Starlink ประกาศเตรียมเริ่มให้บริการส่งข้อความส่งจากโทรศัพท์มือถือในชื่อบริการ Direct to Cell ภายในปี 2024 และจะเพิ่มบริการโทรเสียง, อินเทอร์เน็ต, ตลอดจนบริการเชื่อมต่อ IoT ในปี 2025 โดยจุดเด่นสำคัญคือคลื่นที่ปล่อยมานั้นจะเป็นสัญญาณ LTE (4G) ปกติ ไม่ต้องดัดแปลงเครื่องเป็นพิเศษ
ก่อนหน้านี้ T-Mobile และ Starlink เคยประกาศว่าจะทดสอบบริการนี้ช่วงปลายปี 2023 แต่หน้าเว็บประกาศครั้งนี้ก็ยังไม่ระบุว่าจะสามารถทดสอบได้ตามกำหนดเดิมหรือไม่
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ Sprint ได้ยื่นฟ้อง AT&T ฐานใช้โลโก้ 5G E ทำตลาดทั้งที่เทคโนโลยีเป็นแค่ LTE ล่าสุด Dallas Business Journal รายงานว่าคดีความและข้อพิพาทระหว่างสองบริษัทได้ข้อยุติแล้ว โดยโฆษกของทั้งสองบริษัทได้ยืนยันตรงกันในเรื่องนี้ว่า ข้อพิพาทเรื่องนี้ยุติลงกันฉันมิตร
อย่างไรก็ตามไม่มีรายละเอียดว่าในข้อตกลงระหว่าง AT&T และ Sprint ที่ทำให้ข้อพิพาทนี้ยุติลงคืออะไร อย่างไรก็ตาม AT&T ยังคงจะใช้งานโลโก้ 5G E บนเครือข่าย LTE ต่อไปเช่นเดิม จึงอาจเป็นไปได้ว่า AT&T จ่ายเงินค่าเสียหายให้ Sprint
สืบเนื่องจากปลายปีที่แล้ว AT&T เลือกจะ เปลี่ยนไอคอนแสดงสถานะ LTE เป็น 5G E ด้วยเหตุผลด้านการตลาด แต่ล่าสุดการเปลี่ยนไอคอนนี้เป็นเรื่องถึงชั้นศาลแล้ว
Sprint ได้ยื่นฟ้องศาลโดยให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนโลโก้ของ AT&T สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค ด้วยหลงคิดว่า AT&T ให้บริการ 5G จริงและสมาร์ทโฟนของพวกเขาก็รองรับ โดยอ้างอิงการสำรวจที่ Sprint สอบถามผู้บริโภคพบว่ากว่า 54% คิดว่า 5G E ของ AT&T เร็วเทียบเท่าหรือเร็วกว่า 5G จริงด้วยซ้ำไป
การฟ้องร้องของ Sprint ไม่เพียงแค่ด้วยเหตุผลสร้างความสับสนเท่านั้น แต่ยังเรียกค่าเสียหายที่ Sprint เสียโอกาสจากการใช้โลโก้ 5G E ของ AT&T ด้วย
AT&T เริ่มเปิดบริการ 5G ในสหรัฐแล้ววันนี้ โดยเริ่มต้นใน 12 เมืองก่อนแล้วขยายเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2019 ส่วนอุปกรณ์ในท้องตลาดยังไม่มีมือถือ 5G จึงต้องใช้อุปกรณ์ pocket Wi-Fi ของ Netgear ที่รองรับเน็ต 5G ไปพลางๆ ก่อน
อย่างไรก็ตาม AT&T ก็ประกาศว่าจะปรับเปลี่ยนไอคอนแสดงเครือข่าย LTE บนมือถือ Android เป็นคำว่า 5G E (ย่อมาจาก 5G Evolution) หากเชื่อมต่อกับเครือข่าย 4G LTE ที่เป็น 4x4 MIMO, 256 AQM ส่วนเครือข่ายที่เป็น 5G แท้จะใช้ไอคอนว่า 5G+
AT&T ไม่ได้ระบุเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าบริษัทต้องการโปรโมทว่าเครือข่ายของตัวเองเป็น 5G แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่ 5G แท้ๆ ก็ใช้วิธีเลี่ยงเป็นคำว่า "กำลังจะเป็น 5G" หรือ 5G Evolution แทน
เว็บไซต์ PCMag เผยการทดสอบความเร็วการดาวน์โหลดด้วย LTE กับสมาร์ทโฟนหลายรุ่น ประกอบไปด้วย iPhone XS, Galaxy Note 9, Galaxy Note 8, iPhone X, Pixel 2, iPhone 8 และ iPhone 7 ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมา iPhone XS แม้ประสิทธิภาพความเร็วการดาวน์โหลดด้วย LTE จะดีกว่า iPhone X แต่ยังเป็นรอง Galaxy Note 9
