รัฐบาลสหรัฐได้อนุมัติเงินอุดหนุน 1,500 ล้านดอลลาร์ ภายใต้กฎหมาย CHIPS Act กับ GlobalFoundries เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปรองรับความต้องการในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้บริษัทยังได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มอีกกว่า 600 ล้านดอลลาร์ จากรัฐนิวยอร์ก เพื่อตั้งและขยายโรงงานในพื้นที่ ทั้งนี้ GlobalFoundries จดทะเบียนสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก
GlobalFoundries บริษัทรับผลิตชิปประกาศเปิดโรงงานใหม่มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ ที่สิงคโปร์วันนี้ โดย Thomas Caulfield ซีอีโอของบริษัทบอกว่าเพื่อรองรับความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้น มองว่าในสิบปีข้างหน้าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอีกเท่าตัว
ทั้งนี้ GlobalFoundries ประกาศ แผนขยายโรงงานในสิงคโปร์เมื่อปี 2021 ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเวเฟอร์ 300 มิลลิเมตร ได้อีก 450,000 แผ่นต่อปี รวมกำลังผลิตของ GlobalFoundries ในประเทศเป็น 1.5 ล้านแผ่น
GlobalFoundries และ Qualcomm ประกาศลงนามข้อตกลงขยายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างสองบริษัท โดย Qualcomm จะสั่งซื้อเวเฟอร์วัตถุดิบและสนับสนุนการขยายโรงงานในอเมริกาของ GlobalFoundries ไปจนถึงปี 2028 ซึ่งข้อตกลงนี้บริษัทบอกว่าเกิดขึ้นหลังจากรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ผ่านกฎหมาย CHIPS Act ที่สนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ
Qualcomm บอกว่าจะใช้แพลตฟอร์มชื่อ FinFET ของ GlobalFoundries มาใช้ในการผลิตชิปรับสัญญาณ 5G ซึ่งนำไปใช้งานได้ทั้งในรถยนต์ อุปกรณ์ Wi-Fi ตลอดจน IoT
โรงงานใหม่ของ GlobalFoundries ที่ขยายกำลังการผลิตอยู่ในอเมริกา คือ โรงงาน ที่ตั้งอยู่ในเมือง Malta รัฐนิวยอร์ก
บริษัทผลิตชิป 2 รายคือ STMicroelectronics และ GlobalFoundries (น่าสนใจว่าเป็นบริษัทที่เขียนชื่อยาวๆ ติดกันไม่เว้นวรรคเหมือนกัน) ประกาศร่วมทุนเพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในประเทศฝรั่งเศส
STMicroelectronics เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมของบริษัทอิตาลี (SGS) และฝรั่งเศส (Thomson) มาตั้งแต่ปี 1987 มีฐานโรงงานผลิตชิปอยู่ทั้งในฝรั่งเศสและอิตาลีอยู่หลายแห่ง ภายใต้ข้อตกลงร่วมทุนนี้ จะดึงเอา GlobalFoundries (ตัวย่อ GF โรงงานของ AMD เดิม) ที่ปัจจุบันเจ้าของคือกองทุนแห่งชาติของ UAE จะตั้งโรงงานใหม่ที่เมือง Crolles ของฝรั่งเศส ซึ่ง ST มีโรงงานอยู่ก่อนแล้ว
