Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Supporters of Chromium-Based Browsersดึงหลายๆ บริษัทเข้ามาช่วยพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium
กลุ่ม Supporters of Chromium-Based Bowsers ที่อยู่ภายใต้ Linux Foundation จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการร่วมพัฒนา Chromium เพิ่มเติมจากกูเกิลทำอยู่รายเดียว ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 รายคือ Meta, Microsoft, Opera และจะเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกในอนาคต
Arc Browser เว็บเบราว์เซอร์เน้นการปรับแต่งและฟีเจอร์ระดับสูง ประกาศออกเวอร์ชัน Windows 11 หลังเปิดทดสอบแบบ Beta มาได้สักพักหนึ่ง
Arc Browser เป็นผลงานของบริษัทสตาร์ตอัพ The Browser Company จากนิวยอร์ก ตัวมันใช้เอนจิน Chromium แล้วเขียนส่วน UI ขึ้นมาเองด้วยภาษา Swift เพราะเวอร์ชันแรกทำงานบน macOS เพียงอย่างเดียว (ออกช่วงกลางปี 2023) ล่าสุดทีมงานพัฒนาเวอร์ชัน Windows 11 โดยใช้วิธีนำโค้ด Swift มารันบน Windows 11 ด้วย ถือเป็นแอพตัวแรกที่เขียนด้วย Swift และทำงานบน Windows
Google ได้อัปเดต Manifest V3 ใหม่ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ Chrome extension ที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจำกัดจำนวนตัวบล็อกโฆษณา ซึ่ง Google ประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงจาก Manifest V2 ไปสู่ Manifest V3 ต่อ ด้วยการปรับปรุงข้อกำหนดหลักบางส่วน
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือ การปรับปรุงการกรองเนื้อหาสำหรับ Declarative Net Request API ที่ใช้กับ Extension ที่บล็อกโฆษณา ที่ก่อนหน้านี้ Google เสนอให้จำกัดการทำงานของ API นี้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของตัว Ad Blocker ในเบราว์เซอร์ที่ใช้ Chromium ทั้งหมด
ตอนนี้ Manifest V2 [หยุดซัพพอร์ตไปแล้ว] และ Google จะปิดใช้ส่วนขยาย Manifest V2 ในเบราว์เซอร์ของผู้ใช้โดยอัตโนมัติในเดือนมิถุนายนปี 2024 ต่อไป
Opera เปิดตัว Opera One เว็บเบราว์เซอร์ดีไซน์ใหม่ ที่จะมาแทน Opera เวอร์ชันปัจจุบันภายในปีนี้
หน้าตาของ Opera One ยังคล้ายของเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ Opera เขียน multithreaded compositor ของตัว UI ใหม่ ทำให้แอนิเมชันของปุ่มต่างๆ ลื่นไหลมากขึ้น
Opera อธิบายว่าเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium ใช้เทคนิคการแยกเธร็ดหลัก (main thread) สำหรับการอ่านไฟล์ HTML และอินพุตจากผู้ใช้เพื่อนำมาเรนเดอร์ชิ้นส่วน กับเธร็ด compositor ที่นำชิ้นส่วนมาประกอบกันบนหน้าจอ การแยกเธร็ดแบบนี้ทำให้แอนิเมชันดูลื่นไหล เพราะ compositor ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอจังหวะหยุดทำงานของเธร็ดหลัก
โครงการ Chromium ที่เป็นโครงการต้นน้ำของเบราว์เซอร์ Chrome ประกาศเริ่มรองรับไลบรารีภาษา Rust เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ภาษา Rust เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ซอฟต์แวร์โดยรวม
