World Wide Web Consortium
หลังจาก กูเกิลล้มแผนการเปลี่ยนจาก third party cookie ใน Chrome มาเป็น Privacy Sandbox หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเว็บอย่าง W3C ก็ออกมาแถลงแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจกลับลำของกูเกิล
W3C บอกว่าจุดยืนอย่างเป็นทางการขององค์กรคือ ควรเลิกใช้ third party cookie เพราะมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว และที่ผ่านมา W3C ก็ร่วมมือกับกูเกิลเพื่อพัฒนาโมเดล Privacy Sandbox มาใช้แทน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนใจกะทันหันของกูเกิลนั้น W3C ไม่ทราบมาก่อน และจะส่งผลให้เว็บทั่วโลกยังใช้งาน third party cookie กันต่อไป เพราะโอกาสที่โซลูชันอื่นจะถูกนำมาใช้แทนนั้นเกิดขึ้นได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น
กูเกิลและมอซิลล่ายื่นค้านมาตรฐานการระบุตัวตนแบบไร้ศูนย์กลางของ W3C หรือ Decentralized Identifier (DID) 1.0 โดยเหตุผลที่ถูกคัดค้านตรงกันคือ DID ไม่มีแนวทางที่จะทำงานข้ามผู้ผลิตได้จริง แต่เป็นเพียงการมัดรวมเอกสารการทำงานของผู้ผลิตกว่า 50 รายเข้าด้วยกันเท่านั้น
DID เป็นความพยายามใช้กระบวนการเข้ารหัสลับเพื่อให้ผู้ใช้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเอกสารต่างๆ โดยไม่ต้องมีหน่วยงานกลางยืนยันความเป็นเจ้าของโดยตรง ตัวมาตรฐานผูกไปกับโลกเงินคริปโตอย่างแน่นหนา กระบวนการยืนยันความเป็นเจ้าของกระจายไปตามผู้ผลิตบล็อคเชนเจ้าต่างๆ กว่า 50 ราย
W3C องค์กรวางมาตรฐานเว็บประกาศเผยแพร่เอกสารสเปค WebAssembly เปิดทางสู่การรันโค้ดที่ประสิทธิภาพแทบเท่ากับการรันโปรแกรมแบบ native บนเบราว์เซอร์ ทำให้เบราว์เซอร์กลายเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการรันแอปพลิเคชั่น เช่น เกม, ระบบถอดรหัส/เข้ารหัส เสียงและวิดีโอ, อัลกอริทึมเข้ารหัส, ไปจนถึงการรันโค้ดภาษาอื่นๆ
เอกสารแยกออกเป็น 3 ฉบับ ได้แก่
มาตรฐานเว็บยุคแรกๆ ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานกลางอย่าง W3C ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกในสังกัดหลายร้อยบริษัท แต่ภายหลังเมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาขึ้น กระบวนการพัฒนามาตรฐานของ W3C ก็ถูกวิจารณ์ว่าล่าช้าเกินไป
ในปี 2004 กลุ่มบริษัทผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ ตั้งกลุ่ม WHATWG ขึ้นมาทำงานกันเองโดยไม่ต้องพึ่ง W3C ส่งผลเทคโนโลยีเว็บหลายตัวถูกนำมาใช้งานในเบราว์เซอร์ก่อนที่จะอยู่ในเอกสารของ W3C ด้วยซ้ำ (ปัจจุบันสมาชิกของ WHATWG คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla)
- Read more about W3C ยอมแพ้ มอบอำนาจกำหนดมาตรฐาน HTML ให้กลุ่ม WHATWG
- 2 comments
- Log in or register to post comments
วันนี้ World Wide Web Consortium หรือ W3C ได้ประกาศให้ Web Authentication API หรือ WebAuthn เป็นมาตรฐานเว็บอย่างเป็นทางการแล้ว
WebAuthn นั้นเป็นมาตรฐานระบบล็อกอินเว็บโดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านของ W3C โดยระบบนี้พัฒนาต่อมาจาก FIDO2 และ CTAP ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับ FIDO UAF และ U2F ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้
