มลรัฐมิชิแกนอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อปรับทางหลวงอินเตอร์สเตต 94 ระยะทางยาว 40 ไมล์ระหว่างเมืองแอนอาร์เบอร์และดีทรอยต์ของรัฐมิชิแกนให้เป็น ‘ทางด่วนอัจฉริยะ’ สายแรกในสหรัฐอเมริกา หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการทดสอบไปเรียบร้อยแล้ว
บริษัท Cavnue ที่ดูแลการก่อสร้างระบุว่า ด้วยกล้องเทคโนโลยี AI และเสาเซนเซอร์ทุก ๆ 200 เมตร จะช่วยให้กระทรวงคมนาคมมิชิแกน (MDOT) สามารถตรวจจับอุบัติเหตุ หลุมบ่อ หรือการจราจรติดขัด ก่อนแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ไปยังพาหนะของผู้ใช้ทางด่วนที่มีฟีเจอร์เชื่อมต่อและนำทาง เพื่อลดอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด
CSA องค์กรกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter ประกาศมาตรฐาน Matter 1.3 เพิ่มเติมอุปกรณ์ใหม่ได้แก่ อุปกรณ์จัดการน้ำ, หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และฟังก์ชันคำนวณการจัดการพลังงานที่ใช้
ส่วนของการจัดการพลังงานนั้น รวมถึงกำลังไฟฟ้าที่ใช้, โวลต์, กระแสไฟฟ้า ในระดับเรียลไทม์ ส่วนการจัดการน้ำ ใช้ทั้ง การตรวจสอบน้ำรั่วไหล, ตรวจจับน้ำแข็ง, วาวล์น้ำ, ตรวจจับฝน เป็นต้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับเพิ่มเติมในมาตรฐาน Matter 1.3 นี้ ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ, เตาอบ, เตาไฟฟ้า, เครื่องอบผ้า
ที่มา: CSA
CSA หน่วยงานกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ Internet of Things หรือ IoT ที่เป็นผู้ออกมาตรฐาน Matter ประกาศรายละเอียดความปลอดภัยอุปกรณ์ IoT เวอร์ชัน 1.0 (IoT Device Security Specification 1.0) ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรกด้านความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ผลิตได้มาตรฐานเดียวกันในการกำกับดูแล ตลอดจนการขอรับการรับรองอุปกรณ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ
มาตรฐานความปลอดภัยเวอร์ชันแรกนี้ CSA ได้ทำงานและออกแบบร่วมกับสมาชิกกว่า 200 หน่วยงาน ซึ่งรวมทั้งรายใหญ่อย่าง Amazon, Arm, Comcast, Google, NXP Semiconductors, Schneider Electric, Signify (Philips Hue กับ WiZ) และอื่น ๆ
BlackBerry ประกาศแต่งตั้ง John Giamatteo ประธานส่วนธุรกิจ Cybersecurity ขึ้นเป็นซีอีโอคนใหม่ของบริษัท ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจที่ประกาศก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม BlackBerry บอกว่าตาม แผนเดิม ที่บริษัทจะแยกธุรกิจ IoT ไอพีโอเข้าตลาดหุ้น ตอนนี้แผนดังกล่าวยกเลิกแล้ว
BlackBerry ปัจจุบันไม่มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือแล้ว โดยมีธุรกิจหลักคือบริการ Cybersecurity และธุรกิจ IoT ซึ่งได้มาจากการซื้อกิจการ QNX ที่เป็นระบบปฏิบัติการในลูกค้ากลุ่มรถยนต์ และหุ่นยนต์โรงงานอุตสาหกรรม
SoftBank ประกาศเข้าลงทุนใน Cubic Telecom สตาร์ทอัพผู้พัฒนาโซลูชันเครือข่ายแบบ software-defined เพื่อเชื่อมต่อรถยนต์ และยานพาหนะอื่น เข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยจะถือหุ้น Cubic Telecom จำนวน 51.0% ด้วยเงินลงทุนประมาณ 473 ล้านยูโร คิดเป็นมูลค่ากิจการประเมินมากกว่า 900 ล้านยูโร
