แอปส่งอาหารรายใหญ่ในจีน Meituan และ Ele.me เปิดตัวฟีเจอร์ที่แจ้งเตือน หรือบังคับให้ไรเดอร์ออกจากระบบเมื่อทำงานนานเกินไป เพื่อป้องกันความเมื่อยล้าของไรเดอร์
พนักงาน Meituan คนหนึ่งบอกกับ South China Morning Post ว่าเขาสามารถให้ระบบส่งแจ้งเตือน บังคับออกจากระบบ หรือหยุดจ่ายงานให้ไรเดอร์ หากไรเดอร์คนนั้นทำงานครบ 12 ชั่วโมง ในขณะที่ระบบ Ele.me จะขึ้นป๊อปอัปแจ้งเตือนให้ไรเดอร์หยุดพักหลังทำงานหลายชั่วโมง แต่ไม่ได้ระบุจำนวนชั่วโมงที่จะขึ้นแจ้งเตือน
แพลตฟอร์มต่างๆ กำลังเปิดตัวระบบแจ้งเตือนให้ไรเดอร์พักการทำงาน หลังพวกเขาต้องทำงานอย่างหนัก เพราะกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง
Meituan แพลตฟอร์มเดลิเวอรีรายใหญ่ในจีน รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2024 รายได้รวม 93,577 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิ 12,865 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า
Meituan แบ่งโครงสร้างรายได้ปัจจุบันเป็นสองส่วนคือ ธุรกิจหลักในจีน ได้แก่ เดลิเวอรีทั้งอาหาร สินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต บริการจัดส่งพัสดุ และการจองเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว ภาพรวมส่วนธุรกิจนี้เติบโต 20% และมีกำไรที่เพิ่มมากขึ้น
อีกกลุ่มธุรกิจเรียกรวมว่า New Initiatives เพื่อทดสอบโอกาสทางธุรกิจใหม่ เช่น Meituan Select อีคอมเมิร์ซแบบซื้อเป็นกลุ่ม, Keeta บริการเดลิเวอรีในซาอุดิอาระเบีย ภาพรวมส่วนธุรกิจนี้ยังเติบโตดี โดยขาดทุนลดลง
Meituan แพลตฟอร์มออนดีมานด์รายใหญ่ในจีน รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนมิถุนายน 2024 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 21.0% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 82,251 ล้านหยวน และมีกำไรสุทธิตามบัญชี Non-IFRS 13,606 ล้านหยวน
Meituan บอกว่าบริการเดลิเวอรียังมีการเติบโตของรายได้จากการทำแคมเปญเจาะกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกับร้านค้าระดับเล็ก-กลาง รายได้เฉพาะส่วนนี้ 23,021 ล้านหยวน, บริการซูเปอร์มาร์เก็ตก็เติบโตจากการเพิ่มร้าน Meituan InstaMart ให้มากขึ้นในแต่ละภูมิภาค
Wang Xing ซีอีโอ Meituan ตอบคำถามในช่วงแถลงผลประกอบการเรื่องการขยายธุรกิจต่างประเทศ ว่าบริษัทยังอยู่ในขั้นต้นของการประเมินโอกาสในการขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งหมดยังมีสถานะแผนงานระยะยาว
ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok รายงานกรณีทุจริตในองค์กรกว่า 125 กรณี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ไล่พนักงานออกไปแล้ว 88 คน ส่วนอีก 17 คนโดนเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว
การกระทำผิดมีตั้งแต่การรับสินบนจากคู่ค้าและอินฟลูเอนเซอร์ หรือกระทั่งการยักยอกทรัพย์สินบริษัท โดย ByteDance ประกาศชัดว่า บริษัทยึดมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันและการติดสินบน
South China Morning Post มองว่าท่าทีดังกล่าวสะท้อนว่า ByteDance จริงจังกับการรักษาและดึงดูดคนทำงานระดับหัวกะทิ สอดคล้องกับที่บริษัทประกาศขึ้นโบนัสเมื่อต้นปีให้กับพนักงานที่ทำผลงานได้ดี แม้บริษัทยังต้องเผชิญ วิกฤติกับสหรัฐฯ อยู่ก็ตาม
