AMD จัดงานแถลงข่าวจีพียู RDNA 4 กับสื่อในงาน CES 2025 โดยเลือกไม่เปิดตัวบนเวทีใหญ่เดียวกับซีพียูกลุ่ม Ryzen
จีพียูสถาปัตยกรรม RDNA 4 มีของใหม่ดังนี้
- ผลิตด้วยกระบวนการ 4 นาโนเมตร
- ตัวเร่งความเร็ว AI รุ่นที่สอง
- ตัวเร่ง Ray Tracing รุ่นที่สาม
- Radiance Display Engine รุ่นที่สอง
- AMD FidelityFX Super Resolution เวอร์ชัน 4 (FSR4) รอบนี้ใช้ AI ช่วย upscale ภาพเหมือนคู่แข่งเขาแล้ว
รวมข่าวหลุดจีพียูใหม่ที่จะเปิดตัวในงาน CES 2025
เริ่มต้นด้วย NVIDIA GeForce RTX 5090 ตัวแรงที่สุด มีข่าวว่าจะให้แรม DDR7 ขนาด 32GB, การใช้พลังงาน (TGP หรือ Total Graphics Power) 600W, ตัวบอร์ด PCB เป็นแบบ 14 เลเยอร์, พอร์ตเชื่อมต่อ PCIe 5.0
5090 จะใช้ชิป GB202 ตัวสูงสุดของสถาปัตยกรรม Blackwell มีขนาดชิป 744 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งใหญ่ขึ้นมาจากชิป AD102 ที่ใช้ใน 4090 ขนาด 608 ตารางมิลลิเมตร
ข่าวลือของค่าย AMD ออกมาเรื่อยๆ ก่อนงาน CES 2025 คราวนี้เป็นเรื่องของจีพียู Radeon สถาปัตยกรรม RDNA 4 ที่เดิมทีคาดว่าจะใช้แบรนด์ Radeon RX 8000 ทำตลาด แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าเลขจะขยับเป็น Radeon RX 9000 แทนแล้ว
เหตุผลน่าจะเป็นเพราะ AMD เตรียมเปิดตัวจีพียูออนบอร์ดสถาปัตยกรรม RDNA 3.5 สำหรับโน้ตบุ๊ก ซึ่งจะใช้แบรนด์ Radeon 8000S ทำให้จีพียูเดสก์ท็อปที่เป็น RDNA 4 ต้องขยับไปยังเลข 9000 แทน
ใกล้งาน CES 2025 เข้ามาเรื่อยๆ ฝั่งของค่าย AMD ก็เริ่มมีข่าวหลุดข่าวลือของ ชิป Ryzen AI MAX 300 หรือที่รู้จักกันในโค้ดเนม Strix Halo สำหรับโน้ตบุ๊กสายเกมมิ่งออกมา
ตามข่าวบอกว่า Ryzen AI MAX จะมีรุ่น Pro สำหรับงานเวิร์คสเตชันมืออาชีพ และรุ่น non-Pro สำหรับเกมมิ่ง โดยชิปตัวแรงสุดจะใช้ชื่อ Ryzen AI MAX+ (มี +) ทำตลาด สถาปัตยกรรมซีพียูเป็น Zen 5 และสถาปัตยกรรมจีพียู RDNA 3.5
ข้อมูลเบนช์มาร์คบน PassMark ที่หลุดออกมาเป็นของชิปสองตัวคือ
Jeff Geerling ยูทูบเบอร์สายฮาร์ดแวร์ ผู้เชี่ยวชาญการปรับแต่ง Raspberry Pi ทดลองนำการ์ดจอเกมมิ่ง AMD Radeon RX 6700 XT และการ์ดจอเวิร์คสเตชั่น AMD Radeon PRO W7700 มาต่อกับคอมพิวเตอร์ตัวน้อย Raspberry Pi 5 เพื่อดูว่าจะมีสมรรถนะแค่ไหน
การใช้ Raspberry Pi กับ Radeon 7000 จำเป็นต้องเพิ่มแพตช์ให้รองรับจีพียู และคอมไพล์เคอร์เนลใหม่เอง รวมถึงติดตั้งเฟิร์มแวร์ของจีพียู AMD เพิ่มเติม รายละเอียดสามารถอ่านได้จากที่มา
นักปล่อยข้อมูลฮาร์ดแวร์ชาวจีนที่ใช้ชื่อ Golden Pig Update ให้ข้อมูลของชิปโน้ตบุ๊ก AMD Ryzen รุ่นของปี 2025/2026 ดังนี้
โน้ตบุ๊กสายบางเบา (ultraslim) และสายทำงานทั่วไป
