สงครามศาสนาที่คงอยู่มายาวนานของวงการโปรแกรมเมอร์คือ การย่อหน้าด้วย space vs tab ซึ่งก็คงยังไม่มีข้อยุติในเร็ววัน
เรื่องนี้เป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเว็บไซต์ The Register ไปค้นพบว่า Linus Torvalds ไปแก้โค้ดในเคอร์เนลลินุกซ์ ซึ่งในแพตช์นี้มีการแก้ไขเพียงอย่างเดียวคือเปลี่ยนอักขระ space มาเป็น tab
อย่างไรก็ตาม Linus ไม่ได้เลือกข้างในสงครามศาสนานี้แต่อย่างใด เพราะเหตุผลของเขาคือไฟล์ที่เขาแก้ไขคือ Kconfig ซึ่งเป็นไฟล์คอนฟิกค่าต่างๆ ของเคอร์เนล (ลักษณะเดียวกับ YAML ในปัจจุบัน) และมี parser รุ่นเก่าๆ บางตัวที่ยังเขียนมาได้ไม่ดีพอ ทำให้อ่านค่า space/tab ผิดพลาด
Linus Torvalds ประกาศขอเลื่อนกรอบเวลาในการรวมโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันหน้า 6.8 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผลว่าพายุหิมะเข้า จนทำให้ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตของเขาถูกตัด
ปัจจุบัน Linus อาศัยอยู่ที่เมือง Portland รัฐ Oregon ซึ่งตอนนี้มีคนประมาณ 1 แสนคนไม่มีไฟฟ้าใช้งาน เขาเล่าว่าเมื่อหลายปีก่อนเคยเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้แล้ว และต้องใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ กว่าที่ทางเมืองจะสามารถปรับให้การจ่ายไฟกลับมาเป็นปกติ ช่วงนี้เขาจึงขอเลื่อนเวลาการทำงานไปก่อน
ที่มา - LKML via The Register
Linus Torvalds แสดงความเห็นเรื่องสถาปัตยกรรมซีพียูรุ่นเก่าๆ คือ i486 ว่าเคอร์เนลของลินุกซ์ควรหยุดซัพพอร์ตได้แล้ว
Linus ตอบอีเมลในกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลว่า ซีพียู i486 ไม่มีใครใช้อีกแล้ว มันเป็นสิ่งที่กลายเป็นของแสดงในพิพิธภัณฑ์ ก็อาจถึงเวลาต้องอยู่ในพิพิธภัณฑ์อย่างเดียว เขายังชี้ว่าเคอร์เนลลินุกซ์หยุดรองรับ i386 ในปี 2012 และตอนนี้ปี 2022 ก็ควรถึงเวลาหยุดรองรับ i486 สักที
เหตุผลที่ Linus ต้องการถอดสถาปัตยกรรม i486 ออกไป เป็นเพราะเคอร์เนลจำเป็นต้องมีโค้ดพิเศษที่รองรับซีพียูเก่า เขาจึงอยากให้ถอดออก เพื่อลดภาระในการดูแล และใช้แรมน้อยลง
ไลนัสแจ้งนักพัฒนาเคอร์เนลว่าช่วงนี้เขาจะทำงานช้ากว่าปกติเพราะคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปของเขาแรมเสียจนทำให้เครื่องแครชระหว่างคอมไพล์เคอร์เนลอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นการใช้แรม ECC นี้ไลนัส เคยพูดถึงตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยชื่นชม AMD ว่าใส่ความสามารถรองรับแรม ECC ใน Ryzen 5000 แม้ว่าเขาจะใช้ Threadripper เพื่อการคอมไพล์เคอร์เนลที่รวดเร็ว และเขาบ่นตั้งแต่ตอนซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ว่า ไม่สามารถหาแรม ECC ที่ราคาสมเหตุสมผลได้ ขณะที่เขาสั่งแรม ECC มาเปลี่ยนนี้ก็ยังบ่นอุตสาหกรรมโดยรวมว่าชอบทำให้แรม ECC กลายเป็นของพิเศษ
