Google Search ประกาศเปลี่ยนวิธีแสดงผล URL ในหน้าผลการค้นหาบนมือถือ (mobile search results) ที่เดิมทีแสดง breadcrumb หรือพาธต่อท้าย URL เหมือนกับเวอร์ชันเดสก์ท็อป (ภาพบน) จะลดเหลือการแสดงผลเฉพาะโดเมนเนมเพียงอย่างเดียว (ภาพล่าง)
กูเกิลให้เหตุผลว่าการแสดงผล breadcrumb บนมือถือไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะพื้นที่หน้าจอมีขนาดจำกัด จึงเลือกตัด breadcrumb ออกเพื่อให้มีพื้นที่แสดงโดเมนเนมเด่นชัดขึ้นแทน ส่วนเวอร์ชันเดสก์ท็อปยังแสดง breadcrumb ตามปกติ
การเปลี่ยนแปลงเริ่มมีผลแล้ววันนี้กับ Google Search ในทุกภาษาและทุกภูมิภาค
ที่มา - Google Search Central
มีรายงานจากผู้ใช้กูเกิลที่ปิด JavaScript บนเบราว์เซอร์ พบข้อความเตือนว่าไม่สามารถใช้งานระบบค้นหาหรือ Google Search ได้ ซึ่งกูเกิลยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้จริง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้งาน Google Search ต้องเปิด JavaScript เพื่อการป้องกันที่ดีขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่น บอต สแปม และทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีมากขึ้นด้วย
กูเกิลยังบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ผู้ใช้งานที่กระทบมีไม่มาก เพราะการใช้งานระบบค้นหามีน้อยกว่า 0.1% ที่ปิด JavaScript จากจำนวนการค้นหากว่า 8,500 ล้านครั้งต่อวัน (ซึ่งคิดกลับแล้วก็เป็นหลักล้านอยู่ดี)
ไมโครซอฟท์อัปเดตการแสดงผลการค้นหาที่น่าสนใจ โดยเมื่อผู้ใช้งาน "ค้นหาผ่าน Bing" ด้วยคำว่า Google หรือ Google.com ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา เป็นรูปภาพตรงกลางขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนหลายคน และมีกล่องค้นหาขนาดใหญ่อยู่ด้านล่าง พร้อมข้อความประกอบ ซึ่งหากมองเผิน ๆ รูปแบบการจัดวางนั้นก็เหมือนกับหน้าแรกของ Google ซึ่งกล่องค้นหานี้ก็ยังเป็น Bing ส่วนลิงก์ที่ไปเว็บ Google อยู่ที่ด้านล่างอีกที
เดิมหากค้นหาคำว่า Google ใน Bing ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการแสดงรายชื่อเว็บไซต์ตามปกติ และ Google.com ก็อยู่ด้านบนสุดในหน้าผลค้นหา
มีความคืบหน้าคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิล เรื่องการผูกขาดธุรกิจระบบค้นหา (Search) และศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสิน ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง ซึ่งกูเกิลก็เตรียมอุทธรณ์ ขณะเดียวกันศาลก็สั่งให้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และ กูเกิล เสนอแผนเยียวยาที่เป็นผลจากการผูกขาด
ประเด็นหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้เป็นข้อมูลเพื่อแสดงว่ากูเกิลพยายามผูกขาดธุรกิจค้นหา คือการจ่ายเงินให้แอปเปิลจำนวนมากทุกปี แลกกับการเป็นระบบค้นหาค่าเริ่มต้น (default) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐบอกว่าถ้ากูเกิลต้องเลิกจ่ายเงินส่วนนี้ แอปเปิลก็จะพัฒนาระบบค้นหาของตนเองขึ้นมาแทน ( เคยมีข่าวลือด้วย )
มีรายงานจาก The Information ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search จะเพิ่มตัวเลือก "AI Mode" ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลด้วย AI ในลักษณะเดียวกับ ChatGPT Search ของ OpenAI ที่เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้ได้แล้ว