ตอนกลางปี 2024 เราเห็น AMD เปิดตัวชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 หรือโค้ดเนม Strix Point เปิดตัวและใช้แบรนด์ AI PC กันมาแล้ว ช่วงปี 2025 เราจะยังเห็น Strix Point จับตลาดบนเช่นเดิม ใช้สถาปัตยกรรมซีพียู Zen 5 สูงสุด 12 คอร์ และจีพียู RDNA 3.5 สูงสุด 16 CU เหมือนเดิม แต่อัพเกรดมาใช้แรมที่เร็วขึ้นเล็กน้อยคือ LPDDR5x-8000 และรองรับแรม DDR5 แบบปกติด้วย
AMD เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Variable Graphics Memory (VGM) ให้ ชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen 300 AI ที่เปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน และตอนนี้เริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิปตัวนี้วางขายแล้ว
ชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen 300 AI มีจีพียูออนบอร์ดมาให้ในตัวคือ Radeon 890M ปกติแล้วจะได้แรมใช้งาน 512MB
ฟีเจอร์ VGM เปิดให้ผู้ใช้กำหนดแบ่งแรม (ของทั้งระบบ) ให้จีพียูเพิ่มอีก เช่น โน้ตบุ๊กมีแรม 32GB เราสามารถกำหนดให้ 16GB เป็นของซีพียู และ 8GB เป็นของจีพียูได้ เท่ากับว่าจีพียูได้แรมมาเพิ่มอีก 7.5GB ช่วยให้เล่นเกมได้ดีขึ้น ดันเฟรมเรตเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะกับเกมที่ต้องการแรมมากๆ
Jack Huynh รองประธานอาวุโสฝ่าย Computing and Graphics Business Group ของ AMD ให้สัมภาษณ์สื่อไอทีที่งาน IFA 2024 ในเยอรมนี เปิดเผยแผนการรวมสถาปัตยกรรมจีพียู RDNA และ CDNA เข้าด้วยกันเป็น UDNA
หลังจากหมดยุค Graphic Core Next (GCN) AMD ใช้แนวทางแยกสถาปัตยกรรม RDNA สำหรับงานเกมมิ่ง เริ่มใช้ในจีพียูตระกูล Radeon RX 5000 ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ส่วน CDNA ใช้สำหรับจีพียูฝั่งศูนย์ข้อมูลตระกูล Instinct เริ่มปี 2020
ถึงแม้ RDNA และ CDNA มาจากรากเหง้าเดียวกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่คู่แข่ง NVIDIA เลือกใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับจีพียูเกมมิ่ง-ศูนย์ข้อมูล จึงเป็นข้อเสียเปรียบของ AMD ที่ส่วนแบ่งตลาดตามหลังอยู่แล้ว
AMD มีเทคนิคการสร้างเฟรมเพื่อเพิ่มเฟรมเรตชื่อ AMD Fluid Motion Frames (AFMF) (เป็นคนละอย่างกับ FSR ที่มีเรื่องอัพสเกลความละเอียดภาพด้วย โดย AFMF เพิ่มเฟรมอย่างเดียวไม่ขยายภาพ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกัน) ล่าสุดออก AFMF 2 ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นแล้ว
ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาใน AFMF 2 คือลด latency ที่เกิดจากการสร้างเฟรมลงได้เฉลี่ย 28% (ทดสอบกับ Cyberpunk 2077 ความละเอียด 4K) และสามารถใช้ร่วมกับเทคนิค Anti-Lag 2 ของจีพียู Radeon ได้ด้วย
Arm เปิดตัวเทคนิคการอัพสเกลภาพของตัวเองชื่อว่า Accuracy Super Resolution ตัวย่อ Arm ASR โดยพัฒนาต่อมาจาก AMD FSR 2 ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว
