Tags:
Node Thumbnail

Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC

  • เมนเฟรมFujitsu จะออกเมนเฟรมซีรีส์ GS21 รุ่นสุดท้ายในปี 2024, หยุดขายในปี 2030, หยุดซัพพอร์ตในปี 2035
  • เซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์Fujitsu จะออกเซิร์ฟเวอร์ SPARC M12 รุ่นปรับปรุงเพิ่มเติมในช่วงปลายปี 2022, หยุดขายในปี 2029, หยุดซัพพอร์ตในปี 2034

Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ

Tags:
Node Thumbnail

Oracle ออก Java 14 ตามรอบการออกรุ่นใหญ่ทุก 6 เดือน ฟีเจอร์ใหม่ในรุ่นนี้เน้นที่เรื่องหน่วยความจำและ garbage collector (GC) หลายอย่าง เช่น การรองรับ NUMA-aware memory allocation บน G1 ที่เป็น GC ดีฟอลต์ในปัจจุบัน และการพอร์ต ZGC ซึ่งเป็น GC ตัวใหม่มายังวินโดวส์และแมค

ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือ records เป็นฟีเจอร์ใหม่ของตัวภาษา Java ที่ให้เขียนซินแทกซ์ประกาศคลาสได้กระชับและปลอดภัยขึ้น ( รายละเอียด ), switch expression ที่เคยทดสอบใน Java 12/13 กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานแล้ว

นอกจากนี้ยังเริ่มประกาศให้ Java บน Solaris/SPARC มีสถานะล้าสมัย (deprecated) เพื่อเตรียมถอดออกในอนาคต

Tags:
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่ผ่านมา ออราเคิลเปิดตัวซีพียู SPARC M8 ซึ่งเป็นรุ่นต่อของ SPARC M7 ที่ออกในปี 2015

ออราเคิลคุยว่า SPARC M8 มีประสิทธิภาพดีว่า SPARC M7 ถึง 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านการประมวลผล Java และการเข้ารหัสดีกว่าซีพียูสถาปัตยกรรม x86 (ไม่ระบุว่ารุ่นไหน) 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านฐานข้อมูลดีกว่า x86 ถึง 7 เท่า

ฟีเจอร์อีกอย่างของ SPARC M8 ที่ต่อเนื่องมาจาก M7 คือ Software in Silicon v2หรือการป้องกันมัลแวร์ในหน่วยความจำ และ Data Analytics Accelerator (DAX)ที่ช่วยเร่งความเร็วในงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

Tags:
Node Thumbnail

ซีพียูตระกูล SPARC เป็นสินค้าที่ออราเคิลได้มาจากการเข้าซื้อซัน สองปีหลังเปิดตัว รุ่น M6 ตอนนี้ทางออราเคิลก็เปิดตัว SPARC M7 พร้อมให้สั่งได้แล้ว

ออราเคิลชูชุดเด่นเรื่องความปลอดภัยของ SPARC M7 โดยเพิ่มฟีเจอร์สองชุดได้แก่ Silicon Secure Memory ป้องกันการเข้าถึงหน่วยความจำในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาต และ Hardware-Assisted Encryption ชุดคำสั่งเร่งความเร็วในการเข้ารหัส 15 อัลกอริธึมหลัก ได้แก่ AES, Camellia, CRC32c, DES, 3DES, DH, DSA, ECC, MD5, RSA, SHA-1, SHA-224, SHA-256, SHA-384, SHA-512

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ซีพียูตระกูล SPARC มีข่าวน้อยลงเรื่อยๆ หลังออราเคิลซื้อซันไป ตอนนี้ทางโครงการเดเบียนก็ออกมาประกาศถอด SPARC ออกจากโค้ดของโครงการ ทั้ง unstable, experimental, jesse-updates, และโค้ดภายในอื่นๆ

ก่อนหน้านี้เดเบียนรองรับสถาปัตยกรรม SPARC 64 บิตเฉพาะเคอร์เนลเท่านั้นแต่แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะรันที่ 32 บิต