ตามรายงานบอกว่าแนวทางของกูเกิลจะไม่บังคับให้ทุกคนมาใช้เครื่องมือค้นหาด้วย AI ทั้งหมด แต่มาในรูปแบบทางเลือกในแถบผลลัพธ์การค้นหาร่วมกับ All, Images, Videos ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ต้องการผลลัพธ์จาก AI เลือกได้ โดยการแสดงข้อมูลจะเหมือนกับเวลาใช้งาน Gemini ที่ให้รายละเอียด พร้อมลิงก์ไปยังปลายทางที่เกี่ยวข้อง
กูเกิลยื่นข้อเสนอแผนเยียวยาตามขั้นตอนทางกฎหมาย หลังจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดี ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดธุรกิจค้นหาข้อมูล (Search) จริง ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเป็นฝ่ายฟ้องร้อง และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เสนอ แผนเยียวยา เมื่อเดือนที่แล้ว ให้ศาลสั่งกูเกิลแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัท รวมทั้งให้กูเกิลเปิดไลเซนส์ข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งสามารถนำไปปรับปรุงบริการได้
เมื่อวานนี้เป็น อันดับคำค้นหาทั่วโลก วันนี้กูเกิลประเทศไทยเผยแพร่คำค้นหามาแรงแห่งปี 2024 ของไทย Year in Search ออกมาแล้ว โดยคำค้นหายอดนิยมแห่งปีคือ "ฟุตบอลยูโร" ส่วนข่าวในประเทศยอดนิยมคือ "ข่าวรถบัสไฟไหม้"
ในการจัดอันดับของประเทศไทย มีหมวดที่แตกต่างไปจากรายงานทั่วโลกซึ่งสะท้อนวิธีการค้นหาของคนไทย เช่น หมวดการ์ตูนและอนิเมะ หมวด...แปลว่า และมีหมวด AI ด้วย
10 อันดับของแต่ละหมวดคำค้นหา เป็นดังนี้
กูเกิลประกาศอันดับคำค้นหามาแรงเป็นกระแสทั่วโลกแห่งปี 2024 "Year in Search 2024" ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬารายการสำคัญ ไปจนถึงหัวข้อไวรัลที่คนพากันค้นหาให้หายสงสัย ซึ่งกูเกิลแบ่งการจัดอันดับออกเป็นหัวข้อย่อยต่าง ๆ รายละเอียดทั้งหมดดังนี้
คำค้นหาที่เป็นกระแส
- Copa América
- UEFA European Championship
- ICC Men's T20 World Cup
- India vs England
- Liam Payne
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงวิธีแสดงผลการค้นหา มีผลเฉพาะในภูมิภาคยุโรปโดยบอกว่าเป็นผลจากกฎหมายดิจิทัล DMA ที่กูเกิลได้พยายามปรับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในช่วงที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเว็บเปรียบเทียบราคาสินค้า ได้แก่ โรงแรม สายการบิน และร้านค้าปลีก ซึ่งมีเว็บเปรียบเทียบราคา 3 ราย ร้องเรียนกับหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปว่าทราฟิกเว็บพวกเขาลดลง 30% หลังจากกูเกิลเปลี่ยนวิธีแสดงผลค้นหา ที่กูเกิลบอกว่าทำให้การเปรียบเทียบราคาดูง่ายมากขึ้น เช่น ผลค้นหาโรงแรมถูกแสดงในรูปแบบแผนที่ ที่มีรูปภาพโรงแรม พร้อมราคาจากเว็บที่ถูกที่สุด เป็นต้น
กูเกิลประกาศนโยบายการจัดอันดับการค้นหาใหม่ ภายใต้แนวทางการจัดการเว็บที่ใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิด (site reputation abuse) โดยมักเป็นการขายพื้นที่บนเว็บให้บุคคลภายนอกมาซื้อพื้นที่วางบทความโฆษณาหรือสแปม SEO
การพิจารณาว่าเว็บใดใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิดหรือไม่จะพิจารณาหลายอย่าง เช่น เว็บมีข้อตกลงนำบทความภายนอกมาโพสโดยระบุว่าเขียนเอง หรือการครอบครองบริษัทตลอดจนการทำข้อตกลงทางธุรกิจเพื่อนำความน่าเชื่อถือของเว็บมาใช้ โดยรวมเงื่อนไขมีความซับซ้อน และ ทางกูเกิลได้ชี้แจงไว้ใน Google Search Central
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษา สั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ใน คดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
