Reuters รายงานว่ารัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมเสนอออกกฎหมายห้ามเยาวชนจำกัดการใช้งานโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม ตามรอย ออสเตรเลียที่อนุมัติกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ใช้โซเชียลมีเดียทุกกรณีไปก่อนหน้านี้
Alexander Sabar เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการสื่อสารและดิจิทัล บอกว่ารัฐบาลจะออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กในทุกด้าน โดยกำลังอยู่ในช่วงการหารือมาตรการ เช่น การกำหนดเกณฑ์อายุของเยาวชน ซึ่งจะไม่ได้จํากัดการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็กทั้งหมด
สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของอินโดนีเซีย บอกว่าเกือบ 50% ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางคนในกลุ่มใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, และ TikTok
มีข่าวล่าสุดประเด็นอินโดนีเซีย แบนห้ามขาย iPhone 16 ด้วยเหตุผลว่าแอปเปิลมีการลงทุนในประเทศไม่ถึง 40% ของยอดขาย ถึงแม้เดือนที่แล้วจะ มีรายงาน ว่าอินโดนีเซียเตรียมยกเลิกคำสั่งแบนแล้ว หลังแอปเปิลยื่นข้อเสนอการลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ ...แต่วันนั้นก็ยังมาไม่ถึง
Agus Gumiwang Kartasasmita รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าถึงแม้ข้อเสนอล่าสุดของแอปเปิลคือการตั้งโรงงานผลิต AirTag ที่เกาะบาตัม แต่ทางการยังไม่สามารถอนุมัติให้ขาย iPhone 16 ได้ เพราะสินค้า AirTag ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีชิ้นส่วนของ iPhone โดยตรง
Bukalapak บริษัทอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ประกาศแผนหยุดให้บริการมาร์เกตเพลสในการซื้อขายสินค้าจับต้องได้ (Physical Goods) และโฟกัสเฉพาะมาร์เกตเพลสของสินค้า Virtual เช่น บริการเติมเงินมือถือ, เติมค่าไฟฟ้าล่วงหน้า, เติมเงินเกม, จ่ายบิลค่าบริการ เป็นต้น
บริษัทบอกว่าจะรับคำสั่งซื้อสินค้าไปจนถึง 9 กุมภาพันธ์ 2025 ส่วนฝั่งผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้เสร็จก่อนวันที่ 2 มีนาคม
Honor วางแผนที่จะขยายธุรกิจในอินโดนีเซีย เพื่อเจาะกลุ่มความต้องการโทรศัพท์มือถือระดับพรีเมียมที่เพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์มากกว่า 30 รายการ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงอุปกรณ์สวมใส่ รวมถึงเปิดตัวร้านค้าประสบการณ์มากกว่า 10 แห่งในอินโดนีเซียในปีนี้
สาเหตุที่ Honor เลือกอินโดนีเซียเป็นจุดหมาย เป็นเพราะว่าอินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จำนวนประชากรมากที่สุด โดยเฉพาะจำนวนประชากรวัยรุ่น รวมไปถึงมีตลาดสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่ และกลุ่มลูกค้าสมาร์ทโฟนพรีเมียมระดับกลางด้วย
Honor คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวสินค้ากลุ่มแรกในไตรมาสที่ 1/2025 ซึ่งประกอบไปด้วยเฮตเซ็ทพรีเมียม สมาร์ทโฟนพับได้ แล็ปท็อป และแท็บเล็ต โดยจะเน้นสินค้าระดับกลางถึงบน รวมทั้งลงทุนในระยะยาว
มีรายงานล่าสุดในประเด็นที่อินโดนีเซีย ออกคำสั่งแบน ห้ามขาย iPhone 16 ในประเทศ เนื่องจากแอปเปิลมีการลงทุนในประเทศไม่ถึง 40% ตามข้อกำหนด ซึ่งทางการอินโดนีเซียเสนอตัวเลขที่ ต้องลงทุนประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Prabowo Subianto ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเปิดเผยว่าเตรียมรับข้อเสนอล่าสุดของแอปเปิล ที่จะลงทุนเป็นเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์แล้ว โดยข้อเสนอเพิ่มเติมคือการตั้งโรงงานผลิต AirTag ที่เกาะบาตัม คิดเป็น 20% ของการผลิต AirTag ทั้งหมด
