SVB Financial Group บริษัทแม่ของ ธนาคาร Silicon Valley Bank ที่ประสบปัญหา จนต้อง ถูกหน่วยงานกำกับดูแลสั่งปิดและควบคุมกิจการแทน ยื่นขอล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐแล้ว
การยื่นขอล้มละลายเป็นกระบวนการปกติ เพื่อขอให้ศาลเข้ามาดูแลทรัพย์สินของบริษัทชั่วคราว ก่อนนำเสนอแผนเพื่อหาผู้มาซื้อทรัพย์สินในขั้นต่อไป นอกจากธนาคาร SVB แล้ว ธุรกิจอื่นในเครือ SVB Financial Group ได้แก่กองทุน SVB Capital และบริษัทหลักทรัพย์ SVB Securities ซึ่งไม่ได้ยื่นขอล้มละลายไปด้วย และยังดำเนินธุรกิจตามปกติ
Genesis บริษัทด้านให้กู้ยืมคริปโต ประกาศยื่นขอล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้
Genesis ถือเป็นบริษัทใหญ่ด้านคริปโตอีกราย มีรูปแบบธุรกิจคือรับเงินคริปโตไปปล่อยกู้อีกต่อ แล้วกินส่วนต่างดอกเบี้ย เมื่อตลาดคริปโตขาลง บวกกับการล่มสลายของ FTX ทำให้ลูกค้าแห่ไปถอนเงินจาก Genesis จนเสียสภาพคล่อง และต้องยื่นขอล้มละลายในท้ายที่สุด
เอกสารของ Genesis ระบุว่ามีเจ้าหนี้มากกว่า 100,000 ราย ยอดหนี้รวมบอกกว้างๆ ว่าอยู่ระหว่าง 1-10 พันล้านดอลลาร์ โดยมีตัวเลขว่าเจ้าหนี้ 50 รายที่ใหญ่ที่สุดมีหนี้รวมกัน 3.4 พันล้านดอลลาร์
Zilingo สตาร์ตอัพสายแฟชั่นจากสิงคโปร์ ซึ่งมีธุรกิจในไทยด้วย ยื่นขอล้มละลายเรียบร้อยแล้ว
Zilingo มีอาการไม่ดีมาสักพักใหญ่ๆ หลัง ปลดซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Ankiti Bose หลังพบความผิดปกติทางบัญชี ในเดือนพฤษภาคม 2022 และ ส่งผลให้ผู้บริหารคนอื่นๆ ทยอยลาออกตาม
หลังจากนั้น บอร์ดของ Zilingo ที่นำโดย Shailendra Singh หัวหน้าของบริษัทลงทุน Sequoia India ก็พยายามเสนอขายธุรกิจให้เจ้าของใหม่
Bloomberg รายงานว่าเจ้าหนี้ของ Zilingo สามารถหาคนมาซื้อสินทรัพย์บางส่วนได้แล้ว เมื่อโอนถ่ายสินทรัพย์เสร็จ จึงยื่นขอล้มละลายในท้ายที่สุด
Core Scientific, Inc. บริษัทเหมืองบิทคอยน์รายใหญ่ของสหรัฐ (อยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ ด้วย ใช้ตัวย่อ CORZ) ประกาศยื่นล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐ
ธุรกิจ Core Scientific มีทั้งการขุดเองขายเอง และการให้เช่าเครื่องขุด แต่ภาพรวมคือเมื่อตลาดคริปโตอยู่ในช่วงขาลง โมเดลการหารายได้แบบเดิมไม่ทำกำไรแล้ว บวกกับต้นทุนค่าไฟเพิ่ม และลูกค้าที่เช่าเครื่อง (เช่น Celsius) ล้มละลายไปก่อนหน้า ทำให้ Core Scientific ขาดทุน มีหนี้สะสม จนต้องขอล้มละลายต่อศาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎหมาย
บริษัทคริปโต BlockFi ประกาศยื่นล้มละลายตามกฎหมาย chapter 11 ของสหรัฐ หลังได้รับผลกระทบจาก การล้มละลายของ FTX ที่เป็นคู่สัญญาด้านการเงิน (counterparty) ระหว่างกัน
BlockFi เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านคริปโตหลายอย่าง ทั้งการเทรดคริปโต การรับฝากและการให้กู้เงินคริปโต รวมถึงการให้บริการบัตรเครดิตคริปโตด้วย
Celsius Network แพลตฟอร์มคริปโตอีกรายที่มีปัญหาสภาพคล่อง จนต้องล็อคเงินของผู้ใช้เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ประกาศยื่นขอล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป
Celsius ระบุว่ามีเงินสดในมือ 167 ล้านดอลลาร์ เพียงพอต่อการดำเนินงานบางส่วนของบริษัทต่อ ระหว่างเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน ส่วนลูกค้าก็ยังต้องรอโอกาสในการถอนเงินออกมาเช่นเดิม
บริษัทคริปโต Voyager Digital ที่ประกาศเบี้ยวหนี้ และ หยุดให้ลูกค้าถอน ฝาก เทรดชั่วคราว เมื่อเดือนที่แล้ว ยื่นเข้ากระบวนการล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐแล้ว