เคอร์เนลลินุกซ์กำลังเริ่มรองรับภาษา Rust สัปดาห์ที่ผ่านมาไลนัสก็ออกมาตอบ Wedson Almeida Filho ถึงการใช้ Rust ในเคอร์เนลว่าการที่ Rust รับประกันความปลอดภัยในการใช้หน่วยความจำ ไม่ได้แปลว่ามันจะทำให้โค้ดปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ และนักพัฒนาที่ยังเชื่อว่าการใช้ Rust จะทำให้โค้ดปลอดภัยก็ควรกลับไปเรียนอนุบาลแล้วหัดเลิกเชื่อเรื่องกระต่ายอีสเตอร์หรือซานตาคลอสก่อน
แม้โค้ด Rust จะรับประกันการใช้งานหน่วยความจำให้มีความปลอดภัยในกรณีทั่วๆ ไป แต่ก็มีบางกรณีที่โค้ดล้มเหลวเรื่อยๆ เช่น overflow หรือไม่สามารถจองหน่วยความจำเพิ่มได้
จุดสำคัญของความแตกต่างในเคอร์เนลคือเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้น โค้ดไม่สามารถหยุดทำงานไปเฉยๆ ได้ หลายครั้งโค้ดก็ทำงานไปทั้งที่ข้อมูลผิด
Linus Torvalds ออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 6.0 ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า ขี้เกียจนับเลขรุ่นย่อยแล้ว ขึ้นหลักใหม่ดีกว่า
So, as is hopefully clear to everybody, the major version number change is more about me running out of fingers and toes than it is about any big fundamental changes.
เขายังประกาศว่าจะเริ่มรับแพตช์ของเคอร์เนล 6.1 แล้ว ซึ่งมีของใหม่ที่สำคัญคือ การรองรับภาษา Rust ในขั้นแรกด้วย
ไลนัสประกาศออกลินุกซ์เวอร์ชั่น 5.19 ตามรอบโดยระบุว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก แต่ไลนัสยังระบุว่าเขากลับมาใช้ลินุกซ์บนซีพียู ARM64 ของแอปเปิลเพื่อใช้ออกเวอร์ชั่นลินุกซ์เป็นครั้งแรก และนับเป็นครั้งที่สามที่เขาใช้เครื่องแอปเปิล หลังจาก PowerPC, MacBook Air ที่เคยใช้งานก่อนหน้านี้
ไลนัสใช้ Asahi Linux บน MacBook แต่เขาไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นรุ่นใด พร้อมกับบอกว่าครั้งหน้าหากเดินทางก็อาจจะนำเครื่องนี้ไปใช้งานนอกสถานที่ด้วย ดังนั้นเราน่าจะได้เห็นภาพไลนัสมาใช้ MacBook กันอีกครั้ง
Linus Torvalds ไปพูดที่งานสัมมนา Open Source Summit โดยบอกว่าเคอร์เนลลินุกซ์จะรองรับโค้ดที่เขียนด้วยภาษา Rust ในเร็วๆ นี้ และอาจเป็นเคอร์เนลเวอร์ชันหน้า 5.20
ไอเดียเรื่องการนำภาษา Rust ที่เป็น memory-safety มาใช้กับเคอร์เนลลินุกซ์ เป็นสิ่งที่พูดกันมาสักระยะแล้ว ตัวของ Linus เองนั้นไม่ปิดกั้นแต่ก็ไม่รีบร้อน ช่วงปลายปี 2021 ทีมพัฒนาเคอร์เนลกลุ่มหนึ่งก็เสนอแพตช์ชุดแรก ที่ทำให้เคอร์เนลรองรับภาษา Rust (ตัวโครงการคือ Rust for Linux )
