ตำนานการพัฒนาชุดคำสั่งแบบ 64 บิตของซีพียูตระกูล x86 นั้น เราเข้าใจกันว่าอินเทลเลือกแทงข้างสถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 ในซีพียู Itanium ซึ่งพ่ายแพ้ให้กับ AMD64 ที่เป็นส่วนต่อขยายของชุดคำสั่ง 32 บิตดั้งเดิม จนภายหลังอินเทลต้องซื้อไลเซนส์ AMD64 มาใช้งานภายใต้ชื่อ x86-64 แทน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเล่าขานนี้อาจต้องเขียนใหม่ เพราะ Bob Colwell อดีตหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทลในยุค Pentium 4 ไปตอบกระทู้ใน Quora เปิดเผยว่า Pentium 4 มีชุดคำสั่ง x86-64 ของตัวเอง แต่ถูกปิดการทำงานเอาไว้ เพราะฝ่ายบริหารของอินเทล (ยุคนั้น) ต้องการผลักดัน Itanium มากกว่า
อินเทลหยุดขายซีพียู Itanium สถาปัตยกรรม IA-64 ไปตั้งแต่ปี 2021 และในทางปฏิบัติก็แทบไม่มีคนใช้แล้ว ฝั่งของชุมชนนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์จึงเริ่มหารือกันว่าจะถอดสถาปัตยกรรม IA-64 ออกเช่นกัน
Itanium เป็นโครงการร่วมระหว่างอินเทลกับ HP ในทศวรรษ 90s ที่ต้องการสร้างสถาปัตยกรรมซีพียู 64 บิตขึ้นมาใหม่ สินค้าจริงเริ่มวางขายปี 2001 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถใช้กับโค้ด x86-32 เก่าได้เลย ทำให้ภายหลังอินเทลต้องยอมกลืนเลือด หันไปใช้ x86-64 (หรือชื่อเดิม AMD64) ที่ออกแบบโดย AMD โดยใช้แนวทางส่วนต่อขยายของ x86-32 แทน
ชะตากรรมของซีพียู Itanium นั้นชัดเจนว่าไม่อยู่ในแผนการของอินเทลมานานแล้ว ในปี 2017 อินเทลประกาศวางขาย Itanium 9700 รุ่นสุดท้าย (รหัส Kitson) และมาวันนี้ อินเทลก็แจ้งว่าเตรียมเลิกขาย Kitson แล้ว
Itanium 9700 Kitson จะยังมีขายไปจนถึงกลางปี 2021 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับจากนี้
ผลกระทบจากการที่ HP หยุดขาย Itanium คงมีไม่มากนัก เพราะเหลือเพียง HPE บริษัทเดียวที่ยังใช้ Itanium ไปทำเซิร์ฟเวอร์อยู่ โดย HP (ในสมัยนั้น ก่อนแยกเป็น HPE) ถือเป็นพันธมิตรที่ร่วมปั้น Itanium มาตั้งแต่ต้น
ที่มา - AnandTech
อินเทลเริ่มวางขาย ซีพียู Itanium 9700 รุ่นใหม่รหัส Kittson ตามที่เคยประกาศไว้ พร้อมคำยืนยันว่านี่คือ Itanium รุ่นสุดท้าย ปิดตำนานซีพียู 64 บิตที่วางแผนเอาไว้อย่างยิ่งใหญ่เมื่อปี 2001
Itanium เป็นความร่วมมือระหว่างอินเทลกับเอชพี เพื่อออกแบบซีพียู 64 บิทสมรรถนะสูงภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 เพื่อยึดตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบเบ็ดเสร็จ
ถึงแม้อินเทลจะหมางเมินกับซีพียูตระกูล Itanium ไปมากในรอบหลายปีให้หลัง แต่ Itanium ก็ยังไม่ตายสนิท หลังจาก การออก Itanium 9500 "Poulson" ในปี 2012 เวลาผ่านมาห้าปี อินเทลก็เตรียมออก Itanium รุ่นถัดไปรหัส "Kittson" ในครึ่งหลังของปีนี้
อินเทลประกาศข่าวของ Kittson มานานมาก ( ข่าวเก่าปี 2013 ) ตอนนี้ชิปเสร็จและส่งทดสอบให้กับลูกค้าบางรายแล้ว และมี Hewlett Packard Enterprise หนึ่งรายที่ประกาศนำ Kittson ไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์ระดับบน HPE Integrity Servers ของตัวเอง
เซิร์ฟเวอร์ตระกูลระดับสูงสำหรับงานสำคัญ (mission critical) อย่าง HP NonStop จากเดิมมีเฉพาะซีพียู Itanium ตอนนี้ทางเอชพีเพิ่มตระกูล Integrity NonStop X และ Integrity Superdome X เข้ามาแล้วเป็นตัวเลือก x86 แล้ว
เซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ชิปเฉพาะทางสำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูงเป็นตลาดที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องมาสามปีแล้วหลังจากความนิยมในชิป x86 สูงขึ้นเรื่อยๆ และองค์กรใช้งานเซิร์ฟเวอร์ x86 ที่ราคาถูกกว่าในงานสำคัญกันเป็นเรื่องปกติ
- Read more about เตรียมลา Itanium, HP NonStop เปิดตัวรุ่น x86
- 4 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อปลายปีที่แล้ว อินเทลเผยข้อมูลของซีพียู Itanium รุ่นต่อไปรหัส "Kittson" โดยประกาศว่าจะแชร์ดีไซน์ซ็อคเก็ตระหว่าง Itanium กับ Xeon เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นทิศทางในอนาคตว่า Itanium อาจถูกผนวกรวมกับ Xeon ในที่สุด
แต่ล่าสุดอินเทลเปลี่ยนใจเสียแล้ว บริษัทโพสต์ข้อความเรื่องนี้เงียบๆ บนเว็บไซต์ของตัวเองว่าแผนการแชร์ซ็อคเก็ตกับ Xeon ถูกเลื่อนออกไปในอนาคต ทำให้ Kittson ยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดิมของ Itanium 9300/9500 ในปัจจุบัน
ข่าวร้ายอีกข่าวคือ Kittson จะยังใช้กระบวนการผลิตที่ 32 นาโนเมตรเท่ากับรุ่นก่อนๆ ไม่ได้ลดขนาดลงเหมือนซีพียูตระกูลอื่นๆ ของตัวเองแต่อย่างใด
อินเทลเปิดตัวซีพียู Itanium รุ่นที่สี่ Itanium 9500 หรือเดิมรู้จักกันในชื่อ Poulson และเป็นตัวต่อของ Itanium 9300 ที่เปิดตัวในปี 2010
คดีฟ้องร้อง ระหว่างเอชพี และออราเคิลในประเด็นที่ออราเคิลเลิกซัพพอร์ตซีพียูตระกูล Itanium ของอินเทล ซึ่งส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ในตระกูลเซิร์ฟเวอร์ของเอชพีเป็นมูลค่าสูงสุดถึงหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ล่าสุดเอชพีออกมายื่นคำร้องต่อศาลให้ออราเคิลยังคงซัพพอร์ตเซิร์ฟเวอร์เอชพีที่ใช้ซีพียู Itanium จนกว่าเอชพีจะเลิกขาย โดยอ้างว่าออราเคิลเคยทำสัญญากับเอชพีในช่วงที่ Mark Hurd ยังเป็นซีอีโออยู่ ส่วน Hurd ที่ในขณะนี้ทำงานอยู่กับออราเคิลออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีข้อสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้น
คดีระหว่างออราเคิลและเอชพียังคงอยู่ในช่วงของการค้นหาความจริงก่อนการพิจารณาคดี แต่ในภาพของคนภายนอกช่วงเวลานี้กลับกลายเป็นช่วงเวลาของการ "แฉรายวัน" ที่ทางออราเคิลหาประเด็นใหม่ๆ มาใส่ในเอกสารคดีได้เรื่อยๆ ล่าสุดก็มีสองประเด็นสำคัญคือ การขอข้อมูลจากอีกสองบริษัทคือไมโครซอฟท์และเรดแฮต และการระบุว่าเอชพีสัญญาจะจ่ายเงินอินเทลไปถึง 690 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2009 เพื่อยืดอายุการซัพพอร์ตชิป Itanium ไปจนถึงปี 2017
สงครามระหว่างออราเคิลกับเอชพีนั้นเงียบไปนานมาก โดยเป็น คดีที่ออราเคิลประกาศเลิกซัพพอร์ตชิป Itanium ของเอชพีและอินเทล โดยระหว่างนี้เป็นการรอการพิจารณาคดีในปีหน้า แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางออราเคิลก็ได้ยื่นเอกสารให้การเพิ่มเติมไปยังศาลทำให้เราเห็นข้ออ้างของออราเคิล
Intel เปิดตัว CPU ในตระกูล Itanium รุ่นใหม่ ในชื่อรหัส Poulson โดยเป็นการอัพเกรดจากรุ่นก่อนหน้า Tukwila ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2008
