กูเกิลประกาศเพิ่มภาษาที่ Google Translate รองรับอีก 110 ภาษา โดยภาษาที่สำคัญคือ จีนกวางตุ้ง (Cantonese) ซึ่งกูเกิลบอกว่าเป็นหนึ่งในภาษาที่ถูกเรียกร้องมากที่สุด รวมภาษาชุดนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 614 ล้านคน คิดเป็น 8% ของประชากรโลก
ประเด็นที่น่าสนใจคือระบบแปลเบื้องหลัง ใช้ โมเดลภาษา PaLM 2 ที่เปิดตัวในปี 2023 (ยังไม่ใช่ Gemini) และเป็นผลต่อเนื่องจาก โครงการ 1,000 Languages Initiative ที่ต้องการพัฒนาระบบแปลภาษาให้ครอบคลุม 1,000 ภาษาทั่วโลก
ที่มา - Google
กูเกิลประกาศ 4 ฟีเจอร์ใหม่ สำหรับผู้ใช้งานเบราว์เซอร์ Chrome บน iOS ทั้งใน iPhone และ iPad ซึ่งทำให้ใช้งานบริการต่าง ๆ ของกูเกิลได้สะดวกขึ้น จบในเบราว์เซอร์
ของใหม่ 4 อย่างที่เพิ่มมามีดังนี้
- Google Maps สามารถดูรายละเอียดที่อยู่ได้ในเบราว์เซอร์ ไม่ต้องสลับไปที่แอป Google Maps
- Google Calendar สร้างกิจกรรมได้เลย ไม่ต้องสลับเปิดอีกแอป
- Google Translate สามารถไฮไลท์คำเพื่อแปลภาษา หรือสั่งแปลทั้งเพจได้
- Google Lens กดค้างที่รูปที่ต้องการ เพื่อเสิร์ชผ่าน Lens ได้
ที่มา: กูเกิล
ในงาน แถลงข่าวของกูเกิลที่ปารีส กูเกิลประกาศคุณสมบัติของ Google Translate ที่ตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคน โดยอาศัย AI มาเสริมพลังในการแปล
ฟีเจอร์แรกคือ Contextual Translation หรือการแปลโดยเพิ่มบริบทประกอบ เนื่องจากหลายคำอาจมีหลายความหมายที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่อยู่ที่บริบทของประโยครอบ ๆ ซึ่ง Google Translate จะแนะนำรูปแบบประโยคและความหมายที่ต่างกันมาให้ ตัวอย่างคำว่า bass ซึ่งเป็นได้ทั้งอาหารและดนตรี เบื้องต้นรองรับภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และสเปน เตรียมอัพเดตในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
- Read more about Google Translate เพิ่มคุณสมบัติแปลคำแบบตามบริบท
- 2 comments
- Log in or register to post comments
กูเกิลประกาศรองรับการแปลภาษาแบบออฟไลน์เพิ่มเติมอีก 33 ภาษา ซึ่งผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแพ็คเกจภาษามาไว้ก่อน เพื่อใช้งานแปลแม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
33 ภาษาที่รองรับเพิ่มเติม ได้แก่ ภาษาบาสก์ ภาษาเซบัวโน ภาษาชิเชวา ภาษาคอร์ซิกา ภาษาฟรีเชีย ภาษา Hausa ภาษาฮาวาย ภาษาม้ง ภาษาอิกโบ ภาษาชวา ภาษาเขมร ภาษากิญญาร์วันดา ภาษาเคิร์ด ภาษาลาว ภาษาละติน ภาษาลักเซมเบิร์ก ภาษามาลากาซี ภาษาเมารี ภาษาเมียนมาร์ ภาษาโอริยา ภาษาซามัว ภาษาสกอตส์กาลิก ภาษา Sesotho ภาษาโชนา ภาษาสินธ์ ภาษาซุนดา ภาษาตาตาร์ ภาษาเติร์กเมน ภาษาอุยกูร์ ภาษาโคซ่า ภาษายิดดิช ภาษาโยรูบา และภาษาซูลู
ที่มา: กูเกิล