การใช้งานช่วงแรกจะเป็นการใช้งานทางเดียว นั่นคือตัวโค้ด Chromium หลักที่เป็น C++ จะเรียกไลบรารีที่เป็นภาษา Rust ได้แต่ไลบรารีเหล่านั้นห้ามเรียกโค้ด C++ อื่นอีก และโค้ด Rust ที่ใช้งานจะเป็นส่วนประกอบที่แยกเฉพาะทาง (standalone components) เท่านั้น ไม่ใช่ส่วนที่เป็นแกนหลักของตัวเบราว์เซอร์ โดยทั่วไปไลบรารีเหล่านี้มักรับผิดชอบงานเฉพาะทางเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลมีพัฒนาการสำคัญคือ สามารถรัน Chromium ตัวเต็มได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ Simple Browser แบบง่ายๆ เท่านั้น
กูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome มารันบน Fuchsia ได้สักพักใหญ่ๆ และตอนนี้เริ่มออกผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว แม้ยังมีบั๊กอยู่บ้างก็ตาม
ที่ผ่านมา กูเกิลนำ Fuchsia มาใช้งานในหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub แต่ครอบด้วย UI อีกชั้นทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง การที่ Fuchsia เริ่มทำงานทั่วๆ ไปอย่างเบราว์เซอร์ได้ จึงเป็นการขยายขอบเขตของ Fuchsia ให้ไปไกลกว่าระบบปฏิบัติการเฉพาะอุปกรณ์
- Read more about ระบบปฏิบัติการ Fuchsia รัน Chromium ได้แล้ว
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์เขียนบล็อกอธิบายการทดลองสร้าง "โหมดปลอดภัยสุดๆ" (Super Duper Secure Mode) ของ Microsoft Edge โดยใช้แนวคิดสุดขั้วคือปิดการทำงานของ JIT (Just-In-Time Compilation) ในเอนจิน V8 ของ Chromium ไปเลย เพื่อลดพื้นที่ในการถูกโจมตี (attack surface)
แนวคิดของไมโครซอฟท์คือ JIT ของ Chromium ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ( ข่าวเก่า 1 , ข่าวเก่า 2 ) เกิดบั๊กจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และหากดูสถิติช่องโหว่ความปลอดภัย (CVE) ของเอนจิน V8 หลังปี 2019 เป็นต้นมา มีช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับ JIT คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 45% ของช่องโหว่ V8 ทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงเอนจินของ Edge ตัวเก่า (EdgeHTML) มาเป็น Chromium ส่งผลให้การเรนเดอร์ฟอนต์บน Windows เปลี่ยนไป เพราะ Chromium มีระบบเรนเดอร์ฟอนต์ของตัวเองที่เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม แต่ต่างจากแอพบน Windows ตัวอื่นๆ
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับปรุง Edge ให้สามารถใช้เอนจินเรนเดอร์ฟอนต์ของ Windows ได้แล้ว เบื้องหลังการทำงานจะใช้ DirectWrite และการเรนเดอร์แบบ ClearType ข้อดีคือเห็นฟอนต์แบบเดียวกันกับแอพอื่นๆ และตั้งค่าระดับความเข้ม (contrast) ของฟอนต์ใน Settings ทีเดียวแล้วเปลี่ยนทั้งหมด
ไมโครซอฟท์ประกาศออก Edge WebView2 เวอร์ชันเสถียรสำหรับ .NET/WinUI หลัง ออกรุ่นเสถียรสำหรับ Win32 ไปก่อนแล้ว