Meituan แพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ในจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนมีนาคม 2024 มีรายได้รวม 73,275 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 25.0% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิตามบัญชี Non-IFRS 7,488 ล้านหยวน
Wang Xing ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Meituan กล่าวในช่วงแถลงผลประกอบการ ว่าบริษัทสามารถตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัว และการบริโภคในประเทศดีขึ้น ทำให้ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกออกมาดีต่อเนื่อง
Wang ยังกล่าวถึงแผนงานในอนาคต ว่าบริษัทมีแผนให้บริการในต่างประเทศ โดยมองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนนี้
มีรายงานว่า Meituan แอปส่งอาหารรายใหญ่ของจีน ได้เริ่มรับสมัครพนักงานที่พูดภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มเติม โดยตอนนี้เป้าหมายคือเมืองรียาด เมืองหลวงของประเทศซาอุดีอาระเบีย
ตามแผนนั้น Meituan จะใช้ แบรนด์ KeeTa ที่ปัจจุบันดำเนินงานอยู่ในฮ่องกง เป็นแบรนด์ที่ใช้ทำตลาดในซาอุดีอาระเบียด้วยเช่นกัน
Wang Xing ซีอีโอของ Meituan เคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ ถึงโอกาสในการทำตลาดต่างประเทศ ว่าอาจต้องใช้เวลาระดับ 10 ปี ซึ่งบริษัทไม่มีแผนเร่งขยายตลาดตอนนี้ โดยจะพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน
ปัจจุบันในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีแอปส่งอาหารที่ให้บริการรายใหญ่ได้แก่ Delivery Hero, Deliveroo และ Jahez
Meituan แพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 มีรายได้เพิ่มขึ้น 22.6% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 73,696 ล้านหยวน และมีกำไรสุทธิ 2,217 ล้านหยวน เทียบกับปีก่อนที่ขาดทุน
ผลการดำเนินงานของ Meituan ที่มีกำไรติดต่อกันสี่ไตรมาส ทำให้ภาพรวมของปี 2023 Meituan กลับมามีกำไรเป็นบวกอีกครั้ง โดยมีกำไรตลอดปี 2023 ที่ 13,857 ล้านหยวน
Meituan รายงานผลประกอบการแบ่งเป็นสองส่วนธุรกิจคือ Core local commerce เติบโต 26.8% เป็น 55,131 ล้านหยวน มีการเติบโตเด่นจาก Meituan Instashopping บริการสั่งซื้อสินค้าจัดส่งด่วน ส่วนธุรกิจเดลิเวอรี มีการขายบริการ Pin Hao Fan หรือการสั่งอาหารแบบรวมกลุ่มร้านเดียวกัน ส่งพื้นที่ใกล้กัน เพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลจากแพลตฟอร์มเก็บสถิติข้อมูล Measurable AI รายงานว่า KeeTa แอปส่งอาหารในฮ่องกง ซึ่งมี Meituan แพลตฟอร์ม O2O รายใหญ่ในจีนเป็นเจ้าของ ตอนนี้ขยายฐานลูกค้าอย่างรวดเร็วจนครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 แล้ว หลังจากให้บริการมาเพียง 6 เดือน
KeeTa เริ่มให้บริการในฮ่องกง โดยใช้กลยุทธ์เจาะเฉพาะพื้นที่ใน Mong Kok กับ Tai Kok Tsui ก่อน จึงขยายมาให้บริการทุกพื้นที่ จำนวนดาวน์โหลดมีมากกว่า 1.3 ล้านครั้ง และใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ แบบที่ทำสำเร็จในจีน