Google ประกาศแผนโครงการใหม่ชื่อว่า “1,000 Languages Initiative” ที่จะพัฒนาและเทรนโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้บริการแปลภาษาครอบคลุม 1,000 ภาษาที่มีผู้พูดเยอะที่สุดในโลกโดยใช้แค่โมเดลเดียว Google คาดว่าจะใช้โมเดลนี้กับแพลตฟอร์มของบริษัทตั้งแต่ Google Translate ไปจนถึงแคปชันใน YouTube
Zoubin Ghahramani รองประธานฝ่ายการวิจัยของ Google AI กล่าวว่าการสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่นี้จะทำให้สามารถแปลได้ดีขึ้นทั้งภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากกับภาษาที่ไม่ค่อยมีข้อมูลมากนัก (low resource languages)
ในการเริ่มต้น Google เตรียมที่จะเปิดตัวโมเดล AI ที่ได้รับการเทรนมาแล้ว 400 ภาษา แต่การพัฒนาโมเดลให้ครอบคุลม 1,000 ภาษายังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
Google Translate ทั้งในรูปแบบแอปพลิเคชันและเว็บแอปไม่สามารถใช้งานได้แล้วในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อกดเข้าแอปพลิเคชัน ผู้ใช้จะถูกนำไปยังแถบค้นหาทั่วไปและได้รับการแจ้งเตือนให้บุ๊กมาร์กหน้าเว็บ Google Translate ของฮ่องกงไว้ ซึ่งไม่สามารถเข้าใช้งานได้เช่นเดียวกันบนจีนแผ่นดินใหญ่
Google Translate เป็นบริการแปลภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน แต่ Google เปิดเผยกับ TechCrunch ว่า เหตุผลที่หยุดให้บริการในจีนเพราะมีการใช้น้อย ซึ่งสะท้อนความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
Google เคยประกาศหยุดให้บริการในจีนแผ่นดินใหญ่ไปแล้วเมื่อปี 2010 และถูกรัฐบาลจีนแบนแต่ Google Translate ก็กลับมาให้บริการอีกครั้งในปี 2017
Google Translate เพิ่มภาษาที่รองรับอีก 24 ภาษา โดยส่วนมากเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีคนใช้เฉพาะในพื้นที่เท่านั้น แม้ว่าบางภาษาจะมีคนใช้งานถึง 50 ล้านคน โดยรวมแล้วภาษาอีก 24 ภาษาที่เพิ่มเข้ามา มีผู้ใช้งานรวมกว่า 300 ล้านคน ภาษาที่คนใช้งานน้อยที่สุดคือภาษาสันสกฤตที่มีคนใช้งานราว 20,000 คนเท่านั้น
ความยากของภาษาเหล่านี้คือกูเกิลไม่มีชุดข้อมูลเทียบสองภาษาให้ฝึกปัญญาประดิษฐ์ แต่มีเอกสารข้อความในภาษาเหล่านี้เดี่ยวๆ เท่านั้น (monolingual text) ทำให้ต้องใช้เทคนิค Zero-Shot Machine Translation
มีรายงานจาก The Information ว่ากูเกิลกำลังพัฒนาบริการตัวใหม่ ซึ่งใช้ AI มาสอนภาษาต่างประเทศ ผ่านบริการเสิร์ชของกูเกิล โดยโครงการนี้มีโค้ดเนมภายในว่า Tivoli และคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในปีนี้
โครงการ Tivoli เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว ด้วย ปัญญาประดิษฐ์ LaMDA ที่กูเกิลเพิ่งสาธิตไปเมื่อเดือนที่แล้วในงาน Google I/O โดย LaMDA มีจุดเด่นคือความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาของบทสนทนาขณะนั้น
คาดว่าโครงการ Tivoli ช่วงแรกจะรองรับเฉพาะการแปลบทสนทนาตัวหนังสือก่อน แต่อาจจะขยายไปสู่ Google Assistant และ YouTube ในอนาคต
อีกหนึ่งแอปที่แม้จะกลายเป็นต้นตอของการแปลแบบแข็งๆ มากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ และยังคงพัฒนาตนเองแบบต่อเนื่องอย่าง Google Translate ปัจจุบันมียอดติดตั้งผ่าน Play Store เกิน 1 พันล้านครั้งแล้ว
ปัจจุบัน Google Translate แปลได้ 108 ภาษา สามารถ ถอดเทปเสียงพูดได้ และรองรับภาษาไทย (real-time transcription) สามารถ แปลแบบออฟไลน์ ช่วยออกเสียงสถานที่ในภาษาที่ไม่คุ้นเคยได้ (สำหรับใช้ถามทาง) ใช้ กล้องส่องแล้วแปลภาษาได้ ( รองรับภาษาไทยด้วยเช่นกัน ) แถมยังมี Dark Mode อีกด้วย
Google Translate เปิดให้ใช้ระบบแปลเว็บ หรือ Google Translate Website Translator ฟรี เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลในช่วง COVID-19 ได้ดีขึ้น สามารถแปลหน้าเว็บเป็นภาษาต่างๆ ได้กว่า 100 ภาษา จากที่ก่อนหน้านี้กูเกิลถอนปลั๊กอินตัวนี้ออกไป ตอนนี้ให้ใช้ฟรีแล้วแต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ถอดเทปเสียงพูด (transcribe) ให้กับแอป Google Translate โดยก่อนหน้านี้มีเพียงฟีเจอร์แปลจากคำพูดเท่านั้น โดยรองรับ 8 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฮินดี, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน, และไทย
ในโหมด transcribe ผู้ใช้จะสามารถพูดต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องกดอัดเสียงทีละประโยคอีกต่อไป คำพูดจะถูกถอดเสียงเป็นข้อความและแปลตามภาษาที่เราเลือกไว้ทันที
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยปล่อยฟีเจอร์ transcribe มาในแอป Recorder ที่ประมวลผลในโทรศัพท์ได้เลยแต่ก็ยังจำกัดเฉพาะโทรศัพท์ Pixel 2 ขึ้นไปเท่านั้น และรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ ส่วนฟีเจอร์ใน Google Translate นี้ไม่ได้จำกัดรุ่นโทรศัพท์แต่อย่างใด
กูเกิลจะปล่อยอัพเดตในไม่กี่วันข้างหน้า
- Read more about Google Translate เพิ่มฟีเจอร์ถอดเทปเสียงพูด รองรับภาษาไทย
- Log in or register to post comments
หลายคนอาจไม่ทราบว่า Google Translate ไม่ได้เพิ่มภาษาใหม่ๆ เข้ามาหลายปีแล้วตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเพิ่มเข้ามาอีก 5 ภาษาใหม่คือ ภาษา Kinyarwanda (รวันดา) ภาษา Odia (ใช้พูดในอินเดีย) ภาษา Tata (พูดกันในไซบีเรีย) ภาษา Turkmen (พูดกันในเอเชียกลาง) และ ภาษาอุยกูร์ (พูดกันในจีน)
GGoogle ระบุว่าทั้ง 5 ภาษาข้างต้น มีการพูดกันทั่วโลกราว 75 ล้านราย ส่งผลให้ตอนนี้ Google Translate สามารถรองรับ 108 ภาษาแล้ว ซึ่งตามข้อมูลของ Ethnologue แหล่งข้อมูลที่อ้างอิงว่าคนบนโลกพูดกันกี่ภาษาระบุว่ามีการพูดกันกว่า 7,000 ภาษา
