จากที่ T-Mobile เคยประกาศไว้ว่าจะให้บริการมือถือ Direct to Cell ผ่านดาวเทียมรุ่นใหม่ของ SpaceX Starlink ในช่วงปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025 แต่ด้วยเหตุการณ์ภัยพิบัติคือ พายุเฮอริเคนเข้าชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในช่วงนี้หลายลูก ทำให้แผนการถูกเร่งให้เร็วขึ้น
ทั้ง T-Mobile และ SpaceX ได้รับอนุมัติจาก FCC (กสทช. สหรัฐ) เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้บริการข้อความ SMS ผ่านดาวเทียมในพื้นที่ประสบภัย หากผู้ใช้มือถือในพื้นที่รัฐฟลอริดา มีปัญหาไม่สามารถเชื่อมต่อสถานีฐานของ T-Mobile ได้ตามปกติ ก็สามารถมองหาเครือข่ายชื่อ T-Mobile SpaceX และส่งข้อความ SMS ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้
Mike Sievert ซีอีโอของเครือข่าย T-Mobile ไปออกรายการสัมภาษณ์กับ Jim Cramer พิธีกรด้านเศรษฐกิจของสถานีทีวี CNBC มีพูดถึง ความร่วมมือระหว่าง T-Mobile กับ SpaceX ที่ประกาศในปี 2022 ว่าจะเปิดให้ลูกค้าของ T-Mobile สื่อสารผ่านดาวเทียมชุดใหม่ของ SpaceX Starlink ได้ในพื้นที่ไม่มีสัญญาณมือถือ อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ดูล่าช้ากว่าที่ประกาศไว้เดิมว่าจะเปิดทดสอบช่วงปลายปี 2023
Sievert บอกว่าตอนนี้ T-Mobile ยังอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดบริการ direct-satellite-to-cellular แบบ Beta ซึ่งจะเริ่มได้ปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025
T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับ 3 ในสหรัฐ ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อส่วนธุรกิจหลักด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจาก UScellular โดยมูลค่าดีลรวมอยู่ที่ 4,400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการจ่ายเงินสดและรับผิดชอบหนี้หุ้นกู้ของ UScellular
T-Mobile ไม่ได้ซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของ UScellular แต่ที่ได้คือลูกค้า UScellular ส่วนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด, ร้านค้าของ UScellular และสินทรัพย์คลื่นโครงข่ายประมาณ 30% ที่เป็นของ UScellular นอกจากนี้ T-Mobile จะทำสัญญาเช่าเสาสัญญาณมากกว่า 2,600 แห่งของ UScellular ด้วย
Hiroshi Lockheimer หัวหน้าทีม Android โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ยืนยันว่า Android 14 เวอร์ชันหน้าจะรองรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วย ซึ่งตรงกับทิศทางของตลาดมือถือช่วงนี้ ที่ T-Mobile เพิ่งประกาศความร่วมมือกับ SpaceX ให้ดาวเทียม Starlink รุ่นหน้ากระจายคลื่นย่านของโทรศัพท์ได้ด้วย และ ข่าวลือว่า iPhone 14 ก็รองรับการส่งข้อความผ่านดาวเทียม
T-Mobile ประกาศความร่วมมือกับ SpaceX ในโครงการ Coverage Above and Beyond ที่ช่วยให้ลูกค้าของ T-Mobile ที่เดินทางไปยังพื้นที่สัญญาณมือถือเข้าไม่ถึง (เช่น เดินป่า ขึ้นเขา ล่องเรือในทะเล) สามารถสื่อสารได้ผ่านดาวเทียม Starlink แทนเสาสัญญาณภาคพื้นตามปกติ