Arm บอกว่าเทคนิคอัพสเกลภาพแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ spatial ที่เรียบง่ายกว่า เพราะใช้ภาพจากเฟรมเดียวกันมาคำนวณการอัพสเกล ประหยัดพลังการคำนวณมากกว่า แต่มีข้อเสียคือภาพที่ได้อาจเบลอ แนวทางนี้ใช้ใน FSR 1 ส่วนอีกวิธีคือ temporal ที่ซับซ้อนกว่า ใช้ภาพจากหลายเฟรมมาช่วยคำนวณ เปลืองพลังประมวลผลมากกว่า แต่ได้คุณภาพผลลัพธ์ดีกว่า และหากใช้เทคนิคนี้ร่วมกับข้อมูลจากเอนจินเกม จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น แนวทางนี้ใช้กับ FSR 2
AMD ออก FidelityFX Super Resolution (FSR) เวอร์ชัน 3.1 อัพเกรดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก FSR 3.0 ที่ออกเมื่อปลายปี 2023 แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพ และเทคนิคการสร้างเฟรมให้ใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นได้ดีขึ้น (FSR ใช้ได้กับทั้ง Radeon 5000 ขึ้นไป และ GeForce RTX 20 ขึ้นไปอยู่แล้ว)
AMD ออกไดรเวอร์จีพียู Adrenalin Edition เวอร์ชัน 24.1.1 มีของใหม่ที่สำคัญคือเพิ่มเทคนิคเร่งเฟรมเรต AMD Fluid Motion Frames (AFMF) เข้ามาในไดรเวอร์สายหลักแล้ว หลังจากทดสอบแบบพรีวิวมาสักระยะหนึ่ง
Fluid Motion Frames เป็นเทคนิคสร้างเฟรมตัวเดียวกับที่ใช้ในชุด FidelityFX Super Resolution 3 (FSR 3) ซึ่งเปิดเป็นโอเพนซอร์สไปก่อนหน้านี้ แต่ AFMF มีเฉพาะฝั่งสร้างเฟรม ไม่รวมฝั่งอัพสเกลภาพมาด้วย คราวนี้ AMD ผนวกเข้ามาในไดรเวอร์ของจีพียู Radeon เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดแยกเอง และใช้งานกับเกมได้ทุกเกมที่เป็น DirectX 11 และ 12
AMD เริ่มปรับราคา Radeon RX 7900 XT จากราคา 849 ดอลลาร์ ( ราคาเปิดตัว 899 ดอลลาร์ ) ลงมาเหลือ 749 ดอลลาร์ เพื่อรับมือคู่แข่ง GeForce RTX 40 Super ที่เพิ่งเปิดตัว
ราคา 749 ดอลลาร์เป็นราคาที่ AMD แนะนำให้ขาย ซึ่งในทางปฏิบัติ มีการ์ดหลายยี่ห้อที่ตั้งราคาต่ำกว่านั้นแล้ว เช่น ASRock ขาย 7900 XT ที่ 709 ดอลลาร์บนเว็บไซต์ Newegg
เราเห็น ค่าย NVIDIA มีฟีเจอร์ Video Super Resolution ช่วยอัพสเกลวิดีโอ โดยใช้ได้กับทั้งการชมวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ และ ผ่าน VLC กันไปแล้ว
ล่าสุดมีข่าวว่าฝั่งของค่าย AMD กำลังพัฒนาฟีเจอร์แบบเดียวกันในชื่อ FidelityFX Super Resolution โดยโชว์การใช้จีพียูอัพสเกลภาพจาก 720p เป็น 1440p แล้วภาพไม่แตกด้วย
AMD เริ่มโชว์ฟีเจอร์นี้ในงาน CES 2024 โดยบอกว่ากำลังร่วมมือกับ VLC พัฒนาแอพให้รองรับฟีเจอร์นี้ ซึ่งจะออกภายในไตรมาส 1/2024
จาก ข่าวลือก่อนหน้านี้ ว่า AMD จะเปิดตัวจีพียู Radeon RX 7000 ใหม่ 3 รุ่นย่อย (7600 XT, 7700, 7800) วันนี้ข่าวจริงมาแล้ว โดยเปิดตัวมาแค่รุ่นเดียวคือ Radeon RX 7600 XT