GlobalFoundries โรงงานผลิตชิปที่แยกออกมาจาก AMD เมื่อปี 2009 และเพิ่ง ไอพีโอ เข้าตลาดหุ้น รายงานผลประกอบการเป็นครั้งแรก ของไตรมาสที่ 4 ปี 2021 รายได้รวมทำสถิติใหม่สูงสุด 1,847 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9% เทียบกับไตรมาส 3/2021 และเพิ่มขึ้น 74% ถ้าเทียบกับไตรมาส 4/2020 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 43 ล้านดอลลาร์
รายได้แยกตามกลุ่มสินค้าที่นำไปใช้งาน ส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์พกพา 888 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 24% รองลงมาคืออุปกรณ์ใน Data Center 304 ล้านดอลลาร์ และ IoT 254 ล้านดอลลาร์
Ford พยายามแก้ปัญหาการขาดแคลนชิปสำหรับรถยนต์ โดยประกาศความร่วมมือกับ GlobalFoundries (GF) อดีตโรงงานผลิตชิปของ AMD เพื่อหาทางออกเรื่องการผลิตชิปร่วมกัน
ความร่วมมือนี้ยังอยู่ในชั้นเริ่มต้น โดยทั้งสองบริษัทจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาชิปสำหรับรถยนต์ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะไปถึงขั้น Ford มีทีมออกแบบชิปของตัวเองแล้วสั่ง GlobalFoundries ผลิตเลยหรือไม่
GlobalFoundries เคยประกาศยอมแพ้ ไม่ลงทุนแข่งกับ TSMC หรือซัมซุง ในเทคโนโลยีผลิตชิปที่ใหม่ที่สุด เพราะต้องลงทุนมหาศาล แต่ด้วยเทคโนโลยีระดับ 14-22 นาโนเมตรที่ GlobalFoundries มีอยู่ก็ถือว่าเหลือเฟือสำหรับชิปสำหรับรถยนต์ หรืออุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรม
GlobalFoundries อดีตโรงงานผลิตชิปของ AMD ที่แยกตัวในปี 2009 และปัจจุบันมีเจ้าของเป็นกลุ่มทุน Mubadala จากอาบูดาบีถือหุ้น 100% ยื่นเอกสารขอขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว ใช้ตัวย่อหุ้นว่า GFS
บริษัทคาดว่าจะขายหุ้นเพื่อระดมทุนเพิ่มราว 1,000 ล้านดอลลาร์ และบริษัทจะมีมูลค่าตามตลาดหลักทรัพย์ที่ 25 พันล้านดอลลาร์
GlobalFoundries หรือ GF บริษัทผู้ผลิตชิปที่แยกตัวจาก AMD ในปี 2009 ประกาศขยายโรงงานเดิมในรัฐนิวยอร์ก ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มความสามารถในการผลิต (นับเป็นจำนวนแผ่นเวเฟอร์) อีก 150,000 แผ่นต่อปี
นอกจากนี้ GF ยังประกาศสร้างโรงงานใหม่ที่นิวยอร์กด้วย โดยระบุว่าจะช่วยจ้างงานเพิ่ม 1,000 ตำแหน่ง แต่ไม่บอกกำลังการผลิต บอกแค่ว่าจะขอระดมทุนจากหน่วยงานภาครัฐด้วย ตาม นโยบายการสร้างซัพพลายเชนของการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ว่าอินเทลกำลังเจรจาเพื่อซื้อกิจการ GlobalFoundries บริษัทผู้ผลิตชิป ที่มูลค่าราว 30,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชิปของอินเทลจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้น
ตัวแทนของอินเทลปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว ส่วนตัวแทนของ GlobalFoundries บอกว่าบริษัทไม่ได้มีการพูดคุยใด ๆ กับอินเทล
GlobalFoundries เป็นบริษัทผลิตชิปที่ แยกออกมาจาก AMD เมื่อปี 2009 ปัจจุบันเจ้าของคือกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของรัฐบาลอาบูดาบี
GlobalFoundries บริษัทผลิตชิปที่ แยกตัวจาก AMD ในปี 2009 เตรียมเปิดโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ ที่มีความสามารถผลิตชิปเวเฟอร์ 300 มิลลิเมตรได้ 450,000 แผ่นต่อปี เป็นโรงงานเฟสแรกจากโครงการขยายภาคการผลิตสามเฟส มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับการอุดหนุนจากคู่ค้าและรัฐบาลสิงคโปร์
โรงงานนี้จะเน้นการผลิตชิปที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างใหญ่ เช่นกระบวนการ BiCMOS ขนาด 55nm สำหรับชิปสัญญาณวิทยุ (RF) และกระบวนการผลิต 40nm สำหรับชิปหน่วยความจำและสัญญาณวิทยุรูปแบบอื่น รวมถึงมีบางส่วนเล็กๆ สำหรับกระบวนการผลิตขนาด 90nm อีกด้วย เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานจะสามารถปรับเปลี่ยนตามอุปสงค์และย้ายไปมาระหว่างไลน์การผลิตได้
เว็บไซต์ Wccftech อ้างข่าวลือจากแหล่งข่าวไม่ระบุตัวว่า อินเทลเตรียมแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาด ด้วยการจ้างบริษัทอื่นช่วยผลิตให้ และบริษัทที่ว่านี้คือ GlobalFoundries ซึ่งเคยเป็นโรงงานของ AMD (ปัจจุบันแยกขาดเป็นอิสระจากกันแล้ว และ AMD ใช้โรงงาน TSMC)
GlobalFoundries หรือ GF บริษัทรับจ้างผลิตชิป ที่แยกตัวมาจาก AMD ในปี 2009 (ปัจจุบัน AMD ไม่มีหุ้นแล้ว) ประกาศพับแผนการผลิตชิประดับ 7 นาโนเมตรไปก่อน ด้วยเหตุผลว่าต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2014 มีรายได้รวม 22,397 ล้านดอลลาร์ ลดลง 4.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิ 3,455 ล้านดอลลาร์ ลดลง 16.5% แต่หากรวมรายการตัดขาดทุนจากการขายโรงงานผลิตชิปให้ GlobalFoundries 3,437 ล้านดอลลาร์ บริษัทจะเหลือกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เพียง 18 ล้านดอลลาร์ ( Re/code ใช้คำว่ากำไรในไตรมาสน้อยที่สุดเท่าที่จำความได้)
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า IBM ได้ตกลงที่จะขายธุรกิจผลิตชิปซึ่งขาดทุนทุกปีออกไปให้กับ GlobalFoundries เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากที่มี ข่าวลือเมื่อต้นปี และต่อมาก็มีข่าวว่าการเจรจา ไม่สำเร็จ โดย IBM จะจ่ายเงินให้กับ GlobalFoundries เพื่อรับธุรกิจนี้ไปดูแลต่อเป็นเงินอีก 1,500 ล้านดอลลาร์
แหล่งข่าวระบุว่าข้อตกลงนี้กำหนดให้ GlobalFoundries ต้องผลิตชิปและส่งมอบให้ตามความต้องการของ IBM ด้วย โดย GlobalFoundries จะได้เข้าถึงการใช้งานสิทธิบัตรต่างๆ ของ IBM เป็นการแลกเปลี่ยน
ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นข่าวลือว่า IBM เตรียมขายธุรกิจผลิตชิป เพราะใช้ทุนสูงและไม่ทำกำไร โดยผู้ซื้อที่น่าจะเป็นไปได้คือ GlobalFoundries หรือ TSMC
ล่าสุดมีข่าวลือออกมาอีกรอบว่า IBM เจรจากับ GlobalFoundries แล้วแต่สุดท้ายก็เจรจากันไม่ลงตัว ด้วยเหตุผลว่า GlobalFoundries เสนอราคามาต่ำเกินไป
