Klarna บริษัทซื้อของแบบผ่อนชำระ (Buy Now Pay Later) มีแนวทางใช้ AI แทนมนุษย์ มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดซีอีโอ Sebastian Siemiatkowski เปิดเผยว่าตลอดปีที่ผ่านมาไม่ได้รับพนักงานใหม่เพิ่มเลย เพราะใช้ AI แทนได้หมด
Siemiatkowski ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ว่าในช่วงที่ผ่านมา ลดจำนวนพนักงานลงได้ 22% ลงมาเหลือที่ 3,500 คน ตอนนี้มีพนักงานราว 200 คนที่ใช้งาน AI สำหรับงานหลักๆ ที่ตัวเองรับผิดชอบ เขายังกระตุ้นให้พนักงานใช้ AI เพิ่มผลิตภาพ (productivity) หากใครทำสำเร็จก็จะจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ด้วย เพราะประหยัดต้นทุนค่าจ้างพนักงานใหม่มาในระดับหนึ่งแล้ว สามารถนำเงินส่วนนี้มาจ่ายให้พนักงานเก่าได้
รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย Platform Workers Act วางแนวทางการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์ม ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงลูกจ้างตามปกติมากขึ้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องคุ้มครองและชดเชยการบาดเจ็บจากการทำงานเหมือนลูกจ้างปกติ และบังคับให้แพลตฟอร์มต้องหักเงินค่าประกันสังคม โดยอัตราการจ่ายจะค่อยๆ เพิ่มจนเท่าพนักงานปกติ และสุดท้ายคือพนักงานและแพลตฟอร์มต่างมีสิทธิตั้งสหภาพของตนเองเพื่อต่อรองกันเอง
กฎหมายนี้มีผลบังคับวันที่ 1 มกราคม 2025
ที่มา - Strait Times
Janco Associates บริษัทวิเคราะห์สภาพตลาดแรงงานไอทีในสหรัฐ ออกรายงานสรุปสภาพการจ้างงานด้านไอทีในสหรัฐตลอดปี 2023 ที่เราเห็นข่าวการปลดพนักงานจำนวนมหาศาล (จน Blognone ต้องมีแท็ก Layoff เพิ่มมาเพื่อการนี้) เมื่อหักลบกับการจ้างงานใหม่แล้ว มีการจ้างงานสุทธิเพียง 700 ตำแหน่งเท่านั้น เทียบกับในปี 2022 ที่มีการจ้างงานสุทธิถึง 267,000 ตำแหน่ง
การวิเคราะห์ของ Janco มาจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกาโดยตรง (นายจ้างจะจ้างเพิ่มหรือปลดออกต้องแจ้งข้อมูลนี้ไปยังสำนักงานสถิติแรงงาน) จากตารางด้านล่างจะเห็นการจ้างงานติดลบในหลายเดือนของปี 2023 โดยเฉพาะเดือนเมษายนที่หดตัวถึง 13,500 ตำแหน่ง ในขณะที่การจ้างเพิ่มมีเพียงหลักร้อยเท่านั้น
เว็บไซต์ The Verge อ้างว่าได้เห็นบันทึกภายในของไมโครซอฟท์ ปรับนโยบายเรื่องการลางานของพนักงานในสหรัฐ เพิ่ม "วันลาไม่จำกัด" (unlimited time off หรือ discretionary time off) เข้ามาจากนโยบายเดิม
นโยบายเรื่องวันหยุดของไมโครซอฟท์ ยังมีวันหยุดประจำปี 10 วัน, ลาป่วย, ลาพักแก้เครียด (mental health time off), วันหยุดเมื่อมีการสูญเสียบุคคลในครอบครัว และวันลาไปทำหน้าที่คณะลูกขุน (jury duty) โดยพนักงานที่ใช้วันลาพักร้อนไม่หมดในแต่ละปี สามารถแปลงเป็นเงินได้ด้วย
Kathleen Hogan ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ให้เหตุผลของสวัสดิการแบบใหม่ว่าสภาพการทำงานของพนักงานปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ทั้งเรื่องเวลาทำงาน สถานที่ทำงาน วิธีทำงาน บริษัทจึงต้องปรับสวัสดิการด้านวันหยุดให้ยืดหยุ่นมากขึ้นตาม
