Google Cloud เปิดบริการเช่าเครื่องรุ่น C4A ที่ใช้ซีพียู Axiom และสตอเรจ Titanium SSD ที่กูเกิลออกแบบเอง
กูเกิลเปิดตัวซีพียู Axiom เมื่อปี 2024 เป็นซีพียู Arm64 แบบคัสตอมสำหรับรันงานประมวลผลทั่วไป มีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่าซีพียู Arm อื่นๆ ราว 10% และ 65% หากเทียบกับซีพียู x86 บน Google Cloud
Micron เปิดตัว Micron 6550 ION SSD แบบ PCIe Gen5 ชูจุดเด่นที่อัตราการอ่าน/เขียนสูงที่สุดในโลก อัตราการอ่านแบบ sequential สูงถึง 12,000 MB/s เขียนแบบ sequential ที่ 5,000 MB/s และอัตราการอ่านแบบสุ่ม 1,600 KIOPS
ตัว SSD สร้างจาก Micron G8 TLC NAND โดยอ้างว่าล้ำกว่าคู่แข่งไป 1-3 รุ่น และยังชูว่าใช้ชิปของบริษัทเองแทบทั้งหมด ตั้งแต่ NAND, DRAM, controller ไปจนถึงพัฒนาเฟิร์มแวร์เอง
รุ่นย่อยของ Micron 6550 ION มี 6 รุ่น ให้เลือกจากตัวถัง 3 ขนาด ได้แก่ U.2, E1.L, และ E3.S-1T สำรับความจุมีสองขนาด คือ 30.72TB และ 61.44TB ตอนนี้เริ่มส่งมอบตัวอย่างแล้ว
Raspberry Pi ประกาศวางจำหน่าย NVMe SSD แบรนด์ของตัวเอง รวมถึงชุดบันเดิล SSD Kit ที่รวมบอร์ดเสริม M.2 HAT+ ที่มีช่องเสียบ M.2 มาให้
การมาถึงของ Raspberry Pi 5 ที่มีพอร์ต PCI Express เปิดโอกาสสำหรับอุปกรณ์ต่อขยายมากมาย ซึ่ง Rapsberry Pi พบว่ารูปแบบการใช้งานยอดนิยมที่สุดคือต่อกับ NVMe SSD เพิ่มความจุสตอเรจ
ก่อนหน้านี้ Raspberry Pi เคยออกบอร์ดเสริม M.2 HAT+ สำหรับไปหา SSD มาเสียบเพิ่มกันเอง แต่คราวนี้ก็ออกการ์ด SSD แบรนด์ Raspberry Pi มาให้ด้วยเลย
ASUS เปิดตัวการ์ดจอแนวคิดใหม่ที่ยัดสล็อตสำหรับเสียบ SSD ลงมาในตัวการ์ดจอด้วย เพื่อใช้ประโยชน์จากฮีทซิงก์ของตัวจีพียู ช่วยระบายความร้อนให้ SSD ไปพร้อมกัน
การ์ดจอรุ่นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า ASUS Dual GeForce RTX 4060 Ti SSD โดยในฝั่งจีพียูเป็นการ์ด 4060 Ti 8GB ปกติทั่วไป แต่ด้านหลังของการ์ด (อีกฝั่งที่ไม่มีพัดลม) มีช่องเสียบ SSD แบบสล็อต M.2 NVMe เพิ่มมาให้ด้วย ผู้ใช้สามารถซื้อ SSD มาเสียบเพิ่มเองได้ รองรับความเร็วสูงสุดระดับ PCIe 5.0
ประโยชน์ของดีไซน์แบบนี้มีทั้งการประหยัดพื้นที่ ประหยัดสล็อต PCIe สำหรับ SSD ไปหนึ่งสล็อต (โดยเฉพาะเคสขนาดเล็ก) และการใช้ระบบระบายความร้อนของการ์ดจอร่วมด้วย ช่วยลดอุณหภูมิของ SSD ลงได้ 40% หรือ 6 องศา เมื่อเทียบกับการเสียบ SSD ลงบอร์ดตามปกติ
ต่อเนื่องจากที่ Attingo ออกมาชี้ว่าปัญหาของ SanDisk Extreme Pro SSD เกิดจาก การออกแบบภายใน ล่าสุดทาง SanDisk ออกมาเคลื่อนไหวผ่านการแถลงกับ PetaPixel ว่าปัญหาของ SanDisk Extreme และ SanDisk Extreme Pro portable SSD นั้นไม่ได้เกิดจากการออกแบบหรือการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่ผิดพลาดแต่อย่างใด