ผลจากดีลนี้ทำให้ Cubic Telecom มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของ SoftBank โดยซีอีโอ Barry Napier จะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป แต่มีผู้บริหารจาก SoftBank เข้าร่วมเป็นกรรมการบอร์ดบริษัท
Xiaomi เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ HyperOS ตามนัดหมาย โดยระบุว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการเดียวสำหรับสินค้าทุกตัวของ Xiaomi ตั้งแต่อุปกรณ์พกพา รถยนต์ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัท "Human x Car x Home"
มาถึงจุดนี้แล้วหลายคนอาจสงสัยว่าตกลงแล้วมันคือระบบปฏิบัติการอะไรกันแน่ คำอธิบายของ Xiaomi บอกว่าแกนหลักของมันใช้เคอร์เนลลินุกซ์ ผสมกับระบบปฏิบัติการ Xiaomi Vela ที่พัฒนาขึ้นเอง (Vela เป็นการนำ ระบบปฏิบัติการเรียลไทม์ Apache NuttX สำหรับอุปกรณ์ IoT มาดัดแปลงต่อ โดย Xiaomi เปิดตัว Vela มาตั้งแต่ปี 2020 )
อุปกรณ์ที่รองรับเพิ่มเติมใน Matter 1.2 ได้แก่ ตู้เย็น, เครื่องปรับอากาศในห้องโหมดพัดลม, เครื่องล้างจาน, เครื่องซักผ้า, หุ่นยนต์ดูดฝุ่น, อุปกรณ์เตือนตรวจจับควัน, เซ็นเซอร์วัดคุณภาพอากาศ, เครื่องฟอกอากาศ และพัดลม
มาตรฐาน Matter มีออกมา ตั้งแต่ปี 2022 ซึ่ง CSA บอกว่ามีการขอรับรายละเอียดสเป็กกว่า 24,600 ครั้ง ออกใบรับรอง 1,214 รายการ มีบริษัทใหญ่ในวงการเทคโนโลยีที่ร่วมรองรับมาตรฐานทั้ง Amazon, Apple, Google และ Samsung โดย Matter 1.2 จะเริ่มให้ใช้งานภายในสิ้นปี 2023 นี้
ที่มา: CSA
บริษัท BlackBerry (ซึ่งเลิกทำมือถือไปนานแล้ว) ประกาศแผนเตรียมแยกธุรกิจ IoT ของตัวเองเป็นบริษัทใหม่ แยกขาดจากธุรกิจ Cybersecurity ที่เป็นธุรกิจหลัก
BlackBerry มีธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ IoT จากการซื้อบริษัท QNX ในปี 2010 เพื่อนำมาใช้เป็นแกนของระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS 10 แข่งกับสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ ในตอนนั้น
ถึงแม้แผนการสมาร์ทโฟนของ BlackBerry ไม่สำเร็จจนต้องเลิกทำ แต่ฐานลูกค้า QNX ในสายอุตสาหกรรมฝังตัวและรถยนต์ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน จนกระทั่งล่าสุดคือเตรียมแยกธุรกิจนี้ออกเป็นบริษัทใหม่ และขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ (แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้ชื่อว่า QNX เหมือนเดิมหรือไม่)
Sony Semiconductor Solutions (SSS) บริษัทชิปในกลุ่มโซนี่ เปิดตัวชิปเก็บเกี่ยวพลังงาน (energy harvesting) จากคลื่นวิทยุที่ปกติเป็นสัญญาณรบกวนอยู่ทั่วไป โดยสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ระดับไมโครวัตต์จนถึงมิลลิวัตต์
การเก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นวิทยุ อาศัยคลื่นตั้งแต่ย่านไม่กี่เฮิรตซ์ไปจนถึงระดับ 100 เมกกะเฮิรตซ์ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นนี้ทำให้ สามารถหาพลังงานได้ตลอดเวลาแม้อยู่ในร่มหรือสภาพอากาศไม่มีแสงแดด
นอกจากการเก็บเกี่ยวพลังงานแล้ว โมดูลนี้ยังสามารถใช้ตรวจสอบคลื่นรบกวนจากแหล่งต่างๆ เช่นตรวจสอบความผิดปกติของมอเตอร์