ระบบล็อกอิน WebAuthn ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ไม่ต้องใช้รหัสผ่านในการล็อกอิน (หรือจะนำมาใช้ร่วมกับรหัสผ่านก็ได้) โดยการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือ หรือกุญแจความปลอดภัย ซึ่งตอนนี้ WebAuthn รองรับทั้งบน Android และ Windows 10 ส่วนเบราว์เซอร์ที่รองรับก็มีทั้ง Chrome, Firefox, Edge (ส่วน Safari ยังอยู่ในช่วงเบต้า)
ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับร่างมาตรฐาน Web Authentication ที่พัฒนามาจากมาตรฐาน FIDO2 ทำให้เบราว์เซอร์ Edge เตรียมรองรับกุญแจ U2F ได้
ตัว Edge เองก็ทดสอบการรองรับ Web Authentication มาตั้งแต่ปี 2016 และการรองรับครั้งนี้อาศัยมาตรฐานรุ่นก่อนตัวจริง (candidate recommendation - CR) โดยจะเริ่มรองรับใน Windows Insider Preview build 17723
นอกจากการใช้กุญแจ U2F แล้ว มาตรฐาน Web Authentication ยังเปิดทางให้ยืนยันตัวตนผู้ใช้ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น การตรวจสอบลายนิ้วมือและใบหน้า โดยตัว Windows Hello รองรับช่องทางเหล่านี้ด้วย ทำให้สามารถล็อกอินเว็บโดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านอีกต่อไป
WebAssembly ฟอร์แมตไบนารีแบบใหม่สำหรับเว็บเบราว์เซอร์ โดยวิศวกรจาก Google, Microsoft, Mozilla, WebKit ที่ทำงานร่วมกันเพื่อรันเว็บแอพให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับแอพแบบเนทีฟ ตอนนี้ถือว่าเป็นฟอร์แมตที่ได้รับการรองรับจากเว็บเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ทั้งหมดสี่เจ้าแล้ว หลังจากที่ล่าสุด Safari และ Microsoft Edge เพิ่งอัพเดตรองรับไป เพิ่มเติมจาก Firefox และ Chrome ที่รองรับไปก่อนหน้านี้ ส่วนเบราว์เซอร์ที่ใช้ฐานจาก Chromium อย่าง Opera และ Vivaldi ก็จะรองรับในอีกไม่นานนัก
ค่าย Mozilla มีคลังเอกสารสำหรับนักพัฒนาเว็บบน Firefox ชื่อว่า Mozilla Developer Network (MDN) มายาวนาน 12 ปี และถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับนักพัฒนาเว็บทั่วโลก มีคนเข้าเว็บเดือนละ 6 ล้านคน
ล่าสุด Mozilla ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ กูเกิล ซัมซุง และ W3C เพื่อพัฒนาให้ MDN กลายเป็นคลังเอกสารสำหรับนักพัฒนาเว็บที่ใช้ได้กับหลายเบราว์เซอร์ ไม่จำกัดแค่ Firefox เพียงรายเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาเว็บที่ไม่ต้องไปดูเอกสารสำหรับเบราว์เซอร์แต่ละตัว มาที่ MDN ที่เดียวจบ
มาตรฐาน Encrypted Media Extensions (EME) หรือมาตรฐาน DRM บนเว็บ เป็นมาตรฐานที่สร้างความขัดแย้งในชุมชนมาตรฐานเว็บตั้งแต่มันออกร่างแรกมา ความพยายามต่อต่านจากชุมชนโดยเฉพาะองค์กรโอเพนซอร์สอย่าง Free Software Foundation ก็ยังไม่เป็นผลนัก โดยฝั่งผู้ผลิตเบราว์เซอร์อย่างไมโครซอฟท์และกูเกิลเห็นด้วยกับมาตรฐานนี้ ทาง EFF ซึ่งต่อสู้เพื่อเสรีภาพอินเทอร์เน็ตเสนอแนวทางคือให้สมาชิกทำข้อตกลงเพิ่มเติม ใน การมอบสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้กับชุมชน จากเดิมที่มอบให้สามารถอิมพลีเมนต์มาตรฐานได้อย่างเสรี ให้เพิ่มข้อตกลงว่าสมาชิกจะไม่ดำเนิ