SanDisk ระบุว่ากำลังตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบฮาร์ดใน SSD แบบพกพาอยู่ แต่ขอรับรองว่า SanDisk ให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และมีขั้นตอนทดสอบที่เข้มงวดดังนี้
ดุเหมือนว่าปัญหาของ SanDisk Extreme Pro SSD ที่เคยเป็นประเด็นว่าทำให้ SSD บางรุ่นประสบปัญหาข้อมูลสูญหายกะทันหัน นั้นไม่ใช่ปัญหาจาก Firmware ตามที่ Western Digital ระบุ เพราะล่าสุดบริษัท Attingo บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการกู้คืนข้อมูล ชี้ให้เห็นว่าปัญหานี้เกิดจากข้อบกพร่องด้านการออกแบบ และการผลิต
เก็บตกกันอีกสักเล็กน้อยสำหรับ PlayStation 5 โมเดลใหม่ ที่คราวนี้ Sony ตอบคำถามนี้ด้วยตัวเองกับประเด็นช่องเสียบ SSD M.2 ที่ยังไม่ได้ระบุว่ายังมีอยู่ไหมในรายละเอียดตอนเปิดตัว ล่าสุด Sony ได้ยืนยันกับ IGN ผ่านอีเมล์ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงตรงส่วนนี้ใน PS5 โมเดลใหม่ ซึ่งหมายคำว่าผู้ใช้งานยังคงแกะฝาหลังของเครื่องติดตั้ง SSD M.2 เพื่อเพิ่มความจุให้ PS5 ได้เหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้มีเพียง WD เจ้าเดียวที่วางขาย SSD สำหรับ PS5 ที่ได้รับการรับรองโดยตรงจาก PlayStation ในรุ่น WD Black SN850P วันนี้ Seagate ก็กระโดดเข้ามาร่วมวงเริ่มขาย SSD แบบ PCIe 4.0 NVMe สำหรับ PS5 ซึ่งได้การรับรองจาก PlayStation แล้วเช่นกัน
Seagate Game Drive SSD มีขนาดเท่ากับ WD Black SN850P เป็น PCIe 4.0 ที่ใส่ได้กับ PS5 ใช้คอนโทรลเลอร์ PS5018-E18 PCIe 4.0 SSD ของ Phison ที่มีความเร็วเขียน และอ่านมากกว่า 7GB/s พร้อมเทคโนโลยีการผลิตชิปแบบ 12 nm จาก TSMC
Western Digital ออก SSD แบรนด์ WD_Black ที่ออกแบบสำหรับเครื่องเล่นเกมพกพาที่ใช้สเปกแบบพีซี ที่เป็นพาร์ทเนอร์กันและระบุชื่อคือ ROG Ally แต่ก็สามารถนำไปใช้กับเครื่องยี่ห้ออื่นๆ เช่น Steam Deck รวมถึงอุปกรณ์ใกล้เคียงอย่าง Microsoft Surface ได้ด้วยเช่นกัน
SSD รุ่นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า WD_BLACK M.2 2230 NVMe SSD มีคุณสมบัติตามชื่อคือเป็น SSD ความเร็วสูงแบบ NVMe ในฟอร์มขนาด M.2 2230 ที่ใช้โดยเครื่องเล่นเกมพกพาเหล่านี้ (แต่ในตลาดกลับไม่ค่อยมีขายเท่าไรนัก) รองรับการอ่านข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 5,150 MB/s ความเร็วการเขียนสูงสุด 4000MB/s