GlobalFoundries เป็นบริษัทที่แยกตัวมาจาก AMD โดยปัจจุบันเจ้าของคือบริษัทลงทุนของรัฐบาลอาบูดาบี
ที่มา - Bloomberg
ซัมซุงประกาศข้อตกลงร่วมกับ GLOBALFOUNDRIES (บริษัทผลิตชิปที่แยกตัวมาจาก AMD) ใช้เทคโนโลยีสายการผลิตชิป (production process) แบบเดียวกัน ผลคือบริษัทที่ออกแบบชิปสามารถส่งไปผลิตที่โรงงานของซัมซุงหรือ GLOBALFOUNDRIES ก็ได้
ผู้บริหารของ GLOBALFOUNDRIES ให้ความเห็นว่าบริษัทออกแบบชิปจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือครั้งนี้ เพราะมีความยืดหยุ่นในการเลือกโรงงานผลิตสูงขึ้นกว่าเดิม
การจับมือเป็นพันธมิตรกันครั้งนี้ย่อมสร้างอำนาจต่อรองให้ขั้วของซัมซุงและ GLOBALFOUNDRIES ในฐานะโรงงานผลิตชิป แข่งกับ TSMC ยักษ์ใหญ่ของวงการผลิตชิปโลก
GLOBALFOUNDRIES โรงงานผลิตชิปรายใหญ่ ทีแต่เดิมเป็นของ AMD (แต่ แยกกันแล้ว ) และเพิ่งจับมือกับ ARM เพื่อเพิ่มการแข่งขันกับอินเทล
ล่าสุด GLOBALFOUNDRIES ประกาศความสำเร็จการพัฒนาชิปตัวใหม่ในรุ่น 14XM ชิป SoC ARM ผลิตที่สถาปัตยกรรมขนาด 14 นาโนเมตร
ชิปรุ่น 14XM ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี FinFET หรือทรานซิสเตอร์แบบสามมิติ (ใกล้เคียงกับ ของอินเทล ที่ใช้กับ Ivy Bridge แล้ว) ซึ่งเคลมว่าช่วยลดขนาดของ die ไปได้อีก และกินไฟน้อยลง 40%-60% เมื่อเทียบกับ Snapdragon S4 ของ Qualcomm
ความพยายามลดช่องว่างของเทคโนโลยีการผลิตของ ARM ให้เทียบเท่ากับผู้ผลิตรายใหญ่อย่างอินเทล ทำให้ ARM ทำงานร่วมกับโรงงานผลิตชิปเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด คือ GLOBALFOUNDRIES โรงงานที่แยกตัวออกมาจากเอเอ็มดี โดยความร่วมมือจะทำให้ ARM ออกแบบชิปพร้อมผลิตสำหรับเทคโนโลยีการผลิต 20nm และ FinFET
การประกาศนี้เป็นการยืนยันความสัมพันธ์ล่วงหน้า แต่ก่อนหน้านี้ก็มีความร่วมมือแบบเดียวกันมาก่อนแล้ว โดยชิปตระกูล Cortex-A มีการทดสอบการผลิตที่โรงงานของ GLOBALFOUNDRIES ที่เทคโนโลยี 28nm และ 20nm ได้แล้ว สำหรับความร่วมมือต่อไปคือการพัฒนาพิมพ์เขียวสำหรับชิปกราฟิกตระกูล Mali และ Cortex รุ่นต่อไป
- Read more about ARM จับมือ GLOBALFOUNDRIES เตรียมผลิตชิปที่ 20nm
- 3 comments
- Log in or register to post comments
GlobalFoundries เป็นความฝันของ AMD ที่ต้องการแตกสายธุรกิจ "โรงงานผลิตชิป" ออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการของ AMD เอง ตัวโรงงานเปิดเมื่อปี 2009 โดย AMD ถือหุ้น 34.2% และที่เหลือเป็นของ Advanced Technology Investment Company (ATIC) บริษัทลงทุนของรัฐบาลอาบูดาบี
- Read more about AMD ทิ้งหุ้นทั้งหมดใน GlobalFoundries แล้ว
- 11 comments
- Log in or register to post comments
เว็บ ExtremeTech อ้างแหล่งข่าวภายในของเอเอ็มดีว่าบริษัทกำลังยกเลิกชิปสองรุ่นคือ Trinity ที่จะมาแทน Llano และ Krishna ที่จะมาแทน Zacate เพื่อย้ายโรงงานผลิตไปยัง TSMC แทน ทำให้ชิปทั้งสองรุ่นน่าจะเปิดตัวล่าช้าออกไป