มาตรฐาน WebAssembly ระบบไบนารีสำหรับเว็บที่เหมาะกับการคอมไพล์ไปรันในระดับใกล้เคียงกับไบนารีของแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่วง Browser Preview ที่ตอนนี้เบราว์เซอร์สามค่ายหลักได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, และมอซิลล่า ประกาศรองรับในระดับพรีวิวแล้ว
ไมโครซอฟท์รองรับ WebAssembly ในตัว ChakraCore และเตรียมจะบรรจุเข้าใน Edge เร็วๆ นี้ ส่วน Chrome นั้นรองรับแล้วแต่เป็น flag ที่ปิดการทำงานเป็นค่าเริ่มต้นเอาไว้ เช่นเดียวกับไฟร์ฟอกซ์ที่ต้องเปิด flag เช่นกัน
คาดว่ามาตรฐานจะออกเวอร์ชั่นแรกได้ในไตรมาสแรกปีหน้า ตัวเบราว์เซอร์เองก็น่าจะเปิดรองรับกันได้ช่วงใกล้ๆ กัน
การเข้าเว็บด้วยโหมดส่วนตัวอย่าง Private Browsing หรือ Incognito อาจจะทำให้เว็บไม่สามารถจดจำเราได้ง่ายๆ แต่กระบวนการระบุตัวตนผู้ใช้ก็มีแนวทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ล่าสุดนักวิจัยเสนอแนวทางการใช้ความจุแบตเตอรี่ในเครื่องเป็นข้อมูลระบุตัวตนผู้ใช้
แนวทางนี้อาศัย Battery Status API ที่ยังเป็นร่างของ W3C อยู่ โดยเบราว์เซอร์ที่รองรับในตอนนี้ได้แก่ โครม, ไฟร์ฟอกซ์, และโอเปร่า ล้วนเปิดให้เว็บเข้าใช้ API ได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ใช้ล่วงหน้า ทำให้ผู้ใช้เว็บไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกร้องขอระดับพลังงานอยู่
วิศวกรจากกูเกิล, ไมโครซอฟท์, Mozilla และ WebKit ร่วมกันเปิดตัว WebAssembly เทคโนโลยีฟอร์แมตไบนารี "แบบใหม่" สำหรับเว็บเบราวเซอร์
นักพัฒนาสามารถคอมไพล์ภาษาโปรแกรม (ปัจจุบันเน้นที่ C/C++ ในอนาคตจะเพิ่มภาษาอื่นเข้าไป เช่น Rust, Go หรือ C#) ให้มาอยู่ในรูปแบบของฟอร์แมตไบนารีสำหรับเว็บ ทำงานบน JavaScript เอนจินบนเบราว์เซอร์ได้เลยโดยไม่ต้อง parse โค้ด Javascript ที่เป็นข้อความอีกต่อไป ผลคือการประมวลผลเร็วขึ้น (ต้นแบบปัจจุบันทำงานได้เร็วกว่าการ parse asm.js โค้ด 23 เท่า) และข้อดีอีกอย่างคือขนาดของโค้ดที่คอมไพล์ให้อยู่ในรูปแบบของไบนารีฟอร์แมตจะมีขนาดเล็กกว่า JavaScript
องค์กรมาตรฐานเว็บ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events อย่างเป็นทางการ (ปรับสถานะเป็น W3C Recommendation จากเดิมที่เป็นฉบับร่าง) อย่างไรก็ตาม เส้นทางเบื้องหน้าของมาตรฐานนี้ก็ไม่ง่ายเพราะยังไม่มีวี่แววว่า Safari และ Chrome จะรองรับ
วงการเว็บยุคจอสัมผัสเริ่มใช้งาน Touch Events ที่เริ่มโดย Safari บน iPhone แต่ข้อจำกัดของมันคือถูกออกแบบมารองรับเฉพาะนิ้วสัมผัสเท่านั้น ภายหลังไมโครซอฟท์ได้สร้างมาตรฐาน Pointer Events ที่ครอบคลุมการชี้ตำแหน่งด้วยปากกาและเมาส์เพิ่มมา และเสนอมาตรฐานนี้ไปยัง W3C
การเดินทางอันยาวนานของ HTML5 นับสิบปี ตั้งแต่การฟอร์มทีมร่างมาตรฐาน WHATWG ในปี 2004 ก็มาถึง "ก้าวแรก" เมื่อองค์กรกำกับมาตรฐานเว็บ W3C ประกาศรับรอง มาตรฐาน HTML 5.0 อย่างเป็นทางการ (มีสถานะเป็น "Recommendation")
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ HTML5 ก็เป็นไปตามที่ Blognone เสนอข่าวมาโดยตลอด (และทุกวันนี้เราก็ใช้กันเยอะแล้วเพราะเบราว์เซอร์รองรับกันก่อนเป็นมาตรฐาน) เช่น <audio>/<video>, Canvas, SVG, MathML เป็นต้น
ปัญหามาตรฐานเปิดสำหรับการรับอินพุตบนหน้าจอสัมผัสเป็นปัญหามายาวนานจนกระทั่ง ไมโครซอฟท์เคยทำแพตช์ให้ WebKit เพื่อให้รองรับมาตรฐานเปิด Pointer Events ตั้งแต่ปี 2012 แต่ล่าสุดมาตรฐาน Pointer Events ก็ดูจะพ่ายแพ้ต่อ Touch Events API ของแอปเปิลแล้วเมื่อ Blink ประกาศไม่รองรับ Pointer Events
