Uber ประกาศว่า Travis Kalanick ผู้ร่วมก่อตั้ง Uber และอดีตซีอีโอ ได้ลาออกจากตำแหน่งบอร์ดบริหารของบริษัท มีผลในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่เขายังมีอยู่ใน Uber
Kalanick ลาออก จากตำแหน่งซีอีโอของ Uber เมื่อปี 2017 ซึ่งมีรายงานภายหลังว่าเขาถูกกลุ่มนักลงทุนในบริษัทบีบให้ลาออก จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ และได้ Dara Khosrowshahi อดีตซีอีโอ Expedia มารับตำแหน่งต่อ
หนึ่งในไอพีโอประวัติศาสตร์ของบริษัทด้านเทคโนโลยีปีนี้อย่าง Uber ที่เตรียมนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นเร็ว ๆ นี้ อาจเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีปนเศร้าเล็กน้อย เพราะ 3 ผู้ก่อตั้ง อาจไม่ได้ร่วมพิธีการสั่นระฆังเริ่มการซื้อขาย ซึ่งเป็นธรรมเนียมสำหรับหุ้นเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
Travis Kalanick ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ Uber ประกาศ วันนี้ว่าหลังจากเขาได้ก่อตั้งกองทุน 10100 เพื่อลงทุนในโครงการที่มีโอกาสสร้างงานได้จำนวนมาก โดยการลงทุนแรกของ 10100 คือสตาร์ทอัพชื่อว่า CSS หรือ City Storage Systems ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสายอสังหาริมทรัพย์
CSS เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (เป็นเจ้าของบริษัทย่อยอีกที) เน้นแก้ปัญหาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหมวดที่กำลังเผชิญความท้าทายในโลกดิจิทัล ได้แก่ พื้นที่จอดรถ, พื้นที่สำหรับร้านค้าพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง Kalanick บอกว่ามูลค่ารวมของอสังหาริมทรัพย์กลุ่มนี้สูงกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์
Travis Kalanick ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ Uber ประกาศตั้งกองทุน Venture Capital ชื่อว่า 10100(อ่านว่า Ten-One-Hundred) ซึ่งเขาจะเป็นผู้ดูแลการลงทุนเองโดยตรง
Kalanick บอกว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เขามองหาว่าอะไรจะเป็นสิ่งถัดไปที่น่าสนใจ โดยกองทุน 10100 นี้จะเน้นลงทุนในทั้งโครงการที่เน้นทำกำไรและโครงการที่ไม่แสวงหากำไร
ธีมหลักการลงทุนจะเน้นไปที่โครงการซึ่งสร้างงานจำนวนมาก ในหมวดอสังหาริมทรัพย์, ค้าปลีก และนวัตกรรมใหม่ในจีนและอินเดีย ส่วนโครงการที่ไม่แสวงหากำไรจะโฟกัสไปที่หมวดการศึกษา และการสร้างเมืองแห่งอนาคต
ตามที่ SoftBank ได้เข้ามาซื้อหุ้น Uber จากผู้ถือหุ้นเดิมจน กลายเป็นผู้ถือหุ้น 15% ในมูลค่าที่ลดลง 30% ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าใครบ้างที่เป็นผู้ขายหุ้นให้กับ SoftBank มีรายละเอียดดังนี้
- กองทุน Benchmark ที่เป็น แกนนำกดดัน จนอดีตซีอีโอ Travis Kalanick ลาออก ต้องการขายหุ้นออก 25% ของหุ้นที่มีอยู่ แต่เกินกว่าความต้องการของ SoftBank ทำให้ขายได้ 14.5% และได้เงินไปราว 900 ล้านดอลลาร์
