วงการเคอร์เนลลินุกซ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีประเด็นดราม่าว่า นักพัฒนาเคอร์เนลชาวรัสเซียถูกถอดสิทธิจากการเป็น maintainer โดย Greg Kroah-Hartman (gregkh) เบอร์สองของวงการเคอร์เนลให้เหตุผลสั้นๆ ว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบหลายอย่าง (due to various compliance requirements) และนักพัฒนาเหล่านี้สามารถขอคืนสิทธิได้เมื่อส่งเอกสารตามที่เราต้องการ
เมื่อเหตุผลไม่ชัดเจน จึงมีเสียงประท้วงว่าทำไมถึงตัดสิทธินักพัฒนาเหล่านี้ตามมา ซึ่ง Linus Torvalds เจ้าเก่าก็มาตอบ (แบบดุดันเหมือนเดิม) ว่าการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นไปแล้ว การรวมตัวประท้วงกันเยอะๆ (เขาใช้คำว่า Russian troll factories) ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด
โครงการย่อย DRM ส่งแพตช์อัพเดตเข้าโครงการลินุกซ์หลักเพื่อเตรียมรวมเป็นลินุกซ์ 6.12 โดยรอบนี้มีความพิเศษคือเพิ่มตัวเลือกแสดงหน้าจอแครชเป็น QR ได้
Wedson Almeida Filho หนึ่งในผู้ดูแลโครงการย่อย Rust for Linux ประกาศถอนตัวจากโครงการหลังดูแลโครงการนี้มา 4 ปีเต็ม ระบุเหตุผลว่าเบื่อที่จะต้องมาตอบโต้เรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิค
Filho แนบลิงก์ถึงสาเหตุที่เขาลาออกเป็น วิดีโองานสัมมนา Linux Storage Filesystem ที่ Kent Overstreet บรรยายถึงข้อเสนอของการรองรับ Rust ใน API ของ filesystem แต่ช่วงถามตอบก็มีการโต้แย้งกันว่า C/C++ ยังคงเป็นภาษาหลักแล้วทำไม Overstreet ยังคงพยายามยัดเยียด Rust เข้ามา ( LWN เขียนสรุปเหตุการณ์ไว้ ) โดย Filho ยืนยันว่าไม่ได้ยัดเยียดให้ใครใช้ Rust
ทีมพัฒนาเคอร์เนลของ Ubuntu ประกาศนโยบายการเลือกเคอร์เนลใหม่สำหรับ Ubuntu แต่ละรุ่น เปลี่ยนมาใช้แนวทางใหม่คือเลือกเคอร์เนลเวอร์ชันใหม่ที่สุดเสมอ แม้ยังไม่ออกรุ่นเสถียร (ยังเป็น Release Candidate หรือ RC) อยู่ก็ตาม
โครงการ Ubuntu มีระยะเวลาการออกรุ่นที่ตายตัวทุก 6 เดือน ในขณะที่เคอร์เนลลินุกซ์มีธรรมเนียมออกใหม่ทุก 2-3 เดือนแต่เวลาไม่ตายตัว เมื่อบวกกับทีมเคอร์เนลของ Ubuntu ต้องการเวลาราว 1 เดือนในการนำเคอร์เนลต้นน้ำ มาปรับแต่งเพื่อใช้งานใน Ubuntu ทำให้หลายครั้ง ทีมเคอร์เนลเจอปัญหาว่าระยะเวลาออกเคอร์เนลรุ่นใหม่ มาชนกับการออกดิสโทร Ubuntu รุ่นใหม่พอดี (ดูตัวอย่างตามภาพ ที่ Ubuntu 24.10 มาออกชนกับเคอร์เนล 6.11)
ทุกคนทราบดีว่าระบบปฏิบัติการ Android อิงอยู่บนลินุกซ์ โดยกูเกิลนำเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) มาดัดแปลงเพิ่มเติมเอง
เมื่อปี 2017 เคอร์เนลลินุกซ์ขยายระยะเวลาซัพพอร์ตรุ่น LTS จาก 2 ปีเป็น 6 ปี เพื่อช่วยให้ Android มีระยะซัพพอร์ตยาวนานขึ้น แต่ เมื่อปี 2023 ทีมพัฒนาเคอร์เนลปรับเวลาซัพพอร์ตกลับมาเป็น 2 ปีเหมือนเดิม เพราะมองว่าระยะเวลา 6 ปียาวนานเกินไป เคอร์เนลเก่าไม่ค่อยมีใครใช้ และกลายเป็นภาระของผู้ดูแลเคอร์เนลที่ต้องทำงานมากขึ้น
