โครงการ Ubuntu เตรียมเปลี่ยนฟอนต์มาตรฐานของระบบ จากเดิมใช้ ฟอนต์ตระกูล DejaVu เปลี่ยนมาเป็น ฟอนต์ตระกูล Noto ของกูเกิล
ฟอนต์ทั้งสองตัวเกิดมาด้วยแนวคิดเดียวกัน คือเป็นฟอนต์โอเพนซอร์สที่ใช้ได้อย่างเสรี และรองรับภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ฟอนต์ DejaVu ออกครั้งแรกในปี 2004 โดยนำฟอนต์ภาษาละติน Bitstream Vera ของบริษัทฟอนต์ Bitstream มาขยายผลต่อโดยเติมอักขระในภาษาอื่นๆ เพิ่มเข้ามา
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ ประกาศแผน เปลี่ยนฟอนต์ดีฟอลต์ใน Microsoft Office จาก Calibri ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2007 โดยมีตัวเลือกจำนวนหนึ่ง ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ข้อสรุปแล้ว
โดยหลังจากสอบถามความเห็นจากลูกค้า ไมโครซอฟท์บอกว่า Aptosคือฟอนต์ที่ผู้ใช้งานชอบมากที่สุด (ในตอนให้สอบถามความเห็น ฟอนต์นี้คือ Bierstadt) เป็นฟอนต์ที่ไม่มีเชิง (sans-serif) ปรับใช้ได้ในหลายภาษา
Aptos จะมาเป็นฟอนต์ดีฟอลต์ในบริการทั้งหมดของ Microsoft 365 ไม่ว่าจะเป็น Word, Outlook, PowerPoint และ Excel เริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และอัพเดตกับผู้ใช้งานทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อินเทลแจกฟอนต์สำหรับเขียนโค้ด Intel One Mono เป็นฟอนต์แบบ monospace ความกว้างเท่ากันทุกตัวอักษร เน้นความอ่านง่าย สบายตา ช่วยลดการล้าของสายตาโปรแกรมเมอร์
ฟอนต์ตัวนี้อินเทลจ้างบริษัทออกแบบฟอนต์ Frere-Jones Type พัฒนาขึ้น โดยมีจุดประสงค์จับกลุ่มนักพัฒนาที่มีข้อจำกัดทางสายตา (low-vision) และผ่านการรับฟังความเห็นจากนักพัฒนากลุ่มนี้ในช่วงทดสอบแล้ว ฟอนต์ยังมีแต่ตัวอักษรภาษาละติน มี 4 น้ำหนักคือ Light, Regular, Medium, Bold ทั้งตัวปกติและตัวเอียง รองรับฟีเจอร์ของ OpenType หลายอย่างด้วย
ตัวฟอนต์เป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
กูเกิลประกาศว่าโครงการฟอนต์โอเพนซอร์ส Noto ที่ริเริ่มในปี 2012 ออกตัวเต็มในปี 2016 และ มีภาษาไทยในปี 2018 รองรับภาษาเขียนมากกว่า 1,000 ภาษาแล้ว เรียกได้ว่าครอบคลุมเกือบทุกภาษาในโลก
ชื่อฟอนต์ Noto มาจากคำว่า "No Tofu" หมายถึงเป้าหมายของฟอนต์ที่ครอบคลุมอักขระทุกตัวในโลก ไม่มีอักขระว่างที่แสดงผลไม่ได้เป็นกล่องสี่เหลี่ยม (เหมือนเต้าหู้) อีกต่อไป
ตอนนี้ Noto มีฟอนต์ครอบคลุมระบบการเขียน (writing system) จำนวน 151 ระบบ เกือบครบทั้งหมดตามที่ระบุใน Unicode 160 ระบบแล้ว
Instagram ประกาศรีเฟรชแบรนด์ โดยปรับทั้งสีโลโก้ ที่ มีคนสังเกตเห็น ก่อนหน้านี้ ตลอดจน visual identity ในด้านอื่น ซึ่ง Instagram บอกว่าการปรับปรุงนี้เพื่อให้สะท้อนแบรนด์และชุมชนผู้ใช้งานมากขึ้น