Google เตรียมจะอัพเดตให้ Google Translate มีประโยชน์สำหรับการฝึกศัพท์และวลีในภาษาต่างประเทศอีกขั้น หลังมีการค้นพบการทดสอบฟีเจอร์ Flashcards การ์ดสำหรับฝึกท่องจำศัพท์และวลี ในเซกชัน Phrasebook ที่อยู่ในแฮมเบอร์เกอร์เมนูซ้ายบน
Phrasebook คือส่วนที่ผู้ใช้สามารถบันทึกคำแปลหรือวลีที่น่าจะได้ใช้บ่อย ๆ เอาไว้ ขณะที่ Flashcards จะเข้ามาช่วยให้เราฝึกจำคำศัพท์หรือวลีที่บันทึกไว้เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดว่าฟีเจอร์นี้จะปล่อยให้ใช้งานทั่วไปเมื่อไหร่
ที่มา - @wongmjane via Android Central
กูเกิลเพิ่มคุณสมบัติการแปลภาษาแบบออฟไลน์ในแอป Google Translate มาหลายปีแล้ว (ผู้ใช้ต้องโหลดชุดแปลแต่ละภาษาเพิ่มเติมก่อน) และเมื่อปีที่แล้วกูเกิลก็เริ่มใช้เครื่องมือแปลอย่าง Neural Machine Translation ที่ทำให้แปลระดับประโยคได้ถูกต้องมากขึ้น จากเดิมที่แปลเป็นคำ ล่าสุดกูเกิลประกาศความก้าวหน้าของการแปลแบบออฟไลน์เพิ่มเติม
โดยกูเกิลบอกว่าความสามารถในการแปลภาษาแบบออฟไลน์ ที่ตอนนี้รองรับ 59 ภาษานั้น ภาพรวมมีการแปลที่ถูกต้องขึ้น 12% และในบางภาษาความถูกต้องนั้นสูงขึ้นถึง 20% อาทิ ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลี, ไทย, โปแลนด์ และฮินดี (ดูตัวอย่างการแปลภาษาฮินดีได้ข้างล่าง)
กูเกิลประกาศอัพเดตแอพ Google Translate ที่มีฟีเจอร์ส่องกล้องแล้วแปลข้อความแบบเรียลไทม์ (instant camera translation) รองรับภาษาเพิ่มเติมอีก 60 ภาษา ซึ่ง มีภาษาไทยด้วย
การอัพเดตนี้ทำให้ Google Translate รองรับการแปลข้อความด้วยกล้องแล้ว 88 ภาษา นอกจากนี้ Google Translate ยังสามารถตรวจจับภาษาได้อัตโนมัติ ไม่ต้องเลือกภาษาเองตอนกดเปิดกล้องแบบเดิม และเปลี่ยนเอนจินการแปล มาใช้เทคนิคใหม่ Neural Machine Translation (NMT) ที่ช่วยให้การแปลแม่นยำขึ้นมาก
ผมลองดูแอพของตัวเองแล้วยังไม่มีอัพเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด ใครได้ลองแล้วมาแชร์ประสบการณ์กันได้ครับ
Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ประกาศความร่วมมือกับ Google ให้ผู้ใช้งาน, คนทำเนื้อหา สามารถแปลบทความในวิกิพีเดียโดยใช้ Google Translate ได้โดยตรง
Wikimedia บอกว่าปัจจุบันภาษาที่ใช้ในวิกิพีเดียคิดเป็นสัดส่วน 3% ของภาษาทั้งหมดที่ใช้กันในโลก ซึ่งมีถึงราวกว่า 7,000 ภาษา เป้าหมายของวิกิพีเดียคือการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีๆ นั้นยังอยู่อีกไกล Wikimedia จึงร่วมกับ Google นำ Google Translate เข้ามาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการแปลให้แก่คนทำเนื้อหา โดยผนวกเอาเครื่องมือเข้ามาบนวิกิพีเดียโดยตรง ตามภาพด้านล่าง
กูเกิลประกาศสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศด้วยการเพิ่มความสามารถแปลภาษาเป็นสองแบบหากไม่สามารถระบุได้ว่าคำต้นทางหมายถึงเพศษอะไร
