แอปเปิลเผยแพร่คู่มือการซ่อมแซม iPhone 16, iPhone 16 Plus, iPhone 16 Pro และ iPhone 16 Pro Max หลังจากสินค้าเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งคู่มือนี้ระบุขั้นตอนการแกะเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เป็นอะไหล่ตระกูล iPhone 16 ในแต่ละส่วนการทำงาน รวมทั้งเครื่องมือที่จำเป็น
แอปเปิลบอกว่าคู่มือนี้เขียนมาสำหรับช่างซ่อมแซมที่มีความรู้ ประสบการณ์ และชำนาญเครื่องมือซ่อมแซมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
มีรายงานจาก The Information อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าแอปเปิลกำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้การเปลี่ยนแบตเตอรี iPhone ทำได้ง่ายขึ้น โดยเรียกวิธีการนี้ว่าการลอกกาวด้วยไฟฟ้า จากปัจจุบันวิธีถอดแบตเตอรีออกจาก iPhone ต้องลอกแถบกาวออกทีละชิ้น และใช้อุปกรณ์สำหรับใส่แบตเตอรีเข้าไปแทน
แอปเปิล เผยแพร่รายงาน ว่าด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน (Longevity, by Design) ซึ่งให้ข้อมูลของผลสำเร็จจากการทำให้สินค้าใช้งานได้นานหลายปี หลักการออกแบบสินค้าเพื่อให้ซ่อมแซมได้ ตลอดจนประเด็นการจับคู่ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ซ่อมแซม ซึ่งถูกมองว่าเพิ่มความยุ่งยาก
John Ternus รองประธานฝ่ายวิศวกรรมฮาร์ดแวร์ของแอปเปิลบอกว่า การออกแบบสินค้าให้ใช้งานได้ยาวนาน จำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างความทนทานกับความสามารถในการซ่อมแซม รวมทั้งการดูแลซอฟต์แวร์ที่ต้องได้รับอัปเดต ซึ่งแอปเปิลได้พัฒนาสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
แอปเปิลประกาศเพิ่มเติมการให้บริการใช้งาน Apple Diagnostics หรือเครื่องมือสำหรับวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น สำหรับลูกค้าที่ต้องการซ่อมแซมอุปกรณ์เอง เพิ่มเติมในยุโรป 32 ประเทศ หลังจากเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว
Apple Diagnostics นี้ รองรับการใช้งานตรวจสอบทั้ง iPhone, Mac และ Studio Display ด้วยตนเอง ว่าจำเป็นต้องซ่อมแซมอุปกรณ์หรือไม่ ผ่านคำแนะนำต่าง ๆ บนหน้าจอ ซึ่งจะให้ข้อมูลหากมีชิ้นส่วนที่มีปัญหาและต้องเปลี่ยน
แอปเปิลอัพเดตรายละเอียดโครงการ Self Service Repair ที่เปิดให้ลูกค้าสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม เพื่อซ่อมสินค้าของแอปเปิลได้เอง โดยรอบนี้เพิ่มเติมสินค้ากลุ่ม iPhone 15 และ Mac ทุกรุ่นที่เป็น M2
แอปเปิลยังประกาศขยายพื้นที่ครอบคลุมของบริการ Self Service Repair ในยุโรปอีก 24 ประเทศ เช่น โครเอเชีย เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ตอนนี้บริการครอบคลุมสินค้า 35 รายการ ใน 33 ประเทศ