การเปลี่ยนนโยบายเคอร์เนลทำให้เกิดคำถามตามมาว่า Android จะรับมืออย่างไร ล่าสุดกูเกิลประกาศแล้วว่าจะเข้ามาซัพพอร์ตเคอร์เนล Android ให้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 4 ปี
Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่ข้อจำกัดสำคัญของมันคือใช้เคอร์เนลเวอร์ชันเก่า 5.15 (ออกในปี 2021) ติดต่อกันมาหลายปี จึงขาดฟีเจอร์ของเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันใหม่ๆ ที่ออกในช่วงหลัง
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับเวอร์ชันเคอร์เนลที่ใช้ใน WSL เป็นเคอร์เนล 6.6 ซึ่งเป็นเคอร์เนลระยะยาว (LTS) เวอร์ชันล่าสุด (ตัวเสถียรล่าสุดจริงๆ ตอนนี้คือ 6.9.7) ถือเป็นสัญญาณอันดีของผู้ใช้งาน แม้ตอนนี้ยังปรับเฉพาะ WSL เวอร์ชันใน GitHub ก็ตาม ส่วนผู้ใช้ทั่วไปคงต้องรอไมโครซอฟท์ออกอัพเดต WSL กันให้อีกที
ของใหม่อีกอย่างใน WSL อัพเดตล่าสุดการรองรับ kernel module support สามารถโหลดโมดูลของเคอร์เนลเพิ่มได้ด้วย ช่วยขยายการใช้งาน WSL ให้ใกล้เคียงกับลินุกซ์ตัวเต็มมากขึ้นนั่นเอง
Linus Torvalds ประกาศขอเลื่อนกรอบเวลาในการรวมโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันหน้า 6.8 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผลว่าพายุหิมะเข้า จนทำให้ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตของเขาถูกตัด
ปัจจุบัน Linus อาศัยอยู่ที่เมือง Portland รัฐ Oregon ซึ่งตอนนี้มีคนประมาณ 1 แสนคนไม่มีไฟฟ้าใช้งาน เขาเล่าว่าเมื่อหลายปีก่อนเคยเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้แล้ว และต้องใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ กว่าที่ทางเมืองจะสามารถปรับให้การจ่ายไฟกลับมาเป็นปกติ ช่วงนี้เขาจึงขอเลื่อนเวลาการทำงานไปก่อน
ที่มา - LKML via The Register
เคอร์เนลลินุกซ์มีรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เป็นระยะเวลานาน 6 ปี สำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูง ดูแลระบบต่อเป็นเวลานาน ที่ผ่านมามีเคอร์เนล LTS ทั้งหมด 6 รุ่นคือ 4.14, 4.19, 5.4, 5.10, 5.15, 6.1 รายละเอียด
แต่ล่าสุดนโยบายนี้กำลังเปลี่ยน โดยลดระยะเวลาดูแลเคอร์เนลลงจาก 6 ปีเหลือ 2 ปี ด้วยเหตุผลว่าระยะเวลา 6 ปีนั้นนานจนเกินไป คนไม่ได้ใช้งานเคอร์เนลกันนานขนาดนั้น การลดระยะเวลาดูแลยังช่วยลดภาระของ maintainer ลงได้อย่างมากด้วย
เคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 6.6 ปรับสถานะของระบบไฟล์ ReiserFS เป็น "ล้าสมัย" (obsolete) และเตรียมถอดออกในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า