ดิสโทรอื่นๆ หยุดซัพพอร์ต SPARC กันไปเป็นก่อนหน้าเดเบียนเป็นเวลานาน Red Hat หยุดออกรุ่น SPARC ตั้งแต่ปี 2000, SUSE ออกรุ่นสุดท้ายปี 2002, และ Ubuntu ออกรุ่นสุดท้ายปี 2010

ที่มา - The Register

Tags:
Node Thumbnail

ออราเคิลออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับซีพียู SPARC M7 รุ่นล่าสุด ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก SPARC M6 ที่เปิดตัวเมื่อปีกลาย

ซีพียู SPARC M7 หนึ่งจะประกอบด้วยคอร์ S4 จำนวน 32 คอร์ โดยหนึ่งคอร์มีได้สูงสุด 8 เธร็ด, ซีพียูหนึ่งตัวรองรับแรมได้สูงสุด 2TB และเซิร์ฟเวอร์หนึ่งระบบใส่ได้สูงสุด 32 ซีพียู

ฟีเจอร์อื่นๆ ของ SPARC M7 คือ

Tags:
Node Thumbnail

ออราเคิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ ชิป SPARC M6 ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยเปิดตัวมาพร้อมกันสองรุ่นได้แก่ SPARC M6-32 และ SuperCluster M6-32

SPARC M6-32 รองรับซีพียูสูงสุด 32 ซ็อกเก็ต โดยชิปแต่ละตัวมี 12 คอร์ รวม 384 คอร์ รองรับหน่วยความจำสูงสุด 32TB ใช้ Oracle Solaris สำหรับ SuperCluster M6-32 คือ SPARC M6-32 ที่ขายคู่กับเซิร์ฟเวอร์สตอเรจ Exadata

ออราเคิลระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งสองตัวออกแบบมาสำหรับการประมวลผลฐานข้อมูลในหน่วยความจำโดยเฉพาะ และหากใช้ Oracle VM Server for SPARC ก็จะสามารถแบ่งเครื่องออกมาได้ถึง 128 เครื่องต่อโดเมน

ที่มา - Oracle

Tags:
Node Thumbnail

ออราเคิลเปิดตัวชิป SPARC M6 รุ่นล่าสุดที่งาน Hot Chip โดยมีฟีเจอร์สำคัญที่สุดคือการขยายจำนวนซ็อกเก็ตต่อเครื่องได้ถึง 96 ซ็อกเก็ต รวมจำนวนคอร์ถึง 1,152 คอร์ และ 9,216 เธรดในเครื่องเดียว

ชิป M6 นั้นมาพร้อมกับส่วนเชื่อมต่อสองฝั่ง ได้แก่ Scalability Links จำนวน 6 ชุด เอาไว้เชื่อมต่อกับซีพียูในโดเมนเดียวกัน ทำให้ซีพียูแต่ละกลุ่มสามารถจัดเป็นชุดได้ชุดละ 8 ตัว ขณะเดียวกันก็มีช่องทาง Coherence Links ไว้เชื่อมต่อกับซีพียูนอกกลุ่มผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เรียกว่า Bixby มันสามารถส่งข้อมูลหลายทอด (multiple hops) เพื่อเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำที่อยู่บนซ็อกเก็ตอื่นๆ ได้ ทำให้สามารถขยายจำนวนซ๊อกเก็ตไปได้สูงสุด 96 ซ๊อกเก็ต

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ออราเคิลอัพเดตซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล SPARC T5 โดยเพิ่มคอร์ภายในเป็น 16 คอร์ต่อซ็อกเก็ต พร้อมกับตัวควบคุมหน่วยความจำ 4 ชุดบนตัวซีพียู ทำให้ทำความเร็วการส่งข้อมูลกับหน่วยความจำเป็นสองเท่าตัว ส่วนตัวบอร์ดจะสามารถรองรับซีพียูได้ 8 ซ็อกเก็ต ทำให้ได้ 128 คอร์ต่อบอร์ด