ประเด็นอินโดนีเซียออกคำสั่ง แบนการขาย iPhone 16 ในประเทศ ด้วยเหตุผลบริษัทนั้นต้องมีการลงทุนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ของยอดขาย ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการขายสมาร์ทโฟนในประเทศ ยังมีเรื่องราวต่อ หลังจากแอปเปิลได้ ยื่นข้อเสนอใหม่ 100 ล้านดอลลาร์ แต่ดูจะยังไม่พอ
โดย Rosan Roeslani รัฐมนตรีด้านการลงทุนของอินโดนีเซีย บอกว่าแอปเปิลต้องลงทุนในประเทศอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์ พร้อมย้ำว่าใครที่ได้ประโยชน์จากการขายสินค้าที่นี่ ก็ต้องร่วมลงทุนในประเทศนี้ด้วย
ถ้าจะเข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตสมาร์ตโฟนในอินโดนีเซีย มีกฎข้อหนึ่งที่ต้องทำตาม คือต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในอินโดนีเซียไม่น้อยกว่า 35% นี่คือประเด็นที่ทำให้ iPhone และ Google Pixel ถูกอินโดนีเซียสั่งห้ามซื้อขาย
ในทางตรงกันข้าม Oppo มีสัดส่วนตรงนี้ราว 36-37%โดยข้อมูลจากฝั่งโรงงานผลิตบอกว่า ชิ้นส่วนที่ Oppo ซื้อจากซัพพลายเออร์ในประเทศ มีทั้งแบตเตอรี่ บรรจุภัณฑ์ อแดปเตอร์ รวมถึงสาย USB และมีแผนที่จะซื้อเพิ่มเติมอีกด้วย
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าแอปเปิลได้ยื่นข้อเสนอใหม่กับทางกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย เป็นการลงทุนในประเทศมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 2 ปี เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดิม 10 ล้านดอลลาร์ ที่แอปเปิลเคยเสนอไว้ โดยเป็นการลงทุนเกี่ยวกับโรงงานผลิตอุปกรณ์เสริมในเมืองบันดุง
แอปเปิลคาดว่าเมื่อข้อเสนอนี้จะทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิก คำสั่งแบนการขาย iPhone 16 ที่ทางการอินโดนีเซียให้เหตุผลว่าเพราะแอปเปิลมีการลงทุนน้อยกว่าตัวเลขที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้
รัฐบาลอินโดนีเซียออกคำสั่งห้ามขายสมาร์ท Pixel ของกูเกิลในประเทศ โดยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียบอกว่ากูเกิลยังมีการลงทุนในประเทศไม่ครบเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่ สั่งแบน iPhone 16 ของแอปเปิลเมื่อต้นสัปดาห์
ข้อกำหนดของอินโดนีเซียระบุว่า ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจากต่างประเทศต้องมีการลงทุนอย่างน้อย 40% ของการขายสินค้า ผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิต การพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือเป็นการลงทุนในประเทศรูปแบบอื่น
รัฐบาลอินโดนีเซียออกคำสั่งห้ามขาย iPhone 16 ทุกรุ่นในประเทศ รวมทั้งสินค้าที่แอปเปิลเพิ่งเปิดตัวพร้อมกันคือ Apple Watch Series 10 ด้วย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียให้เหตุผลว่า แอปเปิลเคยให้คำมั่นเรื่องการลงทุนในประเทศวงเงิน 109 ล้านดอลลาร์ แต่ถึงตอนนี้แอปเปิลยังลงทุนไม่ครบตามจำนวนที่บอกไว้ (ประมาณ 95 ล้านดอลลาร์)
ทางการอินโดนีเซียบอกว่าพร้อมอนุญาตให้สินค้าขายในประเทศได้อีกครั้ง เมื่อแอปเปิลได้ลงทุนในประเทศครบตามจำนวนที่เคยแจ้งไว้ ซึ่งรวมทั้งฝ่ายวิจัยพัฒนา Apple Academy
กระทรวงโทรคมนาคมและข้อมูล (Menkominfo) สั่งแบนแอป Temu ฐานไม่จดทะเบียนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic System Operator - PSE) ในอินโดนีเซีย
แม้ว่าเหตุผลของการสั่งบล็อคจะเป็นเพราะ Temu ไม่ได้มาลงทะเบียน แต่ทางกระทรวงก็ระบุเหตุผลรองว่า Temu ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Usaha Mikro Kecil Menengah - UMKM) ในประเทศอย่างมาก