Qualcomm เปิดตัวชิปโมเด็ม Snapdragon X24 LTE ซึ่งเป็นชิปโมเด็มตัวแรกที่รองรับสเปก LTE Category 20 ความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 2Gbps
เทคนิคที่ช่วยให้ทำความเร็วระดับนี้ได้คือ การใช้เสาแบบ 4x4 MIMO ร่วมกับการทำ carrier aggregate แบบ 5 ชุดความถี่ (5CA) รวมเป็นสตรีมข้อมูล 20 สาย ถือเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ทำได้ระดับนี้ นอกจากนี้ ชิป X24 ยังใช้กระบวนการผลิต 7nm FinFET ตัวใหม่ล่าสุดด้วย
Qualcomm จะโชว์เดโมของ X24 ในงาน Mobile World Congress ปลายเดือนนี้ โดยร่วมกับ Ericsson, Telstra, NETGEAR ส่วนสินค้าจริงจะเริ่มวางขายช่วงปลายปี 2018
Ericsson ผู้ให้บริการโครงข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมออกรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเดือนพฤศจิกายน คาดการณ์การใช้งานเทคโนโลยี 5G ว่าจะเริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปีหน้า (2019) โดยสหรัฐ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีนจะเป็นกลุ่มๆ แรกที่มีการใช้งาน และจะแพร่หลายและมีผู้ใช้ถึง 1 พันล้านรายหรือ 20% ของประชากรโลกในปี 2023
ในส่วนของ LTE ทาง Ericsson คาดว่าจะถูกผลักดันให้กลายเป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่อหลักในสิ้นปีนี้ และภายใน 2023 จะมีการใช้บริการกว่า 5.5 พันล้านราย ซึ่งครอบคลุม 85% ของประชากรโลก เช่นเดียวปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายทั่วโลกจะเกิน 100 เอกซะไบต์ (1 ล้าน TB) โดยทราฟฟิคกว่า 75% มาจากเป็นวิดีโอ
AMD ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm เพื่อสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์พีซีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (วิสัยทัศน์เดียวกับ Always Connected PC ของไมโครซอฟท์ และเปิดตัวในเวทีงาน Qualcomm งานเดียวกัน)
ภายใต้ความร่วมมือนี้ AMD จะนำโมเด็ม Snapdragon LTE ที่รองรับความเร็วระดับ Gigabit LTE ไปผนวกกับ Ryzen Mobile ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กของตัวเองด้วย ส่งผลให้ AMD มีโซลูชันสำหรับโน้ตบุ๊กในอนาคตครบถ้วน นั่นคือ Ryzen ในฐานะซีพียู บวกกับ Radeon Vega จีพียูสมรรถนะสูง และเชื่อมต่อ LTE ตลอดเวลา
ขั้นต่อไปก็รอบรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก นำโซลูชันของ AMD+Qualcomm ไปใช้งาน ซึ่งก็น่าจะเปิดตัวกันในงาน CES 2018 ต้นปีหน้า
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Surface Pro with LTE Advanced รุ่นต่อเน็ตได้ในตัว โดยจะเริ่มขายในเดือนธันวาคมนี้ ในราคาเริ่มต้นที่ 1,149 ดอลลาร์ สำหรับรุ่น Core i5/แรม 4GB (สเปกเดียวกันรุ่นไม่มี LTE ขาย 999 ดอลลาร์)
กลุุ่มเป้าหมายของ Surface Pro with LTE Advanced คือลูกค้าธุรกิจ จุดเด่นของมันคือรองรับ LTE Cat. 9 ความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 450 Mbps และรองรับความถี่ LTE กว่า 20 ย่าน
ที่มา - Microsoft , TechCrunch