วิธีการคือ T-Mobile จะกระจายสัญญาณคลื่น 5G ย่าน mid-band ของตัวเองซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์ แต่ผ่านดาวเทียม Starlink เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความครอบคลุมของสัญญาณในพื้นที่ห่างไกล ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารผ่าน SMS, MMS และแอพแชทบางตัว (ยังไม่ระบุชื่อ) ส่วนในอนาคต T-Mobile ก็จะพยายามให้สื่อสารด้วยเสียงผ่านดาวเทียมได้ด้วย
ความคืบหน้าเพิ่มเติมเหตุข้อมูลลูกค้า T-Mobile โอเปอเรเตอร์ในสหรัฐฯ รั่วไหล ล่าสุด T-Mobile เผยตัวเลขลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโจมตีครั้งนี้ว่าอยู่ที่ 54 ล้านราย
ความคืบหน้าจากข่าว T-Mobile สอบสวนเหตุข้อมูลหลุด แฮกเกอร์นำข้อมูลลงขายแล้ว คาดมีผู้ได้รับผลกระทบ 100 ล้านราย
T-Mobile ออกแถลงการณ์ ยืนยันแล้วว่าพบร่องรอยการบุกรุกเข้ามาในระบบจริง แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่ามีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าหลุดออกไปด้วยหรือไม่ และจำนวนข้อมูลที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะสอบสวนเพิ่มและแถลงเพิ่มในภายหลัง
ที่มา - T-Mobile
T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายในสหรัฐฯ ยืนยันกำลังสืบสวนเหตุข้อมูลหลุด ที่คาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบถึง 100 ล้านราย โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าว VICE รายงานว่าทาง T-Mobile ติดต่อกับคนขายข้อมูลที่อ้างว่าตัวเองนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ของ T-Mobile มาขาย ไม่ว่าจะเป็น หมายเลขประกันสังคม ชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลใบขับขี่ ทาง Vice ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้วระบุว่าเป็นข้อมูลจริง (authentic)
T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายในสหรัฐฯ ประกาศใช้งาน Google Messages หรือแอปส่งข้อความแบบ RCS หรือ Rich Communication Services เป็นค่าตั้งต้นในโทรศัพท์แอนดรอยด์ทุกรุ่นที่จะขายออกไป ถือเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรกในสหรัฐที่ทำ
หลังจากประกาศควบกิจการไปเมื่อปี 2018 และเพิ่งจะ ควบเสร็จเต็มรูปแบบเมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา ล่าสุด T-Mobile ประกาศปลดพนักงานในเครือ Sprint หลายร้อยคน เนื่องจากมีตำแหน่งซ้ำซ้อน
ไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า T-Mobile ปลดพนักงานไปทั้งหมดกี่คน แต่มีพนักงานของ Sprint กว่า 400 คนที่ฟังการแจ้งข่าวจาก James Kirby รองประธานบริษัท แผนกของ Sprint ที่คาดว่าได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ BISO ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการขายให้กับธุรกิจขนาดเล็ก
SoftBank ขาดทุนครั้งใหญ่กว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญ จากผลประกอบการปีที่แล้ว ทำให้บริษัทจำเป็นต้องหาทุนเพิ่ม หนึ่งในนั้นคือการขายหุ้น T-Mobile ส่วนหนึ่งที่ตัวเองถืออยู่ทั้งหมด 25%
SoftBank มีแผนจะขายหุ้น T-Mobile มูลค่ารวม 2 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งอาจจัดสรรให้ในวงจำกัด (private placement), ปล่อยขายให้สาธารณะหรือขายคืนให้กับ T-Mobile และผู้ถือหุ้นรายอื่นอย่าง Deutsch Telekom
การขายหุ้น T-Mobile เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ ขายสินทรัพย์กว่า 4.1 หมื่นล้านเหรียญของ SoftBank เพื่อลดหนี้และเพิ่มเงินสดสำรอง