เกิดดราม่าเล็กๆ ในกลุ่มอีเมลนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ หลัง Enrico Weigelt ผู้ดูแลเคอร์เนลชาวเยอรมันแสดงความเชื่อต่อวัคซีน mRNA ว่าเป็นการทดลองสร้างมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ แถมยังแสดงความสงสัยต่อเหตุโรคระบาดว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
หลัง Weigelt ส่งเมลฉบับนี้ไลนัสก็ตอบโต้ทันทีว่าเป็นคอมเมนต์ที่ไร้สติ (insane) และขอให้เก็บความเห็นต่อต้านวัคซีนแบบนี้ไว้กับตัวเอง หลังจากนั้นไลนัสก็อธิบายกระบวนการทำงานของวัคซีน mRNA ว่าไม่ได้เปลี่ยน DNA ของมนุษย์แต่อย่างใด โดยตัว mRNA อยู่ในร่างกายเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ระหว่างนั้นสอนให้ร่างกายต่อสู้กับโปรตีนไวรัส เทียบกับวัคซีนแบบอื่นๆ แล้วหลายครั้งวัคซีน mRNA ใช้วัตถุแปลกปลอมกับร่างกายน้อยกว่าด้วยซ้ำ
ไลนัสแสดงความเห็นว่า shared library นั้นสร้างปัญหามากกว่าประโยชน์ระหว่างการพูดคุยแก้ปัญหา clang ในเคอร์เนลทำงานได้ช้า ขณะที่ดิสโทรสำคัญอย่าง Fedora นั้นมีนโยบายบังคับให้แพ็กเกจต่างๆ ที่ใช้ไลบรารีจากแพ็กเกจอื่น ต้องลิงก์แบบ dynamic เท่านั้น
ภาษา Rust เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากฟีเจอร์เด่นเรื่อง memory safety ตั้งแต่ระดับของตัวภาษาเลย ช่วยลดปัญหาบั๊กความปลอดภัยที่มาจากหน่วยความจำลงได้มาก ช่วงหลังเราจึงเห็น Rust ถูกใช้ในงานระดับล่างๆ (ที่เดิมทีใช้ภาษา C) กันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Bottlerocket ระบบปฏิบัติการของ Amazon
จากกระแส Rust มาแรง ทำให้ ZDNet ไปสอบถาม Linus Torvalds และ Greg Kroah-Hartman ผู้ดูแลเคอร์เนลเวอร์ชันเสถียร (ถือเป็น 2 คนที่สำคัญที่สุดของโครงการเคอร์เนลลินุกซ์) ว่ามีความเห็นอย่างไรกับการใช้ Rust ในเคอร์เนลลินุกซ์
Linus Torvalds พูดคุยถึงซีพียู Ryzen 5000 ใน ฟอรั่ม real world technologies โดยประเด็นที่น่าสนใจคือเขาชี้ว่าแรม ECC นั้นสำคัญมาก และในโลกความเป็นจริง DRAM ไม่ได้น่าเชื่อถือขนาดนั้น พร้อมกับโทษว่าที่แรม ECC มีราคาแพงเพราะอินเทลเก็บฟีเจอร์นี้ไว้ใช้กับซีพียู Xeon สำหรับองค์กรเท่านั้น
ซีพียู Ryzen นั้นรองรับแรม ECC ในตัวมานาน แม้จะมีปัญหากับเมนบอร์ดบางรุ่นบ้าง และ AMD ไม่ได้โฆษณาว่ารองรับแต่โดยรวมคือหากหาข้อมูลล่วงหน้าก็สามารถใช้งานได้
หลัง Apple เปิดตัว MacBook Air, Pro และ Mac mini ที่รันบนชิป M1 ของตัวเอง ก็เริ่มมีกระแสรีวิวออกมาจำนวนมากว่ามีประสิทธิภาพสูงในโปรแกรมเบนช์มาร์ค รวมถึงประหยัดแบตเตอรี่เป็นอย่างมาก
ด้าน Linus Torvalds ผู้สร้างเคอร์เนลลินุกซ์ก็ได้ตอบกระทู้ในบอร์ด Real World Technologies ที่มีผู้ใช้คนหนึ่งถามเขาว่าคิดอย่างไรกับแล็ปท็อปรุ่นใหม่ของ Apple
