มีรายงานว่า Ofo หนึ่งในสตาร์ทอัพแชร์จักรยานดาวรุ่งของจีน ที่ประสบปัญหาการเงิน ถูก ลูกค้าเรียกร้อง ขอเงินมัดจำคืน แต่บริษัทพยายามให้ ข้อเสนอ เปลี่ยนเป็นซื้อสินค้าแทน ล่าสุดแอปของ Ofo จะปรับโฉมใหม่ท้งหมด
โดยในแอปเวอร์ชัน 4.0 นั้น Ofo เน้นไปที่อีคอมเมิร์ซ ระบุว่าเป็นแอปแชร์จักรยาน ที่ทุกการใช้จ่ายสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสำหรับซื้อสินค้าได้ ผ่านแพลตฟอร์มทั้ง JD.com, Tmall, Taobao และ Ele.me จึงดูเหมือนบริษัทมาเน้นที่อีคอมเมิร์ซมากขึ้นนั่นเอง
บริการแชร์จักรยานในประเทศจีนไม่รุ่งเรืองเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ในเมืองปักกิ่งเฉพาะครึ่งปีแรกปีนี้ มีการนำจักรยานที่ไม่ได้ใช้ออกจากเมืองไปถึงราว 4 แสนคัน ข้อมูลจากคณะกรรมการขนส่งปักกิ่งระบุว่าในบรรดาจักรยานที่แชร์กันทั้งหมด มีการใช้งานเพียง 30%
ปัญหาของบริการแชร์จักรยานในจีนคือ มีเยอะเกินความต้องการ และจอดไม่เป็นที่เป็นทาง จากตอนแรกช่วงปี 2016-2017 ที่มีผู้ให้บริการไม่กี่เจ้าคือ Mobike, Ofo ตอนนี้มีจักรยานจากบริษัทราว 16 เจ้า ปริมาณจักรยานพุ่งสูงถึง 2.35 ล้านคัน
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานชื่อดังจากจีน ที่เคยมีมูลค่ากิจการถึง 2 พันล้านดอลลาร์ แต่เริ่มเกิดปัญหาเมื่อซัพพลายเออร์ผู้ผลิตจักรยานทยอยฟ้องร้อง เนื่องจากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ล่าสุดข้อมูลพบว่าสถานการณ์ Ofo น่าจะลำบากขึ้นอีก
โดยบริษัท Tianjin Fuji-Ta Bicycle ผู้ผลิตจักรยานได้ฟ้องต่อศาล เพื่อให้ Ofo ชำระหนี้ 36 ล้านดอลลาร์ สิ่งที่น่าสนใจคือรายงานในศาล เปิดเผยว่า Ofo นั้นอยู่ในสถานะบริษัทที่ไม่มีสินทรัพย์ใด ๆ สำหรับการจ่ายหนี้เลย บัญชีธนาคารส่วนใหญ่ถูกอายัดไว้ ที่ไม่ถูกอายัดก็แทบไม่มีเงินในบัญชี แถมบริษัทยังไม่มีสินทรัพย์ถาวร อาทิ อาคาร รถยนต์ หรือเงินลงทุนในบริษัทอื่นด้วย
Ofo สตาร์ทอัพจักรยานของจีน ที่ทยอยปิดสาขาในหลายประเทศ และถูกผู้ใช้งานในจีนประท้วงเนื่องจากไม่ได้รับเงินมัดจำ (99 หยวน) คืนเมื่อยื่นคำร้องไป ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถคืนเงินให้ลูกค้าได้ครบทุกคน แต่ Ofo ก็ได้หาทางแก้ไขเรื่องนี้ได้น่าสนใจ
โดย Ofo ได้แจ้งผู้ใช้งานที่ยังมีเงินมัดจำคงค้างอยู่ ว่าสามารถแปลงเงินมัดจำนั้นมาเป็น เหรียญทองภายในแอปได้ แล้วนำเหรียญทองนี้ไปใช้ซื้อสินค้าใน Ofo Store ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ภายในแอป โดยมีสินค้าให้เลือก 48 รายการ อาทิ คุกกี้, น้ำผึ้ง, ไวน์ และเครื่องสำอาง
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ที่ ปิดสาขาในต่างประเทศ ไปหลายแห่ง รวมทั้งไทย และมีข่าวว่า ค้างจ่ายเงิน ผู้ผลิตจักรยาน กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากขึ้นไปอีก โดยมีลูกค้าหลายร้อยคนไปรวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานใหญ่ในปักกิ่ง เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ได้ทำเรื่องขอคืนเงินมัดจำในระบบ (99 หยวน) แต่พอครบกำหนด 15 วัน ตามที่ในแอประบุไว้ กลับไม่ได้รับเงินคืน