ยังไม่แน่ชัดว่ากูเกิลและแอปเปิลจะตอบรับคำสั่งของรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อใด แต่ล่าสุดหน้า เว็บ Google Play อินโดนีเซียยังแสดงแอป Temu อยู่
Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซียประกาศสั่งห้ามหน่วยงานรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นทำแอปเพิ่ม หลังหน่วยงานต่างๆ ทำแอปแยกกันอิสระจนตอนนี้มีแอปรวมเกิน 27,000 แอป
Widodo ระบุว่าปัญหาของแอปเหล่านี้คือมันไม่ได้ทำงานร่วมกันนัก และแอปจำนวนมากก็ทำงานทับซ้อนกันไปมาก แถมยังใช้งบประมาณแต่ละปีมากถึง 6.2 ล้านล้านรูปีย์ (ประมาณ 14,000 ล้านบาท) และหลังจากนี้การพัฒนาแอปควรเน้นวัดผลที่ความพอใจของประชาชนและความง่ายในการทำธุรกรรม
นโยบายห้ามทำแอปใหม่ออกมาพร้อมกับการตั้ง GovTech INA Digital เป็นหน่วยงานกลางสำหรับการเชื่อมต่อบริการสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยจะเริ่มจากบริการทางการศึกษา, สาธารณสุข, การขอใบอนุญาตธุรกิจ, และภาษีก่อน ส่วนบริการอื่นๆ จะค่อยๆ ตามมา
Elon Musk ในฐานะซีอีโอ SpaceX เดินทางไปอินโดนีเซียเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อเปิดตัวบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ในประเทศ โดยเริ่มที่ศูนย์สุขภาพชุมชนในเมือง Denpasar ซึ่งเป็นเมืองหลักของบาหลี
ตามแผนงานในช่วงแรก Starlink จะติดตั้งในศูนย์สุขภาพตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งมีอุปสรรคในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่อินเทอร์เน็ตดาวเทียมจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้
Musk กล่าวว่าการให้บริการ Starlink นี้จะช่วยชีวิตผู้คนได้อีกมาก นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสเข้าถึงทางการศึกษา ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นประโยชน์ต่อทุกคน
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียระบุว่ามีศูนย์สุขภาพมากกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และกว่า 2,700 แห่งที่ไม่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ไมโครซอฟท์ประกาศการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และ AI ในประเทศอินโดนีเซีย ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า ด้วยเงินลงทุน 1,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะสร้างทักษะด้าน AI ให้คนประมาณ 840,000 คน
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ กล่าวว่าการลงทุนครั้งนี้ เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของประเทศในยุคถัดไป
การลงทุนด้านคลาวด์และ AI นี้ จะทำต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลของโครงการ Berdayakan Ekonomi Digital Indonesia ที่ ประกาศในปี 2021
Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลเดินทางต่อไปเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หลังจาก เดินทางไปเวียดนาม เมื่อต้นสัปดาห์ โดยเขาได้เข้าพบกับ Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซียวันนี้
Cook ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวหลังเข้าพบ Widodo บอกว่าประธานาธิบดีได้หารือถึงโอกาส ในการสร้างโรงงานผลิตสินค้าแอปเปิลที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสิ่งที่แอปเปิลจะพิจารณาต่อไป
ปัจจุบันแอปเปิลไม่มีฐานการผลิตสินค้าในอินโดนีเซีย แต่มีการจัดตั้ง Apple Developer Academies ร่วมกับสถาบัน 4 แห่งในประเทศ
ที่มา: Channel News Asia
TikTok ปิดดีล 1.5 พันล้านดอลลาร์ ถือหุ้นใหญ่ใน Tokopedia เพื่อเปิด TikTok Shop ในอินโดนีเซียอีกครั้ง