ตอนนี้ SSS ยังไม่เปิดเผยราคาของโมดูลนี้ แต่ระบุว่ากำลังหาพันธมิตรมาร่วมพัฒนาโซลูชั่นร่วมกัน
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีไบเดน เปิดตัวตราสัญลักษณ์รูปโล่ U.S. Cyber Trust Mark เพื่อบ่งชี้ว่าอุปกรณ์ IoT มีความปลอดภัยไซเบอร์มากเพียงพอ ไม่กลายเป็นช่องโหว่ให้ถูกโจมตี
โครงการตราสัญลักษณ์ U.S. Cyber Trust Mark ริเริ่มโดย FCC หรือ กสทช. สหรัฐ จะใช้งานกับอุปกรณ์ทุกรูปแบบที่เชื่อมต่อเครือข่าย เช่น สมาร์ททีวี, ตู้เย็นอัจฉริยะ, เตาไมโครเวฟ, ฟิตเนสแทร็คเกอร์, สมาร์ทมิเตอร์ ฯลฯ โดยมีแบรนด์สินค้าบางราย เช่น Amazon, Best Buy, Google, LG, Logitech, Samsung Electronics ประกาศเข้าร่วมโครงการแล้ว โครงการจะเริ่มดำเนินการจริงในปีหน้า 2024
แบรนด์ที่จะได้ตราสัญลักษณ์ U.S. Cyber Trust Mark จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัยที่กำหนดโดย National Institute of Standards and Technology (NIST) ซึ่งยังไม่เปิดเผยรายละเอียดในตอนนี้
Amazon มีโปรโตคอลสื่อสารไร้สาย Sidewalk สำหรับอุปกรณ์ IoT เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 และ เปิดทดสอบในวงปิดเมื่อปี 2021 ตอนนี้เปิด HDK/SDK ให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว
Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ ( เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
NIST ประกาศผลประกวดกระบวนการเข้ารหัสลับและการแฮชข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก จากที่มีผู้ส่งประกวด 57 ราย ได้ผู้ชนะคือ Ascon ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยร่วมระหว่าง Graz University of Technology, Infineon Technologies, Lamarr Security Research, และ Radboud University
ไมโครซอฟท์ออกรายงานเตือนภัยการใช้งาน เว็บเซิร์ฟเวอร์ Boa ที่หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2005 แต่ยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ IoT และกล้องวงจรปิด
Boa เป็นซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่เขียนขึ้นในปี 1995 และหยุดพัฒนาในปี 2005 จุดเด่นของมันคือใช้ทรัพยากรน้อย ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT และชุดพัฒนา SDK ต่างๆ (ที่ไมโครซอฟท์ระบุยี่ห้อมี 1 รายคือ Realtek) แต่การที่มันไม่ถูกพัฒนามานานมาก ทำให้แทบไม่มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใดๆ แม้กระทั่ง access control หรือการรองรับ SSL
โปรโตคอล Matter มาตรฐานกลางสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่าย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ( สเปกเวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อเดือนตุลาคม ) โดยชูว่าตอนนี้มีผลิตภัณฑ์ 190 รุ่นผ่านการรับรองหรืออยู่ระหว่างการรับรองว่าเข้ากันได้กับ Matter
เว็บไซต์ข่าว Semafor รายงานว่า Andy Rubin บิดาแห่ง Android กลับมาเปิดบริษัทใหม่ (อีกแล้ว) รอบนี้เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ชื่อ Simple Things ทำเรื่อง IoT เป็นสินค้าเกี่ยวกับความปลอดภัยทั้งในแง่ safety และ security ของบ้าน
