บริษัทผลิตชิป 2 รายคือ STMicroelectronics และ GlobalFoundries (น่าสนใจว่าเป็นบริษัทที่เขียนชื่อยาวๆ ติดกันไม่เว้นวรรคเหมือนกัน) ประกาศร่วมทุนเพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในประเทศฝรั่งเศส
STMicroelectronics เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมของบริษัทอิตาลี (SGS) และฝรั่งเศส (Thomson) มาตั้งแต่ปี 1987 มีฐานโรงงานผลิตชิปอยู่ทั้งในฝรั่งเศสและอิตาลีอยู่หลายแห่ง ภายใต้ข้อตกลงร่วมทุนนี้ จะดึงเอา GlobalFoundries (ตัวย่อ GF โรงงานของ AMD เดิม) ที่ปัจจุบันเจ้าของคือกองทุนแห่งชาติของ UAE จะตั้งโรงงานใหม่ที่เมือง Crolles ของฝรั่งเศส ซึ่ง ST มีโรงงานอยู่ก่อนแล้ว
STMicroelectronics ผู้ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์ราคาถูกในตระกูล STM32 เปิดตัวชิป STM32MP1 ที่รวมเอาคอร์ Cortex-A7 ไว้คู่กับ Cortex-M4 ไว้ในชิปเดียวกัน แบ่งงานที่ต้องการประหยัดพลังงานและงานที่ต้องการพลังประมวลผลสูงออกจากกัน
ตัวคอร์ Cortex-A7 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 650MHz รองรับแรม DDR3, DDR3L, LPDDR2, LPDDR3 และสามารถใช้สตอเรจได้หลายแบบ ทั้ง eMMC, SD, และ NAND ฝั่งซอฟต์แวร์รองรับ OpenSTLinux และ Android Qt (ซัพพอร์ตโดยบริษัท Witekio) รองรับการเชื่อมต่อ USB 2.0 3 พอร์ต, กิกะบิตอีเธอร์เน็ต
STMicroelectronics ร่วมกับ Arduino SRL (ฝั่งอิตาลี) ออกบอร์ด Arduino STAR Otto ที่ใช้ชิป STM32F469 ซีพียูเป็น Cortex-M4
จุดเด่นของบอร์ดรุ่นนี้คือมันมี Wi-Fi มาในตัว และยังมีพอร์ต MIPI-DSI ทำให้สามารถต่อจอภาพแบบสัมผัสได้ในอนาคต คาดว่าจอภาพเสริมจะวางตลาดภายในไตรมาสที่สองของปีนี้
นอกจากจอภาพแล้วบอร์ด STAR Otto ยังมีสล็อต microSD, ไมโครโฟนแบบ MEMS สองตัว, ช่องต่อลำโพงภายนอก, ช่องต่อกล้อง
เช่นเดียวกับ Arduino Primo บอร์ดนี้ก็เป็นของฝั่ง Arduino SRL ตอนนี้ยังไม่มีแนวทางความร่วมมือของ Arduino ทั้งสองฝั่ง การเลือกใช้งานก็ต้องเลือกให้ถูก
แนวทางการแจกเครื่องมือพัฒนาฟรีเริ่มลามจากเดสก์ทอปมาสู่บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำร่องโดย Arduino ตอนนี้ STMicroelectronics ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ฝังตัวในตระกูล STM32 ก็ออกเครื่องมือของตัวเองในชื่อ System Workbench for STM32 ให้ใช้งานได้ฟรี
ก่อนหน้านี้ชุดเครื่องมือนี้รองรับบนวินโดวส์เท่านั้น การพอร์ตมาลินุกซ์ครั้งนี้มีเครื่องมือดีบั๊กมาพร้อมกันด้วย รองรับบอร์ดตระกูล Nucleo, Discovery, และบอร์ดทดลองอีกหลายรุ่น
ดาวน์โหลดได้จาก เว็บชุมชน OpenSTM32 (ต้องสมัครสมาชิก) ทาง ST เตรียมจะเปิดตัวรุ่นสำหรับ OS X ตามมาเร็วๆ นี้
ที่มา - ST
ST Microelectronics ขายโมดูลป้องกันภาพสั่นไหวโดยใช้ไจโรสโคปที่เดิมใช้กับเฉพาะ Lumia ให้ OEM อื่นแล้ว
ST Microelectronics ผู้ผลิตเทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวโดยใช้ไจโรสโคป (gyroscopic stabilization) ซึ่งแต่เดิมเฉพาะโนเกียเท่านั้นที่ได้สิทธิ์ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้วางขายโมดูลระบบป้องกันภาพสั่นไหวโดยใช้ไจโรสโคป L2G2IS ให้ OEM รายอื่นแล้ว
เทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวโดยใช้ไจโรสโคปทำให้กล้องสามารถเปิดชัตเตอร์ค้างได้นานขึ้นโดยไม่ทำให้ภาพถ่ายเบลอแต่อย่างไร และยิ่งเปิดชัตเตอร์ค้างไว้ได้นานเท่าใด แสงก็จะสามารถเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพมากขึ้นเท่านั้น เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายในกล้องดิจิทัล แต่การที่จะย่อส่วนชิ้นส่วนให้เล็กพอจะใส่ในอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือได้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง เทคโนโลยีนี้จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มอุปกรณ์พกพา
เราเห็นข่าว ST-Ericsson บริษัทร่วมทุนของ STMicroelectronics กับ Ericsson เตรียมปรับโครงสร้างองค์กร กันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดบริษัทออกมาประกาศแผนการดังนี้
- Read more about ST-Ericsson ประกาศปลดพนักงาน-ปรับโครงสร้างองค์กร
- Log in or register to post comments
ต่อเนื่องจากที่ ST-Ericsson เคย ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงอาจต้องขายกิจการบางส่วน และยกเลิกการร่วมทุนกับ Ericsson ล่าสุดมีความคืบหน้าเพิ่มเติมแล้ว
จากการแถลงข่าวโดย Carlo Bozotti ซีอีโอของ STMicroelectronics ระบุว่าภายในปีหน้านี้ ST-Ericsson จะปรับโครงสร้างตลาดใหม่ ในการตัดสินใจดังกล่าวรวมถึงยกเลิกการร่วมทุนกับ Ericsson อยู่ด้วย โดยจะแล้วเสร็จในช่วงปรับโครงสร้างนี้ แต่จะยังให้กับสนับสนุนกับลูกค้าเดิมที่ยังใช้โซลูชันของ ST-Ericsson ต่อไป
ส่วนแผนใหม่ที่ว่าแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือเน้นไปที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ MEMS เซนเซอร์ (ST เรียกกลุ่มนี้ว่า Sense & Power) และชิปสำหรับรถยนต์ อีกกลุ่มเป็นโซลูชันสำหรับหน่วยประมวลผลแบบฝังตัว
เราเห็นข่าวการถอนตัวของ Ericsson ออกจาก Sony Ericsson กันไปแล้ว คราวนี้เราอาจเห็น Ericsson ถอนตัวออกจากบริษัทร่วมทุนอีกแห่งคือ ST-Ericsson
ST-Ericsson เป็นบริษัทที่เกิดจาก STMicroelectronics ยักษ์ใหญ่ของวงการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในฝรั่งเศส และ Ericsson เจ้าพ่อสื่อสารจากสวีเดน โดยร่วมทุนกันแบบ 50:50 พอดี
STMicroelectronics เชี่ยวชาญด้านหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์พกพา ส่วน Ericsson ก็เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร มีสิทธิบัตรด้านนี้เป็นจำนวนมาก สองบริษัทมาเจอกันเลยได้โซลูชันทางฮาร์ดแวร์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับโทรศัพท์มือถืออย่าง NovaThor นั่นเอง
Sandisk บริษัทที่เราคงรู้จักกันดีในนามของผู้ผลิตหน่วยความจำสำหรับกล้องดิจิตอลรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศฟ้องบริษัท STMicroelectornics ผู้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อันดับหกของโลกในวันนี้
การฟ้องดังกล่าวเกิดขึ้นโดย ทางแซนดิสก์กล่าวหาว่าเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนในเทคโนโลยี แนนแฟลช ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ทางแซนดิสก์ได้มาในปี 1997 โดยก่อนหน้านี้ทางซัมซุงก็ถูกฟ้องไปก่อนหน้าแล้ว แต่เรื่องจบลงด้วยดีหลังจากที่ทั้งสองได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีต่อกันในเดือนที่แล้ว