TikTok และ GoTo บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ โดย TikTok จะลงทุนเป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Tokopedia ที่เป็นของ GoTo ผลจากดีลนี้ทำให้ TikTok ถือหุ้น Tokopedia 75.01% และจะนำ TikTok Shop รวมเป็นส่วนหนึ่งในบริการของ Tokopedia ตามข่าวที่ออกมา ก่อนหน้านี้
TikTok Shop หยุดให้บริการในอินโดนีเซียเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว หลังจาก ทางการอินโดนีเซียสั่งแบน ห้ามโซเชียลมีเดียมีธุรกรรมซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ซึ่งกระทบกับ TikTok มากที่สุด
มีรายงานว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ได้ทำข้อตกลงเพื่อลงทุนในส่วนธุรกิจของกลุ่มบริษัท GoTo ในอินโดนีเซีย และเตรียมร่วมมือพัฒนาบริการช้อปปิ้งภายในแอป Tokopedia โดยจะมีรายละเอียดเปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
คาดว่าข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจาก TikTik Shop ถูกแบนในอินโดนีเซีย ตั้งแต่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา ตาม ข้อกำหนดของทางการ ที่ห้ามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ให้บริการซื้อขายสินค้า ซึ่งกระทบกับ TikTok โดยตรง
ถึงแม้ ByteDance และ GoTo จะทำข้อตกลงร่วมมือกันแล้ว ก็ต้องรอขั้นตอนอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในอินโดนีเซียต่อไป ทั้งนี้ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของ TikTok Shop ที่เพิ่งให้บริการไม่นาน เพิ่มขึ้นเป็น 5% ในอินโดนีเซีย
Zulkifli Hasan รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า หน่วยงานกำลังหารือเพื่อเพิ่มข้อกำหนดควบคุมอีคอมเมิร์ซในประเทศ โดยห้ามมีการทำธุรกรรมซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งโซเชียลมีเดียจะทำได้เฉพาะการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่ห้ามมีธุรกรรมเกิดขึ้นในนั้น
เขาให้เหตุผลว่าโซเชียลมีเดียมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน จึงต้องการให้แยกส่วนกับอีคอมเมิร์ซ เพื่อป้องกันไม่ให้อัลกอริทึมนำข้อมูลมาใช้ในทางธุรกิจสำหรับการซื้อขายสินค้า
นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าประกาศดังกล่าวออกมาก็เพื่อควบคุม TikTok ซึ่งตอนนี้รุกมาขยายบริการอีคอมเมิร์ซในประเทศ โดยอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญที่บริษัทเคย ประกาศ ก่อนหน้านี้
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซียประกาศมอบวีซ่าพิเศษตามโครงการ Indonesia Golden Visa ของรัฐบาล ให้แก่ Sam Altman ซีอีโอ OpenAI เพื่อให้เข้ามาพัฒนาวงการปัญญาประดิษฐ์แก่อินโดนีเซีย
โครงการพิเศษนี้เป็นการมอบวีซ่าให้บุคคลสำคัญระดับโลกที่เชื่อรัฐบาลเชื่อว่ามีคุณประโยชน์ต่ออินโดนีเซีย โดยตัว Sam Altman เองเคยไปเยือนอินโดนีเซียเมื่อปี 2019
ผู้ถือวีซ่านี้ได้รับสิทธิพิเศษเข้าช่องตรวจแยกต่างหาก, ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มระยะเวลาพำนักในอินโดนีเซียตามปกติ, สามารถพำนักระยะยาวกว่าปกติได้ โดยวีซ่ามีทั้งแบบอายุ 5 ปีและ 10 ปี ตัว Altman ได้รับแบบ 10 ปี
GoTo บริษัทเทคโนโลยีของอินโดนีเซียที่เกิดจากการ ควบกิจการของ Gojek และ Tokopedia ได้ประกาศว่า Andre Soelistyo จะลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ GoTo โดยมี Patrick Walujo หนึ่งในกรรมการบริษัทเข้ารับตำแหน่งแทน โดยไม่ได้ให้เหตุผลถึงการเปลี่ยนตัวผู้นำบริษัท
การแต่งตั้ง CEO ใหม่นี้ยังอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น โดยจะได้รับการยืนยันในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีในวันที่ 30 มิถุนายน 2023 ขณะที่ Soelistyo จะไปนั่งเก้าอี้รองประธานกรรมการบริษัทแทน