Radeon 7600 XT เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Radeon RX 7600 ตัวธรรมดา มีตัวคอร์เท่ากัน (32 CU, 32 raytracing) แต่เพิ่มแรมจาก 8GB มาเป็น 16GB และเพิ่มคล็อคจาก 2250 MHz เป็น 2470 MHz, อัตราการใช้พลังงาน 190W, ราคาขาย 329 ดอลลาร์ เทียบกับตัวธรรมดาราคา 269 ดอลลาร์ เริ่มวางขาย 24 มกราคม 2024
มีข่าวหลุดมาจากแบรนด์การ์ดจอ Arktek (สำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง) ว่าเราอาจได้เห็น AMD เปิดตัว Radeon รุ่นย่อยเพิ่มเติมคือ Radeon RX 7600 XT, RX 7700, RX 7800 ในเร็วๆ นี้
ปัจจุบัน AMD มีการ์ด Radeon RX ซีรีส์ 7000 ฝั่งเดสก์ท็อปจำนวน 6 รุ่นย่อย โดยรุ่นล่างสุดคือ Radeon RX 7600 (ไม่มี XT) ราคาเปิดตัว 269 ดอลลาร์ แล้วข้ามมา Radeon RX 7700 XT ราคา 459 ดอลลาร์เลย ยังมีช่วงว่างของราคาให้ออกสินค้าได้อีก
หากข้อมูลของ Arktek เป็นจริง เราจะได้เห็น Radeon RX 7600 XT และ RX 7700 ตัวธรรมดามาอุดช่องว่างตรงนี้ รวมถึง Radeon RX 7800 ออกมาอุดช่องว่างระหว่าง 7700 XT กับ 7800 XT ด้วยเช่นกัน
หลังจาก AMD โอเพนซอร์ส FSR 3.0 ซอฟต์แวร์ช่วยสร้างเฟรมเรตที่ใช้กับการ์ดจอได้ทุกค่าย สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามคาด นั่นคือมีนักพัฒนาจำนวนหนึ่งออกม็อดให้การ์ดจอรุ่นต่างๆ ใช้งาน FSR 3.0 กันแล้ว
การ์ดจอกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่ไม่ได้เทคโนโลยี DLSS 3 ของค่ายตัวเองแบบเดียวกับซีรีส์ 40 ทางออกจึงเป็นการพึ่งพาซอฟต์แวร์จากค่ายคู่แข่ง AMD ให้การ์ดเหล่านี้สามารถใช้งานเทคนิคสร้างเฟรม เพื่อเพิ่มเฟรมเรตได้
AMD เปิดซอร์สโค้ดของ FidelityFX Super Resolution 3 หรือ FSR 3.0 ซอฟต์แวร์สร้างเฟรมเพื่อเพิ่มเฟรมเรต ที่สามารถใช้งานกับการ์ดจอได้ทุกค่าย ที่เริ่มปล่อยให้ใช้งานตั้งแต่เดือนกันยายน
ซอร์สโค้ดสามารถดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ GPUOpen ของ AMD โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ MIT ที่เปิดกว้างสุดๆ เพื่อหวังให้นักพัฒนาเกมและชุมชนกราฟิกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย
AMD เปิดตัว Radeon RX 7900M จีพียูโน้ตบุ๊กตัวแรงสุดของ AMD ที่เป็นสถาปัตยกรรม RDNA 3 ตัวล่าสุด โดยเป็นการขยับขึ้นจาก ตัวแรงสุดบนโน้ตบุ๊กก่อนหน้านี้คือ Radeon RX 7600M XT อีกเยอะพอสมควร (ข้าม 7700M/7800M มาเลย)
Radeon RX 7900M ให้จีพียูมาจำนวน 72 CU (compute unit) เพิ่มขึ้นจาก 32 CU ใน 7600M XT, แรม 16GB, คล็อค 1825MHz บูสต์ขึ้นได้สูงสุดถึง 2090MHz, Infinity Cache 64MB, TDP 180W
ฟีเจอร์มาตรฐานของ RDNA 3 มาครบถ้วน ทั้ง ray tracing, ตัวเร่งประมวลผล AI, การเข้ารหัส AV1 โดยกลุ่มเป้าหมายคือการเล่นเกมความละเอียด 1440p บนโน้ตบุ๊ก ที่แรม 16GB รองรับได้เหลือเฟือ
Valve ประกาศเตือนว่า ฟีเจอร์ Anti-Lag และ Anti-Lag+ ที่มีในจีพียู AMD Radeon ส่งผลกระทบต่อระบบป้องกันโกงของ Counter-Strike 2 และอาจส่งผลให้ผู้เล่นโดนแบนได้