อดีตพนักงาน Tesla จำนวน 2 ราย ยื่นฟ้องบริษัทว่าถูกไล่ออกอย่างผิดกฎหมายแรงงานสหรัฐ หลังจากไปคัดค้าน นโยบายของ Elon Musk ที่ให้พนักงานทุกคนกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2022
พนักงานรายแรกร่างจดหมายขอให้ Elon ทบทวนนโยบายนี้ ส่วนพนักงานรายที่สองบอกว่าข้อความทวีตของ Elon ในประเด็นนี้ ขัดแย้งกับนโยบายต่อต้านการกลั่นแกล้ง (anti-harrassment) ของบริษัทซะเอง พนักงานทั้งสองคนถูกไล่ออกในเดือนมิถุนายน
พนักงานทั้งสองคนได้ยื่นคำร้องเรียนผ่านคณะกรรมการแรงงาน (National Labor Relations Board หรือ NLRB) ของสหรัฐ ซึ่งจะเข้ากระบวนการสอบสวนต่อไป
มีดราม่าเรื่องราวในองค์กรเกิดขึ้น เมื่อมีรายงานว่า Apple แบนการสร้างห้อง Slack ที่ไว้พูดคุยหารือเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงาน โดยบริษัทอ้างว่าหัวข้อการพูดคุยนี้ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งาน Slack ของบริษัท
หลังอังกฤษออกกฎให้คนขับรถของ Uber มีสถานะเป็นพนักงานบริษัท ล่าสุด Uber อังกฤษก็ยอมรับการจัดตั้งสหภาพแรงงานคนขับรถแล้ว โดยสมาชิกแรงงานจะเป็นส่วนหนึ่งของ GMB หรือสหภาพแรงงานของอังกฤษ
ตัวแทนจาก GMB จะได้เข้าหารือกับ Uber รายไตรมาส เพื่อพูดคุยเรื่องสวัสดิภาพคนขับ ทั้งการประกันภัย ค่าครองชีพ เงินบำนาญ และเงินที่จ่ายในวันหยุด เป็นต้น จนถึงตอนนี้ยังมีอังกฤษที่เดียว ที่ Uber รองรับสถานะคนขับเป็นพนักงาน ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดการต่อสู้แบบเดียวกันในประเทศอื่นๆ ด้วย
Amazon เปิดตัว WorkingWell โปรแกรมเพื่อสุขภาวะที่ดีแก่พนักงาน ลดโอกาสการบาดเจ็บจากการทำงานให้พนักงานทั่วสหรัฐฯ มีเป้าหมายจะลดการบาดเจ็บจากการทำงานได้ 50%
ในโกดังสต็อกสินค้า Amazon จะสร้างโซนเพื่อให้พนักงานได้พักยืดเหยียดร่างกาย ทำสมาธิ มีแม้กระทั่ง AmaZen เป็นเครื่อง kiosk ที่พนักงานมาดูคลิปทำสมาธิได้ อย่างไรก็ตาม ในเนื้อหาแถลงการณ์ไม่ได้ระบุเรื่องการลดโควต้าการทำงาน หรือลดเวลาการทำงานแต่อย่างใด
Amazon ประกาศขึ้นค่าแรงให้พนักงานถาวรร่วม 5 แสนราย โดยจะเห็นว่าค่าแรงที่ได้รับเพิ่มขึ้นมาชั่วโมงละ 50 เซนต์ ไปจนถึง 3 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการที่ Amazon ลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อจ่ายเงินเพิ่มให้กับพนักงาน โดยคำสั่งจะมีผลในกลางเดือน พ.ค. นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญในวงการแรงงานบริษัทเทคโนโลยี คือการโหวตตั้งสหภาพแรงงาน Amazon ในแอละบามา ซึ่งจะถือเป็นสหภาพแห่งแรกของ Amazon ในสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่าผลโหวตนั้นไม่สามารถจัดตั้งสหภาพได้ โดยผลโหวตค้านจัดตั้งมี 1,798 คะแนน ส่วนคะแนนโหวตที่สนับสนุนให้จัดตั้งมี 1,608 คะแนน ด้าน Amazon ออกมาบอกว่ามีพนักงานน้อยกว่า 16% ที่โหวตสนับสนุน
