ทาง IBM มีการเปิดตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง IBM ยังคงนำเสนอเครื่องในตระกูล Power Systems อันทรงพลังเช่นเดิม แต่ออกแบบและพัฒนาต่อยอดไปอีกขั้นโดยเปิดตัวซีพียูประมวลผลรุ่นล่าสุด Power10 ที่ผลิตบนมาตรฐานการผลิตชิปเซ็ตสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แบบ 7 nm ทำให้ประสิทธิภาพและความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ช่วยให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่นี้ทำงานได้ดีขึ้นแต่ใช้พลังงานต่ำลง แน่นอนว่าผู้ใช้ระดับองค์กรได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนระบบไปใช้เครื่อง Power10 เต็ม ๆ นั่นคือ การทำงานของแอปพลิเคชันหรือระบบงานเดิมทำงานได้เร็วขึ้น หรือรองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น หรือระบบโดยรวมมีเสถียรภาพสูงขึ้น ลดปัญหา Downtime ที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าของระบบได้เป็นอย่
IBM เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Power E1080 เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ใช้ ซีพียูสถาปัตยกรรม Power10 ที่เปิดตัวครั้งแรกในช่วงกลางปี 2020 และเป็นรุ่นอัพเกรดโดยตรงของ Power E980 ของซีรีส์ Power9 เดิม
ซีพียู IBM Power10 ใช้กระบวนการผลิตที่ 7nm EUV ของซัมซุง, เพิ่มจำนวนคอร์เป็น 15 คอร์ (เดิม 12 คอร์) โดยผลิตที่ 16 คอร์และปิด 1 คอร์เพื่อเพิ่มอัตรา yield, มาพร้อมฟีเจอร์ symmetric multiprocessing (SMT) ที่สามารถสเกลทั้งระบบได้ถึง 240 คอร์
ไอบีเอ็มเปิดตัวซีพียู POWER10 ที่ใช้เวลาพัฒนานานกว่า 5 ปี มีประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่า POWER9 สูงสุด 3 เท่าตัว และจุดน่าสนใจคือรอบนี้ไอบีเอ็มร่วมมือกับซัมซุงใช้ให้ผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 7nm ให้หลังจากวิจัยร่วมกันตั้งแต่ปี 2015 จุดเด่นสำคัญของ POWER10 ได้แก่
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ IBM นำเครื่องสถาปัตยกรรม Power มาให้บริการบน Google Cloud
ความร่วมมือนี้ทำให้องค์กรที่ใช้ IBM Power Systems อยู่แล้ว เช่น รันระบบปฏิบัติการ AIX, IBM i (OS/400 เดิม) หรือ Linux on Power สามารถย้ายงาน (เช่น SAP หรือ Oracle) มารันต่อบนคลาวด์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ทั้งระบบ นอกจากนี้ยังใช้ระบบบิล-ซัพพอร์ตของ Google Cloud ทำให้องค์กรที่เป็นลูกค้ากูเกิลอยู่แล้ว แค่ขยายการใช้งานเพิ่มเท่านั้น ไม่ต้องเข้ากระบวนการจัดซื้อใหม่
ก่อนหน้านี้ IBM Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายเดียวที่มีเครื่องสถาปัตยกรรม Power ให้ใช้งาน การขยายมายัง Google Cloud ถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของทั้งสองค่าย ที่ยังตามหลัง AWS และ Azure ในตลาดคลาวด์
- Read more about Google Cloud เปิดบริการให้เช่าเครื่องสถาปัตยกรรม IBM Power
- Log in or register to post comments