แพลตฟอร์มส่งอาหารรายใหญ่ในฮ่องกงตอนนี้คือ Foodpanda (ซึ่งเคย มีข่าว ว่าจะซื้อกิจการ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ส่วน Deliveroo ตอนนี้ตกไปอยู่ลำดับที่ 3
Meituan แพลตฟอร์มเดลิเวอรีรายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2023 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 76,467 ล้านหยวน มีกำไรสุทธิ 3,593 ล้านหยวน จำนวนเดลิเวอรีในไตรมาสมี 6,179.4 ล้านครั้ง
บริษัทบอกว่าธุรกิจส่งอาหารยังมีทิศทางเติบโตที่แข็งแกร่ง จำนวนออเดอร์ต่อวันทำสถิติสูงสุดในไตรมาสนี้ที่ 78 ล้านออเดอร์ เป็นผลจากการร่วมมือกับร้านค้าด้านข้อมูลลูกค้า ขณะเดียวก็มีระบบสมาชิกที่ใช้คูปองจูงใจให้สั่งซ้ำและบ่อยขึ้น ส่วนธุรกิจส่งสินค้า Instashopping ยังมีทิศทางที่ดี จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทั้งหัวเมืองหลัก และในพื้นที่ห่างไกล ร้านค้าก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
Bloomberg รายงานว่า Meituan แอปส่งอาหารรายใหญ่ในจีน แสดงความสนใจซื้อกิจการส่วนธุรกิจของ Delivery Hero ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งก็คือแบรนด์ Foodpanda ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า Grab อาจเป็นผู้ซื้อกิจการ ไป
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารของเยอรมนีซึ่งเป็นเจ้าของ Foodpanda เคยประกาศอย่างเป็นทางการก่อนหน้านี้ ว่าบริษัทเตรียมขายธุรกิจในหลายประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ที่มูลค่าประมาณ 1 พันล้านยูโร แต่ไม่ได้ระบุว่าใครจะซื้อกิจการ โดยมีข่าวพร้อมกันตอนนั้นว่าอาจเป็น Grab
Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2022 รายได้รวมลดลง 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1.4 แสนล้านหยวน และมีกำไรสุทธิตามบัญชี IFRS 3.88 หมื่นล้านหยวน
รายได้จากธุรกิจเกมยังคงกระทบรายได้รวม จากการที่ทางการจีนไม่ได้ออกใบอนุญาตเกมใหม่เพิ่มเติม รายได้เกมในจีนลดลง 7% ส่วนเกมในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3% และธุรกิจโฆษณาออนไลน์ รายได้ลดลง 5%
มีรายงานจาก Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Tencent มีแผนขายหุ้นส่วนใหญ่ที่ถืออยู่ใน Meituan แอป O2O รายใหญ่ในจีน โดยปัจจุบัน Tencent ถือหุ้นอยู่ 17% คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดราว 24,000 ล้านดอลลาร์
Tencent เริ่มลงทุนใน Meituan มาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว โดยตอนนั้นเป็นการลงทุนในบริษัท Dianping ที่ต่อมาได้ ควบรวมกิจการกับ Meituan เป็นบริษัท Meituan Dianping และเหลือเรียกสั้น ๆ ว่า Meituan
รายงานบอกว่าเหตุผลที่ Tencent ต้องการขายหุ้น เพื่อลดแรงกดดันการผูกขาดทางธุรกิจ จากหน่วยงานกำกับดูแลของทางการจีน ซึ่งช่วงที่ผ่านมาบริษัทประกาศและขายหุ้นบางส่วนของทั้ง JD.com และ Sea ไปแล้ว