ReiserFS เป็นระบบไฟล์ที่พัฒนาโดย Hans Reiser ออกครั้งแรกในปี 2001 และมีฟีเจอร์ทันสมัย (ในยุคนั้น) เช่น การทำ journaling จนทำให้บางดิสโทรของยุคนั้นอย่าง SUSE Linux Enterprise นำไปใช้งานเป็นระบบไฟล์หลัก ( เลิกใช้ในปี 2006 )
อินเทลหยุดขายซีพียู Itanium สถาปัตยกรรม IA-64 ไปตั้งแต่ปี 2021 และในทางปฏิบัติก็แทบไม่มีคนใช้แล้ว ฝั่งของชุมชนนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์จึงเริ่มหารือกันว่าจะถอดสถาปัตยกรรม IA-64 ออกเช่นกัน
Itanium เป็นโครงการร่วมระหว่างอินเทลกับ HP ในทศวรรษ 90s ที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรมซีพียู 64 บิตขึ้นมาใหม่ สินค้าจริงเริ่มวางขายปี 2001 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถใช้กับโค้ด x86-32 เก่าได้เลย ทำให้ภายหลังอินเทลต้องยอมกลืนเลือด หันไปใช้ x86-64 (หรือชื่อเดิม AMD64) ที่ออกแบบโดย AMD โดยใช้แนวทางส่วนต่อขยายของ x86-32 แทน
Linus Torvalds แสดงความเห็นเรื่องสถาปัตยกรรมซีพียูรุ่นเก่าๆ คือ i486 ว่าเคอร์เนลของลินุกซ์ควรหยุดซัพพอร์ตได้แล้ว
Linus ตอบอีเมลในกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลว่า ซีพียู i486 ไม่มีใครใช้อีกแล้ว มันเป็นสิ่งที่กลายเป็นของแสดงในพิพิธภัณฑ์ ก็อาจถึงเวลาต้องอยู่ในพิพิธภัณฑ์อย่างเดียว เขายังชี้ว่าเคอร์เนลลินุกซ์หยุดรองรับ i386 ในปี 2012 และตอนนี้ปี 2022 ก็ควรถึงเวลาหยุดรองรับ i486 สักที
เหตุผลที่ Linus ต้องการถอดสถาปัตยกรรม i486 ออกไป เป็นเพราะเคอร์เนลจำเป็นต้องมีโค้ดพิเศษที่รองรับซีพียูเก่า เขาจึงอยากให้ถอดออก เพื่อลดภาระในการดูแล และใช้แรมน้อยลง
เคอร์เนลลินุกซ์กำลังเริ่มรองรับภาษา Rust สัปดาห์ที่ผ่านมาไลนัสก็ออกมาตอบ Wedson Almeida Filho ถึงการใช้ Rust ในเคอร์เนลว่าการที่ Rust รับประกันความปลอดภัยในการใช้หน่วยความจำ ไม่ได้แปลว่ามันจะทำให้โค้ดปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ และนักพัฒนาที่ยังเชื่อว่าการใช้ Rust จะทำให้โค้ดปลอดภัยก็ควรกลับไปเรียนอนุบาลแล้วหัดเลิกเชื่อเรื่องกระต่ายอีสเตอร์หรือซานตาคลอสก่อน
แม้โค้ด Rust จะรับประกันการใช้งานหน่วยความจำให้มีความปลอดภัยในกรณีทั่วๆ ไป แต่ก็มีบางกรณีที่โค้ดล้มเหลวเรื่อยๆ เช่น overflow หรือไม่สามารถจองหน่วยความจำเพิ่มได้
จุดสำคัญของความแตกต่างในเคอร์เนลคือเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้น โค้ดไม่สามารถหยุดทำงานไปเฉยๆ ได้ หลายครั้งโค้ดก็ทำงานไปทั้งที่ข้อมูลผิด
Linus Torvalds ออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 6.0 ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า ขี้เกียจนับเลขรุ่นย่อยแล้ว ขึ้นหลักใหม่ดีกว่า
So, as is hopefully clear to everybody, the major version number change is more about me running out of fingers and toes than it is about any big fundamental changes.