Walujo เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและ Managing Partner ของ Northstar Group (บริษัทจัดการกองทุนของสิงคโปร์) และเป็นนักลงทุนรายแรกๆ ใน Gojek
- Read more about ซีอีโอ GoTo ประกาศลงจากตำแหน่งในวันที่ 30 มิถุนายนนี้
- Log in or register to post comments
eFishery สตาร์ทอัพระบบจัดการฟาร์มเลี้ยงปลา-กุ้งจากอินโดนีเซีย เพิ่มทุนซีรี่ส์ D มีสถานะยูนิคอร์นแล้ว
มีรายงานว่า eFishery สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนในซีรี่ส์ D อีก 108 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 1,260 ล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสถานะยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์)
ผู้ลงทุนรายหลักในรอบซีรี่ส์ D นำโดยกองทุน 42XFund จาก UAE ร่วมด้วยกองทุน Vision Fund 2 ของ SoftBank และมีผู้เคยลงทุนก่อนหน้านี้คือ SoftBank, Sequoia Capital ส่วนธุรกิจอินเดีย และกองทุน Temasek ของสิงคโปร์
ที่ผ่านมาสมาร์ทโฟนตระกูล Galaxy S ของซัมซุง เป็นที่นิยมของผู้ชมการแสดงคอนเสิร์ต เนื่องจากฟีเจอร์ซูมได้ในระยะไกล แต่ยังได้รูปภาพที่คุณภาพดีไม่แตก อย่าง Galaxy S23 Ultra สามารถซูมได้ถึง 100x แม้ในพื้นที่แสงน้อย ความสามารถในการซูมภาพถ่ายนี้ ส่งผลให้เกิดธุรกิจเช่าโทรศัพท์เพื่อนำไปใช้ถ่ายรูปในคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ โดยสามารถดูได้ในทวิตเตอร์ได้เช่น #เช่าS23Ultra หรือ #เช่าโทรศัพท์
อินโดนีเซียเตรียมออกกฎหมายเพื่อผลักดันให้มีการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าว่าจะให้มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้านคันภายในปี 2025
Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียเป็นผู้ออกมาแถลงถึงนโยบายนี้ โดยเน้นย้ำว่าปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่จะส่งผลให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งเรื่องการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, การเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟและสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ และการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของคุณภาพมอเตอร์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
แม้ว่า Netflix และ Disney+ จะเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงภาพยนตร์แบบเสียเงินที่ได้รับความนิยมในเอเชีย แต่ในประเทศอินโดนีเซีย แอปพลิเคชันสัญชาติอินโดนีเซียอย่าง Vidio ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า
บริษัทวิจัย Media Partners Asia เปิดเผยว่าแอปพลิเคชัน Vidio เป็นแอปสตรีมมิงแบบพรีเมี่ยมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอินโดนีเซียในแง่การชั่วโมงรับชม แม้ว่า Disney+ จะมีจำนวนสมาชิกมากกว่าแต่ส่วนใหญ่มาจากการเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทโทรคมนาคม
บริษัท Sea Ltd. ยังปลดคนต่อ ล่าสุด Bloomberg รายงานว่า Sea แจ้งพนักงาน Shopee ในอินโดนีเซีย โดยปลดพนักงานออก 3% เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท (Sea ยืนยันข่าวการปลด แต่ไม่ยืนยันจำนวน)
เมื่อต้นเดือนนี้ Sea เพิ่งปลดพนักงานในละตินอเมริกา 4 ประเทศ และปิดสำนักงานในอาร์เจนตินา ส่วน Forrest Li ซีอีโอของบริษัท แจ้งพนักงานว่าจะลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลงในหลายด้าน ตัวเขาเองและผู้บริหารระดับสูงจะไม่รับเงินเดือนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
Sea เพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2022 บริษัทมีรายได้เติบโตขึ้น 29% แต่ก็ขาดทุนเพิ่มด้วยเช่นกัน