กูเกิลประกาศว่า Google Search AI Overviewsฟีเจอร์ที่ใช้ AI ช่วยตอบคำถามและให้ข้อมูล แสดงผลด้านบนสุดในหน้าผลการค้นหา เตรียมทยอยเปิดใช้งานกับผู้ใช้งานเพิ่ม มากกว่า 100 ประเทศ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งทำให้ AI Overviews เข้าถึงผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือนตาม แผนที่กูเกิลประกาศ ในเดือนพฤษภาคม
กูเกิลแจ้งการปิดการทำงานกล่องค้นหาย่อยในผลค้นหาเว็บ ที่แสดงผลในหน้าค้นหาหลัก (Sitelinks Search Box) โดยให้เหตุผลว่าปริมาณการใช้งานลดลง และช่วยให้ผลค้นหามีความเรียบง่ายมากขึ้น
กล่องค้นหาย่อยในผลการค้นหาหลักของกูเกิล จะปิดการทำงานตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป มีผลกับผู้ใช้งานทั่วโลกและทุกภาษา โดยกูเกิลยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อการจัดอันดับแสดงผล ส่วนเจ้าของเว็บไซต์ที่เคยทำ Structured Data สำหรับเว็บไซต์เพื่อให้เกิดกล่องค้นหาย่อย ก็ไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลส่วนนี้ออก เพราะกูเกิลจะข้ามข้อมูลส่วนนี้ไปเลยในอนาคต
กูเกิลประกาศปรับโครงสร้างองค์กรของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริการค้นหาข้อมูล (Knowledge & Information) เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของ AI และบริการค้นหาข้อมูล ซึ่ง Gemini จะเข้ามามีบทบาทต่อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น รายละเอียดดังนี้
Honor ประกาศปล่อยอัพเดตฟีเจอร์ Circle to Search ของกูเกิล ให้กับสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยเริ่มจาก มือถือจอพับ Honor Magic V3 ก่อน แล้วจะอัพเดตให้ Honor 200 Series ตามมาในลำดับถัดไป
ความคืบหน้าต่อจาก คดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
Google Search ทดลองเพิ่มเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า ท้ายเว็บไซต์ที่แสดงในหน้าผลการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บของจริง ไม่ใช่เว็บหลอก โดยเบื้องต้นมีรายงานพบในเว็บไซต์ของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ เช่น Meta และ Apple
ตัวแทนของกูเกิลยืนยันการทดลองนี้ โดยบอกว่าเพื่อให้คนที่ค้นหาข้อมูลสินค้า ได้ผลลัพธ์ไปยังเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ โดยตอนนี้ทดสอบกับผู้ใช้งานกลุ่มเล็ก และกับเว็บธุรกิจจำนวนหนึ่งเท่านั้น
กูเกิลเริ่มทดสอบฟีเจอร์ Generative AI ช่วยสรุปคำตอบใน Search มาตั้งแต่ปี 2023 ภายหลัง เปลี่ยนชื่อมาเป็น AI Overviews และ ทยอยเปิดใช้งานในบางประเทศ (ยังไม่มีไทย)
ตอนที่เปิดตัว กูเกิลได้รับคำถามมากมายว่า หากใช้ AI สรุปคำตอบ เราก็ไม่ต้องกดลิงก์เข้าเว็บกันแล้ว จะมีผลกระทบกับทราฟฟิกของเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงรายได้จากโฆษณาบนเว็บของกูเกิลหรือไม่ คำตอบที่ผ่านมาของกูเกิลก็อ้อมๆ แอ้มๆ คือบอกว่ารายการลิงก์และพื้นที่แสดงโฆษณายังมีอยู่เหมือนเดิม (แม้อยู่ในตำแหน่งต่ำลงไปจากเดิม เพราะ AI Overviews ถูกแสดงขึ้นมาก่อน)
วันนี้กูเกิลมีคำตอบเรื่องโฆษณาให้แล้ว เพราะ AI Overviews เริ่มแสดงโฆษณาแล้ว
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์สำคัญให้ Google Lens สองอย่าง ได้แก่
- Voice questions in Lensสามารถใช้เสียงพูด ถามคำถามร่วมกับภาพถ่ายจาก Google Lens ได้แล้ว (ของเดิมต้องพิมพ์ถามเอา) วิธีการคือกดปุ่ม shutter ใน Lens ค้างไว้แล้วพูดคำถามได้เลย ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