เริ่มจากสีพื้นของโลโก้ใหม่ Instagram ที่ทำให้สว่างขึ้น ตัวเฉดสีจัดเรียงผ่านกระบวนการ 3D Modeling ทำให้มีมิติด้านลึกด้วย เฉดสีใหม่นี้จะถูกนำไปใช้สำหรับงานประชาสัมพันธ์แบรนด์ทั้งหมด
Google ออกฟอนต์ในตระกูล Roboto ใหม่ชื่อว่า Roboto Flex โดยเน้นที่ความยืดหยุ่นของฟอนต์ที่ทำให้ตัวฟอนต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
สำหรับตัวฟอนต์ Roboto ทาง Google เริ่มใช้กับ Android มาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งปัจจุบัน Android มีผู้ใช้แอคทีฟกว่า 2.5 พันล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก ดังนั้น Roboto ที่ใช้งานเป็นฟอนต์หลักจะต้องยืดหยุ่นให้มากที่สุด ปัจจุบันฟอนต์ในกลุ่ม Roboto มีหลายตัว ไม่ว่าจะป็น Roboto Slab, Roboto Mono ล่าสุดคือ Roboto Serif และ Roboto Flex ก็จะเข้ามาช่วยเติมเต็มฟอนต์ตระกูล Roboto ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
กูเกิลเปิดตัวฟอนต์ใหม่ Noto Emoji ฟอนต์อีโมจิสีขาวดำโดยเฉพาะ เป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจาก Noto Emoji Color ที่เป็นอีโมจิแบบสี
กูเกิลบอกว่าตั้งใจทำ Noto Emoji เป็นสีขาวดำโมโนโครม อ่านง่าย นำไปใช้ต่อได้ง่ายทั้งบนพื้นหลังสีอ่อนเข้ม (light/dark mode ตามสมัยนิยม) แถมเปลี่ยนฟอนต์เป็นสีพื้นสีอื่นได้สะดวกด้วย
การแปลงสัญลักษณ์อีโมจิจาก Noto Emoji Color มีทั้งการใช้รูปเดิมแบบตรงๆ และการเปลี่ยนรูปถ้าจำเป็นต้องทำ เช่น ธงชาติที่แยกแยะด้วยสีขาวดำไม่ได้ เปลี่ยนมาใช้ธงที่มีตัวอักษรย่อชื่อประเทศแทน นอกจากนี้ ไอคอนใบหน้า blob ที่เคยใช้ในอีโมจิของกูเกิลมายาวนาน (ตัวใน thumbnail ของ Blognone) ก็นำกลับมาแล้วอีกครั้งด้วย
กูเกิลอธิบายวิธีแก้ปัญหาการแสดง emoji เป็นกล่องสี่เหลี่ยมใน Android ที่เกิดจากระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าไม่รองรับ emoji รุ่นใหม่ๆ ที่ออกตามหลังจากนั้น
เบื้องหลังการทำงานของ emoji เป็นฟอนต์ที่มีอักขระตามรหัส Unicode โดยกรณีของกูเกิลใช้ฟอนต์ชื่อ Noto Emoji ( เป็นหนึ่งในฟอนต์ชุด Noto ที่ชื่อมาจากคำว่า no more tofu ซึ่งเต้าหู้หมายถึงกล่องที่แสดงฟอนต์ไม่ได้) ที่จะอัพเดตไอคอน emoji ให้ทันสมัยตลอดเวลา ปัจจุบัน Noto Emoji รองรับแล้ว 3,366 ตัว