Linus ระบุว่าเขาอยากได้มาใช้สักเครื่อง ถ้ามันรันลินุกซ์ พร้อมบอกว่าเขามีความทรงจำดีๆ กับ MacBook Air 11 นิ้ว รหัส 4,1 ซึ่งเป็นรุ่น Mid-2011 แต่ต้องเลิกใช้ไปเพราะ Apple ใช้เวลานานเกินไปในการซ่อมหน้าจอ และเมื่อซ่อมเสร็จเขาก็เปลี่ยนไปใช้แล็ปท็อปที่ดีกว่าแล้ว รวมถึง Apple ก็ทำให้ใช้งานลินุกซ์บน Mac ยากขึ้นเรื่อยๆ
Linus Torvalds สาปส่งชุดคำสั่ง AVX-512 หลังพบว่าซีพียู Alder Lake ไม่มีฟีเจอร์นี้ โดยระบุว่า “ผมหวังว่า AVX512 มันจะตายอย่างเจ็บปวดไปซะที” พร้อมเสนอว่า Intel ควรใช้พื้นที่ชิปทำอย่างอื่น เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพคอร์หรือเพิ่มจำนวนคอร์แบบเอเอ็มดี
หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินคำถามว่างานเขียนโค้ดหรืองานเทคนิคจะสามารถทำไปได้จนถึงอายุเท่าไหร่ เพราะพออายุมากขึ้นหรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้ลงมือเขียนโค้ดหรือทำงานเทคนิคเองแล้ว ในงาน Open Source Summit 2020 ทาง Linus Torvalds ได้ให้สัมภาษณ์ว่าทุกวันนี้ตัวเขาเองไม่ได้ทำงานเขียนโค้ดเป็นหลักแล้ว ส่วนใหญ่เน้นอ่านและตอบอีเมลมากกว่า อาจจะมีบ้างที่เขียน pseudo code ตอบกลับไปหรือแนะนำนักพัฒนาว่าโค้ดแบบไหนที่ควรเขียน
ต่อเนื่องจากข่าว Linus Torvalds ซื้อคอมใหม่ เลือกใช้ AMD Threadripper 3970X แทนซีพียูอินเทล ( สเปกคอมของ Linus อย่างละเอียด )
Linus ไปขึ้นเวทีงาน Open Source Summit 2020 และมีคนถามถึงประเด็นนี้ว่า เขาเป็นคนชอบความเงียบในออฟฟิศ มีปัญหาอะไรกับเสียงพัดลมของ Threadripper หรือเปล่า
คำตอบของ Linus คืองานของเขาต้องจัดการแพตช์เคอร์เนลจำนวน 20-30 แพตช์ต่อวัน การคอมไพล์เคอร์เนลบนเครื่องเดิมใช้เวลานานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง ซึ่งเขาพบว่าพัดลมบนเครื่องใหม่เสียงดังจริง แต่เขาพบว่าทนได้เพราะระยะเวลาการคอมไพล์สั้นลงกว่าเดิม กลายเป็นว่าตอนนี้เขากลับรู้สึกดีที่ได้ยินเสียงพัดลมทำงานด้วยซ้ำ
ไลนัสแสดงความเห็นขนาดยาวหลังกลุ่มพัฒนาเคอร์เนลถกเถียงกันว่าควรจะขยายความกว้างไฟล์จาก 80 ตัวอักษรไปเป็น 100 ตัวอักษรหรือไม่ โดยระบุว่าเขาไม่อยากเห็นแพตช์เคอร์เนลที่ต้องเขียนให้อ่านยากกว่าเดิมเพราะต้องทำตามกฎ 80 ตัวอักษรอีกแล้ว และการตัดบรรทัดที่ 80 ตัวอักษรก็สร้างปัญหาหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อต้องการ grep ค้นหาโค้ด
ความกว้าง 80 ตัวอักษรที่เป็นที่มาของมาตรฐานโค้ดจำนวนมากเกิดมาจากเทอร์มินัลในยุคก่อนสามารถแสดงเต็มหน้าจอที่ 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด เป็นที่มาของจอแบบ 80x25
หลังจากที่ Linus Torvalds เปิดเผยว่าเปลี่ยนมาใช้ซีพียู Threadripper 3970X ของ AMD แทน Intel ครั้งแรกในรอบ 15 ปี ล่าสุดเจ้าตัวก็เปิดเผยสเปคทั้งหมดของคอมชุดใหม่แล้ว พร้อมเผยด้วยว่าซีพียูเก่าคือ i9-9900k (ที่เจ้าตัวรู้สึกว่า Threadripper คอมไพล์เคอร์เนลทดสอบเร็วกว่า 3 เท่า)