- Video understanding in Lensจากเดิมที่ Google Lens รองรับเฉพาะการถ่ายภาพนิ่งเพื่อไปค้นหา ตอนนี้รองรับการถ่ายคลิปวิดีโอแล้ว ตัวอย่างที่กูเกิลนำมาโชว์คือถ่ายคลิปปลาที่ว่ายน้ำเป็นฝูง แล้วถามคำถามด้วยเสียงพูดว่า “why are they swimming together?” ได้เลย ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษเช่นกัน
กูเกิลอัปเดตวิดเจ็ตของแอป Google สำหรับ iPhone และ iPad ซึ่งผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งปุ่มต่าง ๆ ที่ต้องการให้แสดงได้แล้วสักที จากก่อนหน้านี้หัวข้อจะกำหนดไว้สามอย่างคือ Lens, Voice Search และ Incognito
ในวิดเจ็ตใหม่ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มปุ่มที่ต้องการได้เป็น 4 ปุ่ม และมีตัวเลือกเพิ่มเติมเช่น Activity, Gemini, Google Lens สำหรับ Homework, Google Lens สำหรับ Screenshot, Song Search, Translate เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะวิดเจ็ตขนาดใหญ่เท่านั้น และยังสามารถเลือกธีมสีได้อีกด้วย
ที่มา: 9to5Google
Google ประกาศว่าเตรียมแปะป้ายกำกับ AI ในผลการค้นหา กับรูปที่ถูกสร้างหรือถูกปรับแต่งด้วย AI กับภาพที่มี metadata ฝังตามมาตรฐานกลางของ C2PA
การแสดงผลนี้จะอยู่ในส่วน About this Image ทั้งบน Search, Google Lense และ Circle to Search ไปจนถึงโฆษณาด้วย
Google บอกด้วยว่ากำลังหาทางนำมาตรฐาน C2PA ไปใช้กับ YouTube อยู่ และจะมีอัพเดตเพิ่มเติมให้ภายในปีนี้
ที่มา - Google
มีรายงานจากผู้ใช้งาน Android จำนวนมาก พบปัญหาแอป Google แครช ไม่สามารถใช้งานได้ โดยขึ้นข้อความ Google keeps stopping เมื่อพยายามค้นหาข้อมูล
ปัญหานี้เกิดเช่นกันเมื่อค้นหาด้วย Google ผ่านหน้าโฮม ในตอนนี้ 9to5Google พบว่าปัญหานี้เกิดขึ้นแม้ใช้งานแอปเวอร์ชันเก่ากว่า 15.35 ที่เป็น stable ตัวล่าสุด ฉะนั้นการลบลงใหม่ยังไม่แก้ปัญหา
การค้นหาผ่านช่องทางอื่น เช่น Google Assitant, Gemini, Google Lens, Circle to Search หรือเข้าตรงที่ google.com ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ปัญหาจึงน่าจะเป็นปัญหาเฉพาะที่การทำงานของแอป Google เอง ซึ่งอาจคล้าย กรณีปัญหา WebView เมื่อสามปีก่อน
Google Search ประกาศว่าจะเริ่มแสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ โดยมีส่วนที่เชื่อมโยงไปยัง Internet Archive หากผู้ใช้งานต้องการดูประวัติการเปลี่ยนแปลงหน้าในลิงก์ปลายทางนั้น
ในการใช้งานเมื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการ จะมีปุ่ม 3 จุดอยู่ข้างผลการค้นหาใน Google เมื่อเลือกแล้วไปที่ More About This Page จะมีลิงก์ที่ไปยังเว็บไซต์นั้นใน Wayback Machine ซึ่งรวมข้อมูลเว็บไซต์ในแต่ละช่วงเวลา
ในอดีต Google Search เคยมีส่วนเรียกดูผลการค้นหาผ่านเว็บแคช แต่กูเกิลได้ ถอดความสามารถนี้ออกไป ซึ่งเวลานั้นกูเกิลบอกว่ากำลังพิจารณานำเนื้อหานี้ไปไว้ที่ Internet Archive โครงการห้องสมุดอินเทอร์เน็ตแบบไม่แสวงหากำไร เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงนั่นเอง
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้ Circle to Search สามารถฟังเสียงเพลงรอบตัว แล้วค้นหาชื่อเพลงได้ ฟีเจอร์นี้ไม่จำเป็นต้องวาดหน้าจอส่วนที่ต้องการ เพียงแค่กดปุ่ม Home ค้างเพื่อเรียกหน้าจอ Circle to Search ขึ้นมา แล้วกดตรงไอคอนรูปโน้ตดนตรีได้เลย
ฟีเจอร์นี้มีใน Android มานานแล้ว แต่ต้องใช้ผ่าน widget Sound Search หรือไม่ก็กดตรงปุ่มไมโครโฟนในแถบ widget Google Search แล้วสั่ง "search a song" การที่กูเกิลผนวกมันเข้ามาใน Circle to Search ก็แสดงให้เห็นว่ากูเกิลต้องการเน้นให้ผู้ใช้มาที่ Circle to Search มากขึ้น
ที่มา - Google