ตอนนี้ Rubin ยังไม่ได้เปิดตัวบริษัท Simple Things อย่างเป็นทางการ ข้อมูลเท่าที่มีคือเขาได้บริษัทลงทุนชื่อดัง Andreessen Horowitz โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ Marc Andreessen มานั่งเป็นบอร์ดของบริษัทด้วย
หลังจาก ประกาศข่าวการพัฒนา และเลื่อนกำหนดเปิดตัวมาหลายครั้ง ในที่สุด Matter มาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮมก็คลอดเวอร์ชั่น 1.0 ออกมาแล้ว
Matter เป็นมาตรฐานที่สร้างโดย CSA (Connectivity Standards Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากบริษัทมากกว่า 550 บริษัทในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฮมมาร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานกลาง เพื่อให้อุปกรณ์และระบบที่พัฒนาจากผู้ผลิตแต่ละรายสามารถทำงานเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้โดยเน้นการเชื่อมต่อบนมาตรฐานเครือข่ายแบบ IP-based ที่มีอยู่แล้วคือ Ethernet (802.3), Wi-Fi (802.11), Thread (802.15.4) และ Bluetooth LE
Cloudflare เปิดบริการ Cloudflare SIM บริการเน็ตเวิร์คสำหรับโทรศัพท์มือถือให้สามารถเชื่อมต่อเข้าองค์กรโดยไม่ต้องลงแอปใดๆ เพิ่มเติม แต่อาศัยการออก eSIM ให้พนักงาน เมื่อพนักงานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วองค์กรจะดูแลความปลอดภัยผ่านทาง DNS ได้ทันที หรือจะตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เพิ่มเติมผ่านแอป WARP ก็ได้เช่นกัน องค์กรจะรู้ได้ทันทีว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาเป็นของผู้ใช้คนใด
ตอนนี้ Cloudflare ยังไม่ประกาศว่า eSIM ที่ออกมานี้ใช้ในประเทศใดได้บ้างแต่บอกเพียงว่าจะพยายามขยายเครือข่ายไปทั่วโลก และอาจจะมีการออก SIM ปกติในอนาคต ตัว eSIM สามารถล็อกเข้ากับหมายเลข IMEI ของโทรศัพท์ได้
บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) เปิดตัวโปรเจคเตอร์รุ่นแรกของโลก ที่มีซีพียู Celeron และรัน Windows 11 ในตัว ทำให้ฉายภาพโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อพีซีภายนอก สามารถคีย์บอร์ดและเมาส์เพื่อกลายร่างเป็นพีซีปกติ และต่อเว็บแคมเพื่อประชุมออนไลน์ได้ทันที
โปรเจคเตอร์ BenQ รุ่น EH620 ใช้ซีพียู Celeron 4000 Series, ระบบปฏิบัติการเป็น Windows 11 IoT Enterprise ครอบด้วย BenQ Uni Launcher UI ที่เพิ่มปุ่มลัดสำหรับการประชุม, แอพที่มีมาให้ในตัวคือ Chrome, Edge, Teams, Google Meet, Skype for Business, TeamViewer Meeting และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มได้เองจาก Microsoft Store
Google Cloud ประกาศปิดบริการ IoT Core ที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับบริการคลาวด์ ผ่านทางโปรโตคอล MQTT และ HTTP โดยบริการนี้เปิดให้บริการทั่วไปมาตั้งแต่ปี 2017 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 5 ปีเต็ม
ทาง Google Cloud ส่งอีเมลแจ้งปิดบริการให้กับลูกค้าที่ใช้งานอยู่ และ ปรับหน้าเว็บแสดงแบนเนอร์ว่ากำลังปิดบริการ ปัญหาใหญ่ของระบบ IoT เช่นนี้คือพันธมิตรและอุตสาหกรรมมักต้องลงทุนกับการ พัฒนาฮาร์ดแวร์ เพื่อให้ทำงานร่วมกับบริการคลาวด์ การที่กูเกิลประกาศปิดบริการโดยให้เวลาเพียงปีเดียวเช่นนี้น่าจะสร้างปัญหาต่ออุตสาหกรรมที่ผูกติดกับบริการของกูเกิลไปแล้วค่อนข้างมาก