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไอบีเอ็มปล่อยสถาปัตยกรรม POWER ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ฟรี เปิดทางให้บริษัทอื่นๆ สามารถผลิตชิป POWER มาใช้งานได้ โดยระบุว่ามีไฟล์ softcore ที่พัฒนาได้ในเวลาไม่นานนักจะเปิดออกมาด้วย ตอนนี้ไฟล์ชุดนี้ก็ปล่อยให้ดาวน์โหลดบน GitHub แล้วในชื่อโครงการ Microwatt
ตัวโค้ดเป็น VHDL 2008 สามารถใช้งานได้ทั้งการจำลองระบบบน ghdl หรือการสังเคราะห์ลงชิป FPGA จริง (ต้องใช้ Xilinx Webpack ซึ่งฟรีแต่ไม่โอเพนซอร์ส)
ไอบีเอ็ม ตั้งกลุ่ม OpenPOWER มาตั้งแต่ปี 2013 โดยหวังว่าจะมีบริษัทภายนอกมาใช้ชิปสถาปัตยกรรม POWER กันมากขึ้น แต่ผ่านไป 6 ปีความฝันนั้นก็ยังส่งผลเท่าใดนัก ตอนนี้ทางไอบีเอ็มก็ประกาศใช้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง (instruction set architecture - ISA) ได้ฟรี
ก่อนหน้านี้ OpenPOWER แม้จะพยายามดึงเอาบริษัทอื่นเข้ามาผลิตชิปสถาปัตยกรรม POWER แต่หากนำไปผลิตจริงก็ยังต้องซื้อสิทธิ์การผลิตจากไอบีเอ็ม ในรูปแบบเดียวกับ ARM แต่หลังจากนี้ชิปสถาปัตยกรรมคำสั่ง POWER จะสามารถผลิตได้ฟรีแบบเดียวกับสถาปัตยกรรม RISC-V
Tesla ประกาศความสำเร็จในการติดตั้ง Powerpack ชุดใหม่ โดยครั้งนี้เป็นการติดตั้งที่สถานีรถไฟโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นพลังงานสำรองฉุกเฉินและลด peak demand ของการใช้พลังงาน
Tesla ระบุว่าทางบริษัทได้ติดตั้ง Powerpack ทั้งหมด 42 ยูนิต 7MWh ซึ่งทางบริษัทระบุว่า Powerpack ชุดนี้ให้พลังงานมากพอที่จะย้ายรถไฟและผู้โดยสารไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุดภายใน 30 นาทีหากเกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าล้มเหลว
นอกจากนี้ Tesla ยังระบุว่าโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาระบบเก็บพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และตัวฮาร์ดแวร์ทั้งหมดถูกติดตั้งในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น
เช้าวันเสาร์ที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ณ St. Petersburg ประเทศรัสเซีย คือช่วงเวลาที่น่าจดจำสำหรับทีมงานช่างและวิศวกรหลายร้อยชีวิต พวกเขาได้ปลดปล่อยยักษ์ตนหนึ่งให้ออกเดินทาง มันเป็นยักษ์สีแดงที่ลอยตระหง่านเหนือผิวน้ำมีชื่อว่า Akademik Lomonosov และมันจะถูกทั้งโลกรู้จักในฐานะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำได้ลำแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
Akademik Lomonosov คือโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างโดย Rosatom บริษัทผู้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และประกอบธุรกิจพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย โดยชื่อของเรือลำนี้ถูกตั้งตามชื่อของ Mikhail Lomonosov นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นผู้ค้นพบชั้นบรรยากาศบนดาวศุกร์ และพบกฎการอนุรักษ์มวลของปฏิกิริยาทางเคมี
การใช้งาน SAP HANA platforms บนเครื่อง IBM Power Systems ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในองค์กรขนาดใหญ่ โดยทาง Nextech System Service เป็นผู้ให้บริการออกแบบ วางแผน และติดตั้ง SAP HANA บน IBM Power Systems ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานแบบเหนือชั้น