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเพจ Urban Creature เผยแพร่ข่าว ทีมนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน Thai Eco font ลดปริมาณพื้นที่ภายในตัวอักษร ประหยัดหมึกพิมพ์ร้อยละ 30 โดยยังคงความคมชัดไว้ได้ไม่แตกต่างจากเดิม พร้อมจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันหน่วยงานราชการในประเทศไทยใช้ฟอนต์ TH Sarabun กันมาก ซึ่งในแต่ละปีหน่วยงานต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหมึกพิมพ์จำนวนมาก ทางทีมวิจัยเกิดแนวคิดในการออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (Thai Eco font) ลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ได้
Twitter ประกาศเปลี่ยนฟอนต์แสดงผลใหม่ Chirp สำหรับหน้าเว็บและแอพ การเปลี่ยนแปลงยังมีผลเฉพาะตัวอักษรตะวันตกเท่านั้น
ฟอนต์ Chirp เป็นฟอนต์ที่ Twitter จ้างออกแบบเอง เพื่อใช้แทนฟอนต์เดิมๆ (SF Pro, Roboto, Helvetica Neue) โดยมีโจทย์ว่าต้องโดดเด่น จดจำได้ว่าเป็น Twitter และยังต้องอ่านง่าย คมชัด
นอกจากฟอนต์แล้ว Twitter ยังปรับดีไซน์ของหน้าเว็บและแอพใหม่ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงเอนจินของ Edge ตัวเก่า (EdgeHTML) มาเป็น Chromium ส่งผลให้การเรนเดอร์ฟอนต์บน Windows เปลี่ยนไป เพราะ Chromium มีระบบเรนเดอร์ฟอนต์ของตัวเองที่เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม แต่ต่างจากแอพบน Windows ตัวอื่นๆ
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับปรุง Edge ให้สามารถใช้เอนจินเรนเดอร์ฟอนต์ของ Windows ได้แล้ว เบื้องหลังการทำงานจะใช้ DirectWrite และการเรนเดอร์แบบ ClearType ข้อดีคือเห็นฟอนต์แบบเดียวกันกับแอพอื่นๆ และตั้งค่าระดับความเข้ม (contrast) ของฟอนต์ใน Settings ทีเดียวแล้วเปลี่ยนทั้งหมด
ฟอนต์ Segoe UI กำเนิดขึ้นในปี 2004 และกลายเป็นฟอนต์มาตรฐานของ Windows ตั้งแต่ Vista มาจนทุกวันนี้ (โลโก้ของไมโครซอฟท์ตอนนี้ก็เป็น Segoe)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกฟอนต์ใหม่ Segoe UI Variable ที่หน้าตาโดยรวมยังเหมือนเดิม แต่เป็นการ "รีเฟรช" ฟอนต์ Segoe เดิมด้วยฟีเจอร์ variable font ของฟอนต์ยุคใหม่ ส่งผลให้ความสูง ช่องว่าง ความหนา และรูปทรงของตัวอักษรที่แสดงผลในแต่ละขนาดฟอนต์จะไม่เหมือนกัน (ดูภาพประกอบ หางของตัว S และความสูงของ c ไม่เท่ากัน)
ไมโครซอฟท์บอกว่า Segoe UI ถูกออกแบบมาให้แสดงผลสวยงามที่ขนาด 9pt แต่พอขยายใหญ่มากๆ หรือเล็กมากๆ จะไม่สวยเท่าที่ควร เมื่อมีเทคโนโลยี variable font เข้ามาจึงทำให้ปรับรูปแบบฟอนต์เป็นไดนามิก ตามขนาดที่แสดงผลได้
ไมโครซอฟท์ประกาศเลิกใช้ฟอนต์ Calibri ที่เป็นดีฟอลต์ของ Microsoft Office มาตั้งแต่ปี 2007 (มาแทน Times New Roman ในยุคก่อนหน้านั้น)
ส่วนฟอนต์ตัวใหม่ที่จะมาเป็นดีฟอลต์ของ Office แทน ตอนนี้มีตัวเลือก 5 แบบ เป็นฟอนต์ใหม่ทั้งหมด ได้แก่ Tenorite, Bierstadt, Skeena, Seaford, Grandview ฟอนต์ทุกตัวเป็นแบบไม่มีเชิง (sans-serif) แต่มีสไตล์ที่แตกต่างกันไป