วันนี้ (26 พฤษภาคม 2560) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด กับ บมจ. ทีโอทีร่วมกันแถลงข่าวที่ ทีโอทีเลือกให้ดีแทคเป็นคู่ค้าในการให้บริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz และจะเป็นครั้งแรกที่นำเทคโนโลยี 4G LTE-TDD มาให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย โดย บมจ.ทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้จาก dtac ปีละ 4,510 ล้านบาท
มาตรฐาน 5G เพิ่งมีสถานะเป็นฉบับร่าง และน่าจะออกฉบับสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2018 แต่สงครามการตลาดเพื่อชิงความเป็นเจ้าแห่ง 5G ก็เริ่มต้นขึ้นแล้ว
AT&T โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ เปิดตัวแบรนด์ 5G Evolutionเพื่อเคลมว่าตัวเองสามารถให้บริการ "5G" ระหว่างที่กำลังรอมาตรฐาน 5G ร่างเสร็จ เมืองแรกที่จะใช้งานได้คือ Austin โดยสามารถใช้ได้กับ Samsung Galaxy S8/S8+ เท่านั้นในตอนนี้
หลังถูกพูดถึงกันมาตั้งแต่ปี 2014 และถูกทดสอบกันมาซักพักใหญ่ๆ ล่าสุดอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูง LTE-U หรือ Unlicensed LTE ที่อาศัยย่านความถี่ 5GHz ที่ไม่ต้องขออนุญาต (และไม่ได้ถูกใช้งาน) มาใช้เพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ได้รับการรับรองจาก FCC หรือกสทช. ของสหรัฐเป็นชิ้นแรกแล้ว
อุปกรณ์ชิ้นแรกที่ได้รับการรับรองคือสถานีฐานของ Ericsson และ Nokia และผู้ให้บริการเจ้าแรกที่จะนำมาตรฐานใหม่นี้ไปให้บริการคือ T-Mobile ในสหรัฐ ซึ่งจะเริ่มในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิหรือปลายเดือนหน้า
Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon X20 ซึ่งเป็นโมเดม LTE ใหม่ โดยการรันตีความเร็วการดาวน์โหลดถึง 1.2Gbps บนอุปกรณ์พกพา ซึ่งเร็วกว่ารุ่น X16 ถึง 20%
X20 นั้นใช้วิธี Carrier Aggregation และ 4x4 MIMO ทำให้โมเด็มตัวนี้สามารถรับสตรีมข้อมูล 12 แบบที่ต่างกันได้พร้อม ๆ กัน แม้จะมีผู้ให้บริการ 20MHz เพียงแค่ 3 รายเท่านั้น โดยใน downlink แต่ละช่องนั้น X20 จะรองรับระบบ 256-QAM ทำให้สามารถทำความเร็วต่อช่องได้สูงสุดถึง 100Mbps และส่วน uplink แต่ละช่องรองรับ 2x20MHz Carrier Aggregation และ 64-QAM ทำให้รองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 150Mbps
เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา AIS ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Huawei ประกาศว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32Rในระบบ FDD เป็นครั้งแรกของโลก และเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ก่อนจะเข้าสู่ยุค 5G ต่อไป
ทีม Blognone มีโอกาสพูดคุยกับ นายฮุย เวง ชอง กรรมการผู้อำนวยการของ AIS และทีมวิศวกรที่ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้ จึงนำข้อมูลเชิงลึกในแง่เทคนิคมาฝากครับ
การรถไฟเกาหลี (Korea Rail Network Authority - KRNA) ประกาศเลือกโนเกียให้เป็นซัพพลายเออร์สำหรับการการติดตั้งเครือข่ายไร้สาย LTE-R สำหรับการสื่อสารบนรถไฟสายวอนจู-คังนึง นับเป็นรถไฟสายแรกที่เลือกใช้เทคโนโลยีนี้
LTE-R เป็นมาตรฐานที่ต่อยอดไปจาก 4G LTE ที่เราใช้งานกันในโทรศัพท์ แต่พัฒนาเพิ่มสำหรับใช้งานในระบบควบคุมที่สำคัญยิ่งยวดอย่างรถไฟ โครงการนี้น่าจะเป็นโครงการต้นแบบสำหรับการติดตั้ง LTE-R ในที่อื่นๆ ในอนาคต