สหภาพการค้าปลีกค้าส่งและห้างสรรพสินค้า หรือ The Retail, Wholesale and Department Store Union (RWDSU) ซึ่งอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของสหภาพแรงงานในครั้งนี้ ประกาศจะยื่นคำร้องคัดค้านและตั้งข้อหาการปฏิบัติด้านแรงงานที่ไม่เป็นธรรมของ Amazon
จากประเด็น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมนำคอร์สเรียนไมโครซอฟท์ฉบับแปลไทย 51 หัวข้อ มาให้เรียนออนไลน์ฟรี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุเพิ่มเติมถึงแนวทางช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงเนื้อหาเรียนออนไลน์ เป็นซิมแรงงาน ซิมอินเทอร์เน็ตราคาถูก โดยร่วมมือกับบริษัท National Telecom Public Company Limited หรือ NT ที่เกิดจากการควบรวมของ TOT และ CAT
ศาสตราจารย์ นฤมล ระบุว่า การเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ต ที่อาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายกับประชาชน จึงร่วมมือกับ NT เตรียมออกซิมแรงงาน เบื้องต้นราคาวันละ 2 บาทให้ประชาชนใช้งาน โดยจะจัดแถลงข่าวให้ประชาชนทราบในช่วง 2 สัปดาห์นี้
จากประเด็น ศาลฎีกาในสหราชอาณาจักรลงมติเอกฉันท์ให้คนขับรถของ Uber มีสถานะเป็นพนักงานบริษัท แทนท่ี่จะเป็นพาร์ทเนอร์ ล่าสุด Uber ออกมาบอกว่าจะจ่ายค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงให้แก่คนขับในประเทศทุกคนที่มีอยู่ราว 70,000 ราย รวมถึงค่าล่วงเวลาในวันหยุด และบำนาญต่างๆ
รัฐบาลสเปนมีมติให้แพลตฟอร์มออนไลน์ผู้ส่งอาหาร ต้องปฏิบัติกับคนส่งอาหารหรือไรเดอร์แบบเดียวกับพนักงานบริษัท กฎหมายดังกล่าวยังรวมถึงข้อกำหนดให้บริษัทแพลตฟอร์มเช่น Glovo และ Deliveroo ส่งมอบข้อมูลให้กับตัวแทนกฎหมาย เกี่ยวกับวิธีการทำงานของอัลกอริทึมในการมอบหมายงานให้ไรเดอร์ รวมถึงระบบประเมินประสิทธิภาพของไรเดอร์ด้วย
กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยว่าได้บรรลุข้อตกลงกับกูเกิล เพื่อแก้ไขข้อกล่าวหาที่ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติในการจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน รวมถึงการจ้างงานด้วย โดยกูเกิลยอมจ่ายเงิน 2.5 ล้านดอลลาร์ให้พนักงานที่ได้รับผลกระทบคือผู้หญิง และคนเอเชียรวมแล้วกว่า 5,500 คน
ในส่วนหนึ่งของการบรรลุข้อตกลง กูเกิลจะจ่าย 1,353,052 ดอลลาร์ให้กับวิศวกรหญิง 2,565 คน และจะจ่ายเงินคืนและดอกเบี้ยจำนวน 1,232,000 ดอลลาร์ให้กับผู้สมัครในตำแหน่งวิศวกรรมหญิง 1,757 คน และผู้สมัครด้านวิศวกรรมในคนเอเชีย 1,219 คนที่ไม่ได้รับการว่าจ้าง
ต่อเนื่องจากข่าว ครั้งแรกของบริษัท พนักงาน Google, Alphabet ในสหรัฐอเมริกาจัดตั้งสหภาพแรงงาน เมื่อต้นเดือนนี้ เวลาผ่านไปไม่นาน พนักงาน Alphabet ในประเทศอื่นๆ รวม 10 ประเทศ (เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี สหราชอาณาจักร) ก็ประกาศตั้งสหภาพพนักงาน และเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายสหภาพในชื่อ Alpha Global
