เป็นเวลากว่า 1 ปีมาแล้วที่ทาง Raspberry Pi Foundation ได้ประกาศพัฒนาไดร์เวอร์กราฟิกที่รองรับ Vulkan สำหรับอุปกรณ์รุ่นล่าสุดอาทิ Raspberry Pi 4, Raspberry Pi 400 และ Compute Module 4 ในวันนี้ V3DV Mesa Driver สำหรับ Raspberry Pi ได้ผ่านการทดสอบกับชุดทดสอบความเข้ากันได้แล้ว (Vulkan 1.0 conformance) ภายหลังจากที่โค้ดทั้งหมดได้ ถูกรวมเข้ากับโครงการหลัก แล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
กูเกิลอธิบายเบื้องหลังของ Stadia บริการเกมสตรีมมิ่งผ่านคลาวด์ว่า เกมที่ประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ ใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นพิเศษจาก AMD และรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ข้อมูลที่กูเกิลเผยในงานคือ ฮาร์ดแวร์หนึ่งตัวใช้ซีพียู x86 รุ่นปรับแต่งพิเศษ (Custom x86 Processor) ไม่ระบุยี่ห้อ สัญญาณนาฬิกา 2.7GHz, Hyperthreaded และรองรับชุดคำสั่ง AVX 2, แรม 16GB
ส่วนจีพียูเป็น AMD Radeon รุ่นที่ใช้ในศูนย์ข้อมูล ปรับแต่งพิเศษให้กูเกิลโดยเฉพาะ ตัวจีพียูใช้แรมแบบ HBM2 ECC, หน่วยประมวลผล 56 compute unit และมีสมรรถนะรวม 10.7 TFLOPS ซึ่งเทียบกับจีพียูของ Xbox One X (ที่ทำโดย AMD เหมือนกัน) แล้วมีสมรรถนะเพียง 6 TFLOPS, ส่วน PS4 Pro คือ 4.2 TFLOPS
กลุ่ม Khronos Group ประกาศออกสเปกกราฟิก Vulkan เวอร์ชัน 1.1 ถือเป็นการอัพเกรดครั้งแรกนับจาก Vulkan 1.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการนำส่วนขยาย (extensions) หลายตัวของ Vulkan 1.0 ที่เสถียรแล้ว ผนวกเข้ามาเป็นฟีเจอร์ของ Vulkan 1.1 ในระดับ Core
Vulkan มาตรฐาน API กราฟิกของ Khronos Group ที่ออกแบบมาใช้แทน OpenGL กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมา Vulkan ยังไม่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการฝั่งแอปเปิล แม้จะใช้ได้บนระบบปฏิบัติการหลักๆ อย่าง Windows/Android ได้ตั้งแต่ต้นแล้วก็ตาม ด้วยเหตุผลว่าแอปเปิลยังสงวนท่าทีในเรื่องนี้ เพราะมี Metal ของตัวเองอยู่แล้ว
id Software ผู้พัฒนาเกม Doom ประกาศรองรับเทคโนโลยี Vulkan บนพีซีแล้ว ทีมพัฒนาเผยว่าให้ความสำคัญไปที่ผลประโยชน์ของกลุ่มผู้เล่น และ Vulkan จะมาช่วยในการให้ค่าเฟรมเรตที่สูงขึ้น
Vulkan เป็นมาตรฐานกราฟิกที่จะมาแทนที่ OpenGL เปิดตัวในปี 2015 และ ออกเวอร์ชัน 1.0 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
สถาปัตยกรรมของ Vulkan ต่างไปจาก OpenGL มาก โดย Vulkan ถูกออกแบบให้เบากว่า OpenGL ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารและควบคุม GPU เท่านั้น งานหลายอย่างไม่จำเป็นต้องโหลดถ้าไม่ใช้งาน และมอบอำนาจเข้าถึงฮาร์ดแวร์ระดับล่างให้แอพพลิเคชันเป็นฝ่ายสั่งการแทน
- Read more about Doom ออกอัพเดตรองรับ Vulkan แล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