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา ประกาศสนับสนุนโครงการ Keep Americans Connected Pledge ที่ริเริ่มโดย FCC (กสทช. สหรัฐ) เพื่อให้คนอเมริกันสามารถสื่อสารกันต่อไปได้ไม่สะดุด ในช่วงระบาดของโรค COVID-19 จนทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน
มาตรการของ Keep Americans Connected มีด้วยกัน 3 ข้อคือ
- ไม่ตัดเน็ตหรือระงับบริการ หากลูกค้าไม่ได้จ่ายบิลในช่วง 60 วันข้างหน้า
- ไม่คิดค่าปรับที่จ่ายบิลช้า
- เปิด Wi-Fi hotspot ให้ทุกคนใช้ฟรี
T-Mobile โอเปอเรเตอร์อันดับ 3 ในอเมริกา ซึ่งมีแผนควบรวมกิจการกับเบอร์ 4 Sprint โดย ได้อนุมัติ จากรัฐบาลสหรัฐฯ แล้วไปเมื่อหลายเดือนก่อน หลังจากที่เจรจากันมายาวนาน ทำให้ผู้ให้บริการมือถือในอเมริการายหลักเหลือเพียง 3 ราย จากเดิม 4 ราย จึงน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่นั่น
ล่าสุดมีการเปิดเผยเอกสารภายในของ T-Mobile ซึ่งเป็นเอกสารตั้งแต่ปี 2015 ก่อนเกิดการควบรวมกิจการกับ Sprint เอกสารชุดนี้จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาเพื่อนำเสนอต่อบอร์ดบริหารของ T-Mobile และ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile ทำให้เห็นทิศทางและยุทธศาสตร์ที่ T-Mobile ประเมินตั้งแต่ตอนนั้น
John Legere ซีอีโอผู้บุคลิกโดดเด่นของเครือข่าย T-Mobile ในสหรัฐ ประกาศลงจากตำแหน่งในวันที่ 1 พฤษภาคม 2020 หลังจากดำรงตำแหน่งซีอีโอมาตั้งแต่ปี 2012
Legere ถือว่ามีผลงานเด่นในการพลิกฟื้นกิจการของ T-Mobile ในฐานะโอเปอเรเตอร์อันดับ 4 ของสหรัฐ (ในตอนนั้น) ให้กลับมาแข่งขันในตลาดได้ มีแคมเปญการตลาดที่แหวกแนว (Un-carrier) และตัวเขาเองมาร่วมแสดงในโฆษณาหลายชิ้น ทำให้คนจดจำเขาและแบรนด์ T-Mobile ได้ดี
ซีอีโอคนใหม่คือ Mike Sievert ซึ่งปัจจุบันเป็นซีโอโอของ T-Mobile อยู่แล้ว ตัวของ Sievert ทำงานคู่กับ Legere มานาน 7 ปี และเคยคุมงานสายการตลาดในฐานะ Chief Marketing Officer จึงน่าจะเข้าใจยุทธศาสตร์และทิศทางของ T-Mobile เป็นอย่างดี
วันนี้ สี่ค่ายมือถือขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ คือ AT&T, Verizon, T-Mobile และ Spring ประกาศร่วมมือกันตั้งบริษัทร่วม Cross-Carrier Messaging Initiative (CCMI) เพื่อทำให้ค่ายโทรศัพท์เดินหน้านำเทคโนโลยีใหม่มาทดแทน SMS ในปัจจุบัน
เป้าหมายของ CCMI นี้คือการนำเทคโนโลยีส่งข้อความ RCS ซึ่งปัจจุบันมี Google เป็นผู้ผลักดันหลักมาใช้ในสมาร์ทโฟนภายในปี 2020
กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ (Department of Justice) อนุมัติ การควบรวมกิจการระหว่าง T-Mobile กับ Sprint เรียบร้อยแล้ว
การควบกิจการลักษณะนี้จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานด้านการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ซึ่งกรณีของ T-Mobile กับ Sprint ที่เป็นโอเปอเรเตอร์ด้วยกันเอง ก็ มีข้อกังวลเรื่องการผูกขาดและผลกระทบต่อสภาพการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม เช่นกัน
ล่าสุด กระทรวงยุติธรรมบรรลุการเจรจากับ T-Mobile และ Sprint ว่าจะอนุมัติการควบรวม โดยมีเงื่อนไขดังนี้
