เราเห็นแฟนๆ หรือ geek ภาพยนตร์ชุด Star Wars พยายามสร้างหุ่นยนต์ที่ปรากฎในหนัง โดยเฉพาะหุ่น Astromech มาอย่างต่อเนื่อง และเคสนี้ก็น่าจะเป็นหนึ่งในการสร้างที่เหมือนจริงมากที่สุด เมื่อ Alejandro Clavijo และ และ Jeronimo Clavijo สองพ่อลูกจากสเปนสามารถสร้างหุ่น R4-P17 ขึ้นมาได้สำเร็จจากบอร์ด Arduino
คนส่วนใหญ่อาจจะคุ้นกับหุ่น R2-D2 หุ่น Astromech ประจำตระกูลสกายวอล์คเกอร์ ตรงกันข้ามกับ R4-P17 ที่คนอาจจะรู้จักน้อยกว่า แต่ก็โผล่ออกมาในฐานะหุ่นคู่กายของ Obi-Wan Kenobi ในเอพพิโสด 2 และ 3 โดยหุ่นที่สองพ่อลูก Clavijo สร้างนั้นทำมาจากอะลูมิเนียมและไม้ ใช้เวลาประมาณ 2 ปีในการสร้าง ก่อนจะได้รับการรับรองจาก Lucasfilm ทำให้สามารถนำไปโชว์ตัวในงานอีเวนท์ต่างๆ ของ Star Wars ได้
Yaacob Ibrahim รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ประกาศโครงการสนับสนุนเมกเกอร์ระดับชาติในชื่อ Digital Maker Programme สนับสนุนตั้งแต่การศึกษา, ชุมชนเมกเกอร์, ไปจนถึงตลาดสินค้าสิ่งประดิษฐ์
โครงการที่เป็นรูปธรรมส่วนแรกคือการร่วมมือกับกระทรวงศึกษา นำบอร์ด micro:bit ที่ BBC เคยแจกให้นักเรียนในโรงเรียนอังกฤษมาใช้ในการเรียน โดยมุ่งจะใช้งานในโรงเรียนประถมและมัธยม ระยะเวลาโครงการสองปี ส่วนการสนับสนุนในแง่ชุมชนจะมีการจัดฝึกความรู้เกี่ยวกับเมกเกอร์ให้ และระดับธุรกิจจะมีการสนับสนุนด้านการเงินให้กับบริษัทต่อไป
ยังไม่แน่ชัดว่าการใช้ micro:bit ในสิงคโปร์จะเป็นรูปแบบใด จากโครงการของ BBC เดิมนั้นเป็นการแจกนักเรียนมัธยมหนึ่ง (เกรด 7) ทุกคน
เรามักจะได้ยินชื่อ Raspberry Pi ในฐานะผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และมีตัวเลือกแบบราคาย่อมเยา ( Raspberry Pi Zero ) เป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่กลายร่างมาเป็นตัวต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นการเกิด ชุมชน maker จนไปถึงสนับสนุนวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วัยเด็กกันเลยทีเดียว
วันนี้ มูลนิธิ Raspberry Pi ร่วมกับ Computing at School องค์กรรากหญ้า (grassroot organization) เพื่อครูผู้สอนคอมพิวเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร สนับสนุนวงการไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวนิตยสารเป็นของตัวเองในชื่อ “Hello World” วางตัวเป็นสื่อสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักการศึกษา (educators) เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายใต้หัวข้อ computing and digital making จากทั่วทุกมุมโลก
หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวงการ Maker Movement คือการประดิษฐ์สิ่งที่สามารถเป็นอาวุธได้อย่างปืนขึ้นมาได้ง่ายๆ โดยกลุ่ม Defense Distributed เป็น กลุ่มที่สามารถพิมพ์ปืนจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เป็นครั้งแรก
ล่าสุดกลุ่มนี้สามารถผลิต Ghost Gunner เครื่อง CNC ที่สามารถผลิตปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ AR-15 ออกมาได้ โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย และปืนนี้ไม่มีเลขทะเบียนให้ติดตามด้วย