ชุดคำสั่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน SPARC T5 เน้นเรื่องของการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น เป็นแนวทางเดียวกับอินเทลที่ช่วงหลังเพิ่มชุดคำสั่ง AES-NI เข้ามา ทางฝั่งของ SPARC นั้นเพิ่มชุดคำสั่งทั้งการเข้ารหัสแบบ AES, และ DES รวมไปถึงกระบวนการอื่นๆ เช่น SHA, MD5, ECC, และ RSA ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้การเข้ารหัสรูปแบบต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

บริษัทฟูจิตสึเคยมีส่วนร่วมในการพัฒนา K Computer ซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกระบบล่าสุด จัดอันดับโดย TOP500 ( ข่าวเก่า

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สมัยที่ซีพียู SPARC อยู่ในการบริหารของซันนั้นการวางตลาดชิปรุ่นใหม่ทำได้ช้า และต้องเลื่อนซ้ำไปมา แต่ภายใต้การบริหารของออราเคิลหลังจากเพิ่มเปิดตัว SPARC T3 ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ออราเคิลก็เริ่มเปิดสเปคของ SPARC T4 แล้ว

SPARC นั้นช่วงหลังถูกออกแบบให้เป็นชิปที่รับเธรด (thread) ได้จำนวนมาก เช่นใน T3 นั้นสามารถรองรับเธรดได้ถึง 16 เธรดต่อคอร์ (ซีพียู x86 มักรับได้แค่ 2 เธรด) และจำนวนคอร์ต่อชิปก็มากถึง 8 คอร์ทำให้รองรับเธรดได้ 128 เธรด แต่ใน T4 ออราเคิลเริ่มกลับลำด้วยการลดจำนวนเธรดลงเหลือ 8 เธรดต่อคอร์โดยยังมีจำนวนคอร์สูงสุด 8 คอร์เช่นเดิม

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Earth Simulator ของญี่ปุ่นครองแชมป์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกได้ในช่วงปี 2002-2004 ญี่ปุ่นก็ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกอีกเลย จนกระทั่งเดือนนี้ การจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ก็ได้แชมป์ใหม่จากญี่ปุ่นอีกครั้ง

คอมพิวเตอร์ตัวใหม่นี้ชื่อว่า K Computer เป็นผลงานของบริษัทฟูจิตสึ ร่วมกับศูนย์วิจัย Advanced Institute for Computational Science แห่งสถาบันวิจัยด้านเคมีและฟิสิกส์ RIKEN ที่เมืองโกเบ

No Description

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ขณะที่ SAPRC T3 นั้นถูกโฆษณาว่าเป็นซีพียูตัวแรกในโลกที่ใส่มาถึง 16 คอร์ในชิปเดียว แต่สำหรับ T4 นั้นชิปจะมีเพียง 8 คอร์เท่านั้น เพื่อใช้พื้นที่ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้แต่ละคอร์แทนการกระจายงานออกไปมากๆ

แม้ชิปที่มีจำนวนคอร์มากๆ จะทำงานได้ดีเมื่อต้องให้บริการงานเล็กๆ จำนวนมากๆ แต่กับงานฐานข้อมูลหนักๆ เช่นออราเคิลนั้นความเร็วต่อคอร์สำคัญกว่ามาก และ SPARC อยู่ในมือออราเคิลก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะออกแบบชิปให้ตอบรับกับซอฟต์แวร์หลักของบริษัทมากยิ่งขึ้น

ออราเคิลระบุว่า T4 ตัวต้นแบบนั้นทำงานจริงในห้องวิจัยแล้ว และจะวางตลาดในปีหน้า ส่วนแผนต่อๆ ไปนั้นคือการขยายเมนบอร์ดให้รองรับซีพียูได้มากขึ้น จาก 4 ซ็อกเก็ตในวันนี้กลายเป็น 8 ซ็อกเก็ตในปี 2013 และ 64 ซ็อกเก็ตในปี 2014

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจาก การเข้าซื้อกิจการครั้งประวัติศาสตร์ เสร็จสิ้นลงด้วยดี ออราเคิลก็เดินหน้าเต็มที่ทันที โดยเริ่มจากสร้างความเชื่อมั่นให้กับฐานลูกค้าของซันเดิม