เว็บไซต์ข่าว Business Insider รายงานข่าวโดยอ้างถึงจดหมายเปิดผนึกของ Aftenposten หนังสือพิมพ์รายใหญ่ของนอร์เวย์ ที่ตีพิมพ์เมื่อวานนี้และเป็นข่าวหน้าแรก หลังจากที่ทางหนังสือพิมพ์และเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการ ได้รับผลกระทบจากการเซ็นเซอร์เนื้อหาและรูปภาพบน Facebook
Solar Roadways หรือถนนจากแผงโซลาร์เป็นนวัตกรรมจากบริษัท Solar Roadways มีฐานที่ไอดาโฮ ทางบริษัทหมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นถนนแห่งอนาคตชนิดที่จะทำให้ลืมถนนแอสฟัสต์แบบเดิมๆ ล่าสุดทำสัญญากับหน่วยงานจราจรในเมือง Missouri มีแผนจะสร้างถนนแผงโซลาร์นี้ที่ Route 66 เป็นที่แรก
ตัวถนนเป็นแผงทำจากแก้วเทมเปอร์ ประกอบด้วยโมดุลเล็กๆ รวมกัน ออกแบบมาให้สามารถสัญจรได้ รับน้ำหนักได้ และเดินบนถนนได้ มีความร้อนในตัว แก้ปัญหาหิมะกองสูงตามท้องถนนได้ นอกจากนี้ยังมีไฟ LED ในตัว ใช้แทนการตีเส้นถนนแบบเดิม ในแต่ละโมดุลมีตัวประมวลผล หรือ microprocessor ที่จะเชื่อมต่อกับโมดุลอื่นๆ ตัวควบคุมกลาง หรือแม้แต่รถที่สัญจรไปมา
แม้ว่าจะขายส่วนกิจการเซิร์ฟเวอร์สาย x86 ไปให้กับ Lenovo แล้ว แต่ในสายของ Power Systems นั้น IBM ยังคงทำตลาดอยู่ ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ได้ทำการเปิดตัว Power Systems LC เซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่ของตัวเองสำหรับ Linux ที่นำเทคโนโลยีจากสมาชิก OpenPOWER Foundation มูลนิธิที่ผลักดันเทคโนโลยีการประมวลผลสาย POWER ของ IBM เข้ามาใส่ไว้ด้วย
CERN เป็นหน่วยงานที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงประมวลข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้ว Liviu Vâlsan นักวิจัยใน CERN ก็นำเสนอรายงานการวัดประสิทธิภาพซีพียูสี่ตระกูล ได้แก่ IBM POWER 8 Turismo, Applied Micro X-Gene 1, Intel Atom Avoton C2750, และ Intel Xeon E3-1285L
ซีพียูทุกตัวเป็น 8 เธรดยกเว้น POWER 8 ที่มีถึง 32 เธรดใน 4 คอร์ เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วยชุดทดสอบ HEP-SPEC06 พบว่าประสิทธิภาพแซงหน้าซีพียูทุกตัวเมื่อรันที่ 16 เธรดขึ้นไป แต่เมื่อรันด้วยชุดทดสอบ Geant 4 ที่เป็นซอฟต์แวร์จำลองการเดินทางของอนุภาค ประสิทธิภาพของ Xeon กลับดีกว่ามาก
เมื่อปี 2013 IBM ตั้งกลุ่ม OpenPOWER เปิดสถาปัตยกรรมซีพียู POWER ของตัวเองให้หน่วยงานอื่นๆ ร่วมใช้งาน
เวลาผ่านมาเกือบสองปี ผลสำเร็จชิ้นแรกจากโครงการ OpenPOWER ก็เริ่มสำเร็จออกมาแล้ว โดยบริษัทคอมพิวเตอร์ไต้หวัน TYAN จะวางขายเซิร์ฟเวอร์ OpenPOWER ในครึ่งหลังของปีนี้ (ถือเป็นเซิร์ฟเวอร์ตระกูล POWER รุ่นแรกที่ไม่ใช่ IBM ทำ) และ IBM จะร่วมเป็นลูกค้าโดยสั่งซื้อเข้าไปใช้กับกลุ่มเมฆ SoftLayer ของตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีเซิร์ฟเวอร์ OpenPOWER เครื่องแรกของ IBM เอง โดยใช้เทคโนโลยีจาก NVIDIA, Mellanox และผลิตโดยบริษัท Wistron ของไต้หวันเช่นกัน เซิร์ฟเวอร์รุ่นนี้จะถูกใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นถัดไปของ IBM ด้วย
"ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณกำลังออกแบบอะไร คุณจะออกแบบมันได้ยังไง?"