Meituan แพลตฟอร์มเดลิเวอรีรายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนมีนาคม 2022 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 46,268.7 ล้านหยวน และขาดทุนสุทธิ 5,702.6 ล้านหยวน ซึ่งบริษัทบอกว่าการขาดทุนมาจากการลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจเป็นดังนี้ ธุรกิจส่งอาหาร รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.4 หมื่นล้านหยวน มีกำไรเฉพาะส่วน 1.6 พันล้านหยวน, ธุรกิจ In-Store โรงแรม การเดินทาง มีรายได้ 7.6 พันล้านหยวน มีกำไรเฉพาะส่วน 3.5 พันล้านหยวน และกลุ่มธุรกิจใหม่ รายได้เพิ่มเป็น 1.4 หมื่นล้านหยวน แต่ขาดทุน 9.0 พันล้านหยวน
จีนเตรียมร่างนโยบายใหม่สำหรับแพลตฟอร์มฟู้ดดิลิเวอรี่ ซึ่งจะทำให้แพลตฟอร์มจะต้องลดค่าธรรมเนียมที่เก็บกับร้านค้าลง โดยเป้าหมายคือต้องการทำให้ต้นทุนการดำเนินกิจการของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มลดลง แต่ก็ส่งผลลบกับธุรกิจกลุ่มนี้ทันที
ปัจจุบันธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรี่ของจีนมีผู้เล่นรายใหญ่อยู่ 2 แพลตฟอร์ม คือ Meituan ที่ครองส่วนแบ่งตลาด 70% ของฟู้ดดิลิเวอรี่จีน และ Ele.me ที่ถือหุ้นใหญ่โดย Alibaba โดยธุรกิจของ Meituan พึ่งพาคอมมิชชั่นค่อนข้างสูง โดยจากข้อมูลการเงินรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเมื่อกันยายนปีที่แล้ว ค่าคอมมิชชั่นของ Meituan คิดเป็น 60% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ส่วน Ele.me ก็ถือเป็นธุรกิจสำคัญอย่างหนึ่งของ Alibaba แม้จะยังไม่ใช่รายได้หลักก็ตามที
Ele.me และ Meituan Dianping สองแพลตฟอร์มส่งอาหารเดลิเวอรี่รายใหญ่ของจีนเข้าร่วมแคมเปญของรัฐบาลจีนว่าด้วยการหยุดและลดขยะอาหาร โดย Meituan ยื่นข้อเสนอไปยังร้านอาหารให้หยุดสร้างขยะ และปลูกฝังนิสัยการกินใหม่ เช่น ใช้ช่องทางโซเชียลของตัวเองโปรโมท เปิดทางเลือกให้คนสั่งอาหารสั่งอาหารที่พอกิน ปริมาณอาหารน้อยลง
Meituan แอปส่งอาหารรายใหญ่ในจีน เปิดตัวโซลูชันใหม่ในช่วงโรคระบาด คือมอบกล่องกระดาษครอบใบหน้ามาให้ระหว่างกินด้วย ป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์ตกลงไปในอาหาร เพื่อความสบายใจและสุขภาวะที่ดี ดูรูปกล่องได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ตัวกล่องกระดาษกว้างราว 20 นิ้ว สามารถอาหารและวงแขนตอนกินได้ โดยขณะนี้มีผู้ใช้งานที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ได้กล่องมาฟรีเมื่อสั่งอาหารบนแพลตฟอร์ม Meituan และมีเชนรานอาหารในจีน 8 แห่งที่ทดลองใช้ก่องกระดาษนี้ เช่น Yoshinoya และ Yonghe King เป็นต้น Meituan ยังให้กล่องครอบนี้ฟรีแก่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลในเมืองอู่ฮั่นด้วย
Meituan แอปให้บริการจัดส่งอาหารรายใหญ่ของจีน ประกาศเพิ่มตัวเลือกใหม่ของการส่งอาหาร โดยที่ผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเจอกัน เนื่องจากปัญหาความกังวลจากเหตุไวรัสโคโรน่าระบาดในจีน เพื่อให้ทั้งผู้สั่งอาหาร และผู้ส่งสบายใจกันมากขึ้นทั้งสองฝ่าย
โดยแอปได้เพิ่มตัวเลือกให้สามารถกำหนดจุดรับ-ส่งอาหาร ซึ่งเบื้องต้น Meituan ใช้วิธีติดตั้งตู้จัดส่งอาหารเน้นบริเวณรอบโรงพยาบาลก่อน บริการดังกล่าวจะเริ่มที่เมืองอู่ฮั่นเป็นเมืองแรก
ที่มา: Abacus News