ฟีเจอร์ Anti-Lag เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค Radeon Polaris เป็นการควบคุมจังหวะการทำงานของซีพียู ไม่ให้ล้ำหน้าจีพียูมากเกินไป ส่งผลให้ latency ของเกมลดลง เกมตอบสนองไวขึ้น ส่วน Anti-Lag+ เพิ่งมีในจีพียูกลุ่ม RDNA 3 (Radeon RX 7000) พัฒนาไปอีกขั้นคือเข้าไปปรับตัวเกมแต่ละเกมให้ซิงก์เฟรม
AMD ปล่อยอัพเดต FidelityFX Super Resolution 3 หรือ FSR 3.0 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม ตอนนี้มีเกมรองรับแล้ว 2 เกมคือ Forspoken และ Immortals of Aveum ที่ออกแพตช์มารองรับแล้วเรียบร้อย
FSR 3 อัพเกรดจาก FSR 2 โดยเพิ่มฟีเจอร์ Frame Generation สร้างเฟรมใหม่เพื่อเพิ่มเฟรมเรต แบบเดียวกับ DLSS 3 ของฝั่ง NVIDIA แต่เทคนิคของ AMD ไม่อิงกับฮาร์ดแวร์จีพียูแบบเดียวกับ DLSS 3 ทำให้สามารถใช้กับการ์ดจอได้ทั่วไป
Scott Herkelman ผู้จัดการหน่วยธุรกิจกราฟิกของ AMD ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังอยู่กับ AMD มานาน 7 ปี โดยจะมีผลในช่วงสิ้นปี 2023
เราอาจคุ้นหน้ากับ Herkelman ในวาระการเปิดตัวจีพียู Radeon อยู่บ่อยครั้ง เช่น การขึ้นเวทีชูการ์ดเรือธง Radeon RX 7900 XTX เมื่อปลายปี 2022
Herkelman เคยเป็นซีอีโอของบริษัทผู้ผลิตการ์ดจอ BFG Tech ในช่วงปี 2002-2010 หลังจาก BFG Tech ล้มละลาย เขาย้ายมาเป็นผู้จัดการฝ่าย GeForce ของ NVIDIA ระหว่างปี 2012-2015 ก่อนย้ายข้ามห้วยมาเป็นผู้จัดการฝ่าย Radeon ในปี 2016
Scott Herkleman รองประธานาอาวุโสและผู้จัดการฝ่ายธุรกิจกราฟิกของ AMD ยืนยันกับเว็บไซต์ Videocardz ว่า การเปิดตัว Radeon RX 7800 XT และ 7700 XT เมื่อวันก่อน ถือเป็นการออกจีพียูครบไลน์ทั้งหมดของ Radeon RX ซีรีส์ 7000 (RDNA 3) แล้ว ไม่มีแผนออกสินค้าเพิ่มเติมอีก
ตอนนี้ AMD มีสินค้า Radeon RX 7000 ทั้งหมด 5+1 รุ่น ได้แก่
AMD เปิดตัวเทคโนโลยีอัพสเกลภาพ FidelityFX Super Resolution 3 (FSR 3.0) เวอร์ชันอัพเกรดจาก FSR 2.0 ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2022
ของใหม่ใน FSR 3.0 คือเทคนิคการสร้างเฟรม AMD Fluid Motion Frames (AFMF) เวอร์ชันใหม่ โดยนำข้อมูลจากเกม เช่น motion vector มาสร้างเฟรมเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เฟรมเรตที่สูงขึ้นอีกขั้น (เทียบกับ FSR 2.0 ที่ใช้เทคนิคสร้างเฟรมอีกแบบอยู่แล้ว) เทคนิคของ FSR 3.0 ออกแบบมาให้สร้างเฟรมได้โดยไม่กระทบกับ UI ของเกมด้วย (แยกส่วน UI overlay ออกมาต่างหาก ไม่เกิดปัญหาสร้างเฟรมใหม่แล้ว UI เพี้ยน)
มาตามสัญญากับ Radeon RX 7000 Series สถาปัตยกรรม RDNA 3 ตัวกลาง หลังจาก เปิดตัวรุ่นบน Radeon RX 7900 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว, รุ่นล่าง Radeon RX 7600 เมื่อต้นปีนี้ และ Radeon RX 7900 ตัวรอง เมื่อเดือนกรกฎาคม
จีพียูใหม่รอบนี้มี 2 รุ่นคือ