WebView2 เป็นการนำเอนจินแสดงผลของ Edge (ที่ข้างในเป็น Chromium อีกที) มาฝังในแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อใช้เรนเดอร์หน้าเว็บภายในแอปนั้น สามารถใช้ได้กับแอปหลากหลาย ทั้งแบบเนทีฟ ไฮบริด และเว็บแอป เช่น Win32 C/C++, .NET WPF/WinForms, WinUI 3 (Project Reunion)
เว็บเบราว์เซอร์ที่ต่อยอดจาก Chromium สองตัวคือ Vivaldi (ทีม Opera เดิม) และ Brave (ทีม Firefox เดิม) พร้อมใจกันประกาศไม่ใช้งานฟีเจอร์ตามรอยผู้ใช้ Federated Learning of Cohorts (FLoC) ของ Chrome ที่กูเกิลเพิ่งเริ่มใช้งาน
FLoC เกิดจากกระแสต่อต้านการตามรอยด้วยคุกกี้ และ AdID/IDFA ในช่วงหลังๆ ทำให้ กูเกิลประกาศแนวทางเลิกตามรอยแบบเจาะตัวบุคคล เปลี่ยนมาใช้วิธีตามรอยจากพฤติกรรมผู้ใช้ที่ตัวเบราว์เซอร์แทน (ดูจาก history) แต่กูเกิลชูว่า FLoC มีข้อดีตรงที่ไม่เจาะจงตัวบุคคล ใช้วิธีนิยามผู้ใช้เป็นกลุ่มแทน ผู้โฆษณาสามารถเลือกยิงโฆษณาตาม "กลุ่มผู้ใช้" แทนการเจาะรายคน
ไมโครซอฟท์ปรับรอบการออกรุ่นของ Microsoft Edge เป็น 4 สัปดาห์ ตามประกาศของ Chrome/Chromium ก่อนหน้านี้
Edge จะยังเดินตามรอยของ Chrome โดยออกรุ่น Extended Stable อัพเดตทุก 8 สัปดาห์ สำหรับลูกค้าองค์กรที่ไม่อยากอัพเดตบ่อยๆ การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Edge เวอร์ชัน 94 เช่นเดียวกับ Chrome
ประกาศของ Edge ทำให้ตอนนี้เบราว์เซอร์ยอดนิยม 3 ตัวคือ Firefox, Chrome, Edge เปลี่ยนมาใช้รอบ 4 สัปดาห์กันหมดแล้ว
ที่มา - Microsoft Edge
ทีมพัฒนา Chromium เพิ่งอัพเดตนโยบายใหม่ว่าตัวเอนจินจะเลิกรองรับซีพียู x86 เก่า ๆ ที่ไม่ซัพพอร์ทชุดคำสั่ง SSE3 โดยจะเริ่มตั้งแต่ Chrome 89 เป็นต้นไป
เครื่องที่รันด้วยซีพียูเก่า ๆ ที่ไม่ได้ซัพพอร์ท SSE3 จะไม่สามารถลง Chrome ได้หรือหากมีอยู่ในเครื่องแล้วก็จะไม่สามารถรันได้ โดยจะเริ่มได้รับคำเตือนตั้งแต่ Chrome 87 แล้ว
การเปลี่ยนแปลงนี้กระทบเฉพาะผู้ใช้งานซีพียูเก่าบนวินโดวส์เป็นหลัก เพราะ MacOS, Android และ ChromeOS บังคับใช้ SSE3 มาตั้งแต่ต้น
ที่มา - TechRadar
กูเกิลประกาศถอดฟีเจอร์ของ Chromium เวอร์ชันโอเพนซอร์ส ไม่ให้เข้าถึงการซิงก์ข้อมูลของ Chrome ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
กูเกิลอธิบายว่ามีเบราว์เซอร์จำนวนหนึ่งที่ดัดแปลงจาก Chromium แล้วสามารถเข้าถึงไฟล์ส่วนตัวของผู้ใช้ Google Account ซึ่งควรเข้าถึงได้จากผลิตภัณฑ์ของกูเกิลเท่านั้น (ในที่นี้คือ Google Chrome) จึงตัดสินใจปิดฟีเจอร์นี้ในฝั่ง Chrome API มีผลวันที่ 15 มีนาคม 2021
ประกาศนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้จำนวนน้อยที่เลือกใช้ Chromium แทน Chrome แล้วล็อกอินบัญชี Google Account ผ่าน Chromium ซึ่งกูเกิลก็แนะนำให้ใช้ Chrome แทน
ที่มา - Chromium Blog
วงการเบราว์เซอร์สัปดาห์นี้มีประเด็นใหญ่คือ Chrome 88 Beta เปิดใช้ Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายบล็อคโฆษณาจำนวนมาก
Manifest V3 เป็นประเด็นมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 หลังวิศวกรกูเกิลเปิดเผยสเปก API ใหม่ ที่ห้ามส่วนขยายแก้ไขหน้าเว็บเพจเองผ่าน webRequest API และให้ไปเรียกใช้ declarativeNetRequest API ที่ให้เบราว์เซอร์เป็นฝ่ายแก้หน้าเพจแทน โดยเหตุผลของกูเกิลคือเรื่องความปลอดภัย ลดโอกาสที่ส่วนขยายจะเห็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนหน้าเพจ
