันได้ดีขึ้น
- ลงทุน (Investment)ซื้อกองทุนจากหลากหลาย บลจ., ซื้อขายทองคำจากแม่ทองสุก (MTS Gold), สรุปยอดซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีในแต่ละปี
Visa บอกว่าไทยเป็นผู้นำด้านความถี่ในการใช้โมบายแบงก์กิ้งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือราว 97% ใช้โมบายแบงก์กิ้งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง/สัปดาห์ ตามมาด้วยเวียดนาม (95%) และอินโดนีเซีย (90%) โดยค่าเฉลี่ยภูมิภาคอยู่ที่ 89%
Visa ยังให้ข้อมูลน่าสนใจผ่าน Visa Consumer Payment Attitudes Study อีกหลายเรื่อง เช่น เวียดนามลดการถือเงินสดจากปีก่อนมากที่สุดที่ 56% ตามมาด้วยมาเลเซีย (49%) และไทย (47%)
ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์เปิดบริการ OCBC MyOwn Account ให้บริการเด็กอายุ 7-15 ปี เพื่อให้สามารถจ่ายเงินผ่านการสแกนหรือบัตรเดบิตได้
บัญชีธนาคารเป็นชื่อเด็กเหมือนบัญชีปกติ แต่จากเดิมที่ตัวเด็กจะเปิดบัญชีออนไลน์และทำบัตรเดบิตได้ต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป บริการใหม่นี้จะเปิดให้ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งการสแกนจ่ายผ่าน QR และการจ่ายผ่านบัตรได้ด้วย โดยที่ฝั่งผู้ปกครองจะมีความสามารถดูรายการธุรกรรมทั้งหมด, จำกัดวงเงิน, ได้รับแจ้งเตือนเมื่อเด็กจ่ายเงิน, และสามารถรีเซ็ตรหัสบัตรหรือแจ้งบัตรหายได้จากฝั่งผู้ปกครองเอง
กรุงศรี คอนซูมเมอร์เปิดตัวบริการ สแกน QR พร้อมผ่อนชำระโดยไม่ใช้บัตรเครดิต บนแอป UChoose
แอป UChoose มีบริการสแกน QR สำหรับใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่แล้ว แต่บริการนี้เป็นการร่วมมือกับร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ ผ่านระบบ We Merchant และกรณีที่มีโปรโมชันผ่อน 0% หน้าร้าน (แล้วแต่ดีลโปรโมชันหน้าร้าน ณ จุดขาย ต้องสอบถามพนักงานเพิ่มเติม) ลูกค้า UChoose สามารถใช้แอปสแกน QR ใช้จ่ายผ่านบัตร พร้อมเลือกโปรโมชันผ่อนชำระได้ทันทีในแอป กรณีที่สินค้าหรือร้านค้าเข้าร่วมรายการ
พาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมก็มีอาทิ Power Buy, Telewiz by AIS, Banana IT, Kingkongphone, iStudio by SPVi, iStudio by Copperwired, .Life, TG Fone, Advice IT Infinite, J.I.B Computer, Mine By J.I.B และ Big Camera
ธนาคารออมสินเพิ่มโหมด Secure+ ในแอป MyMo เพื่อลดความเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเปราะบาง โดยใช้แอปเดิมแต่เปลี่ยนโหมดให้จำกัดการใช้งานลง และเมื่อเปิดโหมดนี้แล้วการปิดโหมดนี้ต้องติดต่อที่สาขาเท่านั้น
โหมด Secure+ จะล็อกให้จ่ายเงินไปยังคนอื่นได้ไม่เกินวันละ 5,000 บาท หรือหากถอนเงินสดก็จำกัดวันละ 5,000 บาทเช่นกัน สำหรับการจ่ายเงินตามปกติ เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารออมสิน, การจ่ายสินเชื่อ, การโอนเงินไปยังบัญชีของตนเองธนาคารอื่น ล้วนมีโควต้าประจำวันแต่จะสูงขึ้น
หลังมีประเด็น K PLUS ไม่สามารถใช้งานกับ iOS 18 ได้บนโลกออนไลน์ช่วงเช้า ล่าสุด KBank ยืนยันแล้วว่าแอปธนาคาร รองรับแค่เวอร์ชัน 17.5 สำหรับคนที่ใช้ iOS 18 เบต้า และต้องการใช้ K PLUS ต้องดาวน์เกรดลงมาเป็น iOS 17.5
ส่วนการรองรับ iOS 18 เวอร์ชันเต็ม K PLUS มีแผนพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ก่อนที่แอปเปิลจะปล่อยดาวน์โหลดปลายปีนี้
ที่มา - ประชาสัมพันธ์
หลังจากเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ธนาคารกรุงเทพ เปิดให้ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking สามารถทำการถอนเงินไม่ใช้บัตรผ่านตู้ ATM ธนาคารกสิกรไทยได้แล้ว