สวัสดีครับ วันนี้มีเพื่อนผมคนนึง ตามให้มาดูเรื่องใน blognone มีเนื้อหาหลักๆ คือ Google จัดประกวด Little Box Challenge ซึ่งเป็นโครงการประกวดการออกแบบ power inverter เพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ solar cell โดยมีเงินรางวัล 1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผมคิดว่าอาจจะมีผู้สนใจอยู่บ้าง เลยต้องการเขียนเจาะรายละเอียดในมุมมองของผม เพื่อช่วย get started ให้กับมือใหม่ (ซึ่งอาจจะมีความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจ) และดึงความคิดเห็นจากมือเก๋า (ที่มีประสบการณ์) แล้วมาดูกันครับว่าเราจะได้ข้อสรุปอะไรหรือเปล่า
กลุ่ม OpenPOWER เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้เห็นกิจกรรมอะไรมากนัก ตอนนี้ความเคลื่อนไหวสำคัญ คือ กูเกิลแสดงเมนบอร์ด POWER8 ของตัวเอง
Gordon MacKean ประธาน OpenPOWER Foundation และพนักงานกูเกิลออกมาระบุว่ากูเกิลเริ่มพอร์ตซอฟต์แวร์ภายในไปรันบน POWER8 และพบว่าการพอร์ตง่ายกว่าที่คิดเพราะ POWER8 นั้นรองรับ little-endian ด้วย
ที่มา - +Gordon MacKean
- Read more about กูเกิลโชว์เมนบอร์ด POWER8 ของตัวเอง
- 3 comments
- Log in or register to post comments
IBM ประกาศข้อตกลงกับ NVIDIA ในการนำจีพียูตระกูล Tesla ไปใส่ในเซิร์ฟเวอร์แบรนด์ Power Systems ที่ใช้ซีพียูตระกูล POWER8 ของ IBM เอง
Tesla จะมีสถานะเป็นตัวช่วยเร่งการประมวลผล (GPU accelerator) ที่แบ่งเบาภาระงานบางอย่างจากซีพียู เพื่อประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีขึ้นของระบบ ลูกค้าของเซิร์ฟเวอร์กลุ่มนี้มักเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ของรัฐที่เน้นการวิจัย งานด้านการประมวลผลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูล
IBM กับพันธมิตรหลายรายได้แก่ Google, Mellanox, NVIDIA, Tyan ประกาศตั้งกลุ่ม OpenPOWER Consortium เพื่อพัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม POWER อย่างเปิดกว้างมากขึ้น เป้าหมายของกลุ่มคือขยายการใช้งาน POWER ไปยังศูนย์ข้อมูล
OpenPOWER ถือเป็นความพยายามครั้งแรกของ IBM ที่เปิดการพัฒนา POWER ให้องค์กรภายนอกเข้าร่วมด้วย ซึ่ง IBM ก็ประกาศชัดเจนว่าจะเริ่มขายไลเซนส์ของ POWER ให้บริษัทอื่นๆ ไปใช้งานต่อ (โมเดลเดียวกับ ARM)
พันธมิตรที่น่าสนใจคือ NVIDIA ที่ทำธุรกิจตัวเร่งการประมวลผล (co-processor) อย่าง Tesla ที่ช่วยเสริมการทำงานของซีพียูในซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และกูเกิลที่มีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่เป็นของตัวเอง ซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าชั้นดีของเซิร์ฟเวอร์ตระกูล POWER ในอนาคต
Google ลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ทำสัญญาซื้อไฟจากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศสวีเดน เพื่อจ่ายไฟข้ามประเทศไปเลี้ยงศูนย์ข้อมูลในฟินแลนด์
Google ลงทุนทำสัญญาซื้อไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตด้วยกังหันลม 24 ตัวรวมกำลัง 72 เมกะวัตต์จากฟาร์มที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวีเดน เพื่อจ่ายให้แก่ศูนย์ข้อมูลของตนเองซึ่งตั้งอยู่ในฟินแลนด์ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 10 ปี