Autodesk บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ออกแบบสามมิติ จัดกิจกรรม University Asean ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย.) โชว์นวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่นใหม่พร้อมทั้งเผยความคืบหน้าในประเทศไทย ด้วยการทำ MOU กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งเป้าจัดตั้ง Digital Manufacturing Platform สนับสนุนแผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดโอกาสให้วิศวกร และบุคคลในสาขาอาชีพที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้าถึงเทคโนโลยีฟรี 3 ปี
รายการ America's Greatest Makers เรียลลิตี้โชว์ของ Intel รายการจัดการแข่งขันทีมผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มีแข่งทั้งหมด 24 ทีม ล่าสุดได้ทีมชนะเลิศแล้ว คือ Grush ทีมสร้างแปรงสีฟันอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับเกมในสมาร์ทโฟนได้ด้วย เพื่อให้เด็กๆ สนุกกับการแปรงฟันมากกว่าที่เคย
NavSpark เป็นบอร์ด GPS ราคาถูกจากไต้หวันที่ ระดมทุนใน Indiegogo เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ทางบริษัทออกรุ่นใหม่ชื่อว่า NavSpark-mini จุดขายสำคัญคือราคาถูกมาก เพียง 6 ดอลลาร์ต่อชุดเมื่อซื้อ แพ็ก 6 ชุด
ตัวบอร์ดใช้ชิป Skytraq Venus828F เป็นซีพียู SPARC-V8 100MHz แรม 212KB หน่วยความจำแฟลช 1024KB
ข้อจำกัดคือบอร์ด USB เป็นบอร์ดแยก (แถมฟรีหนึ่งบอร์ดเมื่อซื้อแพ็ก 6 ชุด) และแต่ละบอร์ดต้องติดตั้งเสาอากาศเพิ่มเติม
Humble Bundle เว็บไซต์ขายชุดบันเดิลเกี่ยวกับเกมเป็นส่วนใหญ่ แต่ในครั้งนี้ได้วางจำหน่ายชุดหนังสือเกี่ยวกับ Raspberry Pi และ Arduino ที่มีมูลค่ารวมกว่า 276 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 9,895 บาท) และส่วนลดสำหรับหนังสือในเครือ Make
หนังสือชุดนี้ขายในราคาเริ่มต้นที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าหากอยากได้ยกชุด สามารถซื้อได้ใน 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 537.76 บาท) นามสกุลไฟล์จะเป็น PDF, ePUB, และ MOBI สามารถเปิดอ่านได้บนหลากหลายอุปกรณ์ เช่น Kindle, iPad และ Nook
เงินที่ได้จากการขายหนังสือจะส่งเข้า Maker Media, Maker Education Initiative และ Humble Bundle เอง ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้แต่ละเจ้าแค่ไหนก็ได้
ที่มา - Humble Bundle
ชิป EMW3165 วางตลาดมาตั้งแต่กลางปี มีจุดเด่นคือใช้ชิป Cortex-M4 ที่ประสิทธิภาพสูง แรม 128KB สูงกว่า ESP8266 ที่มีแรมให้ใช้งานเพียง 40KB เท่านั้น ตอนนี้มีผู้ผลิตพอร์ต เฟิร์มแวร์ NodeMCU ทำให้เขียนภาษา Lua บนชิปขนาดเล็กได้ มารันบน EMW3165 เรียบร้อยแล้ว
เฟิร์มแวร์ทำมาสำหรับบอร์ดพัฒนา WiFiMCU ตัวบอร์ดเองเป็นเพียงการต่อขาจาก EMW3165 ออกมาให้มีขา และต่อชิป USB-to-serial เท่านั้น แต่ก็ช่วยให้การพัฒนาง่ายขึ้นมาก ที่สำคัญบอร์ดพัฒนา มีราคาเพียง 10.65 ดอลลาร์ เพิ่มจากตัวโมดูลไม่มากนัก
- Read more about บอร์ด WiFiMCU ใช้โมดูล EMW3165 พร้อมรอม NodeMCU
- Log in or register to post comments