Stephen Ehrlich ซีอีโอของ Voyager บอกว่าการเข้ากระบวนการล้มละลายเพื่อปรับโครงสร้าง เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมถึงลูกค้าด้วย
บริษัทบอกว่ามีเงินสดในมือ 110 ล้านดอลลาร์ และเงินคริปโตอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นกระแสเงินสดให้บริษัทยังเดินหน้าต่อได้ระหว่างรอกระบวนการล้มละลาย
Voyager แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตที่เพิ่ง ประกาศปิดการฝาก-ถอนเงิน ไปวันก่อน เนื่องจากประสบปัญหาสภาพคล่อง ได้ยื่นเอกสาร Chapter 11 เข้าสู่กระบวนการขอล้มละลายแล้วต่อศาลนิวยอร์กใต้ ซึ่ง Steven Ehrlich ซีอีโอ Voyager บอกว่าขั้นตอนนี้ทำเพื่อพิทักษ์สินทรัพย์ให้กับเจ้าหนี้ และรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้ผู้ถือหุ้น
ในเอกสารระบุว่าเจ้าหนี้ของ Voyager มีประมาณ 1 แสนราย ขนาดรายการสินทรัพย์อยู่ราว 1 พันถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์
สำนักข่าว Sky News ของอังกฤษ รายงานว่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์คริปโตชื่อดัง Three Arrows Capital ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ แต่จดทะเบียนที่หมู่เกาะ British Virgin ได้รับคำอนุมัติจากศาลของ British Virgins ให้ล้มละลายแล้ว
กองทุน Three Arrows Capital เป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญของวิกฤตคริปโตขาลงช่วงกลางปี 2022 หลังจากเข้าลงทุนในเหรียญ Terra/Luna จนมีปัญหารอบแรก และต้องมาเจอกับภาวะราคาเหรียญคริปโตร่วงหนักในเดือนถัดมา ทำให้ลูกหนี้ของบริษัทบางราย เช่น Voyager ต้องผิดนัดชำระหนี้ของ Three Arrows จนทำให้ Three Arrows ก็ไม่มีเงินไปจ่ายเงินคืนให้ลูกค้า
Buyk บริการเดลิเวรีสินค้าของสด-ของชำภายใน 15 นาที ประกาศล้มละลาย หลังประสบปัญหาทางการเงินเพราะบริษัทแม่ในรัสเซียถูกแซงก์ชันทางเศรษฐกิจ
Buyk เป็นบริษัทลูกของ Samokat บริการเดลิเวรีสินค้าของรัสเซีย และมีธนาคาร Sberbank ของรัสเซียเป็นผู้ถือหุ้น ตัวธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเปิดเมื่อเดือนกันยายนปี 2021 มีพื้นที่บริการเฉพาะนครนิวยอร์กและชิคาโก มีร้านสาขาทั้งหมด 39 แห่ง
Buyk บอกว่าพยายามหาวิธีระดมทุนเพิ่มเพื่อให้ทำธุรกิจต่อไปได้ แต่สถานการณ์สงครามยูเครนและมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่อรัสเซีย ทำให้บริษัทไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องยื่นขอล้มละลายตามกฎหมายสหรัฐ
เมื่อต้นปี Avaya บริษัทระบบสื่อสารรายใหญ่ยื่นขอล้มละลาย และ ตัดส่วนธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย ขายออกเพื่อหาเงินสด
สัปดาห์ก่อน Avaya ระบุว่าเสร็จสิ้นกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และหลุดพ้นสถานะการเป็นบริษัทล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 แล้ว ตอนนี้ Avaya เตรียมกลับมาเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เช่นเดิม โดยมีหนี้น้อยลงจากช่วงก่อนหน้านี้ 3 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินสดในมือ 300 ล้านดอลลาร์ ขั้นต่อไปคือนำบริษัทกลับไปจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ NYSE อีกรอบ
ชะตากรรมของ Avaya บริษัท IP phone ที่เคยยิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายต้องขอล้มละลายเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการหลังล้มละลาย Avaya ประกาศว่าขายธุรกิจด้านเครือข่าย (Networking) ได้แก่สวิตช์, อุปกรณ์ไร้สาย, SDN ให้กับ Extreme Networks, Inc. ผู้ยื่นประมูลสูงสุดในราคาประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ กระบวนการซื้อขายหน่วยธุรกิจจะผ่านการดูแลของศาลล้มละลายสหรัฐ ตามกฎหมายล้มละลาย