ฟาร์มดังกล่าวซึ่งสร้างโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานลม O2 และบริษัทประกันภัย Allianz จะเริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้ในช่วงต้นปี 2015 โดยจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ผ่านทางเครือข่ายสายส่งกำลัง (power grid) ที่กลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียมีข้อตกลงใช้งานร่วมกัน ไปสู่ที่ตั้งของโหลดในอีกประเทศ
ใกล้งานสัมมนาด้านการออกแบบซีพียูประสิทธิภาพสูง Hot Chips (27-29 ส.ค. นี้) ทางยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ก็ออกมาเผยรายละเอียดบางส่วนของซีพียูระดับสูงรุ่นถัดๆ ไปของบริษัท ดังนี้
- ตอนนี้ IBM ประสบความสำเร็จกับการเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกาของซีพียู "zNext" สำหรับเมนเฟรมตระกูล System z ขึ้นไปที่ 5.5GHz แล้ว (ของเดิม 5.2GHz)
- ซีพียู POWER7 ในปัจจุบัน มีความถี่ขึ้นไปที่ 4.14GHz
- สำหรับซีพียูตระกูล POWER ตัวถัดไปคือ POWER7+ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม 10-20%
รายละเอียดสำหรับซีพียูเหล่านี้จะเปิดเผยในงาน Hot Chips ช่วงปลายเดือนนี้ครับ
ทางการจีนกำลังพิจารณาเลือกว่าจะใช้สถาปัตยกรรมซีพียู (instruction set architecture - ISA) สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล (ซึ่งรวมไปถึงโอเปอเรเตอร์ของรัฐอย่าง China Mobile ด้วย)
ตอนนี้ตัวเลือกมี 5 แบบคือ MIPS, Alpha, ARM, Power และ UPU ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมซีพียูที่จีนพัฒนาเอง อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเป็นไปได้อีกเหมือนกันว่ารัฐบาลจีนอาจตัดสินใจออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวเองใหม่ที่ไม่ใช่ UPU ได้เช่นกัน
ตอนนี้กระบวนการพิจารณายังเพิ่งเริ่มต้น และอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะสิ้นสุด
จีนมีความใกล้ชิดกับสถาปัตยกรรม MIPS และ Alpha มาอยู่ก่อน เช่น ซีพียู Loongson ใช้สถาปัตยกรรม MIPS, ซีพียู Sunway Bluelight ใช้สถาปัตยกรรม Alpha
- Read more about จีนกำลังพิจารณาเลือก "สถาปัตยกรรมซีพียูแห่งชาติ"
- 6 comments
- Log in or register to post comments
Blue Gene เป็นชื่อโครงการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM ซึ่งที่ผ่านมาก็มี "สถาปัตยกรรม" ซูเปอร์คอมออกมาแล้วหลายรุ่น เช่น รุ่นแรก Blue Gene/L ที่เคยโค่น Earth Simulator เป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก, รุ่นสอง Blue Gene/P ที่ใช้กับซูเปอร์คอมที่เร็วที่สุดในยุโรป
The Wireless Power Consortium (แปลเป็นไทยตรง ๆ คือกลุ่มรวมผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไร้สาย) ได้ออกมายืนยันว่าสเปค Qi สำหรับการชาร์จถ่านอุปกรณ์พกพาไร้สายที่ออกมาล่าสุดจะเป็นสเปคสุดท้ายที่พร้อมจะออกมาเป็นมาตรฐานแล้ว
โดยสเปคที่ว่านี้ประกอบไปด้วยเอกสารสามอย่าง ได้แก่ Interface, Performance และ Compliance Requirement ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ โดยอุปกรณ์พกพาที่สนับสนุนมาตรฐาน Qi จะสามารถนำมาชาร์จถ่านจากเครื่องชาร์จที่มีมาตรฐาน Qi ใด ๆ ก็ได้
ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ สเปคนี้เป็นสเปคเฉพาะอุปกรณ์พกพาที่มีความต้องการพลังงานไม่เกิน 5 วัตต์เท่านั้น แต่อนาคตที่เราจะสามารถชาร์จถ่านไร้สายกับอุปกรณ์พกพาใด ๆ ก็ได้ก็ใกล้เข้ามาขึ้นซะที
- Read more about มาตรฐานชาร์จถ่านไร้สายเกิดขึ้นแล้ว!
- 14 comments
- Log in or register to post comments