เราอาจจะคุ้นเคยกับ Makerspace ที่เปิดตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเอกเทศ (อย่างเช่น The Edge ที่ Brisbane ออสเตรเลีย) หรือแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด (เช่น Carnegie Public Library ที่เมือง Pittsburgh สหรัฐอเมริกา) แต่ล่าสุด มหาวิทยาลัยเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเปิดตัว MakerHealth Space อย่างเป็นทางการ ในโรงพยาบาล John Sealy ของมหาวิทยาลัย
ประมาณ 3 วันที่ผ่านมา หลายๆ คนคงได้อ่านข่าว เมื่อเด็กนักเรียนอายุ 14 ปี ชื่อ Ahmed Mohamed แห่งเมือง Irving ในรัฐ Texas สหรัฐฯ ถูกจับกุมเนื่องจากเขานำนาฬิกาปลุกประดิษฐ์เองมาโรงเรียน จากข่าวนี้ทำให้ร้อนถึงเหล่าคนดังในวงการไอทีทั้ง Mark Zuckerberg ฯลฯ แต่ข่าวนี้จะขาดพี่เบิ้มของวงการไอทีไปไม่ได้ เขาคือ "ไมโครซอฟท์"
เมื่อไมโครซอฟท์ทราบข่าวก็ต่างไม่รอช้าที่จะส่งความรักเป็นของเล่นของชาว Geek ให้เป็นของขวัญปลอบใจ เช่น Surface Pro 3 พร้อม type cover, Microsoft Band, เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, Office 365 แบบ Personal และอื่นๆ อีกมากมาย จนสร้างความอิจฉาริษยาแก่แฟนบอยไมโครซอฟท์ และคนแถวๆ นี้ไม่มากก็น้อยครับ
เมื่อวานนี้มี ข่าว ของ Ahmed Mohamed เด็กนักเรียนอายุ 14 ปีในโรงเรียนแห่งหนึ่งของเมือง Irving ในรัฐ Texas สหรัฐฯ ถูกจับกุมเนื่องจากเขานำนาฬิกาปลุกประดิษฐ์เองมาโรงเรียน แต่คุณครูกลับนึกว่านี่คือระเบิดและแจ้งตำรวจให้มาจับกุม สร้างกระแสความไม่พอใจทางการและให้กำลังใจกับน้องคนนี้เป็นอย่างมาก สังคมโยงเรื่องไปถึงอาการ Islamophobia และการเหยียดเชื้อชาติของคนบางกลุ่ม เนื่องจากน้องคนนี้เป็นมุสลิมเพิ่งเข้ามาเรียนโรงเรียนแห่งดังกล่าว
เพื่อผลักดันวัฒนธรรม Maker Movement ในประเทศไทยให้เคลื่อนไหวกันรวดเร็วขึ้น ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับเชฟรอนประเทศไทย และกลุ่ม Maker จัดงาน Bangkok Mini Maker Faire เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
Bangkok Mini Maker Faire เป็นงานชื่อเดียวกับที่บารัก โอบามา จัดขึ้นที่ทำเนียบขาวเมื่อช่วงต้นปี 2015 เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญ และจุดประกายกลุ่ม Maker ให้ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยในงานครั้งนี้จะมีการประกวดไอเดียจากเครื่องพิมพ์สามมิติในโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World” มาประกาศผลผู้ชนะเลิศในงาน ชิงตั๋วไปร่วมงาน Maker Faire ที่ประเทศเยอรมนีต่อไปด้วย
เก็บตกโครงการน่าสนใจจาก NASA ที่ประกาศมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วอย่าง การแข่งขันออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ในการตั้งรกรากบนดาวอังคารที่ NASA วางแผนว่าจะเริ่มต้นภายในปี 2035
ตามแผนที่ออกมา ทาง NASA หวังว่าจะส่งคนไปจำนวนหนึ่ง แต่ด้วยขนาดที่จำกัดทำให้ไม่สามารถขนอุปกรณ์สำหรับก่อสร้างเข้าไปได้มากพอ จึงจะใช้การสร้างที่อยู่อาศัยจากวัตถุดิบบนดาวอังคาร ร่วมกับชิ้นส่วนที่รีไซเคิลจากยานอวกาศในการสร้างที่อยู่แทน
ตามโจทย์ที่ตั้งไว้ ผู้เข้าร่วมต้องออกแบบที่อยู่อาศัยขนาด 1,000 ตารางฟุต ซึ่งใช้วัตถุดิบ และวิธีการตาม NASA กำหนด ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาร่วม เพื่อชิงรางวัลรวมกว่า 2 ล้านเหรียญ