Ratchet and Clank: Rift Apart เป็นเกมเปิดตัว PS5 ที่โชว์แสนยานุภาพของเครื่องที่มีสตอเรจ SSD ความเร็วสูง ด้วยฟีเจอร์สลับฉากแบบรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลาโหลด ซึ่งเป็นการทำลายข้อจำกัดของคอนโซลยุคก่อนๆ
หลังจากเวลาผ่านมา 3 ปี โซนี่ประกาศพอร์ตเกมนี้มาลงพีซี มีกำหนดขายปลายเดือนนี้ 26 กรกฎาคม 2023
อย่างไรก็ตาม ในสเปกขั้นต่ำของ Ratchet and Clank: Rift Apart กลับไม่จำเป็นต้องใช้ SSD ในการเล่น สามารถเล่นบนพีซีที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบดั้งเดิมได้ด้วย แม้โซนี่ "แนะนำ" ให้เล่นบนเครื่องที่ใช้ SSD ก็ตาม
Backblaze ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจออกรายงานความทนทานของฮาร์ดดิสก์แบรนด์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ปีที่ผ่านมาบริษัทก็เริ่มรายงานความทนทานของ SSD เพิ่มเข้ามา แม้จะเห็นค่อนข้างชัดว่า SSD มีอัตราพังน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ แต่ที่ผ่านมาก็เป็นการเก็บข้อมูลระยะเวลาไม่นานนัก รายงานฉบับล่าสุดเก็บข้อมูลครบ 5 ปีแล้วก็พบว่าเสถียรภาพของ SSD ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างชัด
ข้อมูลของ Backblaze แสดงว่าฮาร์ดิสก์จะมีอัตราการเสียในปีที่ 5 เพิ่มขึ้นชัดเจนเกิน 3% และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเกือบ 7% ต่อปีในปีที่ 8 แต่ตอนนี้ข้อมูล SSD มีอัตราการเสียปีละประมาณ 1% เท่านั้น และยังไม่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
- Read more about Backblaze รายงาน SSD ทนกว่า HDD ชัดเจน
- 11 comments
- Log in or register to post comments
Micron เปิดเทคโนโลยีการผลิตชิป NAND ที่ซ้อนหน่วยความจำขึ้นไปสูงถึง 232 ชั้น นับเป็นการซ้อนสูงกว่า 200 ชั้นเป็นครั้งแรก ทำให้สามารถใส่ความจุต่อพื้นที่ได้สูงถึง 14.6 กิกะบิต (1.825 กิกะไบต์) ต่อตารางมิลลิเมตร สูงกว่าเทคโนโลยีคู่แข่งอย่างน้อย 35%
ด้วยเทคโนโลยีนี้ ตัวชิปจริงจะมีความจุสูงสุด 1 เทราบิต และแต่ละแพ็กเกจ (ชิปที่เราเห็นบนบอร์ดวงจร) จะมีความจุสูงสุด 2 เทราไบต์ ภายในตัวชิปมีชุดควบคุมการอ่านเขียน (plane) ทั้งหมด 6 ชุด สามารถส่งข้อมูลได้ที่ระดับ 2.4 กิกะไบต์ต่อวินาทึ
ตอนนี้ชิปรุ่นใหม่เดินสายการผลิตแบบจำนวนมากแล้วที่โรงงานในสิงคโปร์ และลูกค้ารายแรกคือ Crucial ที่เตรียมนำไปผลิต SSD สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
ถึงแม้ Valve ออกแบบเครื่องเกม Steam Deck ให้ปรับแต่งฮาร์ดแวร์ได้ง่าย ถึง ขั้นแจกไฟล์ CAD และ ขายอะไหล่ผ่าน iFixit แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันถูกออกแบบมาสำหรับชิ้นส่วนทุกประเภท