ตัวอย่างของคำแปลคือการพูดถึงอาชีพ โดยก่อนหน้านี้ Google Translate มักแปลโดยคาดเดาเพศจากคำแปลที่เคยเจอก่อนหน้านั้น เช่น หมอมักเป็นผู้ชาย หรือพยาบาลมักเป็นผู้หญิง หรือหากประโยคมีความ "แข็งแรง" ก็มักเดาให้บุคคลกลายเป็นผู้ชาย แต่หากมีคำว่า "สวย" ก็กลายเป็นผู้หญิง
หลังจากนี้หากไม่มีการระบุเพศไว้ในประโยค Google Translate จะแปลออกมาทั้งสองแบบ พร้อมวงเล็บระบุว่า maculine สำหรับการแปลเป็นผู้ชาย และ feminine สำหรับการแปลเป็นผู้หญิง
Google Translate เปลี่ยนดีไซน์และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ที่เด่นๆ คือ เพิ่มปุ่มกดโหลดเอกสารเพื่อแปลได้ ทำได้หลายสกุลไฟล์ไม่ว่าจะเป็น .doc, .docx, .odf, .pdf, .ppt, .pptx, .ps, .rtf, .txt, .xls, or .xlsx นอกจากนี้ยังเซฟประวัติการแปลได้ด้วย
เมื่อเข้าไปที่ Google Translate จะเห็นปุ่มกดโหลดเอกสารอยู่ด้านซ้ายบน โดยปกติ Google Translate สามารถแปลเอกสารได้ แต่คราวนี้เพิ่มปุ่มกดให้หาฟีเจอร์นี้เจอง่ายขึ้น และด้านล่างมีสามปุ่มใหญ่คือ ปุ่มประวัติ ปุ่มเซฟเผื่ออยากจะเก็บการแปลอันไหนเป็นพิเศษ และปุ่ม Community ที่ให้ผู้ใช้งานเข้าไปปรับปรุงการแปลให้ดีขึ้นได้
แอพ Google Translate มีฟีเจอร์ Word Lens แปลภาษาจากป้ายหรือเอกสารต่างๆ ด้วยการยกกล้องขึ้นมาถ่ายมาได้สักระยะแล้ว ( ตัวอย่างฟีเจอร์การแปลภาษาญี่ปุ่น ) ในอัพเดตล่าสุดได้เพิ่มความสามารถนี้ให้กับ 13 ภาษา ซึ่งมีภาษาไทยด้วย
ผมลองดูก็พบว่าฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้จริง และสามารถแยกแยะข้อความภาษาไทยที่เป็นตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ (ยังไมได้ลองกับตัวเขียน)
การแปลภาษาสามารถทำงานออฟไลน์ได้ โดยต้องดาวน์โหลดไฟล์ล่วงหน้าขนาด 5.2MB หรือ 44MB ขึ้นกับปริมาณคำที่ต้องการ
ที่มา - 9to5google
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ได้จบลงไปแล้ว ช่วงนี้ก็เป็นเรื่องของสถิติและข้อมูลต่าง ๆ เราได้เห็นการใช้เทคโนโลยีอย่าง VAR ที่เข้ามาช่วยกรรมการตัดสิน แต่ครั้งนี้ผู้ชมเองก็ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน
กูเกิลรายงานสถิติน่าสนใจว่าอัตราการใช้ Google Translate ในพื้นที่ประเทศรัสเซีย เพิ่มสูงขึ้นถึง 30% ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก เนื่องจากรัสเซียใช้ภาษาทางการเป็นภาษารัสเซียเอง ทำให้คนต่างประเทศที่ไปชมการแข่งขัน อาจเจออุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร ซึ่ง Google Translate ก็เข้ามาช่วยลดช่องว่างนี้ลง
รูปแบบการแปลภาษาที่พบมากที่สุด คือการแปลจากภาษาสเปน ไปเป็นภาษารัสเซีย
นอกจากนี้กูเกิลบอกว่า คำค้นหาที่มีคำว่า World Cup เพิ่มขึ้นถึง 200% และคำว่าเบียร์ เพิ่มขึ้น 65%