หลังขายธุรกิจเครือข่ายแล้ว Avaya จะยังเหลือธุรกิจด้านโทรศัพท์ (Unified Communications) และคอลล์เซ็นเตอร์ (Contact Center) ที่จะเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้างบริษัทให้พ้นสภาพล้มละลายต่อไป
Avaya บริษัทระบบสื่อสารผู้เชี่ยวชาญด้าน IP phone ยื่นขอล้มละลายไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีหนี้สินมากถึง 6.3 พันล้านดอลลาร์ที่ไม่สามารถชำระได้
Avaya ประสบปัญหาธุรกิจมานาน และพยายามแก้ปัญหาด้วยการขายธุรกิจคอลล์เซ็นเตอร์ออกไป แต่ก็ไม่สามารถตกลงราคากับผู้ซื้อได้ ส่งผลให้สุดท้ายบริษัทเลือกยื่นขอล้มละลายต่อศาล เพื่อเข้ากระบวนปรับโครงสร้างหนี้แทน
เดิมที Avaya เป็นส่วนหนึ่งของ Lucent แต่แยกตัวออกมาในปี 2000 โดยธุรกิจหลักของบริษัทคือโทรศัพท์แบบ IP phone และบริการด้านคอลล์เซ็นเซอร์/CRM อย่างไรก็ตาม บริษัทเจอปัญหาสภาพตลาดเปลี่ยนจากฮาร์ดแวร์ไปสู่ซอฟต์แวร์และบริการ แต่บริษัทไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนต้องล้มละลายในที่สุด
Sanfrancisco Examiner เว็บไซต์ข่าวท้องถิ่นในเมืองซานฟรานซิสโก รายงานว่า Yellow Cab Co-Op บริษัทผู้ให้บริการเรียกแท็กซี่รายใหญ่ที่สุดของเมืองกำลังจะยื่นล้มละลายตามบทบัญญัติที่ 11 ในเร็ววันแล้ว
ในจดหมายที่ Yellow Cab Co-Op ส่งให้กับผู้ถือหุ้นระบุว่าบริษัทกำลังประสบความล้มเหลวการเงินอย่างหนัก จึงต้องยื่นขอล้มละลายเพื่อความอยู่รอด โดยหนึ่งในปัญหาที่ว่ามาจากการใช้เงินเพื่อแย่งชิงลูกค้าในตลาด ซึ่งมีคนมาชี้รายละเอียดให้ชัดๆ ว่า Yellow Cap Co-Op น่าจะหมายถึงการแข่งขันกับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของบริการเรียกรถรับส่งผ่านแอพอย่าง Uber และ Lyft
วงการเพลงออนไลน์แบบสตรีมมิ่งที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือด เริ่มมีผู้แพ้มาให้เห็น โดยผู้ให้บริการเพลงสตรีมมิ่ง Rdio ประกาศว่ากิจการไปต่อไม่ได้ เตรียมยื่นขอล้มละลาย และขายเทคโนโลยี-ทรัพย์สินทางปัญญาให้คู่แข่ง Pandora ในราคา 75 ล้านดอลลาร์
Pandora ไม่ได้ซื้อ Rdio ทั้งบริษัท ซื้อเฉพาะเทคโนโลยีและจ้างพนักงานบางส่วนของ Rdio เท่านั้น ส่วน Rdio จะหยุดให้บริการเพลงออนไลน์ทั้งหมดในเร็วๆ นี้ ส่วนกำหนดการขึ้นกับการพิจารณาของศาลล้มละลาย ทรัพย์สินที่เหลือก็จะขายทอดตลาดต่อไป
Quirky, Inc. ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เครื่องใช้ไฟฟ้า-บ้านอัจฉริยะ เจ้าของ แบรนด์ Wink ยื่นขอล้มละลายต่อศาลสหรัฐอเมริกาแล้ว เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดบ้านอัจฉริยะไม่ง่ายสำหรับผู้เล่นรายเล็ก-หน้าใหม่
ตัวบริษัท Quirky ล้มละลายในทางกฎหมาย และหยุดธุรกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับแบรนด์ต่างๆ (เช่น ทำแอร์ร่วมกับ GE ) แต่ธุรกิจบ้านอัจฉริยะ Wink จะถูกขายให้กับบริษัท Flextronics International USA Inc. ด้วยมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์ แต่อาจขายให้บริษัทอื่นถ้ามีคนเสนอราคาสูงกว่านี้ภายใน 60 วัน
ลูกค้าที่ซื้อสินค้าของ Wink ไปแล้วจะยังใช้งานได้ปกติ และสินค้าของ Wink จะยังวางขายต่อไปเช่นเดิม
ข่าวนี้สืบเนื่องจากกรณีบริษัท GT Advanced Technologies ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระจกหน้าจอแซฟไฟร์ ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าแอปเปิลร่วมลงทุนด้วยเป็นเงิน 578 ล้านดอลลาร์ ได้ ยื่นขอล้มละลาย โดยในเอกสารชี้แจงของ GT Advanced ระบุว่าแอปเปิลได้ขอระงับจ่ายเงินลงทุนก้อนสุดท้าย 139 ล้านดอลลาร์แล้ว จึงเป็นสัญญาณว่าแอปเปิลอาจตัดสินใจทิ้งบริษัทผลิตจอแซฟไฟร์นี้