Rick Byers นักพัฒนา Chrome ของกูเกิลระบุเหตุผลของการไม่รองรับมาตรฐาน Pointer Events สามข้อ ได้แก่ 1) ไม่ว่าอย่างไรเว็บที่ใช้ Touch Events เพื่อรองรับ WebKit ก็มีจำนวนมาก 2) ประสิทธิภาพของ Touch Events ดีกว่า Pointer Events มาก 3) Pointer Events ไม่สามารถดัก event จากผู้ใช้ได้ระหว่างเลื่อนหน้าจอ ขณะที่นักพัฒนาต้องการความสามารถนี้
ที่ประชุม W3C เสนอร่างแรกของมาตรฐาน Encrypted Media Extensions (EME) หรือ "มาตรฐานการจัดการสิทธิ (DRM) สำหรับเนื้อหาในเว็บ" เปิดแก่สาธารณะ เป็นเวอร์ชั่นแรก มาตรฐานนี้จะรวมเอากระบวนการเก็บกุญแจถอดรหัสเนื้อหาเอาไว้ในเบราว์เซอร์, อัลกอริทึมสำหรับการถอดรหัส, และกระบวนการตรวจสอบว่าเบราว์เซอร์ยังคงออนไลน์อยู่ เพื่อจะรับชมเนื้อหาที่ดาวน์โหลดมา
- Read more about W3C เสนอร่างมาตรฐาน DRM สำหรับเว็บ
- 18 comments
- Log in or register to post comments
ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างไมโครซอฟท์และโลกโอเพนซอร์สทำให้เราได้เห็นปรากฎการณ์ที่สักห้าหกปีก่อนคงไม่มีใครคาดคิด แต่วันนี้ Scott Blomquist พนักงานของไมโครซอฟท์ก็ ส่งแพตซ์เข้าไปยังโครงการ WebKit เพื่อให้รองรับ มาตรฐาน Pointer Events ที่ไมโครซอฟท์เสนอเข้าสู่ W3C
W3C ผู้ดูแลมาตรฐานวงการเว็บ ปรับสถานะของมาตรฐาน HTML5 และ Canvas 2D เป็น "candidate recommendation" หรือ "ร่างฉบับก่อนสมบูรณ์" เรียบร้อยแล้ว
candidate recommendation ในที่นี้แปลว่า HTML 5.0 จะไม่มีฟีเจอร์เพิ่มจากนี้แล้ว และงานที่เหลือจะเป็นการเก็บบั๊กให้มาตรฐานออกมาสมบูรณ์ต่อไป ทางคณะทำงานของ W3C ประเมินว่า HTML 5.0 จะเปลี่ยนสถานะจาก candidate recommendation เป็น recommendation (มาตรฐานจริง) ช่วงกลางปี 2014 หรืออีก 1 ปีครึ่งนับจากนี้
ปรากฎการณ์ "ปั๊มเลขรุ่น" ระหว่างเบราว์เซอร์ทำให้เราเห็นเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ กันแทบทุกเดือน สลับยี่ห้อกันไป ไม่กี่วันหลัง Firefox 17 ออกตัวจริง Firefox 18 รุ่นเบต้าก็ออกมาให้ดาวน์โหลดแล้ว ฟีเจอร์สำคัญได้แก่
บริษัทไอทีหลายแห่ง ได้แก่ Adobe, Apple, Facebook, Google, HP, Microsoft, Mozilla, Nokia, Opera ประกาศจับมือตั้ง [Web Platform Docs](http://www.webplatform.org/) เว็บไซต์กลางสำหรับรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับ HTML5
เว็บไซต์นี้จะใช้เอนจินคล้ายๆ Wiki โดยนำข้อมูล เนื้อหา เอกสาร คู่มือ ฯลฯ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย HTML5 และ CSS ของบริษัทต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ตามเว็บไซต์ของบริษัทนั้นๆ (เช่น MSDN ของไมโครซอฟท์ หรือ MDN ของ Mozilla) มาไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อนักพัฒนาในการค้นหาข้อมูล
ตอนนี้ส่วนของเอกสารยังเพิ่งเริ่มต้น ต้องรอสมาชิกนำเอกสารของตัวเองเข้ามายังเว็บนี้ก่อนจึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ครับ สุดท้ายแล้วเราคงได้แหล่งข้อมูลดีๆ สำหรับการพัฒนาเว็บอีกแห่งหนึ่ง
กลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเว็บได้แก่ กูเกิล, อโดบี, แอปเปิล, ไมโครซอฟท์, โอเปร่า, มอซซิลล่า, และโนเกีย รวมตัวกันผ่านองค์กรออกมาตรฐานเว็บ W3C สร้างเว็บใหม่ในชื่อ WebPlatform.org เพื่อสร้างเนื้อหาที่ทันต่อมาตรฐานเว็บ
WebPlatform ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อออกมาตรฐานใหม่เหมือน WHATWG ที่เป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างมาตรฐานเสนอเข้าไปยัง W3C ตรงๆ แต่ WebPlatform จะมีไว้เพื่อให้บริษัทต่างๆ และคนที่สนใจช่วยกันสร้างเนื้อหา, บทเรียน, ตัวอย่างโค้ด, และตอบปัญหาในฟอรั่ม เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ในมาตรฐานได้อย่างเต็มที่
W3C เสนอแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของมาตรฐาน HTML5 ที่ยังไม่ลงตัวสักที โดยเตรียมแผนการแบ่งเป็นรุ่นเสถียรและรุ่นไม่เสถียร ออกตามกำหนดเวลา (แบบเดียวกับ Ubuntu/Chrome/Firefox) ดังนี้
W3C เผยร่างของ Web Cryptography API โดยเป็น JavaScript API ที่ทำหน้าที่เป็นฟีเจอร์ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล ตัวอย่างการนำมาใช้งานเช่นการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานผ่านทางเว็บแอพพลิเคชั่น โดยมันจะสร้างวิธีการที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นระหว่างเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์
อีกหนึ่งความสามารถของ API ตัวนี้คือมันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสิทธิ์ในการอ่านและเขียนข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสบน cloud ได้และมันยังยอมรับมาตรฐานอื่นๆ ในการเข้ารหัสเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์นอกเหนือจาก SSL/TLS อีกด้วย
- Read more about W3C เผยร่างของ Web Cryptography API สำหรับเบราว์เซอร์
- Log in or register to post comments
กระบวนการพัฒนา HTML5 นั้นซับซ้อนและเต็มไปด้วยการเมืองระหว่างองค์กร ถึงแม้ W3C จะมีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาเทคโนโลยี HTML อย่างเป็นทางการ แต่ความล่าช้าของ W3C หลังพัฒนา HTML4 ทำให้ตัวแทนของบริษัทไอทีรายใหญ่ๆ เช่น แอปเปิล โอเปร่า มอซซิลลา รวมตัวกันเป็นกลุ่ม WHATWG (Web Hypertext Application Technology Working Group) พัฒนาสเปกของ HTML5 กันไปก่อน
เมื่อ HTML5 เริ่มติดตลาด ทาง W3C จึงเข้ามาเป็นองค์กรรับรองมาตรฐาน HTML5 โดยมี WHATWG ทำงานคู่ขนานกันไปอีกขั้นหนึ่งในฐานะคณะกรรมการย่อยของ W3C
- Read more about HTML5 ถึงทางแยก กลุ่ม WHATWG ตัดสินใจแยกตัวจาก W3C
- 48 comments
- Log in or register to post comments
David Dorwin, Adrian Bateman และ Mark Watson วิศวกรของบริษัท Google, Microsoft และ Netflix ตามลำดับ ได้ตีพิมพ์ร่าง "Encrypted Media Extensions" หรือ API extension สำหรับการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์คอนเทนต์บนเว็บตามมาตรฐาน HTML5 ไปยัง World Wide Web Consortium (W3C) โดยชุด API ดังกล่าวจะเพิ่มการสนับสนุนการเล่นไฟล์มีเดียที่ได้รับการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ให้กับ HTMLMediaElement
วิศวกรทั้งสามกล่าวว่าร่าง API นี้เป็นเพียงโค้ดที่เพื่อถอดรหัส (decrypt) คอนเทนต์เท่านั้น และสามารถทำงานร่วมกับโมดูลเสริมภายนอกเพื่อสร้างกลไกการถอดรหัสที่เหมาะสมตามแต่การใช้งานได้