ล่าสุด Lawrence Yang ทีมออกแบบฮาร์ดแวร์ของ Valve ออกมาเตือนชุมชนนักม็อด ว่าการเปลี่ยน SSD ของเครื่องจากเดิมที่ใช้ M.2 2230 มาเป็น M.2 2242 ที่มีขนาดยาวขึ้น อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องในระยะยาว เพราะระบบระบายความร้อนของ Steam Deck ออกแบบมาสำหรับ SSD แบบ 2230 เท่านั้น การเปลี่ยนมาใช้ 2242 ที่กินไฟกว่าเดิม ร้อนกว่าเดิม จะส่งปัญหาได้
ช่อง YouTube สายเทคโนโลยีคือ Max Tech กับ Created Tech ทดสอบ SSD ของ MacBook Pro 13" M2 รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว พบว่าในเครื่องรุ่นล่างสุด สตอเรจ 256GB ใช้ SSD ที่มีอัตราเร็วในการอ่าน-เขียน ลดลงจาก MacBook Pro 13" M1 รุ่นเดิม (ที่เป็นบอดี้เดียวกัน ต่างกันแค่ชิป)
- อัตราเร็วในการอ่านM2 1,446 MB/s เทียบกับ M1 2,900 MB/s
- อัตราเร็วในการเขียนM2 1,463 MB/s เทียบกับ M1 2,215 MB/s
จากการลองแกะเครื่องพบว่า รุ่น M2 ใช้ SSD รุ่นที่มีชิปหน่วยความจำ NAND ตัวเดียว ส่วนรุ่นเก่า M1 ใช้ SSD ที่เป็น NAND 128GB สองตัว จึงน่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไม SSD ของรุ่น M1 เร็วกว่าประมาณเท่าตัว
มีข่าวไม่ยืนยันว่า ไมโครซอฟท์กำลังผลักดันให้ผู้ผลิตพีซี OEM สายวินโดวส์เลิกใช้ฮาร์ดดิสก์ และเปลี่ยนมาใช้ SSD เป็นสตอเรจหลักแทนภายในปี 2023
ตามสเปกของ Windows 11 ระบุว่าต้องการสตอเรจขั้นต่ำ 64GB แต่ไม่ระบุประเภท การที่ไมโครซอฟท์อยากผลักดันให้ใช้ SSD เพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่ก็มีข่าวว่าบรรดา OEM อยากเลื่อนเส้นตายปี 2023 ออกไปอยู่ดี ด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้เช่นกันว่าเป็นเรื่องต้นทุนนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มพีซีราคาถูกที่ยังใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นหลัก
เว็บไซต์ Tom's Hardware ลองเทียบราคาสตอเรจ ฮาร์ดดิสก์ 1TB มีราคาประมาณ 45 ดอลลาร์, SSD 1TB ราคา 75 ดอลลาร์ และหากต้องการ SSD NVMe 1TB ราคาจะขึ้นไปถึง 150 ดอลลาร์เลยทีเดียว
Western Digital ประกาศความร่วมมือกับซัมซุง วางมาตรฐานการเก็บข้อมูลในไดรฟ์ SSD ร่วมกัน
เทคโนโลยีกลุ่มนี้เรียกว่า data placement, processing and fabrics (D2PF) เป็นการกำหนดวิธีการวางข้อมูลลงใน SSD โดยชิ้นส่วนแรกในกลุ่ม D2PF คือ Zoned Storageหรือการกำหนดตำแหน่งของไดรฟ์ว่าตรงไหนเก็บข้อมูลอะไร (ดูภาพประกอบ)
