เดิมทีอุตสาหกรรมเพลง K-pop มักจะปล่อยเพลงภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาเกาหลี เพียงแค่ ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาอังกฤษ เท่านั้น แต่ไม่นานมานี้ โปรดิวเซอร์ของ HYBE ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ต้นสังกัดของศิลปินระดับโลกอย่าง BTS ได้ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อลดกำแพงทางภาษาเหล่านั้น
HYBE ได้ปล่อยเพลง Masquerade ของ MIDNATT ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งหมด 6 เวอร์ชัน (ภาษา) ได้แก่ เกาหลี อังกฤษ สเปน จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม
บีทีเอส ประกาศสิ้นสุดการขายเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทุกประเภท โดยสามารถเติมและซื้อเที่ยวเดินทางได้ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เป็นวันสุดท้าย โดยบัตรที่มีเที่ยวเดินทางเหลือ สามารถใช้ต่อได้จนกว่าเที่ยวเดินทางจะหมด
บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเปิดตัวตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตัวเองที่บีทีเอสหมอชิต รอรับรายงานผ่านอีเมลได้
บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เปิดตัว Bureau Lab ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตัวเองที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีหมอชิต สามารถรอรับรายงานผ่าน E-Credit report ทางอีเมลได้ทันที
แอพฯ Bangkok Route Mapรวบรวมทุกการเดินทางในกรุงเทพฯ ไว้ในแอพฯ เดียว ไม่ว่าจะเป็น BTS, MRT, Airport Rail Link, BRT, Shuttle Boat, รถเมล์, เรือด่วนเจ้าพระยาม, เรือโดยสารคลองแสนแสบ
นาซ่าประกาศโครงการเตรียมนำมนุษย์เดินทางกลับไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2024 โดยรอบนี้มีโครงการให้คนทั่วไปมีส่วนร่วม คือการเสนอเพลงให้นักบินอวกาศฟังระหว่างการเดินทาง 3 วันจากโลกถึงดวงจันทร์ (ไป-กลับอย่างละ 3 วัน) โดยเพลงชุดแรกที่ได้รับเลือกเป็นเพลงของวง BTS จากเกาหลีใต้
ธนาคารกรุงเทพ โดยฝ่ายบริหารช่องทางการขายและบริการ Non Branch ประกาศเพิ่มคุณสมบัติใหม่ให้กับ Bualuang mBanking สามารถเชื่อมต่อกับ Rabbit LINE Pay (RLP) ได้แล้วนับตั้งแต่บัดนี้
การเชื่อมต่อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลของ RLP ตรงจากแอพ Bualuang mBanking โดย รองรับเฉพาะการบริการเกี่ยวกับเที่ยวเดินทาง BTS เท่านั้นสามารถเรียกดูประวัติการเดินทาง และสั่งเติมเงินได้จากตัวแอพโดยตรง
ขั้นตอนการเชื่อมสามารถทำได้เพียงแค่เข้าแอพ mBanking จากนั้นกดที่โลโก้ RLP แล้วจึงทำการเชื่อมต่อในครั้งแรกให้เสร็จสิ้น เท่านี้การเชื่อมต่อก็สมบูรณ์
รถไฟฟ้า BTS แจ้งผู้ใช้งานบัตรแรบบิทผ่านช่องทางทวิตเตอร์ว่า ตั้งแต่ 15 ก.พ.นี้ ตอนไปเติมเงินหรือเติมเที่ยวเดินทาง ที่ห้องตั๋ว BTS, BRT และศูนย์บริการแรบบิทสถานีสยาม เจ้าหน้าที่จะขอบัตรประชาชนเพื่อลงทะเบียนยืนยันตัวตน และสำหรับชาวต่างชาติ จะให้ใช้หนังสือเดินทางมายืนยัน
ในขั้นตอนการลงทะเบียน ผู้ใช้นอกจากยื่นบัตรประชาชนแล้ว ต้องแจ้งเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลด้วย สำหรับคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนแต่ยังมีเงินหรือเที่ยวเดินทางในบัตรอยู่ ยังคงใช้บัตรได้ตามปกติ แต่เวลาเติมเงินครั้งต่อไปจะต้องใช้บัตรประชาชนมาลงทะเบียนเช่นกัน
ทาง BTS แจ้งว่า การยืนยันตัวตนนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ ปปง. เป็นผู้ดูแลอยู่ ซึ่งข้อดีคือเมื่อบัตรหาย จะได้แจ้งระงับเพื่อรักษาเงินและเที่ยวเดินทางในบัตรได้
แอพ LINE เวอร์ชันล่าสุด รองรับการเติมเงินรถไฟฟ้า BTS ผ่านบริการ Rabbit LINE Play จากแอพ LINE โดยตรงแล้ว
กระบวนการใช้งานคือเข้าเมนู BTS จากใน Rabbit LINE Pay จากนั้นเชื่อมบัตร Rabbit เข้ากับแอพ LINE แล้วนำบัตรไปเปิดใช้งาน (activate) ที่สถานี BTS ซึ่งปัจจุบันยังใช้งานได้ 5 สถานีคือ อโศก, อนุสาวรีย์ชัย, ช่องนนทรีย์, ศาลาแดง และเพลินจิต