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า MtGox ตลาดซื้อขาย Bitcoin รายใหญ่ที่สุดในโลกได้ยื่นเอกสารต่อศาลในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเพื่อขอล้มละลาย และพิทักษ์ทรัพย์เรียบร้อยแล้ว
MtGox ได้สร้างความไม่มั่นใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่การ ออฟไลน์ ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่า MtGox ถูกแฮก จนบัญชีมีหนี้ค้างจ่ายจำนวนมหาศาล
เพิ่มเติม:Mark Karpeles ผู้บริหาร MtGox ได้จัดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยยอมรับว่าเรื่องวุ่นวายนี้เกิดจากจุดอ่อนในระบบซื้อขาย และ Bitcoin ของลูกค้าทั้งหมดน่าจะสูญหาย โดยลงบันทึกเป็นหนี้สินทั้งหมด 63.67 ล้านดอลลาร์ มีผู้เสียหายราว 127,000 คน โดยเป็นคนญี่ปุ่นประมาณ 1,000 คน
- Read more about MtGox ยื่นเอกสารขอล้มละลายกิจการแล้ว
- 27 comments
- Log in or register to post comments
OCZ Technology Group, Inc. ผู้ขายสินค้าตระกูล SSD ชื่อดัง ประกาศยื่นเอกสารขอล้มละลายแล้ว หลังจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบริษัทลงทุน Hercules Technology Growth Capital ที่ให้ OCZ กู้เงินมาก่อนหน้านี้
OCZ ยังระบุว่าได้รับข้อเสนอซื้อทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของบริษัทจาก Toshiba ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา และต้องรอการอนุมัติจากศาลล้มละลายต่อไป
OCZ เป็นผู้บุกเบิกตลาด SSD สำหรับคอนซูเมอร์ แต่ช่วงหลังมีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ตระกูล Vertex ที่มีปัญหามากมาย บวกกับการแข่งขันที่รุนแรงจากซัมซุงและ Crucial อีกด้วย
- Read more about OCZ ประกาศล้มละลาย, Toshiba ขอซื้อกิจการและทรัพย์สิน
- 2 comments
- Log in or register to post comments
จากรายงานล่าสุดมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ ทางบริษัท Index Corporation ของญี่ปุ่น บริษัทต้นสังกัดค่ายเกม Atlus ได้ขอยื่นล้มละลายเนื่องจากการสอบสวนบริษัทครั้งล่าสุด พบว่าบริษัทมีการฉ้อโกง โดยการปรับแต่งเลขในบัญชีของบริษัท รวมทั้งการที่บริษัทมีภาระหนี้สูงถึง 2.45 พันล้านเยน
โดยประวัติคร่าวๆ ของค่ายเกม Atlus นั้นถือกำเนิดขึ้นในปี 1986 ซึ่งค่ายเกมนี้ก็ได้สร้างเกมที่มีชื่อเสียงอย่าง Persona series, Catherine, Devil Survivor ฯลฯ ต่อมาก็ถูกซื้อกิจการโดย Index Corporation ในปี 2010 แม้กระนั้นก็ยังคงพัฒนาเกมอยู่จนถึงปัจจุบัน
จากรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ศาลสหรัฐได้อนุมัติให้บริษัทเกม THQ ล้มละลายตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกา (Chapter 11) หลังจากที่บริษัทต้องแบกรับปัญหาการเงินค่อนข้างหนัก จนกระทั่งต้องร้องต่อศาลขอสั่งล้มละลายเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยหลังจากนั้นบริษัทหน่วยงานย่อย ลิขสิทธิ์เกม และเอนจินเกมของบริษัทส่วนใหญ่ได้ถูกประมูลขายให้กับบริษัทเกมยักษ์ใหญ่อื่นๆ อย่าง Take Two Interactives, Ubisoft ไปแล้ว
THQ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 ในชื่อเดิมว่า Trinity Acquisition Corporation และได้สร้างผลงานจนมีชื่อเสียงมากจากเกมตระกูล Saint Rows, Company of Heroes และ Homefront
สำหรับแฟนเกมค่าย THQ ที่อยู่ในที่นี้ก็ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
- Read more about ค่ายเกมชื่อดัง THQ ล้มละลายแล้ว!