เหตุผลของการย้ายสาเหตุหลักคือกำลังผลิตที่จำกัดมากของ GlobalFoundries ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเอเอ็มดีเองไม่สามารถผลิตชิปได้เพียงพอต่อความต้องการของเอเอ็มดีได้ ทำให้ชิป APU ในปีนี้ซึ่งสร้างกระแสมาได้ดีกลับต้องเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ขณะที่เอเอ็มดีเองก็มีความเชื่อมโยงกับ GlobalFoundries น้อยลงเรื่อยๆ โดยถือหุ้นอยู่เพียงร้อยละ 9.6 และ CEO ที่เป็นลูกหม้อเก่าของเอเอ็มดีนั้นก็เพิ่งจะถูกเปลี่ยนตัวออกไป
ต่อเนื่องจากข่าวเก่า AMD อนุมัติการแยกบริษัท Foundry Company เรียบร้อย บริษัทนี้ได้ชื่อแล้วว่า GLOBALFOUNDRIES (ตัวสะกดอย่างเป็นทางการเขียนด้วยตัวใหญ่ทั้งหมดแบบนี้ครับ)
เว็บไซต์ของบริษัทอยู่ที่ newglobalfoundry.com โดยซีอีโอคือ Doug Grosse รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีและการผลิตของ AMD ซึ่งย้ายมาตามสายงาน ส่วนประธานบอร์ดไม่ใช่ใครอื่น Hector Ruiz ประธานของ AMD ที่เคยประกาศยอมรับไว้ว่า เราพลาดแล้ว เมื่อปีที่แล้ว
- Read more about GLOBALFOUNDRIES เปิดทำการแล้ว
- 10 comments
- Log in or register to post comments
ข่าวเก่าเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว AMD ประกาศแบ่งครึ่งบริษัท ซึ่งหลังจากนั้นเจอปัญหา สงครามน้ำลายกับอินเทล เพราะว่า AMD ขอใช้สิทธิบัตรในเทคโนโลยี x86 ของอินเทลอยู่ และอินเทลบอกว่าสิทธิบัตรนี้ไม่ครอบคลุมการใช้งานในบริษัทใหม่
มาถึงวันนี้ ทางผู้ถือหุ้นของ AMD ได้อนุมัติแผนการแยกบริษัทแล้ว โดยบริษัทใหม่ The Foundry Company จะทำหน้าที่ผลิตซีพียูให้กับ AMD ที่ออกแบบอย่างเดียว กระบวนการทางการเงินและเอกสารจะสิ้นสุดในวันที่ 2 มีนาคมนี้ และเราจะเริ่มเห็นบริษัทใหม่ดำเนินการเสียที
ส่วนกรณีกับอินเทลนั้นเหมือนจะเงียบๆ ไป เป็นไปได้ว่าอาจไปตกลงกันแบบเงียบๆ เรียบร้อยแล้วก็ได้
- Read more about AMD อนุมัติการแยกบริษัท Foundry Company เรียบร้อย
- 7 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากมีอาการน่าเป็นห่วงมาได้สักระยะ ( ข่าวเก่า ) AMD เตรียมประกาศวันนี้ว่าบริษัทกำลังจะแบ่งครึ่งบริษัทเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งดูแลเรื่องการออกแบบหน่วยประมวลผลโดยเฉพาะ และอีกส่วนหนึ่งดูแลเรื่องการผลิต เพื่อที่จะต่อสู้กับ Intel อย่างเต็มที่
AMD ยังกล่าวอีกด้วยว่า บริษัท Advance Technology จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมาร่วมอัดฉีดเงินลงทุนเป็นจำนวนกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในการแบ่งบริษัทเป็นสองส่วนดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตชิพที่กำลังจะเปิดในนิวยอร์ก และปรับปรุงโรงงานผลิตเดิมในประเทศเยอรมนี
- Read more about AMD ประกาศแบ่งครึ่งบริษัท
- 11 comments
- Log in or register to post comments