ผู้อ่าน Blognone เป็นชาวเมกเกอร์กันเยอะพอสมควรจากที่ผมเห็นความสนใจข่าวคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แต่สำหรับการเรียนรู้จริงจังการตามข่าวไปเรื่อยๆ อาจจะลำบากเกินไป ตอนนี้ทาง Humble Bundle ก็จัดชุดหนังสือ Make: กว่าสิบเล่ม ราคาทั้งชุดเพียง 15 ดอลลาร์
บันเดิลนี้เพิ่งมา แต่ราคาเฉลี่ยก็ค่อนข้างสูง หนังสือน่าสนใจในชุด เช่น Make: Electronics, Make: Basic Arduino Projects, หรือ Make: Getting Started with Raspberry Pi
สำหรับเงินบริจาคในบันเดิลนี้จะมอบให้ MakerEd.org ที่เดียวเท่านั้น
ที่มา - Humble Bundle
สโสวเดนอาจจะเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ไปอีกนาน แต่ชาวสหรัฐฯ ที่มองเขาเป็นฮีโร่ก็มีจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้วมีศิลปินทำรูปหล่อไป วางเหนือเสาใน Fort Green Park จนกระทั่งถูกปรับ 50 ดอลลาร์ ตอนนี้ก็มีชาวเมกเกอร์ทำโมเดลแบบเลียนแบบมาให้พิมพ์สามมิติไปตั้งที่บ้านได้เองแล้ว
โมเดลสโนว์เดนมีขนาด 8 นิ้ว แต่ไฟล์ยังไม่เหมาะกับเครื่องพิมพ์แบบ FDM ที่ใช้กันโดยทั่วไป ทางผู้สร้างโมเดลระบุว่าจะออกไฟล์รุ่นใหม่ที่เหมาะกับเครื่องพิมพ์สามมิติทั่วไป
Blognone เคยนำเสนอเรื่องของ Maker Movement ที่มีแกนกลางอยู่ที่นิตยสาร Make มาแล้วครั้งหนึ่ง
ล่าสุดผมมีโอกาสผ่านไป Maker Media Lab ในซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นห้องแล็บที่เพิ่งเปิดใหม่ของนิตยสาร Maker และเปรียบเสมือน "หน้าบ้าน" ต้อนรับชาว Maker จากทั่วโลก เลยนำภาพมาฝาก เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับชาว Maker ในไทยกันบ้าง
จากที่ Blognone เคย ชวนไปงานแข่ง “หุ่นยนต์เห่ย” หรือ Hebocon Thailand ครั้งที่ 1 เมื่อวันเสาร์ 19 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับคนที่พลาดโอกาสไปร่วมงาน ทางเจ้าภาพ MakerZoo ได้ปล่อยวิดีโอสรุปงานครั้งแรกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
งาน Hebocon Thailand ครั้งที่ 1 ภายใต้ธีม “หุ่นยนต์เห่ยสร้างสรรค์ประจัญบาน” มีทีมเข้าร่วมแข่งขันถึง 16 ทีม รวมทั้งสิ้น 80 คนเต็มโควต้า โดยผู้ชนะของงานครั้งแรกนี้ตกเป็นของหุ่นยนต์พลังอุปกรณ์ดับกลิ่นปากพร้อมสโลแกน “เห่ยเป็นบ้า” ในชื่อ Untitle (ดูภาพได้ท้ายข่าว)
เชื่อว่าผู้อ่าน Blognone หลายท่านคงรู้จัก Raspberry Pi หนึ่งในบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วซึ่งเป็นที่นิยมที่เป็นข่าวมาตลอด ล่าสุดมีกลุ่มนักพัฒนาอุปกรณ์จากอังกฤษ สร้างชุดอุปกรณ์ที่เรียกว่า "pi-top" ซึ่งเป็นชุดที่สามารถสร้างโน้ตบุ๊กทั้งเครื่องจาก Raspberry Pi ได้ ในราคา 300 ดอลลาร์ สรอ. เท่านั้น
ตัวชุดดังกล่าวนี้จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ทุกอย่าง ซึ่งรวมไปถึงบอร์ด Raspberry Pi 2 ด้วย แต่ผู้ใช้งานจะต้องนำมาประกอบเอง (เหมือนเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA) เมื่อประกอบเสร็จก็จะได้โน้ตบุ๊กของตัวเองมาหนึ่งเครื่องที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ยังมีไฟล์ STL สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ให้สำหรับผู้ใช้งานเอาไปปรับแต่งแล้วพิมพ์ออกมาได้ตามใจชอบด้วย
Maker Zoo ซึ่งเป็น Makerspace ย่านเอกมัย (เครือเดียวกับ HUBBA) จัดงานแข่งขัน "หุ่นยนต์เห่ย" หรือ Hebocon Thailand ครั้งแรกในประเทศไทย