Rabbit LINE Pay เป็นบริษัทร่วมทุนที่เริ่มต้นโดย LINE และกลุ่มรถไฟฟ้า BTS ในปี 2016 จากนั้นได้ AIS เข้ามาร่วมทุนด้วยอีก 1 รายในช่วงต้นปี 2018
เหตุการณ์รถไฟฟ้า BTS ขัดข้องอย่างต่อเนื่องทำให้ มีการคาดการณ์ต่างๆ กันไปว่ามีสาเหตุจากอะไร ตอนนี้ทาง BTS ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่ามีสองสาเหตุ คือการปรับเปลี่ยนระบบเอง และสัญญาณรบกวนจากภายนอก
การปรับเปลี่ยนระบบวิทยุที่ใช้กับระบบอาณัติสัญญาณ เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับส่วนขยายสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่กำลังจะเปิดปลายปีนี้ โดยระหว่างการติดตั้งอาจทำให้การเดินรถไม่เสถียร
ขณะที่ปัญหาสัญญาณรบกวนเป็นปัญหาบริเวณสถานีพร้อมพงษ์, สถานีอโศก, และสถานีสยาม โดยเป็นคลื่นวิทยุความเข้มสูงเข้ามารบกวนระบบในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
หลังเหตุรถไฟฟ้า BTS มีปัญหาต่อเนื่องหลายวัน และ มีการคาดการณ์ว่าเป็นปัญหาจากคลื่นรบกวน dtac-T ที่ใช้คลื่น 2300 วันนี้ทาง dtac ก็ระบุว่าได้ปิดคลื่น 2300 จากสถานี 20 สถานีตามแนวรถไฟฟ้าแล้ว
ผู้ให้สัมภาษณ์คือ นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี ของ dtac ระบุว่าได้หยุดปล่อยคลื่น 2300 ตั้งแต่ช่วง 6 โมงเช้าที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี วันนี้ BTS ยังคงขัดข้องต่อเนื่อง ตั้งแต่เช้าที่ผ่านมาจนถึงช่วงสิบโมงวันนี้
ที่มา - เรื่องเล่าเช้านี้
หลังรถไฟฟ้า BTS เกิดปัญหาทั้งช่วงเช้าและเย็นของวันนี้ จนมีรายงานว่าอาจเกิดจากคลื่นความถี่ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังทดสอบ ( อ้างอิง )
ล่าสุดดีแทคได้ออกมาชี้แจงว่าคลื่นความถี่ 2300MHz ของดีแทคและทีโอทีไม่ได้ส่งคลื่นใดๆ ออกมานอกเหนือจากแบนด์ของดีแทค และจากการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคลื่นความถี่เข้าไปทำงานร่วมกับ BTS และทีโอทีและวิเคราะห์ร่วมกันพบว่า อุปกรณ์การส่งสัญญาณของ BTS อยู่ในช่องคลื่นความถี่ที่ตั้งอยู่ห่างจากแบนด์ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังดำเนินงานอยู่ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาขัดข้องในการให้บริการ BTS ตามที่เป็นข่าว
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
TOT เตรียมนำคลื่น 2300 MHz มาใช้ในการทดลองบริการ Wi-Fi ในระบบรถไฟฟ้า BTS
บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ ร่วมกับ TOT ได้ทำข้อตกลงในการให้บริการ Wi-Fi ในรถไฟฟ้า BTS
โดยในช่วงทดลองจะเริ่มให้บริการจาก สถานีหมอชิต ถึง สถานีแบริ่ง ทั้งนี้จะทำการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน
โดย TOT ชี้แจงว่า จะใช้คลื่น 2300 MHz ที่จะหมดอายุในปี 2568 มาให้บริการนี้
โครงการนี้ทาง TOT ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท โดยทาง BTS จะจ่ายค่าเช่าโครงข่ายให้ TOT เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน หรือ เป็นประจำทุกปี
TOT มีแผนที่จะเก็บค่าบริการเดือนละ 20 บาท สำหรับลูกค้า TOT3G
วันนี้วงการชำระเงินของบ้านเราเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ LINE Pay และบัตร Rabbit Pay ของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (BSS) ในเครือรถไฟฟ้า BTS ประกาศเซ็นสัญญาร่วมทุน โดย BSS จะเข้าไปเพิ่มทุนให้กับบริษัท LINE Biz Plus Limited (ชื่อบริษัทของ LINE Pay) อีก 50% และ เปลี่ยนชื่อบริการ LINE Pay เป็น Rabbit LINE Pay
การถือหุ้นใน LINE Biz Plus จะเป็นสัดส่วน 50:50 ระหว่าง BSS และ LINE เป้าหมายของการร่วมทุนครั้งนี้คือ Rabbit LINE Pay จะเป็นบริการชำระเงินที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน
เมื่อสักครู่นี้คุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส พร้อมด้วย ดร.อาณัติ อาภาภิรม, คุณสุรพงษ์ เลาหะอัญญา และ คุณโทมัส ก็อดเฟร่ย์ ได้ออกแถลงการณ์ถึงปัญหาที่รถไฟฟ้าบีทีเอสไม่สามารถให้บริการได้ในช่วงเช้าของวันนี้ โดยระบุสาเหตุเบื้องต้นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากชุดประตูกั้นชานชาลาที่ติดตั้งเข้าไปใหม่ในปีนี้ครับ