แถลงการณ์ของ Alpha Global ระบุว่าบริษัท Alphabet สร้างนวัตกรรมให้โลกมากมาย แต่ก็มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ความไม่เท่าเทียมทางเพศหรือเชื้อชาติ การล่วงละเมิดทางเพศ เสรีภาพในการแสดงความเห็น จริยธรรม AI และการใช้เทคโนโลยีเพื่อสอดส่องนักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหว
ปีที่แล้ว มีการโหวตก่อตั้งสหภาพแรงงาน United Food and Commercial Workers Local 1546 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของคนทำงาน gig workers และเป็นครั้งแรกของพนักงานตามสัญญา ในกลุ่มบริษัทเทคที่รวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานได้สำเร็จ แต่ล่าสุด มีรายงานจาก Motherboard ว่า Instacart บริการฝากซื้อของชำเริ่มเลย์ออฟและโอนถ่ายพนักงาน หนึ่งในนั้นมีพนักงานที่โหวตก่อตั้งสหภาพแรงงานด้วยร่วม 10 ราย
พนักงาน Google และ Alphabet กว่า 227 คนจัดตั้งสหภาพแรงงาน เปิดให้เข้าร่วมได้ทั้งพนักงานโดยตรงและพนักงานสัญญาจ้าง ในการจัดตั้งได้รับความช่วยเหลือจาก Communication Workers of America Union’s Campaign to Organize Digital Employees (CODE-CWA) เครือข่ายช่วยแรงงานโดยเฉพาะฝั่งเทคโนโลยีในการจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือสร้างอีเว้นท์ประท้วงองค์กร
ช่วงหลังเราเห็นโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับแรงงานทั่วโลก เพื่อให้มีทักษะตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ ล่าสุด ไมโครซอฟท์ประเทศไทย มีโครงการ "โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจ้างงาน" ตั้งเป้ายกระดับแรงงานไทย 250,000 ตำแหน่ง ภายในเดือนตุลาคม 2564
ไมโครซอฟท์ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรหลายราย ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ยูเนสโก จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) และมูลนิธิกองทุนไทย จัดโครงการอบรมทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ดังนี้
พนักงานโกดัง Amazon แถลงจะหยุดงานประท้วง ช่วงวันหยุด Black Friday ซึ่งเป็นช่วงนาทีทองของอีคอมเมิร์ซที่สินค้าพากันลดราคา เป็นการประท้วงเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยแก่พนักงาน รวมถึงสิทธิ์ของพนักงานในการจัดตั้งสหภาพแรงงานด้วย
ซึ่ง Black Friday เป็นช่วงที่พนักงานบาดเจ็บจากการทำงานหนัก และยังไม่นับรวม COVID-19 ที่จนถึงตอนนี้มีพนักงาน Amazon ติดเชื้อกว่า 2 หมื่นรายแล้ว
Apple เผยจะตรวจสอบซัพพลายเออร์ Pegatron จากไต้หวัน เพราะพบว่ามีการละเมิดกฎ ให้นักเรียนนักศึกษาทำงานกะกลางคืนหรือทำงานล่วงเวลา โดย Apple กล่าวในแถลงการณ์ว่า Pegatron จะต้องเข้ารับการตรวจสอบ และระหว่างนี้ Apple จะไม่มอบหมายงานใหม่ให้ซัพพลายเออร์เจ้านี้ จนกว่าทุกอย่างจะได้รับการแก้ไข