Linus บอกว่าเกณฑ์ในการเลือกซีพียูใหม่คือคุ้มค่าเงินที่สุด ซีพียูตอนแรกจะเลือก Ryzen 9 3950X แต่ก็รู้สึกว่าเป็นการอัพเกรดที่ไม่ต่างจากเดิมมาก ก่อนจะจบที่ Threadripper เพราะไหน ๆ ก็อัพเกรดแล้วก็เล่นใหญ่ไปเลย แม้จะกังวลเรื่องเสียง (จากระบบระบายความร้อน) แต่ก็ดูคุ้มค่ากว่า Xeon นอกจากนี้เขาบอกด้วยว่าไม่แคร์ GPU เท่าไหร่ เลยไม่ได้ซื้อแยก ดังนั้นก่อนหน้านี้ที่เลือก Intel ส่วนหนึ่งก็เพราะมี GPU ในตัวด้วย
Linus Torvalds เล่าในอีเมลกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ว่าเขาเพิ่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยเลือกซีพียูเป็น AMD Threadripper 3970X และเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่เขาไม่ได้ใช้ซีพียูอินเทล
Linus ยังเล่าว่าเครื่องใหม่ของเขาทำให้การคอมไพล์เคอร์เนลทดสอบเร็วขึ้นถึง 3 เท่าจากเดิม (ไม่ได้บอกว่าเครื่องเดิมใช้ซีพียูรุ่นใด)
Threadripper 3970X เป็นซีพียูรุ่นรองท็อปของ AMD ในปัจจุบัน มีจำนวน 32 คอร์ 64 เธร็ด เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ส่วนรุ่นท็อปสุดตอนนี้คือ Threadripper 3990X ที่เป็น 64 คอร์ 128 เธร็ด เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2020
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 5.6 ตามรอบปกติ ของใหม่ที่สำคัญคือ WireGuard ซอฟต์แวร์ VPN ที่ถูกผนวกเข้ามายังเคอร์เนลลินุกซ์
สิ่งที่น่าสนใจคือในอีเมลของ Linus พูดถึงสถานการณ์ "social distancing" ที่ทั้งโลกกำลังเผชิญอยู่ว่าไม่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเคอร์เนล เพราะนักพัฒนาเคอร์เนลส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้านอยู่แล้ว กรณีของตัวเขาเองยังโดนลูกสาวแซวด้วยซ้ำว่าเป็น "แชมป์ social distancing" (social distancing champ) และเขาก็คาดว่าเคอร์เนล 5.7 จะพัฒนาเสร็จตามปกติ
ที่มา - LKML , The Register
ไลนัสตอบคำถามเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ารู้สึกอย่างไรกับการพัฒนาเคอร์เนลที่ไปกระทบต่อโมดูลภายนอกอย่าง ZFS เมื่อเร็วๆ นี้ และไลนัสก็เข้ามาตอบว่า ZFS นั้นเป็นโมดูลภายนอกที่ไม่ได้รับการซัพพอร์ตโดยตรง และการโหลดโมดูลภายนอกเข้าไปในเคอร์เนลนั้นสามารถทำได้แต่ทางเคอร์เนลไม่ได้ดูแลว่ามันจะทำงานได้
นอกจากประเด็นการใช้โมดูลเคอร์เนลภายนอกแล้ว ไลนัสยังแสดงความกังวลต่อออราเคิลเป็นพิเศษ โดยระบุว่าเคอร์เนลลินุกซ์นั้นคงไม่สามารถรวมเอาโมดูล ZFS เข้ามาในโครงการได้ หากไม่ได้รับจดหมายอนุญาตเป็นทางการโดยตรงจากตัวแทนฝ่ายกฎหมายของออราเคิล หรือให้ดีก็ให้ Larry Ellison เซ็นด้วยตัวเอง แม้แต่การสร้างชั้นคั่นกลางเพื่อให้โมดูลทำงานได้ก็ไม่น่าจะดีพอ เพราะออราเคิลก็เคยฟ้องกูเกิลจากการใช้อินเทอร์เฟซจาวามาแล้ว
ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ขึ้นพูดในงาน Open Source Summit Europe เมื่อต้นสัปดาห์ โดยช่วงที่เขาบรรยาย เขาระบุว่าตัวเองไม่ไช่โปรแกรมเมอร์อีกต่อไปแล้ว
เขาบรรยายงานของตัวเองว่าไม่ได้ทำอะไรมากกว่าเขียนโค้ดจำลอง (pseudo code) ตอบอีเมลเท่านัี้น หรือหากแก้โค้ดก็แก้ให้คนอื่นไปทำต่อโดยไม่เคยทดสอบโค้ดตัวเอง ทำให้เขามองว่าตัวเองไม่ใช่โปรแกรมเมอร์อีกต่อไป
เคอร์เนลลินุกซ์ออกเวอร์ชัน 5.0 แล้ว การขยับเลขเวอร์ชันครั้งนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ เพราะเคอร์เนลใช้วิธีการออกรุ่นตามระยะเวลา แทนการอิงกับฟีเจอร์ใหญ่ๆ มานานแล้ว
คราวนี้ไลนัส ให้เหตุผลยาวขึ้นอีกนิดว่าเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลสาย 4.x (รุ่นล่าสุดขณะที่เขียนข่าวคือ 4.20) ชักเยอะจนเขาหมดนิ้วจะนับแล้วทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า (the 4.x numbers started getting big enough that I ran out of fingers and toes) เลยตัดสินใจขึ้นเวอร์ชันใหม่เป็น 5.0 แทน และกระบวนการพัฒนาเคอร์เนล 5.1 ก็เริ่มต้นตามปกติ
เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.0 ออกเมื่อปี 2015 โดยขยับเลขขึ้นมาจากเคอร์เนล 3.19 ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กัน
หลังจาก Arm เปิดตัวซีพียูชุดใหม่สำหรับบริการคลาวด์ ก็มีการพูดคุยกันในเว็บบอร์ด real world technologies ถึงความตื่นเต้นถึงการที่จะมีตัวเลือกใหม่ๆ เข้ามาในบริการคลาวด์ แต่ระหว่างการพูดคุยไลนัส ผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ก็ถูกพาดพิงว่าเชื่อในการพัฒนาแบบ native ที่ต้องพัฒนาบนสถาปัตยกรรมเดียวกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้รันแอปพลิเคชั่นมากเกินไป
ไลนัสเข้ามาตอบความเห็นนี้ โดยยืนยันว่าหากนักพัฒนายังไม่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มเดียวกันกับบนคลาวด์ได้ แพลตฟอร์มอื่นก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จ
ไลนัสประกาศลินุกซ์เวอร์ชั่นล่าสุดที่ จากเวอร์ชั่น 4.21 มาเป็น 5.0-rc1 โดยไม่มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษ และระบุว่าหากใครต้องการคำอธิบายว่าทำไมถึงเป็น 5.0 ก็ให้แต่ละคนไปคิดเหตุผลกันเอง
ปริมาณแพตช์ในเวอร์ชั่นนี้ค่อนข้างอยู่ระดับเดียวกับค่าเฉลี่ย มีจำนวน commit ประมาณ 11,000 ครั้ง ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นไดร์เวอร์ต่างๆ แก้ไขสถาปัตยกรรมเคอร์เนล 20% อัพเดตเครื่องมือ 10% ที่เหลือเป็นการอัพเดตเอกสารหรือไฟล์เฮดเดอร์ต่างๆ
งงๆ หน่อยแต่ในปีนี้เราก็จะเห็นลินุกซ์ 5.0 ครับ