โรงงาน Kioxia (Toshiba เก่า) และ Western Digital ในเมือง Yokkaichi และ Kiakami ประเทศญี่ปุ่น พบปัญหาชิปความจำ 3D NAND ปนเปื้อนที่ยังไม่มีการชี้แจงสาเหตุจากบริษัท จนเสียหายกว่า 6.5EB (1EB = 1 ล้าน TB หรือ 1 พันล้าน GB) และต้องหยุดการผลิตชั่วคราว
บริษัทวิจัยตลาด TrendForce คาดว่าเหตุปนเปื้อนนี้อาจทำให้ราคาชิป 3D NAND สูงขึ้น 5-10% ทำให้อุปกรณ์ประเภทหน่วยความจำ เช่น SSD ที่ใช้ชิป 3D NAND เป็นส่วนประกอบ มีราคาสูงขึ้นในไตรมาสที่สองของปีนี้
ซัมซุงเปิดตัว SSD รุ่น PM1743 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กร นับว่าเป็น SSD ตัวแรกๆ ที่รองรับ PCIe 5.0 ทำให้ประสิทธิภาพกระโดดจากรุ่นอื่นๆ ที่ใช้ PCIe 4.0 ค่อนข้างมาก
PM1743 สามารถอ่านข้อมูลแบบต่อเนื่องได้ 13,000 MB/s และอ่านแบบสุ่มได้ 2.5 ล้าน IOPS อัตราการเขียนต่อเนื่อง 6,600 MB/s และเขียนแบบสุ่มได้ 250,000 IOPS ตัวถังเป็นรูปแบบ E3.S มาตรฐานสำหรับเซิร์ฟเวอร์
ทางซัมซุงยังไม่บอกราคา แต่ระบุว่าตอนนี้เริ่มส่งมอบตัวอย่างให้กับผู้ผลิตแล้ว คาดว่าจะส่งมอบจำนวนมากได้ภายในไตรมาสแรก
ที่มา - Samsung
อินเทลประกาศความคืบหน้า การขายธุรกิจ NAND และ SSD ให้กับ SK hynix ที่ประกาศไว้เมื่อปี 2020 ว่าเสร็จสิ้นกระบวนการขั้นแรกแล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อินเทลขายธุรกิจ SSD และโรงงานผลิตชิปหน่วยความจำ NAND ที่เมืองต้าเหลียน ประเทศจีน ให้กับ SK hynix ในราคา 7 พันล้านดอลลาร์ โดยอินเทลจะยังใช้บริการผลิต NAND ที่โรงงานแห่งนี้ต่อไป ส่วนธุรกิจ SSD จะกลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Solidigm (ย่อมาจาก solid-state + paradigm) มีสถานะเป็นบริษัทลูกของ SK hynix และ Robery Crooke หัวหน้าฝ่ายหน่วยความจำของอินเทลจะขึ้นเป็นซีอีโอของบริษัทแห่งนี้
ซัมซุงเปิดตัว SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์องค์กร ที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCIe 5.0 ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 32 gigatransfers per second (GT/s) สูงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ PCIe 4.0
SSD รุ่นนี้ชื่อว่า PM1743 มีความเร็วการอ่านแบบต่อเนื่อง (sequential read) ที่ 13,000 MB/s ส่วนการอ่านแบบสุ่มตำแหน่ง (random read) ที่ 2,500K IOPS หรือเทียบง่ายๆ กับ PCIe 4.0 คือเพิ่มขึ้น 1.9x และ 1.7x ตามลำดับ ช่วยยกระดับการเขียนข้อมูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ได้อีกมาก
ในแง่การใช้พลังงาน PM1743 ยังมีอัตราการใช้พลังงานที่ 608MB/watt ดีขึ้น 30% จาก SSD รุ่นก่อน ช่วยลดพลังงานของเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลลงได้ในภาพรวม