นอกจากนี้แอปเปิลยังเปิดให้ใช้งาน Apple Diagnostics สำหรับลูกค้าที่มีความชำนาญในการซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวกับที่ศูนย์บริการ AASP ใช้ ในการทดสอบอุปกรณ์ ว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ เพื่อตรวจหาชิ้นส่วนที่อาจต้องซ่อม
แอปเปิลประกาศอัพเดตโครงการ Self Service Repair ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม ไปซ่อมอุปกรณ์แอปเปิลได้เอง โดยขยายกลุ่มสินค้าที่รองรับเพิ่มเติม ได้แก่ กลุ่ม iPhone 14, MacBook Air จอ 13 นิ้ว ชิป M2, MacBook Pro ชิป M2 Pro และ M2 Max
แอปเปิลยังเปิดให้ผู้ซื้ออะไหล่ซ่อมแซมของ iPhone สามารถรันคำสั่ง System Configuration ได้เอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำหรับตรวจสอบยืนยันอะไหล่แท้ของแอปเปิล ตลอดจนอัพเดตเฟิร์มแวร์ โดยเฉพาะส่วนฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันตัวตน ว่าสามารถทำต่อได้อย่างถูกต้อง จากเดิมขั้นตอนนี้ลูกค้ายังต้องติดต่อศูนย์ Self Service Repair เพื่อรันคำสั่ง
แอปเปิล ประกาศ ในหน้าข้อมูลการบริการแบตเตอรี่ iPhone ว่าเครื่องที่อยู่นอกการรับประกันแล้ว ซึ่งปกติมีค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแบตเตอรี่เพิ่มเติม จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอีกจากราคาเดิม 890 บาท โดยมีผลกับ iPhone รุ่นก่อน iPhone 14 ทั้งหมด
ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแบตเตอรี่ iPhone ที่ Apple Store หรือศูนย์บริการ Apple Authorized Service Provider (AASP) ปัจจุบันเริ่มต้นที่ 1,600 บาท มีรายละเอียดดังนี้
แอปเปิลประกาศเพิ่มประเทศที่รองรับ โปรแกรมซ่อมแบบบริการตนเอง (Self Service Repair) จากเดิมมี เฉพาะในอเมริกา โดยเพิ่มเติมอีก 8 ประเทศ ในทวีปยุโรป
8 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร
โครงการซ่อมแบบบริการตนเองนี้ เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม แบบนำไปทำเอง ไม่ต้องเข้าศูนย์บริการของแอปเปิล โดยตอนนี้รองรับ iPhone 12, iPhone 13 และ Mac ที่ใช้ซีพียู Apple Silicon
ก่อนหน้านี้แอปเปิล ประกาศ ว่าจะเริ่มให้บริการขายอะไหล่ชิ้นส่วน และอุปกรณ์เครื่องมือ สำหรับผู้ที่ต้องการซ่อม-เปลี่ยนชิ้นส่วนด้วยตนเอง ตอนนี้ร้านออนไลน์ดังกล่าวเปิดให้บริการแล้วในชื่อ Self Service Repair Store โดยเริ่มต้นสำหรับลูกค้าในอเมริกาก่อน จากนั้นจะขยายต่อในยุโรปภายในปีนี้ (ส่วนในเอเชียยังไม่พูดถึง)
บริการ Self Service Repair จะมีขายทั้งอะไหล่ชิ้นส่วน และเครื่องมือที่ใช้การซ่อม รวมมากกว่า 200 รายการ อุปกรณ์แอปเปิลที่มีชิ้นส่วนขายตอนนี้คือตระกูล iPhone 12, iPhone 13 และ iPhone SE (3rd Gen) โดยจะเพิ่มเติม Mac ที่เป็นซีพียู Apple Silicon ในภายหลัง
รถของ Tesla เป็นที่นิยมของคนชอบรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามีปัญหาในเรื่องคุณภาพการผลิตที่ค่อนข้างแย่มาหลายปี และการต่อต้านสิทธิ์ในการซ่อม รวมถึงปัญหาอื่นๆ จากทาง Tesla ที่ยังมีมาไม่ขาดสาย ค่าซ่อมบำรุงที่แพงจากราคาอะไหล่ที่แพงพอสมควร