หน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางของสิงคโปร์ ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการแชร์รถจักรยานหลายราย รวมทั้ง ofo, Mobike และ SG Bike ซึ่งสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบและถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะให้บริการได้ตามกฎหมาย แต่เงื่อนไขของสิงคโปร์ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกมาร้องเรียน โดย ofo และ Mobike ถูกกำหนดให้มีจักรยานบริการภายในสิงคโปร์ รายละไม่เกิน 25,000 คันเท่านั้น โดย ofo บอกว่า ได้ยื่นคำร้องขอไป 8 หมื่นคัน เนื่องจากคำนวณจากความต้องการจริงที่มีอยู่ บริษัทจึงรู้สึกผิดหวัง และกังวลว่าจะไม่สามารถให้บริการได้ดีและทั่วถึงพอ
สถานการณ์ของสตาร์ทอัพแชร์จักรยาน Ofo ดูยากลำบากขึ้นไปอีก หลังจากทยอย ปิดสาขาในต่างประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย ล่าสุดมีรายงาน Ofo ถูกผู้ผลิตจักรยานฟ้องร้อง เนื่องจากค้างจ่ายเงิน
โดยบริษัทผู้ผลิตจักรยาน Shanghai Phoenix Bicycles ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย Ofo เป็นจำนวนเงินราว 10 ล้านดอลลาร์ อธิบายว่า Ofo ได้เซ็นสัญญาให้ผลิตจักรยานจำนวน 5 ล้านคัน โดยจะทยอยซื้อตลอดปี ตั้งแต่พฤษภาคม 2017 ซึ่งตลอดปีที่แล้ว Ofo ซื้อจักรยานไปรวม 2 ล้านคัน แต่พอขึ้นปี 2018 ถึงตอนนี้ Ofo ซื้อจักรยานเพิ่มไปเพียง 1 แสนคันเท่านั้น จึงผิดข้อตกลงและทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ
หลังจากที่ Ofo ผู้ให้บริการแชร์จักรยานรายใหญ่จากจีนทยอยปิดสาขาในต่างประเทศ ตอนนี้มีรายงานว่า Ofo ตัดสินใจยุติการให้บริการแชร์จักรยานทั้งหมดในประเทศไทยแล้วเช่นกัน
ข้อมูลดังกล่าวมาจากเพจ "เสียงประชาชน คนภูเก็ต" โดยแสดงภาพถ่ายจดหมายฉบับหนึ่งที่ Ofo ส่งถึง บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเอารถจักรยานของ Ofo ไปให้บริการในลักษณะจักรยานสาธารณะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื้อความในจดหมายนั้นระบุว่าทางสำนักงานใหญ่ของ Ofo ที่ประเทศจีนได้มีมติให้ยุติการให้บริการในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทาง Ofo จะทยอยขนย้ายจักรยานออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน มีข่าวตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาของการปิดสำนักงาน หรือลดขนาดองค์กรในหลายประเทศ ซึ่งอาจสะท้อนว่าการขยายสู่ตลาดต่างประเทศของแอปจักรยานจีนรายนี้ เริ่มไม่ง่ายนัก
โดย Ofo ได้ประกาศถอนตลาดจากประเทศเยอรมนี ส่วนในสหรัฐอเมริกา ก็ได้ประกาศปลดพนักงานไปราว 70% พร้อมหยุดดำเนินงานในหลายเมือง และล่าสุดคือสเปน
Ofo บอกว่าจากนี้บริษัทจะโฟกัสเฉพาะตลาดที่สำคัญ โดยเหลือแค่เมืองหลวงของประเทศหลักในยุโรป อาทิ ปารีส, ลอนดอน และมิลาน สิ่งที่ท้าทายการขยายกิจการของ Ofo คือหลายเมืองได้เริ่มออกข้อกำหนดเพื่อไม่ให้จำนวนจักรยานมีมากจนเกินไป และมีการจอดไม่เป็นระเบียบตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนในอเมริกาก็ต้องแข่งขันแอปแชร์สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าอีกด้วย
มีรายงานว่า Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน เริ่มทำการขายโฆษณาทั้งบนตัวจักรยาน และโฆษณาผ่านในแอพแล้ว เพื่อเพิ่มรายได้และเพิ่มเงินสดในมือ โดยในเอกสาร (ภาษาจีน) มีการแสดงรายละเอียดรูปแบบโฆษณา ที่ติดอยู่รอบตัวจักรยาน แม้แต่บนล้อก็มี