Google Translate ประกาศอัพเดต โดยเพิ่มการแปลภาษาแบบออฟไลน์สำหรับแอปมือถือด้วย Neural Machine Translation ใน 59 ภาษา ที่ทำให้การแปลระดับประโยคถูกต้องมากขึ้น (จากที่แปลเป็นคำ) ซึ่งปัจจุบันวิธีการนี้มีใช้แล้วอยู่ในแบบออนไลน์ แต่ในระดับออฟไลน์ยังไม่มี
ต่อไปนี้ชีวิตการท่องเที่ยวจะง่ายขึ้นไปอีก เมื่อผู้ใช้ไปเที่ยวและกดหาสถานที่ท่องเที่ยวหรือร้านอาหารใน Google Maps นอกจากข้อมูลสถานที่แล้ว มีข้อมูลรีวิวสถานที่ลงในแอพแบบแปลเป็นภาษาที่ผู้ใช้ตั้งค่าไว้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องคัดลอกข้อความไปแปลใน Google Translate อีก
เมื่อผู้ใช้เปิดหาสถานที่ใน Google Maps จะเห็นว่ามีรีวิวเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ และด้านล่างจะเป็นรีวิวฉบับแปลที่เป็นภาษาของผู้ใช้เอง
Google Translate ปรับปรุงฟีเจอร์การแปลเพิ่มเติม ใช้ deep learning เพิ่มความถูกต้องแม่นยำเวลาแปลทั้งประโยค แทนที่จะแปลแค่วลีมาประกอบกัน ก่อนหน้านี้อัพเดทเฉพาะ 8 ภาษาก่อน คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน โปรตุเกส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และตุรกี ล่าสุดเพิ่มมาอีกสามภาษาคือ ฮินดี รัสเซีย และเวียดนาม
ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว Google เปลี่ยนเอนจินการแปลใหม่ ขยายผลเทคนิค Neural Machine Translation ไปยังภาษาอื่นๆ ผลคือสามารถแปลทั้งประโยคได้ถูกต้อง และทำความเข้าใจได้มากขึ้นเมื่ออ่านรวมกันทั้งประโยค
ทาง Google ระบุว่าจะมีอัพเดทภาษาอื่นเพิ่มเติมภายใน 2-3 สัปดาห์นี้
Word Lens ฟีเจอร์ใช้กล้องถ่ายภาพเพื่อแปลภาษาของ Google Translate รองรับการแปลข้อความภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ช่วยให้คนที่เดินทางไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น สามารถยกมือถือขึ้นมาแปลป้ายได้อย่างง่ายๆ
ฟีเจอร์นี้สามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้ด้วย โดยเราต้องดาวน์โหลดฐานข้อมูลคำแปลมาเก็บไว้ในเครื่องในการใช้งานครั้งแรกก่อน
ตอนนี้ฟีเจอร์นี้ใช้งานได้แล้ว เพียงแค่อัพเดตแอพ Google Translate เป็นเวอร์ชันล่าสุด เลือกให้แปล Japanese เป็น English แล้วกดปุ่มกล้องในตัวแอพได้เลย
กูเกิลเปลี่ยนระบบแปลภาษาไปสู่เครือข่ายประสาทเทียม ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา และ เพิ่มภาษาที่ใช้ระบบใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ทีมงานวิจัยก็เสนอแนวทางการแปลภาษาโดยไม่ต้องฝึกการแปลคู่ภาษาโดยตรง เรียกว่าการแปลแบบ zero-shot
ระบบนี้แทนที่จะสร้างเครือข่ายประสาทเทียมสำหรับการแปลคู่ภาษาหนึ่งๆ เช่น อังกฤษเป็นเกาหลี ระบบจะฝึกโดยใส่อินพุตเป็นข้อความที่ระบุภาษาปลายทางไว้ด้วย เช่น "<2es> Hello, how are you? -> ¿Hola como estás?" เป็นตัวอย่างการฝึกการแปลจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาสเปน โดยไม่ต้องบอกภาษาต้นทาง