Hebocon มาจากคำว่า Heboi (เฮโบอิ) ที่แปลว่า "เห่ย" แย่ในทางเทคนิค หรือคุณภาพต่ำ ทำให้หุ่นยนต์ที่เข้าแข่งนั้นเห่ยจนถึงขั้นเดินแทบไม่ได้ หรืออาจจะพังแม้ชนเพียงนิดเดียว หุ่นยนต์เหล่านี้อาจไม่มีค่าจากมุมมองของวิศวกร แต่นี่แหละคือความสร้างสรรค์! ทุกคนที่มีจิตวิญญาณแห่ง maker สามารถเข้าร่วมสร้างหุ่นยนต์เห่ยได้แบบไม่ต้องอายใคร
Makeblock ผู้สร้างชุดสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถดัดแปลงได้ตามใจชอบมีชุดสำเร็จรูปเช่น เครื่องพล็อตเตอร์, เครื่องพิมพ์สามมิติ, หรือหุ่นยนต์แขนกล ตอนนี้เปิดโครงการใหม่ mDrawBot ชุดสร้างหุ่นยนต์วาดภาพสี่แบบบน KickStarter
mDrawBot ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่เพียงพอสำหรับสร้างหุ่นยนต์วาดภาพสี่แบบ ได้แก่
- mScara หุ่นวาดภาพแบบข้อหมุนสองจุด
- mSpider หุ่นวาดภาพแบบไต่เชือกกับกระดาน
- mEggBot หุ่นวาดภาพบนผิวกลมเช่นไข่หรือปิงปอง
- mCar หุ่นวาดภาพแบบรถวิ่ง
ซอฟต์แวร์ควบคุมหุ่นทุกแบบ ชื่อว่า mDraw เป็น โอเพนซอร์สอยู่บน GitHub
Blognone เคยเสนอ ข้อมูลของ maker movement ไปแล้ว และนำเสนอ ข่าวที่เกี่ยวกับ maker อยู่เรื่อยๆ ซึ่งในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาเราก็เห็น maker space และการรวมกลุ่ม maker ในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ล่าสุดบ้านเรากำลังจะมีงาน Chiang Mai Maker Party ซึ่งเป็นงานชุมนุม maker งานแรกๆ ในไทยที่จัดโดยกลุ่ม Chiang Mai Maker Club วันที่ 28-29 มีนาคม 2558 นี้
Chiang Mai Maker Club ซึ่งเป็นชมรม maker ของเชียงใหม่ ประกาศจัดงาน Maker Party @ Chiang Mai ซึ่งเป็นงานรวมตัวกันของ maker และผู้ที่สนใจมารวมตัวและพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
สำหรับกิจกรรมภายในงานมีทั้งกิจกรรมการประกอบโดรน, รถบังคับ, แข่งหุ่นยนต์ รวมไปถึงการแสดงนวัตกรรมอย่างเช่น smart home และ smart farm ด้วย
จัดวันที่ 28-29 มีนาคมนี้ ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. ใครสนใจสามารถไปติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้จากที่มาครับ
ที่มา - Chiang Mai Maker Club
ศาสตราจารย์ Danielle George ซึ่งเป็นหนึ่งในราชบัณฑิตของราชบัณฑิตยสถาน (Royal Institution) ของอังกฤษในสาขาวิศวกรรมคลื่นวิทยุ ออกมาให้สัมภาษณ์กับทางหนังสือพิมพ์ The Telegraph โดยระบุว่า คนรุ่นใหม่ของอังกฤษในปัจจุบันอยู่ในยุคที่ซ่อมของไม่เป็น เพราะเติบโตมาอยู่ในยุคที่ทุกอย่าง "ใช้แล้วทิ้ง"
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน Blognone เพิ่งครบรอบ 10 ปีไป และเราก็จัดงานพบปะระหว่าง Writer ทุกท่าน ของแจกอย่างหนึ่งในงานคือ Arduino Leonardo ตามความเชื่อของเราที่เชื่อว่าในสิบปีข้างหน้าโลกไอทีจะไม่หยุดอยู่เพียงแค่พีซี, แท็บเล็ต, และโทรศัพท์มือถือ แต่โลกไอทีจะแพร่กระจายเข้าไปในทุกส่วนของชีวิตของเรา อุปกรณ์ต่างๆ ที่เราไม่เคยคิดว่าจำเป็นต้อง "ฉลาด" จะเริ่มฉลาดขึ้นเรื่อยๆ และเราจะชินกับประโยชน์ที่ได้จากความฉลาดเหล่านั้นไปโดยไม่รู้ตัว
- Read more about Blognone 10 ปี, Arduino, และ Maker Movement
- 13 comments
- Log in or register to post comments