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Ofo เริ่มชะลอการสั่งผลิตจักรยานเมื่อเทียบกับปริมาณที่สั่งในปี 2017 ซึ่งสะท้อนปัญหาเงินสดในมือของ Ofo นอกจากนี้ Alibaba ที่เป็นผู้ลงทุนใน Ofo ก็กำหนดเงื่อนไขมากขึ้นหาก Ofo ต้องการเงินกู้เพิ่มเติม
เมื่อเดือนที่แล้วคู่แข่งสำคัญของ Ofo อย่าง Mobike ได้ตัดสินใจ ขายหุ้นทั้งหมดให้ Meituan-Dianping ทำให้บริษัทจบปัญหาการแข่งขันที่ต้องใช้เงินทำการตลาดมากจนแทบไม่มีกำไรไปได้
- Read more about Ofo กับช่องทางใหม่เพิ่มรายได้ - ขายโฆษณาบนจักรยาน
- Log in or register to post comments
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ประกาศรับเงินทุนเพิ่มอีก 866 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 27,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Alibaba ซึ่งเงินทุนรอบนี้มีทั้งส่วนที่เป็นหุ้นและส่วนที่เป็นเงินกู้ยืม ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นได้แก่ Ant Financial (ซึ่งก็เป็นเครือ Alibaba), Haofeng Group, Tianhe Capital และ Junli Capital
ผลจากเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้ Alibaba กลายเป็นผู้ถือหุ้น Ofo รายใหญ่ที่สุด แทนที่ Didi Chuxing ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Didi Chuxing เองก็ได้ไปซื้อกิจการเบอร์ 3 อย่าง Bluegogo
ข้อมูลจากรายงานจักรยานที่ใช้ร่วมกันและการพัฒนาเมือง 2017 จัดทำโดยสถาบันนวัตกรรมการวางผังเมือง หรือ Beijing Tsinghua Tongheng Innovation Institute ของประเทศจีน เผยตัวเลขว่า ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 2 ปีก่อนที่บริการแชร์จักรยานในจีนจะเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การเดินทางด้วยจักรยานคิดเป็นแค่ 5.5% ของการขนส่งทั้งหมดในจีน แต่ปัจจุบันสัดส่วนการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เป็น 11.6%
ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิแห่งรัฐของจีนระบุว่า ขณะนี้มีรถจักรยานแชร์จอดและใช้งานบนท้องถนน 16 ล้านคัน แต่ละคันมีคนใช้งานเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน รายงานจากคณะกรรมาธิการการขนส่งของเมืองเซินเจิ้นก็บอกว่าจักรยานในตัวเมืองมีจักรยานแบบแชร์กันประมาณ 500,000 คัน แทนที่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวถึง 10%
Didi Chuxing สตาร์ทอัพแอพเรียกรถแท็กซี่ ที่ตอนนี้มีมูลค่ากิจการ สูงที่สุดในโลก มากกว่า Uber ประกาศเตรียมเข้าสู่ธุรกิจแชร์รถจักรยาน ซึ่งกำลังเติบโตและได้รับความนิยมสูงมากในจีน โดยจะเชื่อมต่อบริการเข้ากับในแอพ Didi เลย
ในเบื้องต้นบริการแชร์จักรยานนี้จะใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับ Ofo, Bluegogo และผู้ให้บริการรายอื่น ตลอดจนแบรนด์แชร์จักรยานของ Didi เองที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้
ปัจจุบันแอพจักรยาน Ofo มีทั้ง Didi และ Alibaba เป็นผู้ลงทุน ขณะที่ Didi Chuxing เองก็มีทั้ง Alibaba และ Tencent เป็นผู้ลงทุนอยู่