ล่าสุดวันนี้ (7 เมษายน 2567) ธนาคารกสิกรไทย ประกาศผ่านแอพลิเคชั่น K PLUS ว่าสามารถถอนเงินไม่ใข้บัตรผ่านตู้ ATM ของธนาคารกรุงเทพได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ผู้ใช้บริการแอพลิเคชั่น K PLUS สามารถทำรายการถอนเงินไม่ใช้บัตรผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงเทพได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อครั้ง และจำนวนเงินรวมกันสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำรายการถอนเงินไม่ใช้บัตรจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 หลังจากนั้นจะมีค่าธรรมเนียมในการทำรายการถอนเงินไม่ใช้บัตรผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงเทพ 10 บาทต่อครั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง (SCB Easy Net) ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม นี้เวลา 21.00 เป็นต้นไป พร้อมแนะนำลูกค้าให้ไปใช้ SCB Easy App แทน
สำหรับลูกค้าที่ทำรายการโอนเงินและจ่ายบิลล่วงหน้า (Schedule Transfer & Bill Payment) และมีผลหลังวันที่ 14 กรกฎาคมเป็นต้นไป รายการทั้งหมดจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ และมีเพียงบริการหักบัญชีอัตโนมัติ เพื่อชำระค่าบริการ (Direct Debit) เท่านั้นที่จะยังคงใช้งานได้ต่อไป
ก่อนหน้านี้ธนาคารไทยพาณิชย์มีการปรับ ฟีเจอร์บางส่วนของ SCB Easy Net ไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้วแล้ว สะท้อนว่าทางธนาคารให้่ความสำคัญกับแพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟนมากกว่าบนเว็บ ก่อนที่ล่าสุดจะประกาศยกเลิก
ธนาคารกรุงไทย ประกาศเลื่อน แผนการเก็บค่าธรรมเนียมกดเงินสดแบบไม่ใช้บัตร (cardless ATM) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังประกาศแนวทางแล้วได้รับเสียงวิจารณ์ในวงกว้าง
ธนาคารกรุงไทยระบุว่าตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้าที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน จึงเลื่อนแผนการเก็บเงินค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อการกด ATM แบบไร้บัตรไปก่อน
ธนาคารกรุงไทย ประกาศว่าจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มแบบไม่ใช้บัตร ครั้งละ 10 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมนี้ให้ 1 ครั้งต่อเดือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2566
หลายปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ต่างยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่อดีตเคยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งที่เด่นชัดคือค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบข้ามเขต และข้ามธนาคาร ทำให้เกิดการรับ-จ่ายเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น และมีการใช้เงินสดน้อยลง ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้ ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมมาตั้งแต่ปี 2561 หรือ 5 ปีที่แล้ว
ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยตัวเลขผู้ใช้บริการธนาคารในระบบดิจิทัล ทั้งผ่าน K PLUS และ LINE BK โดยมีสถิติดังนี้
K PLUS
หลังจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมออกคำสั่งให้ธนาคารปรับปรุงแอปพลิเคชั่นธนาคารให้ยืนยันตัวตนเพิ่มเมื่อทำธุรกรรมเกินกำหนด เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดเหตุหลอกลวง และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ก็พร้อมรับนโยบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงแอปพลิเคชั่นของตนกันยกใหญ่
แต่ดูเหมือนว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ ธนาคารทหารไทยธนชาต(ttb) ก็ได้มีการออกอัพเดทปรับปรุงแอปพลิเคชั่นของธนาคารบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ตามปกติ แต่จากอัพเดทดังกล่าวทำให้มีผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นธนาคารได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วในอัพเดทดังกล่าวมีการเพิ่มฟีเจอร์การตรวจสอบ Accessibility mode ว่า เปิดทิ้งไว้หรือไม่?
ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้แอพ K PLUS บางส่วนได้แจ้งปัญหาไปยังเพจของธนาคารกสิกรไทยว่าเข้าใช้งานแอพไม่ได้ ต่อเนื่องมาจนถึงเมื่อวาน (22 ธันวาคม) โดยเมื่อเวลา 19:24 น. ของเมื่อวาน เพจกสิกรไทยได้โพสต์แจ้งลูกค้าที่ใช้ Android ว่าให้อัพเดตแอพเป็นเวอร์ชัน 5.16.6 เพื่อให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์ Huawei ก็ให้รอรับอัพเดตทาง AppGallery เช่นกัน
ธนาคารกรุงไทยประกาศยกเลิกบริการ KTB netbank บริการผ่านเว็บเนื่องจากปริมาณผู้ใช้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะให้บริการผ่านแอป Krungthai NEXT เท่านั้น นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2023 เป็นต้นไป
แอป Krungthai NEXT นั้น เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ทางธนาคารระบุว่ามีผู้ใช้ถึง 16 ล้านคน
แนวทางการให้ทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนาแอปของธนาคารกรุงไทย คล้ายกับธนาคารไทยพาณิชย์ที่ก่อนหน้านี้ก็ประกาศ ลดฟีเจอร์ของบริการผ่านเว็บลง กระแสความนิยมแอปพลิเคชั่นก็น่าจะทำให้เราเห็นธนาคารต่างๆ ให้น้ำหนักกับแอปพลิเคชั่นมากกว่าเว็บมาก แม้จะไม่ได้ปิดบริการไปก็ตามที
ช่วงบ่ายวันนี้ (25 ตุลาคม 2022) มีผู้ใช้ Twitter โพสต์ข้อความติดแท็ก #กรุงไทยล่ม เป็นจำนวนมาก โดยระบุปัญหาไม่สามารถใช้บริการทางการเงินได้ทั้งการโอนเงิน, การกดเงินสดจากตู้ ATM, การยืนยันรับเงินโอนเข้าบัญชี โดยผู้ใช้บางรายได้โพสต์ภาพจากหน้าจอแอป Krungthai NEXT ที่ปรากฎข้อความแจ้งบริการขัดข้อง
โดยทางเพจ Krungthai Care ได้โพสต์ข้อความยืนยันรับทราบถึงปัญหาและแจ้งว่าการทำธุรกรรมทุกช่องทางไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ แต่ผู้ใช้ยังสามารถใช้บริการโครงการรัฐผ่าน G-Wallet และซื้อสลากดิจิทัล ผ่านแอป เป๋าตัง ได้ตามปกติ
เรียกว่ามีให้เห็นแทบทุกครั้งที่วันสิ้นเดือนเวียนมาถึงกับปัญหาแอปธนาคารใช้การไม่ได้ โดยวันนี้มีผู้คนโพสต์ระบายเรื่องประสบปัญหาใน Twitter เรื่องการใช้งานแอป SCB Easy และ Bualuang mBanking และติด hashtag #scbล่ม, #กรุงเทพล่มกันเป็นจำนวนมาก
ในตอนนี้ทาง SCB แจ้งว่าได้รับทราบปัญหาแล้วและอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา โดยขอให้ผู้ใช้เว้นระยะเวลาใช้งานแอปสักพัก แล้วทดลองเปิดแอปใช้งานอีกครั้ง ส่วนทางด้านธนาคารกรุงเทพยังไม่ได้ตอบเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการใช้งานแอปในขณะนี้
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ชี้แจงแนวทางของ ธปท. ต่อเหตุการณ์ระบบแอพมือถือ ttb touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาตล่มระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2022
ธปท. ได้สั่งการ 3 ข้อดังนี้
ตามที่แอปพลิเคชัน ttb touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ไม่สามารถใช้งานได้ช่วงวันที่ 1-2 กันยายน ล่าสุดธนาคารได้อัปเดตเมื่อเวลาเกือบ 1 นาฬิกา ของคืนที่ผ่านมาว่าแอปสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว
อัพเดต:แฮชแท็ก #ttbล่ม ยังคงอยู่ในเทรนด์ของ Twitter ประเทศไทย โดยผู้ใช้จำนวนมากรายงานว่ายังใช้งานไม่ได้
ที่มา: Twitter: ttb bank
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาตแจ้งขออภัยผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน ttb touch ที่ไม่สามารถใช้บริการแอปได้ในวันที่ 1-2 กันยายนหรือใช้เวลานานในการเข้าสู่ระบบ ธนาคารแจ้งว่ามีสาเหตุมาจากที่มีผู้ใช้บริการทำธุรกรรมเป็นจำนวนมากในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมและช่วงต้นเดือนกันยายน ทำให้ธนาคารปิดบริการแอปชั่วคราวตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 1 กันยายน
หลังจากแอป ttb touch ของธนาคารธนชาติล่มเมื่อวานนี้ วันนี้ (2 กันยายน) แอปพลิเคชันก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ ทางธนาคารได้โพสต์ผ่านหน้าเพจ Facebook ยืนยันรับทราบปัญหาแล้วและกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ รวมถึงแนะนำให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมผ่านทางตู้ ATM ไปก่อน
ที่มา: เพจ ttb bank
วันนี้ (1 กันยายน 2022) ผู้ใช้งานแอป ttb touch ของธนาคารทีเอ็มบีธนชาตประสบปัญหาไม่สามารถใช้งานแอปได้ตามปกติตั้งแต่ช่วงเช้าของวัน จนเกิดกระแสการทวีต #ttbล่ม ใน Twitter ตลอดวัน ล่าสุดตอนนี้ 22.30 น. ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทางธนาคารทีเอ็มบีธนชาตได้โพสต์ผ่านทางหน้าเพจ Facebook และบัญชี Twitter ยืนยันรับทราบปัญหาและแนะนำให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมผ่านทางตู้ ATM ไปก่อน
แอปเป๋าตังล่ม ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยธนาคารกรุงไทย ประกาศบน Twitter ตอน 6.57 ว่าจะเร่งดำเนินการและคาดว่าจะใช้งานได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ปัจจุบัน ณ เวลาเขียนข่าว ยังคงไม่สามารถเข้าใช้านได้
สรุปสถิติข้อมูลแอปพลิเคชั่นของธนาคารขัดข้องหรือล่มที่รวบรวมจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2565 มีธนาคารทีเอ็มบีธนชาตครองอันดับหนึ่ง โดยล่มมากถึง 12 ครั้ง รวมเวลา 38 ชั่วโมง ตามมาด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ
KBTG เปิดเผยความสำเร็จในรอบปีที่ผ่านมาของ K Plus ที่มีผู้ใช้งานเกิน 18.6 ล้านรายแล้ว (สิ้นปีคาดว่าจะแตะ 20 ล้านราย) มีจำนวนธุรกรรมทั้งหมด 2.9 หมื่นล้านครั้ง เป็นเงินรวมกัน 23 ล้านล้านบาท สัดส่วนเป็น 1/3 ของจำนวนธุรกรรมผ่าน Mobile Banking ทั้งหมดในประเทศ
นอกจากนี้ในแง่ระบบหลังบ้านของ K Plus ก็สามารลดเหตุการณ์ที่มีความร้ายแรงระดับ 1 และ 2 ได้ลดลงถึง 60% ระยะเวลาในการล่ม (down time) ก็ลดลง 66% เช่นเดียวกับระยะเวลาที่ใช้แกัปญหาเวลาระบบล่มก็ลดลงถึง 33% โดยปัจจุบันเวลาที่ใช้แก้โดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 นาที