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ ( บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All ) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
Espressif ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อม Wi-Fi ราคาประหยัดชื่อดังเปิดตัวชิปรุ่นล่าสุด ESP32-C5 จุดเด่นสำคัญคือการรองรับ Wi-Fi ที่คลื่นย่าน 5GHz จากเดิมที่รองรับย่าน 2.4GHz เท่านั้น
ESP32-C5 ใช้ซีพียูภายในเป็น RISC-V 32 บิต คอร์เดี่ยว แรม 400KB รอม 384KB รองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) ที่แถบคลื่นกว้าง 20MHz และรองรับ Wi-Fi 802.11b/g/n ที่แถบคลื่นกว้าง 20/40MHz พร้อมกับ Bluetooth 5 LE
802.11ax รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้ดีกว่า Wi-Fi ตัวอื่นๆ เนื่องจากมีฟีเจอร์ Target Wake Time (TWT) รองรับการเชื่อมต่อโดยที่ตัวอุปกรณ์ IoT ปิดการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ไปได้นานๆ ก่อนจะกลับมาส่งข้อมูล ทำให้อุปกรณ์อาจจะใช้แบตเตอรี่ได้นานนับปี
บริษัท Arduino เจ้าของบอร์ดขนาดเล็กที่นิยมอย่างมาก ประกาศระดมทุนรอบซีรีส์ B จำนวน 32 ล้านดอลลาร์ (แต่ไม่มีเปิดเผยมูลค่าของบริษัท) จาก Robert Bosch Venture Capital (RBVC) ในเครือ Bosch, Renesas, Anzu Partners, Arm
Arduino บอกว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปทำธุรกิจสำหรับลูกค้าฝั่งองค์กร โดยให้เหตุผลว่าวิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่เติบโตมากับบอร์ด Arduino เริ่มเข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆ และต้องการนำโซลูชัน Arduino ที่คุ้นเคยไปใช้ทำงานด้วย
การที่ Arduino ได้รับเงินลงทุนจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้ง Bosch, Renesas, Arm ก็ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจว่า Arduino จริงจังกับการขยายธุรกิจไปภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่บริษัทก็ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง
AWS เปิดบริการ FreeRTOS Extended Maintenance Plan (EMP) บริการแพตช์ความปลอดภัยให้กับ FreeRTOS รุ่น LTS ต่อเนื่องหลังหมดอายุซัพพอร์ตไปอีก 10 ปี
ปกติแล้ว FreeRTOS รุ่น LTS มีอายุซัพพอร์ตเพียง 2 ปีเท่านั้น แต่อายุการใช้งานอุปกรณ์ IoT มักยาวนานนับสิบปี และผู้พัฒนาหลายรายก็ไม่พร้อมพอร์ตแอปพลิเคชั่นข้ามเวอร์ชั่นบ่อยๆ รวมถึงตัว API ของระบบปฎิบัติการก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง
รุ่น LTS ที่มีการใช้งานอยู่ตอนนี้เช่น FreeRTOS 202012.01 LTS จะหมดอายุซัพพอร์ตปี 2023 หากซื้อบริการ EMP ก็จะใช้งานได้ถึงปี 2033 เลยทีเดียว
กระทรวงดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อ, และการกีฬาสหราชอาณาจักรเสนอร่างกฎหมาย Product Security and Telecommunications Infrastructure (PSTI) เข้าสู่สภาเพื่อควบคุมความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ทั้งระบบ เช่น สมาร์ตทีวี, กล้องวงจรปิด, ลำโพงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หลังจากผลักดันนอกสภามาถึงสองปี
กฎหมายเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุปกรณ์ ต้องทำตามเงื่อนไขหลัก 3 รายการ ได้แก่