คนใช้จีพียูค่าย AMD Radeon ที่ใช้ลินุกซ์ คงทราบดีว่า AMD กำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบไดรเวอร์ 'radeon/fglrx' มาสู่ระบบไดรเวอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า 'amdgpu' โดย Ubuntu 16.04 ก็ย้ายมาใช้ไดรเวอร์ตัวใหม่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ไดรเวอร์ 'amdgpu' มีไดรเวอร์แบบโอเพนซอร์สเท่านั้น ยังขาดไดรเวอร์แบบปิดซอร์สที่มีฟีเจอร์ต่างๆ มากขึ้น (เทียบเท่ากับ fglrx) อยู่ หลังซุ่มพัฒนามานาน ในที่สุด AMD ก็ออกไดรเวอร์ตัวนี้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า AMD GPU-PRO
กูเกิลออก Android N Developer Preview 2 ของใหม่ที่เพิ่มมาจากพรีวิวรุ่นแรก ได้แก่
- รองรับ Vulkan ตามที่เคยประกาศไว้
- รองรับ Emoji Unicode 9 เพิ่ม Emoji แบบใหม่ๆ มาอีกมาก
- แอพสามารถสร้างช็อตคัตการกระทำต่างๆ วางไว้บน Launcher ได้โดยตรง (เช่น แอพแผนที่สามารถสร้างช็อตคัต "Go Home") จำนวนสูงสุด 5 ช็อตคัตต่อแอพ
ที่เหลือเป็นการแก้บั๊กต่างๆ จากพรีวิวรุ่นแรก
Imagination Technologies เผยสเปคของว่าที่จีพียูซีรีส์ PowerVR Series8XE สำหรับใช้กับอุปกรณ์พกพาราคาย่อมเยาโดยเฉพาะ
เป้าหมายหลักของการอัพเดตจีพียูครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการขยับให้อุปกรณ์พกพารุ่นถูกให้รองรับมาตรฐานกราฟิกในปัจจุบันให้ครบถ้วนอีกด้วย โดยใน Series8XE ยืนยันแล้วว่าจะรองรับทั้ง OpenGL ES 3.2 และ Vulkan เท่าเทียมกับรุ่นท็อปตัวปัจจุบันอย่าง Series7XT
สำหรับสเปคของ Series8XE ยังคงใช้สถาปัตยกรรม Rogue แต่ขนาดเล็กลง 25% จากรุ่นเดิม (30%-45% เมื่อเทียบกับคู่แข่ง) และได้ประสิทธิภาพต่อขนาดสูงขึ้นราว 60%-100% โดยเคลมว่าใช้งานกับคอนเทนต์ความละเอียดระดับ 4K ได้
Vulkan มาตรฐานกราฟิกยุคใหม่ที่จะมาแทน OpenGL ออกสเปกเวอร์ชัน 1.0 เรียบร้อยแล้ว
การออกสเปกเวอร์ชัน 1.0 รอบนี้ บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดแวร์กราฟิกหลายรายก็ปรับปรุงไดรเวอร์ให้ผ่านมาตรฐานของกลุ่ม The Khronos Group ต้นสังกัดของ Vulkan ไม่ว่าจะเป็น NVIDIA , Intel , AMD (ยังเป็นรุ่นเบต้า) รวมถึงผู้ผลิตชิปกราฟิกบนอุปกรณ์พกพาทั้ง Imagination Technologies กับ Qualcomm
- Read more about มาตรฐานกราฟิก Vulkan ออกเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
- 10 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา NVIDIA จัดงาน Vulkan Developers Day ที่สำนักงานใหญ่ใน Silicon Valley โดยได้เชิญนักพัฒนามาเป็นจำนวนมาก โดยในงานช่วงเช้ามีการจัดเซสชันในหัวข้อ "วิธีการใช้งาน Vulkan ที่ดีที่สุดกับฮาร์ดแวร์ของ NVIDIA" จาก NVIDIA และ "การเขียนโปรแกรม Vulkan ประสิทธิภาพสูง" โดย John McDonald จาก Valve และในช่วงบ่ายมีการทำ Workshop โดยวิศวกรของ NVIDIA ได้มาให้คำแนะนำกับผู้ร่วมงานกันด้วยครับ