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวลือว่า Amazon สนใจเข้ามาบุกตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการซื้อ Boost Mobile แบรนด์โอเปอเรเตอร์รายเล็ก ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Sprint
Boost Mobile เป็นผู้ให้บริการแบบ MVNO คือไม่มีเครือข่ายเป็นของตัวเอง และใช้เครือข่ายของ Sprint ในการให้บริการลูกค้า โดยทำการตลาดแยกเอง กลุ่มเป้าหมายหลักของ Boost Mobile คือลูกค้าแบบพรีเพดเป็นหลัก
กระบวนการ ควบรวมระหว่าง T-Mobile และ Sprint ยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% เพราะยังไม่ได้รับการรับรองจากภาครัฐ โดยในกระบวนการเจรจาล่าสุด กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเสนอให้ T-Mobile/Sprint วางแผนและวางรากฐานที่สนับสนุนให้เกิดผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการรับรองการควบรวมกิจการ
Bloomberg รายงานอ้างอิงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาครั้งนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวของกระทรวงยุติธรรมต้องการให้ T-Mobile/Sprint สนับสนุนผู้ให้บริการรายใหม่ที่จะเข้ามาด้วยโครงข่ายและคลื่นสัญญาณของตัวเอง เพื่อต้องการรักษาสภาพการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการจากที่เดิมมี 4 รายและกำลังจะลดลงเหลือ 3 ราย
นอกจาก คดี Huawei และ Wanzhou Meng เรื่องขายสินค้าให้อิหร่าน กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยังยื่นฟ้อง Huawei เป็นคดีที่สองควบคู่กันไป นั่นคือ ขโมยความลับทางการค้าของ T-Mobile
จำเลยในคดีนี้ต่างจากคดีแรกเล็กน้อย นั่นคือ Huawei Device Co., Ltd. และ Huawei Device Co. USA (บริษัทแม่ในจีนและ Wanzhou Meng ไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้) มีความผิดรวม 10 ข้อหา
The Wall Street Journal รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุอัยการสหรัฐเตรียมยื่นฟ้อง Huawei คดีขโมยเทคโนโลยีที่เป็นความลับทางการค้าจากจาก T-Mobile ที่เป็นพาร์ทเนอร์ในสหรัฐฯ ผู้สร้างเทคโนโลยีสำหรับทดสอบโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า Tappy โดยเตรียมฟ้องเป็นคดีอาญา
คดีนี้สอบสวนต่อจากคดีแพ่งระหว่าง T-Mobile และ Huawei เมื่อปี 2014 ที่ T-Mobile ยื่นฟ้องว่าพนักงานงาน Huawei ลักลอบเข้าไปในห้องปฏิบัติการเพื่อถ่ายภาพ Tappy โดยไม่ได้รับอนุญาต และยังพยายามนำปลายนิ้วของหุ่น Tappy ใส่ในกระเป๋าโน้ตบุ๊กและนำออกจากห้องปฏิบัติการ
แม้มหากาพย์การควบรวมกิจการของ T-Mobile และ Sprint จะจบลงไปตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา แต่ดีลนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% เพราะต้องรอให้หน่วยงานภาครัฐพิจารณาและอนุมัติการควบรวมก่อนเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดตามมา
Reuters รายงานอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่เปิดเผยตัวตนที่ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐกดดันให้ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile และ SoftBank ที่ถือหุ้นใหญ่ใน Sprint ต้องยกเลิกการใช้อุปกรณ์ของ Huawei จึงจะให้ดีลนี้ผ่าน
เงื่อนไขดังกล่าวน่าจะเป็นสาเหตุให้ SoftBank เตรียมเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายจาก Huawei เป็น Ericsson และ Nokia แทน เช่นเดียวกับ Deutsche Telekom ที่ออกมายอมรับในทำนองเดียวกัน