- 18 comments
- Log in or register to post comments
บริษัทเกม Atari, Inc. ที่มีปัญหาการเงินรุมเร้ามายาวนาน ยื่นขอล้มละลายต่อศาลล้มละลายของสหรัฐแล้ว
เรื่องของ Atari ซับซ้อนพอสมควร บริษัทชื่อ Atari ในปัจจุบันไม่ใช่บริษัทเดียวกับ Atari ที่โด่งดังในอดีต แต่เป็นบริษัทเกมจากฝรั่งเศส Infogrames ที่ซื้อทรัพย์สินของ Atari เดิมมา แล้วเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น Atari แทน (รายละเอียดซับซ้อนกว่านี้เยอะ อ่านใน Wikipedia )
หลังจาก ประกาศล้มละลาย และทำให้ ผู้ถือหุ้นหลายราย ต้องรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ล่าสุด OnLive ได้ออกมาประกาศว่าผู้ใช้บริการจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการล้มละลายของบริษัทในครั้งนี้ และบริษัทใหม่ที่ถูกก่อตั้งขึ้นจะเข้ามาให้บริการเกมสตรีมมิ่งเช่นเดิมภายใต้ชื่อเดิม เนื่องจากบริษัทใหม่นี้ได้ซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของ OnLive ไปเรียบร้อยแล้ว
HTC รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันวันนี้ว่าบริษัทจะบันทึกขาดทุนจำนวน 40 ล้านดอลลาร์จากการที่ OnLive บริษัทเกมได้ ประกาศล้มละลาย ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ HTC เป็นหนึ่งในผู้ ร่วมลงทุนใน OnLive ตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
ส่วนบริษัทอื่นที่ร่วมลงทุนใน OnLive และต้องบันทึกขาดทุนเช่นกันได้แก่ Warners Bros., Autodesk, AT&T และ British Telecom แต่บริษัทเหล่านี้ได้ลงทุนไปนานแล้ว และเป็นจำนวนเงินไม่สูงเท่า HTC (อ้างจาก CrunchBase )
- Read more about HTC ขาดทุน 40 ล้านดอลลาร์จากการถือหุ้นใน OnLive
- 16 comments
- Log in or register to post comments
ตอนนี้ Kodak อยู่ในขั้นตอนเตรียมพร้อมจะเปิดประมูลสิทธิบัตรสิบชิ้นของบริษัท หลังจากที่ได้ยื่นเรื่องขอสถานะล้มละลายไปแล้ว แต่แอปเปิลก็ได้ตัดสินใจเข้ามาฟ้อง Kodak แล้วอ้างว่าสองในสิบสิทธิบัตรของ Kodak นี้เป็นของแอปเปิลตามเนื้อหาของตัวสิทธิบัตร ล่าสุดศาลได้ตัดสินแล้วว่าแอปเปิลจะไม่ได้สิทธิในการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรดังกล่าว และ Kodak จะสามารถนำสิทธิบัตรทั้งหมดไปประมูลต่อไปได้
คำตัดสินของศาลในครั้งนี้มีข้อความชี้ว่าแอปเปิลจงใจที่จะรบกวนหรือขัดขวางการประมูลสิทธิบัตรของ Kodak แต่ศาลเองก็ปฏิเสธที่จะตัดสินว่า Kodak เป็นเจ้าของสิทธิบัตรที่เหลือแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาฟ้องอ้างสิทธิในสิทธิบัตรที่เหลือของ Kodak ได้อีกเช่นกัน