หลังจากไมโครซอฟท์ได้ออก Edge WebView2 SDK ตัวช่วยเรนเดอร์หน้าเว็บบนแอพวินโดวส์ล่าสุดที่มาเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Chromium ให้กับ แอพพลิเคชั่นแบบ Win32 C/C++ มาได้ระยะหนึ่ง
ตอนนี้ก็มาถึงคราวของแอพวินโดวส์ที่พัฒนาด้วย .NET กันบ้าง เมื่อไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกรุ่นใช้งานจริงของ WebView2 SDK สำหรับแอพพลิเคชั่นตระกูล .NET เป็นที่เรียบร้อย
ทำให้การพัฒนาแอพวินโดวส์ทั้งแบบ WinForms และ WPF ซึ่งมีการฝังการแสดงผลจากเว็บแอพ สามารถเปลี่ยนมาใช้ WebView2 SDK เพื่อใช้ประโยชน์จากเอนจิน Chromium ที่เรนเดอร์หน้าเว็บได้ตรงกับเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดได้แล้ว
ไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้เมื่อเดือน พ.ค. ว่า จะเปลี่ยนเอนจิน WebView ของ Windows มาใช้ Chromium แทน EdgeHTML ตัวเดิม เช่นเดียวกับที่เปลี่ยน Microsoft Edge ไปเรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้เอนจิน WebView2 ที่พัฒนาบน Chromium เข้าสถานะ GA (generally available) แล้ว ไมโครซอฟท์ยังออก WebView2 SDK ให้แอพพลิเคชันที่เป็น Win32 C/C++ สามารถเรียกใช้ได้ (การมี SDK ให้ดาวน์โหลดแยกต่างหาก ทำให้ซัพพอร์ตย้อนกลับไปถึง Windows 7)
ส่วนแอพพลิเคชันกลุ่ม .NET และ WinUI 3.0 จะเข้าสถานะ GA ในอีกไม่ช้า
จากข่าวเก่า Microsoft Edge เริ่มใช้ระบบหน่วยความจำแบบใหม่ Segment Heap ลดการใช้แรมลง 27% ระบบหน่วยความจำแบบ Segment Heap เดิมทีใช้กับแอพที่เขียนแบบ UWP เท่านั้น โดยไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดใช้แอพแบบ Win32 ใช้งานได้ด้วยใน Windows 10 v2004 โดยมี Edge เป็นแอพตัวแรกที่ใช้งาน
การที่ Edge พัฒนาบน Chromium ทำให้เบราว์เซอร์ตระกูลนี้ตามมาใช้ Segment Heap ได้ไม่ยากนัก ที่สำคัญคือไม่ต้องรอกันนาน ไม่ต้องเรียกร้องอะไรให้เหนื่อย เพราะวิศวกร Chrome ประกาศแล้วว่าจะเปลี่ยนมาใช้ Segment Heap ด้วย
จากประเด็น Linux Mint ประกาศไม่ใช้แพ็กเกจ Snap ตาม Ubuntu ตัวแทนของบริษัท Canonical ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า Chromium เป็น Snap มาตั้งแต่ Ubuntu 19.10 แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเปลี่ยนในเวอร์ชัน 20.04 LTS
ส่วนเหตุผลที่ทำแพ็กเกจ Chromium เป็น Snap เพียงอย่างเดียวเป็นเพราะ
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา หนึ่งในทีมพัฒนา Chrome ส่งแพตช์เปลี่ยนโค้ดที่ระบุรายชื่อต้องห้ามจากคำว่า blacklist เป็นคำว่า blocklist สอดรับกับสถานการณ์การประท้วง #Blacklivesmatter ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
ไมโครซอฟท์เผยความร่วมมือกับกูเกิล พัฒนาให้เว็บเบราว์เซอร์สาย Chromium ทั้งหมด (รวมถึง Chrome และ Edge) รองรับตัวตรวจสะกด Windows Spellcheck เมื่อใช้งานบนวินโดวส์