- กองทุน Google Ventures ของ Alphabet ซึ่งถือหุ้น Uber อยู่ราว 5% ก็ขายหุ้นออกไป 14.5% ที่ถือครอง ได้เงินไปราว 350 ล้านดอลลาร์
- กองทุน First Round Capital ต้องการขายหุ้นเกือบทั้งหมด แต่ขายได้ราว 40% ได้เงิน 800 ล้านดอลลาร์
- กองทุน Menlo Ventures ขายหุ้นออกไปครึ่งหนึ่ง ได้เงินไป 1 พันล้านดอลลาร์
- อดีตซีอีโอ Travis Kalanick ขายหุ้นที่มีอยู่ 29% ได้เงินไปราว 1,400 ล้านดอลลาร์ เดิมทีเขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการขายหุ้น แต่ด้วยเงื่อนไขที่เขาต้องลดบทบาทลง ทำให้ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นด้วยเพื่อให้สอดคล้องกัน
ถ้ายังจำกันได้ Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber ยอมลาออกจากการกดดันของ Benchmark Capital บริษัทลงทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของ Uber (ถือหุ้นประมาณ 10%) โดย Benchmark ร่วมกับบริษัทลงทุนอีก 4 ราย ต้องการให้ Kalanick ลาออก แต่ Benchmark เป็นตัวแทนของทั้งหมด ส่งหุ้นส่วนของตัวเองไปพบกับ Kalanick ด้วยตัวเอง ซึ่ง Kalanick ก็ลาออกในวันเดียวกัน
ล่าสุด Benchmark ยื่นฟ้อง Kalanick แล้ว หลังพบว่า เขาพยายามหวนคืนสู่ตำแหน่งซีอีโอ โดยบอกกับคนใกล้ชิดว่าเขาจะทำแบบเดียวกับสตีฟ จ็อบส์
Garrett Camp หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Uber และปัจจุบันเป็นบอร์ดบริหาร ออกอีเมลถึงพนักงาน Uber ทุกคน เพื่อยืนยันว่าในกระบวนการสรรหาซีอีโอ Uber คนใหม่นั้น จะไม่มี Travis Kalanick อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้งที่ถูกบีบให้ลาออก กลับมารับตำแหน่งนี้แน่นอน
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า Kalanick พยายามหาวิธีกลับมา รับตำแหน่งนี้คืน
เนื้อหาอีเมลระบุว่า มีพนักงานจำนวนหนึ่งสอบถามถึงความคืบหน้าในการสรรหาซีอีโอคนใหม่ และมีข่าวลือที่อาจสร้างความสับสน โดยบอร์ดบริหารยืนยันว่าการสรรหาซีอีโอนั้นเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้ Uber และ Travis จะไม่กลับมาเป็นซีอีโอแน่นอน โดยบอร์ดจะสรรหาซีอีโอที่มีประสบการณ์ระดับโลกมาเป็นผู้นำ Uber
จากข่าวการสรรหาซีอีโอคนใหม่ของ Uber ที่บอร์ดบริหารยังหาข้อสรุปไม่ได้ และดูเหมือนบอร์ดบางส่วนก็อยากให้อดีตซีอีโอ Travis Kalanick ที่ถูกบีบให้ลาออกกลับคืนตำแหน่ง รายงานล่าสุดระบุว่าตัว Kalanick เองก็มีความพยายามจะกลับมาทวงตำแหน่งนี้คืนให้ได้เช่นกัน
Kara Swisher แห่ง Recode บอกว่า หลังจาก Kalanick ถูกบีบให้ลาออก เขาก็ได้ไปพักผ่อนที่ Tahiti ช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อกลับมา เขาพยายามที่จะเข้ามาดูแลงานประจำวันใน Uber อีกครั้ง (Kalanick ยังมีตำแหน่งเป็นบอร์ดบริหาร Uber) และไม่มีใครจัดการปัญหานี้ได้ จนบอร์ดบริหารต้องออกกฎจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของบอร์ดทุกคน เพื่อให้ Kalanick ไม่สามารถทำงานประจำแบบตอนเป็นซีอีโอได้