เขายังประกาศว่าจะเริ่มรับแพตช์ของเคอร์เนล 6.1 แล้ว ซึ่งมีของใหม่ที่สำคัญคือ การรองรับภาษา Rust ในขั้นแรกด้วย
Linus Torvalds ประกาศข่าวในการออก เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.19 ว่าเคอร์เนลเวอร์ชันหน้า "น่าจะ" เรียกว่าเคอร์เนล 6.0 เพราะเขาขี้เกียจนับเลขรุ่นย่อยเยอะๆ แล้ว (I'll likely call it 6.0 since I'm starting to worry about getting confused by big numbers again.)
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะในอดีต Torvalds ก็ขึ้นเคอร์เนลเวอร์ชันหลักใหม่ทุกครั้งที่เลขเวอร์ชันย่อยนับถึง .19 หรือ .20 เช่น เวอร์ชัน 3.19 ต่อด้วย 4.0 , 4.20 ต่อด้วย 5.0
ไลนัสประกาศออกลินุกซ์เวอร์ชั่น 5.19 ตามรอบโดยระบุว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก แต่ไลนัสยังระบุว่าเขากลับมาใช้ลินุกซ์บนซีพียู ARM64 ของแอปเปิลเพื่อใช้ออกเวอร์ชั่นลินุกซ์เป็นครั้งแรก และนับเป็นครั้งที่สามที่เขาใช้เครื่องแอปเปิล หลังจาก PowerPC, MacBook Air ที่เคยใช้งานก่อนหน้านี้
ไลนัสใช้ Asahi Linux บน MacBook แต่เขาไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นรุ่นใด พร้อมกับบอกว่าครั้งหน้าหากเดินทางก็อาจจะนำเครื่องนี้ไปใช้งานนอกสถานที่ด้วย ดังนั้นเราน่าจะได้เห็นภาพไลนัสมาใช้ MacBook กันอีกครั้ง
Linus Torvalds ไปพูดที่งานสัมมนา Open Source Summit โดยบอกว่าเคอร์เนลลินุกซ์จะรองรับโค้ดที่เขียนด้วยภาษา Rust ในเร็วๆ นี้ และอาจเป็นเคอร์เนลเวอร์ชันหน้า 5.20
ไอเดียเรื่องการนำภาษา Rust ที่เป็น memory-safety มาใช้กับเคอร์เนลลินุกซ์ เป็นสิ่งที่พูดกันมาสักระยะแล้ว ตัวของ Linus เองนั้นไม่ปิดกั้นแต่ก็ไม่รีบร้อน ช่วงปลายปี 2021 ทีมพัฒนาเคอร์เนลกลุ่มหนึ่งก็เสนอแพตช์ชุดแรก ที่ทำให้เคอร์เนลรองรับภาษา Rust (ตัวโครงการคือ Rust for Linux )
อินเทลเข้าซื้อกิจการ Linutronix บริษัทจากเยอรมนี ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์สายเรียลไทม์ (PREEMPT_RT) สำหรับงานอุปกรณ์ฝังตัวสายงานอุตสาหกรรม
การซื้อบริษัท Linutronix ไม่ได้เป็นการซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการซื้อตัวทีมงาน (acquihire) โดยเฉพาะตัวซีทีโอ Thomas Gleixner ที่เป็นผู้ดูแลหลักของเคอร์เนลลินุกซ์สำหรับสถาปัตยกรรม x86 มาตั้งแต่ปี 2008 การมาอยู่ใต้ร่มของบริษัทใหญ่ระดับอินเทล แปลว่าทีมของ Gleixner จะยังทำหน้าที่พัฒนาเคอร์เนลต่อไปโดยไม่ต้องสนใจเรื่องการหารายได้มากนัก ส่วนธุรกิจของ Linutronix จะยังเดินต่อไปดังเดิม ในฐานะหน่วยย่อยอิสระภายใต้ฝ่ายซอฟต์แวร์ของอินเทล