เจ้าของ Tesla Mode S ชาวฟินแลนด์ นามว่า Tuomas Katainen เป็นหนึ่งในลูกค้าของ Tesla ที่ไม่ประทับใจกับรถคันนี้อย่างมาก หลังพบปัญหาในการใช้รถคันนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังใช้งานมานานกว่า 8 ปี จนกระทั่งต้องถูกลากเข้าศูนย์ซ่อมของ Tesla อยู่หนึ่งเดือน และได้รับแจ้งว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรีทั้งลูกในราคาที่สูงถึง 20000 ยูโร แปลงเป็นเงินไทยเกือบ 757,000 บาท แน่นอนว่า Tuomas ทำใจรับค่าซ่อมไม่ได้ เนื่องจากรถของเขาหมดระยะประกันไปแล้ว
แอปเปิลประกาศโปรแกรมซ่อมแบบบริการตนเอง (Self Service Repair) โดยลูกค้าที่ต้องการซ่อมแซมเครื่องด้วยตนเอง สามารถซื้อชิ้นส่วนและเครื่องมือของแท้จากแอปเปิลได้ ซึ่งถือเป็นประกาศที่น่าสนใจจากแอปเปิล ที่ก่อนหน้านี้มีแนวทางต้องการให้ลูกค้านำอุปกรณ์มาซ่อมกับศูนย์เป็นหลัก
โปรแกรมนี้จะเริ่มต้นในอเมริกาช่วงต้นปีหน้า 2022 และจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ตลอดปี ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่แอปเปิลจะขายชิ้นส่วนและเครื่องมือซ่อมคือ iPhone 12, iPhone 13 ก่อน จากนั้นจะเพิ่ม Mac ตระกูล M1 เข้ามา
ช่อง YouTube ช่องหนึ่งชื่อว่า Phone Repair Guru มีผู้ติดตาม 1.78 ล้าน ทำการทดลองบางอย่างกับ iPhone 13 ด้วยการเปลี่ยนส่วนประกอบภายในเพื่อสมมติสถานการณ์ว่าต้องซ่อมแซม พบว่า เมื่อเปลี่ยนไมโครโฟน, เซนเซอร์วัดแสงของ iPhone 13 ผลคือการทำงานยังปกติ แต่ถ้าเปลี่ยนจอจะไม่สามารถใช้ Face ID ได้
แอปเปิลประกาศเพิ่มประเทศที่รองรับโครงการผู้ให้บริการซ่อมอิสระ (Independent Repair Provider - IRP) ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ผู้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์ สามารถเข้าถึงอะไหล่แท้ของแอปเปิล ตลอดจนเครื่องมือ คู่มือการซ่อม และการวินิจฉัยที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยการเข้าร่วมนั้นทำได้ฟรี มีเงื่อนไขคือต้องจัดหาช่างเทคนิคที่ผ่านการรับรองจากแอปเปิล
แอปเปิลได้ เริ่มโครงการ นี้ในปี 2019 และปัจจุบันมีผู้ให้บริการซ่อมอิสระในโครงการดังกล่าวมากกว่า 1,500 ราย ทั่วอเมริกา แคนาดา และยุโรป
แอปเปิลประกาศเตรียมขยายโครงการ Independent Repair Provider (IRP) ที่เปิดให้ร้านซ่อมอิสระสามารถซื้ออะไหล่แท้จากแอปเปิลได้ โดยจะขยายไปยังยุโรปและแคนาดาหลังจากตอนนี้มีเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น
โครงการ IRP เน้นถึงการเคารพเครื่องหมายการค้าของแอปเปิล โดยต้องทำตาม ข้อตกลงการใช้เครื่องหมายการค้าของแอปเปิล ก่อนหน้านี้มีร้านซ่อมในนอร์เวย์สั่งจอไอโฟนจากฮ่องกงในปี 2017 และพบว่าจอมีโลโก้แอปเปิลอยู่แม้เมื่อซ่อมแล้วจะมองไม่เห็น แต่แอปเปิลก็ฟ้องจนคดีถึงที่สุดเพื่อให้ ศาลสั่งทำลายจอดังกล่าว