ขึ้นชื่อว่าเป็นซีอีโอผู้บุกเบิกอูเบอร์ ก็น่าจะสร้างบารมีและความเชื่อถือจากพนักงานอูเบอร์ได้พอสมควร จากเหตุการณ์ Travis Kalanick ซีอีโออูเบอร์ลาออก มีพนักงานไม่ต่ำกว่า 1,000 คน เรียกร้องไปยังบอร์ดบริหาร ให้เขากลับมา
พนักงานอูเบอร์กว่าพันคนร่วมลงนามในจดหมายเรียกร้องไปยังบอร์ดบริหารอูเบอร์ ให้ Travis Kalanick กลับมาทำงานต่อ โดยจดหมายเป็น Google Docs พนักงานคนอื่นสามารถลงชื่อเพิ่มเติมได้ และจนถึงตอนนี้มีพนักงานลงชื่อคิดเป็น 10% ของพนักงานอูเบอร์ทั้งหมดแล้ว (ไม่รวมคนขับ)
The New York Times รายงานเบื้องหลัง การบีบ Travis Kalanick ออกจากตำแหน่งซีอีโอของ Uber ว่าซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างมาก
เดิมทีนั้น Kalanick สร้างพันธมิตรในบริษัทไว้มากมาย ทั้งระดับบริหารและระดับบอร์ด โดยพันธมิตรคนสำคัญของเขาคือ Bill Gurley นักลงทุนจากบริษัท Benchmark Capital ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของ Uber
จากการ ลาออกของ Travis Kalanick ซีอีโอ Uber สื่อก็เริ่มคาดกันต่อว่า บอร์ดบริหาร จะเลือกใครมาทำหน้าที่นี้ต่อจากเขา ซึ่งเป็นภารกิจที่ไม่ง่ายนัก Uber เป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากิจการสูงถึง 69,000 ล้านดอลลาร์ มีธุรกิจดำเนินงานอยู่ทั่วโลก และช่วงที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างที่ต้องแก้ไข
ก่อนหน้านี้ Kalanick ได้ ประกาศหาซีโอโอ มาร่วมงาน ซึ่งบอร์ดก็ได้รายชื่อมาหลายคน เมื่อเขาประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ ก็เป็นไปได้ว่าตัวเลือกที่เดิมจะมาเป็นซีโอโอ น่าจะได้รับข้อเสนอมาเป็นซีอีโอเลย ซึ่งรายชื่อเด่นที่แหล่งข่าวเปิดเผยข้อมูลมามีดังนี้
เพียงไม่กี่วันหลังจาก Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber ประกาศพักงานชั่วคราว ล่าสุดเขาประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างถาวรแล้ว
การลาออกของ Kalanick เกิดจากการเรียกร้องของผู้ถือหุ้น 5 รายใหญ่ที่ต้องการให้เขาลาออกทันที ซึ่ง Kalanick ขอเวลาปรึกษากับบอร์ดและนักลงทุนบางรายสักพัก ก่อนตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งซีอีโอวันนี้ แต่เขาจะยังมีตำแหน่งเป็นบอร์ดของบริษัทต่อไป
Kalanick ออกแถลงการณ์ว่าเขารัก Uber มากกว่าทุกสิ่งในโลก นี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่เขาก็รับข้อเสนอของนักลงทุนเพื่อให้ Uber เดินหน้าต่อไปได้
หลังจากซีอีโอ Travis Kalanick
พักงานไม่มีกำหนด และผู้บริหารอันดับสองของบริษัท Emil Michael
ลาออก อำนาจหน้าที่บริหารบริษัทจึงค่อยๆ ตกเป็นของคณะกรรมการ โดยเว็บไซต์ Yahoo! Finance สอบถามไปยังผู้ใกล้ชิดกับอูเบอร์ ได้รายชื่อมา
14 คน ดังนี้
ตามข่าวก่อนหน้านี้ว่า Uber มีการ ประชุมบอร์ด เพื่อหาข้อยุติปัญหาภายในหลายอย่าง โดยประเด็นสำคัญคือการพิจารณารายงานสรุป จากที่ปรึกษาผู้ตรวจสอบอิสระ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ภายในองค์กร รวมทั้งข้อเสนอแนะ รวม 47 ข้อเสนอ ซึ่งบอร์ดได้ลงมติที่จะปฏิบัติตามแต่ไม่ใช่ทุกข้อเสนอ