ปัญหาโทรศัพท์แอนดรอยด์ไม่ได้อัพเกรด หรืออัพเกรดช้าเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และกูเกิลพยายามแก้ปัญหานี้อย่างต่อเนื่องในปีหลังๆ ที่งาน Linux Plumber ปีนี้ Todd Kjos ก็แถลงความคืบหน้าว่าโทรศัพท์ที่ใช้ Android 12 จะใช้เคอร์เนลแกนกลางเป็นอันเดียวกันทั้งหมดแล้ว
ต่อเนื่องจากข่าว ทีมงานเคอร์เนลลินุกซ์ประกาศแบนมหาวิทยาลัยมินนิโซตา หลังส่งแพตช์สร้างช่องโหว่เพื่อทำงานวิจัย ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา ออกจดหมายขอโทษต่อชุมชนลินุกซ์แล้ว
เนื้อหาในจดหมายยอมรับว่าใช้ "วิธีการที่ไม่เหมาะสม" (inappropriate) และยอมรับว่าวิธีการนี้สร้างภาระให้ผู้ดูแลแพตช์โดยไม่จำเป็น ทีมวิจัยยังบอกว่าอยากฟื้นฟูความสัมพันธ์กับชุมชนลินุกซ์ใหม่ และจะหารือกับผู้นำชุมชนโอเพนซอร์สอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
Greg Kroah-Hartman ผู้ดูแลเคอร์เนลลินุกซ์ใน -stable branch ประกาศแบนโค้ดทั้งหมดจากอีเมล @umn.edu
ของมหาวิทยาลัยมินนิโซตา หลังกลุ่มนักวิจัยส่งโค้ดสร้างช่องโหว่เข้าไปยังเคอร์เนลต่อเนื่องเพื่อพยายามส่งโค้ดสร้างช่องโหว่ในเคอร์เนลเข้าไปยัง repository และโค้ดบางส่วนถูก commit ได้สำเร็จ
ตอนนี้ Greg กำลังถอนโค้ดทั้งหมดที่กลุ่มวิจัยนี้เคยส่งเข้ามา รวมเป็น แพตช์ทั้งหมด 190 ชุด ส่วนมากสามารถถอนแพตช์ได้โดยง่าย มีบางส่วนที่ต้องตรวจดูอีกครั้ง
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์เป็นเวอร์ชั่น 5.10.16.3 สำหรับผู้ใช้ Windows Insider นอกจากจะได้รับฟีเจอร์เคอร์เนลตามปกติแล้วยังมีฟีเจอร์สำคัญคือการอ่านดิสก์เข้ารหัส LUKS ที่นิยมใช้งานกันในลินุกซ์
ฟีเจอร์นี้ทำให้วินโดวส์สามารถอ่านไฟล์จากดิสก์เข้ารหัสไปได้ด้วยผ่านทางฟีเจอร์ wsl --mount
ที่ เปิดตัวปีที่แล้ว
คำสั่งที่ใช้ถอดรหัสนั้นเป็น cryptsetup
เหมือนบนลินุกซ์ปกติ
สำหรับผู้ใช้ WSL ปัจจุบัน เคอร์เนลเวอร์ชั่นนี้ยังแก้บั๊กการซิงก์นาฬิกาที่ทำให้เวลาบน WSL ไม่ตรงกับเวลาจริงอีกด้วย
ภาษา Rust เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากฟีเจอร์เด่นเรื่อง memory safety ตั้งแต่ระดับของตัวภาษาเลย ช่วยลดปัญหาบั๊กความปลอดภัยที่มาจากหน่วยความจำลงได้มาก ช่วงหลังเราจึงเห็น Rust ถูกใช้ในงานระดับล่างๆ (ที่เดิมทีใช้ภาษา C) กันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Bottlerocket ระบบปฏิบัติการของ Amazon