เว็บนักแกะอุปกรณ์ iFixit รายงานการค้นพบว่า iOS เวอร์ชันล่าสุด 12.4 ได้บล็อกการแสดงข้อมูลประสิทธิภาพแบตเตอรี่ในหน้า Settings > Battery หากมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่จากผู้ให้บริการอื่น โดยบอกว่าไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เนื่องจากไม่ใช่แบตเตอรี่ของแอปเปิล พร้อมกับแสดงข้อความสถานะแบตเตอรี่ว่า Service ซึ่งตามปกติแปลว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ควรนำไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการ
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าว iFixit บอกว่าพบเฉพาะใน iPhone รุ่นใหม่ ได้แก่ XS, XS Max และ XR โดย iFixit พบว่าการบล็อกนั้นทำที่ขั้นตอนระดับชิปของ Texas Instruments ใน iPhone ซึ่งจะยืนยันว่าแบตเตอรี่ที่เปลี่ยนเป็นของแอปเปิลหรือไม่
มีรายงานว่าผู้ใช้ iPhone 8 ที่มีการเปลี่ยนหน้าจอ โดยใช้หน้าจอจากร้านซ่อมที่ไม่ใช่ศูนย์แอปเปิลเอง พบว่าเมื่ออัพเดต iOS เป็นเวอร์ชันล่าสุด 11.3 ตัวหน้าจอสัมผัสจะไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่หากยังไม่อัพเดตเวอร์ชันก็ยังใช้งานได้
แอปเปิลยังไม่ได้ออกมายอมรับปัญหานี้ แต่ลักษณะอาการนี้ถ้าใครจำได้ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผู้ใช้ iPhone 6 ที่เปลี่ยนปุ่มโฮมจากร้านซ่อมภายนอก ก็พบ ปัญหาเครื่องไม่ทำงาน หากอัพเดตเป็น iOS 9.2.1 ซึ่งต่อมาแอปเปิลยอมรับว่าเป็นบั๊กในซอฟต์แวร์ ไม่ได้มีเจตนาป้องกันการใช้ฮาร์ดแวร์ภายนอก ปัญหาจึงถูกแก้ไขในอัพเดต iOS เวอร์ชันถัดมา ซึ่งกรณีนี้ก็น่าจะคล้ายคลึงกันคือต้องรอแอปเปิลออกอัพเดตซอฟต์แวร์
เมื่อ iPhone เสียและอยู่นอกประกัน ลูกค้ามีสองทางเลือก คือนำไปซ่อมที่ร้านที่ได้รับการแต่งตั้งจากแอปเปิลโดยตรง (Authorized Service Provider) ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าค่าซ่อมแพงมาก และทางเลือกที่สองคือซ่อมกับร้านทั่วไป โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ล่าสุดมีรายงานว่า iPhone จะล็อกตัวเองและอยู่ในสถานะใช้การไม่ได้ (bricked) เมื่อตรวจจับได้ว่าซ่อมจากร้านที่ไม่ใช่ของแอปเปิล
หลายๆ คนคงอาจจะรู้จักเว็บ iFixit ในฐานะเว็บ คู่มือซ่อมเครื่อง Mac และอุปกรณ์ของ Apple (อีกทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่อง Mac ที่ใหญ่ที่สุดรองจาก Apple) ซึ่งในตอนนี้นั้น เว็บแห่งนี้ได้กลายสภาพเป็นเว็บเปิด ซึ่งจะรวบรวมคู่มือการซ่อมทุกๆ อย่างโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน Community โดย iFixit นั้นหวังว่า ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางในการซ่อมทุกๆ อย่างไม่เพียงเฉพาะแต่ Mac เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง รถ จักรยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหิ้วอุปกรณ์สุดรักสุดหวงกลับไปยังศูนย์ซ่อมทุกๆ ครั้งที่มีปัญหา