ออราเคิลซื้อพื้นที่โฆษณาใน Wall Street Journal ฉบับที่ขายในยุโรป มีข้อความว่าออราเคิลจะลงทุนใน SPARC และ Solaris มากกว่าที่ซันเคยจ่าย เพิ่มฝ่ายขาย ปรับปรุงประสิทธิภาพ จบท้ายด้วยข้อความจาก Larry Ellision ซีอีโอของออราเคิลว่า "ไอบีเอ็ม เราจะเข้าสู่ตลาดฮาร์ดแวร์แล้วนะ เตรียมตัวดีๆ"

โฆษณาชิ้นนี้สามารถหาดูได้จาก เว็บของออราเคิล เช่นกัน (ภาพอยู่ด้านใน) น่าเสียดายไม่ตอบคำถามที่ทุกคนอยากรู้คือเรื่อง MySQL แฮะ

ที่มา - TechCrunch

Tags:
Node Thumbnail

บริษัทฟูจิสึได้เปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงถึง 10 เพตาฟลอป ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในต้นปี พ.ศ. 2554 และจะถูกใช้งานโดยศูนย์วิจัย RIKEN ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ติดตั้งโปรเซสเซอร์ SPARC64 VIIIfx (ใช้โค้ดเนมว่า " วีนัส ") ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบ 8 คอร์ มาพร้อมกับความเร็วสัญญาณนาฬิกา 2 กิกะเฮิร์ต และมีพลังประมวลผล 128 กิกะฟลอป

Tags:
Topics: 

นอกจากซีพียูสี่ตระกูลที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยคือ x86, ARM, Power, และ MIPS แล้ว ซีพียูอีกหนึ่งตระกูลที่เคยยิ่งใหญ่อย่างมากคือ Sparc ที่ดูแลโดยซันนั้นก็ยังมีการใช้งานในเซิร์ฟเวอร์อยู่พอสมควร แต่ Sparc รุ่นต่อไปคือ UltraSaprc-RK หรือชื่อเล่นว่า Rock นั้นก็มีข่าวลือว่าถูกยกเลิกการพัฒนาไปแล้ว

ชิป Rock นั้นเป็นชิปที่ถูกเตรียมไว้เพื่อมาแทนที่ชิป Niagara แต่การพัฒนานั้นใช้เวลามาแล้วห้าปี

จนถึงตอนนี้ยังไม่มีความเห็นอย่างเป็นทางการจากทางซัน โดยชิป Sparc นั้นมีผู้ผลิตอีกหนึ่งรายคือฟูจิตสึ คาดว่าทางซันอาจจะย้ายความสนใจไปยังชิป x86 ในตระกูล Nehalem แทน ส่วน Sparc นั้นอาจจะอยู่ในสถานะที่ยกให้ฟูจึตสึดูแลตลาดไปอย่างโดดเดี่ยว

Tags:
Topics: 

ข่าววงในรายงานว่า Sun Microsystems สั่งยกเลิกโครงการพัฒนาซีพียูในตระกูล SPARC รหัส "Rock" หลังจากทำมา 5 ปี

"Rock" เป็นโครงการที่ซันหวังจะใช้พลิกฟื้นสถานการณ์ของบริษัทในตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ หลังจากโดน Xeon ของอินเทลและ POWER ของไอบีเอ็มตีตลาดอย่างหนัก Jonathan Schwartz ซีอีโอของซันเคยเขียนลงบล็อกเมื่อปี 2007 ว่าเขาได้รับ Rock รุ่นต้นแบบแล้ว แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีการพูดถึง Rock อีกเลย (ดู บล็อกพร้อมภาพของ Rock )

ซันวางแผนจะขาย Rock เมื่อปีที่แล้ว (2008) แต่ต้องเลื่อนด้วยเหตุผลทางเทคนิคหลายอย่าง ซันไม่สามารถเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ได้จริงมา 10 ปีแล้ว และปัจจุบันต้องใช้ชิปจาก Fujitsu ไปพลางๆ