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์หมายเลข KB5007262 ให้ Windows 11 (ยังมีสถานะเป็นพรีวิว) มีการแก้บั๊กสำคัญคือ SSD และฮาร์ดดิสก์ ทำงานช้าผิดปกติ โดยไมโครซอฟท์อธิบายว่าเกิดจากมีคำสั่งเกินจำเป็นตอนเขียนข้อมูลลงดิสก์ หากเปิดใช้ฟีเจอร์ NTFS USN journal ซึ่งเปิดเป็นค่าดีฟอลต์บนไดรฟ์ C: อยู่แล้ว
บั๊กตัวนี้มีรายงานเข้ามาตั้งแต่ Windows 11 เปิดตัว และเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพของ Windows 11 ยังแย่กว่า Windows 10
แพตช์ตัวนี้ยังแก้บั๊กอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงเพิ่ม Emoji ใหม่เป็นเวอร์ชัน 13.1 ด้วย ผู้ที่มีปัญหาสามารถกดอัพเดตได้แล้ว โดยเลือกผ่าน optional updates หรือจะรอไมโครซอฟท์ปล่อยให้ผู้ใช้ทั่วไปอีกครั้งก็ได้
Mark Cerny หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรม PlayStation ให้สัมภาษณ์กับ Wired เล่าเบื้องหลังกระบวนการออกแบบ PS5 ให้เราได้ทราบกัน
Cerny เล่าว่าขั้นแรกของการออกแบบคอนโซลคือการประชุมระดมสมองในทีมก่อน นำรายการฟีเจอร์ที่ใส่ไม่ทันในคอนโซลรุ่นก่อน, รายการไอเดียใหม่ๆ รวมถึงเสียงเรียกร้องจากนักพัฒนาเกมว่าอยากได้อะไร มารวมกันแล้วดูว่าฟีเจอร์ไหนควรทำ สามารถทำได้หรือไม่ ภายใต้ข้อจำกัดอะไรบ้าง
สอดคล้องกับ การอัพเดตเฟิร์มแวร์ใหญ่ของ PS5 รองรับการใส่ SSD เอง โซนี่ก็ออกสินค้า SSD สำหรับ PS5 มาพร้อมกัน โดยวางขายใต้แบรนด์ Nextorage บริษัทลูกที่ก่อตั้งในปี 2019 เพื่อทำสินค้าสตอเรจ (พวก SD card) โดยเฉพาะ
Nextorage SSD รุ่นนี้ใช้ชื่อซีรีส์ว่า NEM-PA เป็น SSD แบบมีฮีทซิงก์อะลูมิเนียมติดมาด้วย ใช้แทน SSD มาตรฐานของ PS5 ได้ทันที สินค้ามีสองขนาดความจุคือ 1TB และ 2TB โดยมีอัตราการอ่านเขียนดังนี้
- 2TB
เว็บไซต์รีวิวฮาร์ดแวร์ Computerbase ในเยอรมัน และ ช่อง YouTube 潮 玩 客 ภาษาจีน รายงานถึงความเปลี่ยนแปลงของ SSD ของซัมซุงรุ่น 970 EVO Plus 1TB ที่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแม้จะขายในชื่อรุ่นเดิมแต่กลับเปลี่ยนหมายเลขชิ้นส่วน (part number) จาก MZVLB1T0HBLR เป็น MZVL21T0HBLU
PlayStation 5 ออกเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นเบต้า รองรับการใส่ SSD เพิ่มเมื่อสัปดาห์ก่อน โดย SSD นั้นต้องเป็นแบบ PCIe Gen 4 x4 มีความเร็ว sequential read speed เกิน 5,500MB/s และความจุ 250GB ถึง 4TB และไม่รองรับ SSD แบบ M.2 SATA
แม้ไม่มีลิสต์แนะนำรุ่นอย่างเป็นทางการ แต่ Mark Cerny หัวหน้าวิศวกรสถาปัตยกรรมของ PS5 เอง ออกมา ทวีตว่าเขาซื้อ WD Black SN850 รุ่นมีฮีทซิงค์ใช้สำหรับ PS5