เดิมที Chromium ใช้ตัวตรวจสะกดโอเพนซอร์ส Hunspell ซึ่งใช้ในโครงการโอเพนซอร์สดังๆ หลายตัว (เช่น Firefox, LibreOffice) แต่ถ้าเทียบกันแล้ว Windows Spellcheck เหนือกว่ามากทั้งในแง่ฟีเจอร์ ภาษาที่รองรับ และความแม่นยำ สามารถตรวจสะกด URL, ที่อยู่อีเมล และตัวย่อต่างๆ ได้ (ในขณะที่ Hunspell จะมองว่าเป็นคำผิดทั้งหมด)
หลังจาก Microsoft Edge ย้ายมาใช้เอนจิน Chromium เสร็จสมบูรณ์ ก็ได้เวลาที่ไมโครซอฟท์จะทยอยเปลี่ยนเอนจิน EdgeHTML ของเดิมมาเป็น Chromium มากขึ้น
เอนจิน EdgeHTML ฝังมากับ Windows 10 และยังไม่ถูกนำออกในเร็ววัน เพราะถูกเรียกใช้ในแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่ต้องการเรนเดอร์หน้าเว็บอีกต่อหนึ่งผ่าน Microsoft Edge WebView อีกที
สิ่งที่ไมโครซอฟท์เพิ่มเข้ามาคือ Microsoft Edge WebView2 ที่เปลี่ยนมาใช้ Chromium แทนให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ข้อดีสำหรับนักพัฒนาคือการที่มันใช้เอนจิน Chromium ที่นิยมอยู่แล้ว ปัญหาเรื่องการเรนเดอร์หน้าเว็บจึงหมดไป
หลัง กูเกิลกลับมาออก Chrome 81 จาก ที่ต้องหยุดออกรุ่นใหม่ไปช่วงหนึ่ง ฝั่ง Microsoft Edge ที่ใช้เอนจิน Chromium ก็ออกเวอร์ชัน 81 ตามมา
ของใหม่ในเวอร์ชัน 81 มีไม่มากนัก เน้นไปที่การแปลภาษา DevTools เท่านั้น ในมุมของผู้ใช้งานคงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไร ส่วน Edge เวอร์ชันหน้าจะข้ามเลข 82 เช่นเดียวกับ Chrome โดยจะเป็นเลขเวอร์ชัน 83 เลย
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ให้ Edge ที่จะทยอยเพิ่มเข้ามาใเวอร์ชัน Insiders เร็วๆ นี้
โครงการ Chromium ประกาศปรับดีไซน์ของ "ฟอร์ม" บนหน้าเว็บ (ปุ่ม ตัวเลือก แถบเลื่อน ฯลฯ) ที่เดิมสไตล์ต่างกันคนละทิศทาง ให้ดูเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากขึ้น
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างทีม Google Chrome และ Microsoft Edge มาช่วยกันออกแบบ โดยตั้งใจให้ดีไซน์ใหม่เป็นสากลมากขึ้น ใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ มีความแบนราบ (flat) ตามสมัยนิยม ลดการไล่สี (gradient) จากโลกยุคก่อนลงมา
เราเห็นข่าว Chrome หยุดอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ เพราะทีมงานมีปัญหาเรื่องสภาพการทำงาน ผลกระทบจากรอบการออกรุ่นของ Chrome ที่เปลี่ยนไป ทำให้เบราว์เซอร์ที่ใช้เอนจิน Chromium ได้รับผลกระทบไปด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Microsoft Edge จะหยุดการพัฒนา Edge 81 ในรุ่นเสถียรถัดไปเช่นกัน แต่จะยังออกแพตช์ความปลอดภัยให้ Edge 80 รุ่นเสถียรในปัจจุบัน เช่นเดียวกับ Chrome ทุกประการ
เว็บไซต์ VentureBeat ทดสอบเบนช์มาร์ค วัดประสิทธิภาพของเว็บเบราว์เซอร์ 4 ตัวคือ Chrome, Firefox, Edge (ตัวใหม่) และ Brave
การทดสอบใช้ Surface Laptop ที่ติดตั้ง Windows 10 Pro ใหม่, ติดตั้งเบราว์เซอร์ทั้ง 4 ตัวที่เป็นเวอร์ชันล่าสุด แล้วรันเบนช์มาร์คชื่อดัง เช่น SunSpider, Octane, Kraken ฯลฯ รวมทั้งหมด 8 ตัว ผลคือ