เซสชันต่าง ๆ ได้ถูกบันทึกวิดีโอเอาไว้ และจะถูกเผยแพร่ผ่านทาง NVIDIA developer portal หลังจากที่ Vulkan ถูกปล่อยให้ใช้งานกัน
โครงการแอนดรอยด์ประกาศสนับสนุน Vulkan API ที่เปิดต้วไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่ายังไม่มีแผนการชัดเจนว่าจะรองรับจริงๆ ในแอนดรอยด์รุ่นต่อไปหรือไม่ แต่ก็ระบุว่าทีมงานแอนดรอยด์กำลังช่วยพัฒนาชุดทดสอบ Vulkan เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างถูกต้อง
ทางแอนดรอยด์กำลังพัฒนาชุดทดสอบความเข้ากันได้ (Android Compatibility Test Suite - CTS) ของแอนดรอยด์รุ่นต่อไป และทีมงานกำลังพัฒนาชุดทดสอบสำหรับ Vulkan API ไปด้วย พร้อมกับส่งชุดทดสอบเข้าไปรวมกับชุดทดสอบ Vulkan ของทาง Khronos ผู้พัฒนา API โดยตรง
- Read more about แอนดรอยด์ประกาศสนับสนุน Vulkan API
- 6 comments
- Log in or register to post comments
Vulkan เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่วัน ตอนนี้ยังไม่มีชุดพัฒนาให้นักพัฒนาใช้งานจริง แต่ทาง Valve ก็ประกาศสัญญาว่าจะพัฒนาไดร์เวอร์สำหรับใช้งาน Vulkan บนกราฟิกของอินเทล นอกจากนี้เกมเอนจิน Source 2 ก็จะรองรับ Vulkan เช่นเดียวกับ Steam OS
ความได้เปรียบของชิปกราฟิกอินเทลคือซอร์สโค้ดและเอกสารค่อนข้างครบถ้วนกว่าชิปกราฟิกค่ายอื่นๆ มาก การที่ Valve เข้ามาพัฒนาไดร์เวอร์ Vulkan ให้จึงดูจะง่ายกว่าชิปยี่ห้ออื่นๆ
Valve ไม่ได้กำหนดช่วงเวลาที่ไดร์เวอร์จะออกมา ทางฝั่งอินเทลเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมกับ Khronos ในการเปิดตัว Vulkan ดังนั้นในระยะยาวน่าจะมีไดร์เวอร์จากทางอินเทลออกมา
หลังการมาถึงของ Vulkan ชะตากรรมของ AMD Mantle ก็ใกล้ถึงจุดจบ โดยตัวแทนของ AMD ออกมาโพสต์อธิบายทิศทางของ Mantle ในอนาคต
AMD บอกว่า Mantle ประสบความสำเร็จในแง่การกระตุ้นให้อุตสาหกรรมกราฟิกพัฒนา API ยุคใหม่ที่เร่งประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มากขึ้น ผลออกมาเป็น DirectX 12 และ Vulkan (ซึ่ง AMD ร่วมพัฒนาด้วย) เมื่อทิศทางของอุตสาหกรรมไปทางนี้ บริษัทจึงปรับแผนของ Mantle จากของเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้
กลุ่ม Khronos ผู้ดูแลมาตรฐานกราฟิก OpenGL เปิดตัวมาตรฐานกราฟิกยุคใหม่ Vulkan ที่ถูกออกแบบใหม่หมดเพื่อใช้แทน OpenGL ที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
นับถึงวันนี้ OpenGL มีอายุได้ 22 ปี เริ่มไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของแอพพลิเคชันยุคใหม่ๆ ที่ต้องการรีดประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ให้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก API กราฟิกรุ่นใหม่ๆ อย่าง AMD Mantle , Apple Metal , DirectX 12 ที่เปิดให้แอพพลิเคชันลงไปจัดการฮาร์ดแวร์ระดับล่างได้มากขึ้น