โนเกียเองมีประสบการณ์ในการติดตั้งเครือข่ายเฉพาะ เช่นนี้มาแล้วกว่า 30 ปีด้วยเทคโนโลยี GSM-R และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก LTE-R โครงการนี้ KRNA จะใช้สถานีฐานจากโนเกีย พร้อมกับซอฟต์แวร์จัดการเครือข่าย NetAct
Philippine Long Distance Telephone Company (PLDT) บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในฟิลิปปินส์ประกาศวางเครือข่าย LTE บนคลื่น 700MHz ที่เพิ่งได้รับมาจากการเข้าซื้อธุรกิจโทรคมนาคมจาก San Miguel Corporation (SMC)
Public Safety LTE (PS-LTE) เทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงสำหรับใช้ในงานกู้ภัยที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ปี 2013 ในที่สุดก็ใกล้ถึงคราวได้ใช้งานจริง หลังจาก ซัมซุงเพิ่งประกาศแผนเปิดใช้งานในเกาหลีใต้ ภายในปี 2016 นี้แล้ว
ย้อนความ PS-LTE เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในยามเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติโดยเฉพาะ โดยจุดเด่นอยู่ที่สามารถใช้งานได้แม้อยู่ในสภาวะเลวร้าย ไม่มีไฟฟ้า มีความปลอดภัยสูง และยังคงความเร็วอันเป็นจุดเด่นของ LTE เอาไว้ ต่างกับเทคโนโลยีการสื่อสารทั่วไปที่มักจะพิการในยามเกิดภัยพิบัติดังกล่าว
ในยุคที่อุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้กำลังเบ่งบาน ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกอย่าง Qualcomm ก็ออกมารับกระแสด้วยการเปิดตัวชิปซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในชื่อ Snapdragon Wear พร้อมกับเปิดตัวรุ่นแรกมาในรหัส Snapdragon Wear 2100 SoC แล้ว
Snapdragon Wear 2100 ออกมาเพื่อแทนชิปรุ่นเดิมอย่าง Snapdragon 400 อดีตชิปสมาร์ทโฟนที่ถูกใช้กับสมาร์ทวอทช์อย่างกว้างขวาง โดยข้อได้เปรียบของ Snapdragon Wear 2100 มีตั้งแต่ขนาดที่เล็กลง 30% กินพลังงานน้อยกว่าถึง 25% ร่วมด้วยฟีเจอร์ที่อุปกรณ์ไอทีสวมใส่จำเป็นต้องใช้อย่างชุดเซ็นเซอร์ในตัว และโมเด็มที่รองรับทั้ง LTE, Wi-Fi, Bluetooth กินไฟต่ำ และระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS)
OpenSignal บริษัทผู้พัฒนาแอพสำหรับตรวจสอบความเร็วเครือข่ายไร้สายที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 15 ล้านครั้ง รายงานสถิติการใช้งาน LTE ในระดับโลกทั้งด้านความเร็ว และการครอบคลุมการใช้งานในทุกประเทศที่ให้บริการ LTE ชุดใหญ่
ก่อนจะพูดถึงตัวเลขสถิติ ต้องเกริ่นก่อนว่า OpenSignal ใช้ข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้แอพของตัวเองในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยสถิติหลักๆ จะเป็นเรื่องของความเร็ว และการครอบคลุมการใช้งาน ซึ่งอย่างหลังไม่ได้พูดถึงการครอบคลุมด้านภูมิศาสตร์ แต่เป็นค่าเฉลี่ยของผู้ใช้ที่สามารถใช้งานเครือข่าย LTE ได้เมื่อเทียบกับผู้ใช้ทั้งหมด โดยข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้