เรารู้กันดีว่า "รหัสผ่าน" เป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่มีช่องโหว่มาก และวงการไอทีก็มีความพยายามหาสิ่งอื่นมาทดแทนรหัสผ่านหลายอย่าง เช่น ไบโอเมตริก หรือสมาร์ทการ์ด
ล่าสุด โอเปอเรเตอร์สหรัฐ 4 รายใหญ่คือ AT&T, Verizon, Sprint, T-Mobile ร่วมกันเปิดตัว Project Verifyวิธีการยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์มือถือที่เราใช้งานอยู่
แนวคิดของ Verify คือผู้ใช้งานโทรศัพท์แต่ละคนมีข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่แล้ว เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลในซิมการ์ด หมายเลขไอพี รวมถึงพฤติกรรมการใช้งาน ฯลฯ โอเปอเรเตอร์มองเห็นข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว และสามารถนำมาแยกแยะว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นคนนั้นจริงๆ หรือไม่
T-Mobile ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกแฮกเกอร์เจาะฐานข้อมูลลูกค้าประมาณ 2 ล้านราย ได้ข้อมูล ชื่อ, อีเมล, ที่อยู่, หมายเลขบัญชี, ข้อมูลการออกใบเสร็จ, และรหัสผ่านที่เข้ารหัส โดยข้อมูลบัตรเครดิตนั้นไม่ได้หลุดไปด้วย
งานนี้ทางทีมดูแลความปลอดภัยของ T-Mobile เป็นผู้พบความผิดปกติด้วยตัวเอง ก่อนจะปิดช่องโหว่นี้ไป
ทาง T-Mobile รายงานออกมาครั้งแรก ไม่ได้ระบุว่ามีข้อมูลรหัสผ่านหลุดออกมาด้วย แต่นักวิจัยบางส่วน และทางเว็บ Motherboard ได้รับข้อมูลมา ระบุว่ามีฟิลด์ "userpassword" ในฐานข้อมูล น่าจะเป็นรหัสผ่านที่แฮชด้วย MD5 ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ภายหลังทาง T-Mobile จึงยอมรับว่ามีรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้วหลุดออกไปด้วย
T-Mobile ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสหรัฐฯ ประกาศ ให้บริการเครือข่าย NB-IoT ทั่วประเทศ กับคลื่น LTE band 2/4/12 ที่ T-Mobile ใช้อยู่เดิม โดยคิดค่าบริการปีละ 200 บาท (6 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 12MB ต่อปี
การแข่งขันมาตรฐาน IoT ที่ใช้งานได้ในระยะไกล เช่น การให้บริการติดตามรถส่งสินค้า หรือสถานีตรวจอากาศ ตลอดจนการใช้งานกับบริการแชร์จักรยาน ในช่วงหลัง NB-IoT ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือลงมาให้บริการกันจำนวนมาก ในไทยเองก็มี AIS และ True ให้บริการแล้ว ขณะที่มาตรฐานอื่นเช่น Sigfox ยังไม่สามารถขยายโครงข่ายได้มากนัก
แผนการควบกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint มีการคุยกันมาอย่างยาวนาน และ ล่มมาแล้วหลายรอบ ( รอบล่าสุดคือ พ.ย. 2017 ) แต่ในที่สุด ทั้งสองบริษัทก็สามารถเจรจากันได้สำเร็จ (สักที)
บริษัทใหม่จะใช้ชื่อว่า T-Mobile โดย John Legere ซีอีโอของ T-Mobile จะนั่งเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่ ส่วน Marcelo Claure ซีอีโอของ Sprint จะไม่มีตำแหน่งบริหาร แต่จะได้เป็นบอร์ดของบริษัทใหม่ ร่วมกับ Masayoshi Son ประธานและซีอีโอของ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ Sprint
ภายใต้โครงสร้างของบริษัทใหม่ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile จะถือหุ้น 42% และ SoftBank จะถือหุ้น 27% ส่วนที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์