Meituan (เหม่ยถวน) ผู้ให้บริการส่งอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีน กำลังทดสอบการใช้หุ่นยนต์สำหรับส่งอาหารภายในอาคาร โดยมีเป้าลดค่าใช้จ่ายรวมถึงแก้ไขการขาดแคลนแรงงานในอนาคต
ขณะนี้หุ่นยนต์ส่งอาหารในอาคารกำลังถูกทดสอบให้บริการแก่สำนักงานและโรงแรม 10 แห่งในเมืองปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ มันสามารถขึ้นลิฟต์ไปหาผู้รับที่ชั้นอื่นได้เองด้วย
นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์สำหรับส่งนอกอาคารที่สามารถค้นหาเส้นทางที่เร็วที่สุดรวมถึงหลบสิ่งกีดขวางได้เอง
Meituan ระบุว่าการใช้คนส่งของจะเสียเวลาหาผู้รับ หรือรอให้ผู้รับมาเอาอาหารราว 5-10 นาที แต่หากใช้หุ่นยนต์จะลดเวลาตรงนี้ได้ 5-7 นาทีต่อออเดอร์ และหากหุ่นยนต์เหล่านี้ใช้งานได้อย่างน้อย 3 ปี ก็จะถือว่าคุ้มค่าแล้ว
ใครที่ติดตามข่าวบริษัทเทคโนโลยีจีนมาตลอด น่าจะคุ้นกับตัวย่อ BAT ที่ใช้เรียกแทน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ Baidu, Alibaba และ Tencent แต่ดูเหมือนตัวย่อนี้กำลังถูกท้าทายจาก Meituan Dianping แพลตฟอร์มบริการออนไลน์ทูออฟไลน์ (O2O) รายใหญ่ ซึ่งมีธุรกิจเด่นคือการส่งอาหาร
เนื่องจาก Meituan Dianping ได้ เข้าตลาดหุ้นฮ่องกง เมื่อปลายปีที่แล้ว และล่าสุดมูลค่ากิจการตามราคาหุ้นของ Meituan Dianping อยู่ที่ 47,000 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้มีความสำคัญเนื่องจากมูลค่ากิจการล่าสุดของ Baidu นั้นอยู่ราว 41,000 ล้านดอลลาร์ เท่ากับว่า Meituan Dianping มีมูลค่าสูงกว่า Baidu ไปแล้ว
- Read more about มูลค่ากิจการของ Meituan Dianping แซง Baidu แล้ว
- Log in or register to post comments
Meituan บริษัทแม่ของ Mobike ได้ยืนยันว่าตอนนี้ทางบริษัทกำลังปรับโครงสร้างของบริการแชร์จักรยาน Mobike อยู่ โดยแผนการของ Meituan นี้จะทำให้ Mobike ต้องปิดให้บริการในหลายประเทศ เพื่อกลับมาโฟกัสกับตลาดจีนให้มากขึ้น
Chen Shaohui หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Meituan ระบุว่า ตอนนี้ธุรกิจระหว่างประเทศของ Mobike กำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง ซึ่งอาจทำให้ Mobike ต้องปิดกิจการในหลาย ๆ ประเทศ
Meituan Dianping แพลตฟอร์ม O2O รายใหญ่ของจีน ที่เพิ่ง ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นไปเมื่อเดือนกันยายน รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 รายได้รวมโต 97.2% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 19,076 ล้านหยวน และขาดทุนสุทธิ 2,464 ล้านหยวน
ซีอีโอ Wang Xing กล่าวในช่วงแถลงผลประกอบการว่าจากนี้เขาจะโฟกัสที่พื้นฐานของธุรกิจมากขึ้น และปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมมากขึ้น ทั้งยืนยันว่าบริษัทยังมีโอกาสใหม่ทางธุรกิจอีกมากให้ได้เติบโตมากขึ้น
คู่แข่งสำคัญของ Meituan Dianping ก็คือกลุ่ม Alibaba ที่มีธุรกิจบริการส่งอาหาร Ele.me และไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์ม Koubei ทำให้นักลงทุนกังวลว่าทั้งสองรายใหญ่นี้จะมีการใช้เงินการตลาดให้ส่วนลดเพื่อแย่งลูกค้าแข่งกัน