Poulson ถูกผลิตด้วยวิธีการผลิตแบบ 32nm โดยจะมีจำนวนทรานซิสเตอร์สูงถึงสามพันล้านตัว และมีจำนวนคอร์สูงสุดถึง 8 คอร์ นอกจากนี้ Poulson มีฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Intel Instruction Replay Technology ซึ่งเป็นการเพิ่มบัฟเฟอร์สำหรับชุดคำสั่ง ทำให้เมื่อการคาดเดาคำสั่งผิดพลาด ซีพียูจะสามารถเลือกเอาชุดคำสั่งที่ถูกต้องอันล่าสุดจากบัฟเฟอร์แทนที่จะต้องฟลัชคำสั่้งทั้งหมดที่อยู่ในไปป์ไลน์ทิ้ง
ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเอา Poulson แทนที่ Tukwila บนเมนบอร์ดเดิมได้เลย เพราะว่า Poulson ใช้ซ๊อคเก็ตเดียวกับ Tukwila ครับ
หลังจาก ออราเคิลประกาศเลิกซัพพอร์ตชิป Itanium แพลตฟอร์มนี้ก็อยู่ในภาวะอันตรายเพราะแอพลิเคชั่นทั้งหมดที่ต้องพึ่งฐานข้อมูลของออราเคิลก็คงต้องถูกเลิกซัพพอร์ตตามไปด้วย ภาวะเช่นนี้ทำให้เอชพีซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมพัฒนา Itanium กับอินเทล และยังเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่ที่ขายแพลตฟอร์มนี้เพียงรายเดียวยอมไม่ได้ และทางออกของเอชพีคือการฟ้องออราเคิลว่าไม่เคารพต่อคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้าและการไม่ซัพพอร์ตแพลตฟอร์มของคู่ค้าเช่นเอชพียังไม่อันตรายต่อการแข่งขันของตลาดรวม
หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน สิ่งที่ได้มาด้วยคือชิป RISC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ราคาแพงอย่าง SPARC และ UNIX ก็ถึงเวลาลาจากชิป RISC จากอินเทลคือ Itanium กันไป โดยออราเคิลได้ประกาศว่าจะซัพพอร์ตเฉพาะรุ่นปัจจุบันต่อเนื่องไปจนจบนโยบายการซัพพอร์ตของออราเคิล โดยออราเคิลแนะนำให้ลูกค้าย้ายไปใช้ซีพียู X86-64 หรือ SPARC
การซัพพอร์ตแบ่งเป็นสามระดับ
- Read more about ออราเคิลทิ้ง Itanium, อินเทลยังยืนยันพัฒนาต่อ
- 7 comments
- Log in or register to post comments
ที่งานสัมมนา International Solid State Circuits Conference อินเทลได้เปิดตัวหน่วยประมวลผล Itanium รุ่นที่สิบ (นับเป็นปีที่สิบของ Itanium ด้วย นับตั้งแต่ "Merced" ในปี 2001) ซึ่งใช้รหัสว่า "Poulson"
Poulson เป็นทายาทของ Itanium 9300 "Tukwila" ที่วางตลาดเมื่อต้นปี 2010 โดย Poulson มีคอร์ย่อย 8 คอร์ แคช 54MB ใช้การผลิตที่ 32 นาโนเมตร (รุ่นก่อน 65 นาโนเมตร) มีจำนวนทรานซิสเตอร์ถึง 3.1 พันล้านตัว และลดการใช้พลังงานลง 30-70%
อินเทลยังไม่ยอมบอกว่า Itanium รุ่นนี้จะวางขายเมื่อไร แต่คาดว่าจะเป็นปีนี้
- Read more about อินเทลโชว์ Itanium รุ่นที่สิบรหัส "Poulson"
- 5 comments
- Log in or register to post comments
ในวันเดียวกับที่ IBM เปิดตัว POWER7 อินเทลก็ได้เปิดตัวซีพียูระดับสูง Itanium 9300 หรือโค้ดเนม "Tukwila" ซึ่งเลื่อนการวางจำหน่ายมานาน
Itanium 9300 ทำงานได้สูงสุด 4 คอร์ 8 เธร็ด (ผมเข้าใจว่าครึ่งหนึ่งเป็นเธร็ดเสมือน โดยใช้เทคโนโลยี Hyper-Threading) แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำเพิ่มขึ้น 500% และใส่หน่วยความจำได้มากกว่าเดิม 700%
ซีพียูตระกูล Itanium 9300 ยังนำฟีเจอร์จากฝั่ง Xeon/Core หลายตัวมาใช้ด้วย เช่น QuickPath Interconnect, Scalable Memory Interconnect และ Scalable Memory Buffer เป็นต้น
สำหรับ Itanium ตัวถัดไปมีโค้ดเนมว่า "Poulson" กำหนดออกปี 2012
- Read more about อินเทลเปิดตัว Itanium 9300
- 9 comments
- Log in or register to post comments