ผู้พิพากษาชาวแคลิฟอร์เนียปฏิเสธที่จะให้ Uber และ Lyft มีเวลามากขึ้นในการอุทธรณ์ คำตัดสินที่กำหนดให้ บริษัทต้องจัดประเภทผู้ขับขี่ในรัฐแคลิฟอร์เนียให้ทัดเทียมกับพนักงาน ยังคงยืนยันตามเดิมว่าต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 10 วันนับจากวันตัดสิน ซึ่งครบกำหนด 20 สิงหาคมนี้
เท่ากับตอนนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ Uber, Lyft ต้องปิดให้บริการในแคลิฟอร์เนียไปก่อน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทจะยังยื่นอุทธรณ์ต่อไป
Tim Bray หนึ่งในผู้ออกแบบ XML และผู้บริหารของ Amazon ทำงานฝ่าย AWS มา 5 ปี ลาออก เพื่อประท้วงที่ Amazon จัดการแรงงานไม่ดีเท่าที่ควร และยังไล่พนักงานที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองออกจากบริษัทหลายรายในช่วงโรคระบาด
กูเกิลออก "คำแนะนำ" ให้พนักงานในอเมริกาเหนือทั้งหมด (จำนวนมากกว่า 1 แสนคน) ทำงานจากที่บ้านไปจนถึงวันที่ 10 เมษายนนี้
ก่อนหน้านี้ กูเกิลให้พนักงานในเขต Bay Area (ประมาณ 45,000 คน) ทำงานจากที่บ้าน และขยายมาเป็นพนักงานในอเมริกาเหนือทั้งหมด
นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศนโยบายเรื่องการลาป่วย ถ้าพนักงานจำเป็นต้องลาป่วยเพราะอาการที่ใกล้เคียงกับโรค COVID-19 หรือไม่สามารถมาทำงานได้เพราะโดนกักตัว ก็จะยังได้รับเงินค่าจ้าง (paid sick leave)
นโยบายนี้ไม่จำกัดเฉพาะพนักงานแบบฟูลไทม์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานสัญญาจ้างผ่านบริษัทที่เซ็นสัญญาจัดหาคนให้กูเกิล (เช่น คนขับรถ หรือ พนักงานในร้านอาหาร) และมีผลในสำนักงานของกูเกิลทั่วโลก
ไมโครซอฟท์มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ work from home ช่วงโรคระบาด นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังประกาศจ่ายค่าแรงตามปกติให้พนักงานที่ทำงานรายชั่วโมง เช่นคนขับรถชัทเทิลบัสให้กับคนของไมโครซอฟท์, พนักงานร้านกาแฟในสำนักงาน เป็นต้น แม้ว่าจำนวนชั่วโมงงานจะลดลงก็ตาม
Brad Smith ประธานไมโครซอฟท์ ระบุในบล็อกว่า เข้าใจถึงความลำบากของพนักงานรายชั่วโมง ซึ่งบริษัทจะจ่ายค่าแรงตามปกติต่อไป ยกตัวอย่างเช่นพนักงานรายชั่วโมงที่สำนักงาน Puget Sound วอชิงตันที่มีอยู่ราว 4,500 ราย ก็จะได้รับค่าแรงคงเดิม
ในงานประกาศลูกโลกทองคำหรือ Golden Globes มอบรางวัลให้หนังและรายการทีวี หนึ่งในซีรีส์เรือธงของ Apple TV+ คือ The Morning Show ได้เข้าชิงรางวัลด้วย และแม้ตัวซีรีส์จะไม่ได้รางวัลอะไรกลับมาแต่ก็ไม่วายที่จะมีการจุดประเด็นแอปเปิลและจีนขึ้นมา
โดย Ricky Gervais พิธีกรในงาน พูดถึงแอปเปิลต่อหน้า ทิม คุก ที่เข้าร่วมงานด้วยในเชิงแซวแรงว่า แอปเปิลเข้าสู่ตลาดทีวีด้วยละครที่ยอดเยี่ยม คือ The Morning Show ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความสำคัญในศักดิ์ศรีและการทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้ผลิตโดยบริษัทที่มีโรงงานนรกในจีน (sweatshop เป็นคำแทนถึงโรงงานที่ใช้แรงงานหนัก อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีนัก และมีการกดขี่แรงงาน)