จากกระแส Rust มาแรง ทำให้ ZDNet ไปสอบถาม Linus Torvalds และ Greg Kroah-Hartman ผู้ดูแลเคอร์เนลเวอร์ชันเสถียร (ถือเป็น 2 คนที่สำคัญที่สุดของโครงการเคอร์เนลลินุกซ์) ว่ามีความเห็นอย่างไรกับการใช้ Rust ในเคอร์เนลลินุกซ์
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ ออกรุ่น 5.10 LTS แต่กลับประกาศว่าจะซัพพอร์ตนานเพียง 2 ปีจากเดิมที่เคยซัพพอร์ตรุ่น LTS นานถึง 6 ปี ทำให้ Scott Branden นักพัฒนาจาก Broadcom ออกมาแสดงความเห็นว่าหากซัพพอร์ตสั้นเพียงเท่านี้ก็ไม่ควรเรียกว่า LTS
ทางฝั่งผู้ดูแลเคอร์เนล Kroah-Hartman ออกมาชี้แจงว่าปกติแล้วเคอร์เนลแต่ละรุ่นมีระยะซัพพอร์ตแค่ 4 เดือนเท่านั้น การออกรุ่นซัพพอร์ต 2 ปีก็นับว่ายาวกว่าปกติมากแล้ว และทางโครงการเคอร์เนลยินดีขยายเวลาซัพพอร์ตหากมีบริษัทแสดงตัวสนับสนุนการดูแล และที่ผ่านมาหลังจากออกเคอร์เนลไประยะหนึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมก็จะมีบริษัทมาแสดงตัวสนับสนุน ทำให้ทางโครงการเปลี่ยนแผนซัพพอร์ตเป็น 6 ปีได้
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 5.10 ซึ่งเป็นเคอร์เนลรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว 6 ปี (LTS) ประจำปี 2020
ปกติแล้ว เคอร์เนลลินุกซ์จะออกรุ่นซัพพอร์ตระยะยาวปีละ 1 ครั้งช่วงปลายปีของทุกปี โดยปีที่แล้ว 2019 เป็นเคอร์เนล 5.4 ที่จะซัพพอร์ตจนถึงเดือนธันวาคม 2025 ส่วนเคอร์เนล 5.10 จะซัพพอร์ตนานถึงเดือนธันวาคม 2026
ของใหม่ในเคอร์เนล 5.10 เน้นไปที่การซัพพอร์ตฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ เช่น Intel Rocket Lake / Ander Lake, NVIDIA Orin, AMD RDNA 2, ซัพพอร์ตฟีเจอร์หลายอย่างของ AMD Zen 3 เป็นต้น
Greg Kroah-Hartman ผู้ดูแลเคอร์เนลลินุกซ์ในสาย stable branch ตอบคำถามในงาน Open Source Summit Europe ถึงแนวทางการพูดคุยของกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลที่ยังใช้อีเมลแบบข้อความล้วน (plaintext) ว่าเป็นอุปสรรคต่อการหานักพัฒนาหน้าใหม่หรือไม่ โดยเขายืนยันว่าทุกสามเดือนที่เป็นรอบออกเวอร์ชั่นใหม่ของลินุกซ์ มีนักพัฒนาหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยมากกว่า 200 คน
เขายอมรับว่าการตั้งค่าอีเมลไคลเอนต์[ให้ทำงานแบบ plaintext] อาจจะยุ่งยากไปบ้างแต่ทางโครงการเคอร์เนลก็มีเอกสารให้ครบ พร้อมกับชี้ว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่นักพัฒนาไม่ส่งโค้ดแต่กลับเป็นมีโค้ดส่งเข้าไปมากจนรีวิวไม่ทัน