Meituan Dianping บริการด้านส่งอาหารและแพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ของจีน ได้นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงเรียบร้อยแล้ว หลังจาก ยื่นเอกสารไฟลิ่ง ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ราคาหุ้นวันแรกปรับตัวขึ้นจากไอพีโอ 5.29% ทำให้มูลค่ากิจการสูงถึง 5.09 หมื่นล้านดอลลาร์
ตัวเลขนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำให้ Meituan Dianping มีมูลค่ากิจการตามราคาหุ้น สูงกว่าบริษัทเทคโนโลยีจีนอย่าง Xiaomi และ JD.com รวมทั้งทำให้ Meituan Dianping เป็นบริษัทเทคโนโลยีมูลค่ากิจการสูงเป็นอันดับที่ 4 ของจีนรองจาก 3 บริษัท BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent) อย่างไรก็ตาม Meituan Dianping ก็มี Tencent เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักอยู่แล้ว
Mobike บริการแชร์จักรยานที่ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ Meituan-Dianping ผู้ให้บริการ Online-to-Offline รายใหญ่ในจีน ประกาศเปลี่ยนแปลงการให้บริการหลายอย่าง ซึ่งน่าจะส่งผลให้การแข่งขันในแอปแชร์จักรยานมีเพิ่มมากขึ้น
โดยอย่างแรกคือการประกาศยกเลิกการมัดจำและคืนเงิน มีผลกับผู้ใช้ในจีนทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกไปแล้วในสิงคโปร์ ที่ผ่านมาแอปแชร์จักรยานจะบังคับให้เติมเงินมัดจำเพื่อป้องกันปัญหาจักรยานเสียหาย การประกาศยกเลิกนี้น่าจะทำให้มีผู้ใช้หน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น
หัวข้อถัดมาคือการเพิ่มจักรยานไฟฟ้าในการให้บริการ ซึ่งสามารถปั่นได้ระยะทางถึง 70 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และปั่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มให้บริการแล้วในจีนและบางประเทศ
Meituan Dianping แพลตฟอร์ม O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ของจีน ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงแล้ว โดยวางแผนระดมทุนเพิ่ม 4,000 ล้านดอลลาร์ และจะมีมูลค่ากิจการหลังไอพีโอราว 60,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นเดือนตุลาคม
ในไฟลิ่งระบุว่ารายได้ของ Meituan Dianping ในปี 2017 อยู่ที่ 33,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ซึ่งอยู่ที่ 12,990 ล้านหยวน แต่สุทธิแล้วขาดทุน 2,850 ล้านหยวน โดยรายการนี้ไม่ได้รวมค่าปรับมูลค่าของหุ้นเข้ามา ส่วนจำนวนผู้ใช้งานมี 310 ล้านคน และมีร้านค้า-บริการในระบบ 4.4 ล้านราย
มีรายงานว่า Meituan Dianping สตาร์ทอัพที่เน้นให้บริการแบบ O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ในจีน เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง เร็วที่สุดในเดือนกันยายนปีนี้ ซึ่งประเมินว่าบริษัทจะมีมูลค่าหลังไอพีโอราว 60,000 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่ากิจการปัจจุบันที่อยู่ราว 30,000 ล้านดอลลาร์ หลังการเพิ่มทุนครั้งล่าสุดในปีที่แล้ว
Meituan Dianping มาเป็นข่าวครั้งล่าสุดหลายเดือนก่อน หลังเข้า ซื้อกิจการทั้งหมดของแอปแชร์จักรยาน Mobike ด้วยมูลค่าถึง 2,700 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาเติมเต็มบริการ O2O ทั้งหมดในเครือ