เข้าใกล้ความจริงไปทุกขณะสำหรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูง LTE-U ซึ่งรับ-ส่งข้อมูลผ่านย่านความถี่ที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตเหมือนกับ Wi-Fi ทั่วไปที่ใช้ย่านความถี่ 5GHz ในปัจจุบัน
ตัวเทคโนโลยี LTE-U ถูกยกขึ้นมาพูดถึงกันตั้งแต่ปี 2014 และฝั่งผู้ผลิตชิปอย่าง Qualcomm ก็เตรียมรองรับในชิปรุ่นใหม่อย่าง Snapdragon 820 เหลือเพียงแค่รอการอนุมัติจากองค์กรที่กำกับดูแล ซึ่งล่าสุด FCC (กสทช. สหรัฐฯ) ก็ออกมาอนุญาตให้ทดสอบ LTE-U ได้แล้ว โดยมีหัวหอกอย่าง Verizon และ Qualcomm พยายามผลักดันมาหลายเดือน
- Read more about FCC ไฟเขียวให้ Verizon และ Qualcomm เริ่มทดสอบ LTE-U
- 5 comments
- Log in or register to post comments
วันนี้มีประเด็นถกเถียงกันในโซเชียลว่า 4G Advancedมี "ของปลอม" ด้วยหรือ ซึ่งน่าจะเป็นแคมเปญการตลาดของบรรดาโอเปอเรเตอร์ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด
Blognone จะไม่สนใจประเด็นเรื่องการตลาด แต่จะมองในทางเทคนิคว่าตกลงแล้ว 4G Advanced มีของปลอมหรือไม่
คำว่า 4G Advanced เป็นชื่อทางการตลาด
อย่างแรกเลย ต้องบอกก่อนว่าคำว่า "4G Advanced" นั้นไม่มีตัวตนในโลกเทคนิคนะครับ มีแต่ 4G และ LTE Advanced เท่านั้น คำว่า "4G Advanced" ที่ดูแล้วน่าจะเป็นการเอาสองคำมารวมกัน จึงเป็นคำศัพท์ในเชิงการตลาดที่โอเปอเรเตอร์คิดขึ้นมาเท่านั้น
เป็นบริษัทไอทีเจ้าใหญ่อีกรายที่รุกเข้ามาใน Internet of Things บ้างแล้วสำหรับ Sony ที่วันนี้เพิ่งประกาศเข้าซื้อ Altair Semiconductor ผู้พัฒนาชิปสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับ LTE
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. (กสทช. ด้านโทรคมนาคม) ได้ลงมติอนุมัติให้ทีโอที นำคลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz มาทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี LTE ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบการเดิม
หลังจาก เปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในวันนี้ดีแทคได้เปิดให้บริการ VoLTE (และ ViLTE) อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่ถือ Samsung Galaxy S6, Samsung Galaxy S6 edge และ Eagle X สามารถใช้บริการได้ทันทีโดยการกด *444*41# เพื่อเปิดใช้งานด้วยตนเอง
ในส่วนของค่าบริการทั้ง VoLTE และ ViLTE จะยึดจากนาทีหรือวินาที ของค่าโทรตามแพ็คเกจปกติที่ผู้ใช้ได้สมัครไว้ โดยไม่หักจากส่วน data ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทำให้หมดกังวลไปได้เลยว่าจำนวน data จะหมดเร็วขึ้น
นอกจากเปิดตัวสองชิปรุ่นใหม่อย่าง Snapdragon 617 และ 430 แล้ว ในวันเดียวกัน Qualcomm ยังเผยข้อมูลเพิ่มเติมของ Snapdragon 820 ชิปรุ่นเรือธงที่ใกล้ลงตลาดไปทุกขณะ โดยคราวนี้ลงรายละเอียดไปที่การเชื่อมต่อทั้งผ่าน LTE และ Wi-Fi
ในส่วนของการรองรับ LTE ชิป Snapdragon 820 จะเป็นรุ่นแรกที่ใช้โมเด็ม X12 LTE ซึ่งรองรับการดาวน์โหลดข้อมูลความเร็วสูงถึง 600Mbps และอัพโหลด 150Mbps เร็วกว่าโมเด็มรุ่นท็อปตัวปัจจุบันอย่าง X10 LTE ถึง 33% รวมถึงจะรองรับการใช้งาน LTE-U ซึ่งใช้งานความถี่ 5GHz ที่เคยพูดถึงเมื่อช่วงต้นปีได้อีกด้วย (แต่ยังไม่มีรายละเอียด)