ไมโครซอฟท์จะทดสอบฟอนต์ใหม่ชุดนี้ไปอีกสักระยะหนึ่ง รับฟังความเห็นจากผู้ใช้ แล้วเลือก 1 ตัวที่ชนะเพื่อเป็นฟอนต์ดีฟอลต์ตัวใหม่ของ Office แทน
JetBrains ผู้พัฒนา IDE ชื่อดังหลายตัว เปิดตัวฟอนต์ใหม่ JetBrains Monoที่ออกแบบมาเพื่อการเขียนโค้ดโดยเฉพาะ
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ความกว้างคงที่ (monospace) ตามชื่อ จุดเด่นที่ต่างจากฟอนต์อื่นคือปรับขนาดความสูงของตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) ให้สูงกว่าปกติ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์อ่านโค้ดได้ง่ายขึ้น
Adobe ประกาศอัพเดตแอป Creative Cloud สำหรับ iOS โดยมาพร้อมกับฟอนต์หลากหลายสไตล์ที่มีให้เลือกจากผู้ผลิตฟอนต์ทั่วโลกที่พร้อมติดตั้งบน iOS 13 และ iPadOS พร้อมให้แอปอื่น ๆ เรียกใช้งานผ่าน API
ปัจจุบัน ผู้สมัครสมาชิก Adobe Creative Cloud จะสามารถใช้งานคอลเลคชั่นฟอนต์ของ Adobe ที่มีกว่า 17,000 ฟอนต์ได้ทั้งหมด (ส่วนผู้ใช้ที่มี Adobe ID แต่ไม่ได้สมัคร Creative Cloud จะใช้งานได้เพียง 1,300 ฟอนต์) ซึ่งเดิมฟอนต์เหล่านี้จะใช้งานได้เฉพาะในเดสก์ท็อปเท่านั้น แต่ล่าสุด Adobe ปล่อยให้ผู้ใช้ iOS ได้ใช้ฟอนต์เหล่านี้แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟอนต์ใหม่ Cascadia Code ที่เป็นฟอนต์แบบ monospace ออกแบบมาสำหรับงานเขียนโค้ดโดยเฉพาะ
Cascadia Code เป็นฟอนต์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับ แอพ Windows Terminal ตัวใหม่ และแนะนำให้ใช้กับ Visual Studio และ Visual Studio Code ด้วย
ฟีเจอร์หนึ่งที่ Cascadia Code มีคือรองรับ programming ligatures หรือการพิมพ์สัญลักษณ์ 2-3 ตัวติดกัน แล้วผสมกันเป็นสัญลักษณ์ใหม่ เช่น พิมพ์ -> แล้วแปลงเป็นลูกศรให้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ออกแอพตัวใหม่มาแบบเงียบๆ ชื่อว่า Font Maker หน้าที่ของมันคือช่วยเราสร้างฟอนต์ลายมือตัวเองไว้เล่นสนุกๆ จากปากกาสไตลัส โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่องการสร้างฟอนต์เลย
เมื่อโหลดแอพมาแล้ว เรามีหน้าที่เขียนตัวอักษรด้วยลายมือของเราเองให้ตรงกับช่องของฟอนต์แต่ละตัว (ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะตัวอักษรภาษาอังกฤษ) และเขียนข้อความตามประโยคตัวอย่างอีกเล็กน้อย จากนั้นแอพก็จะสร้างฟอนต์จากลายมือของเราให้ใช้งาน
แอพดาวน์โหลดได้จาก Microsoft Store
สืบเนื่องจาก ข่าวการรองรับการใช้งานชื่ออีเมลภาษาไทย ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับฟอนต์ TH Sarabun ทางไมโครซอฟท์ได้ขอชี้แจงรายละเอียดให้กับสื่อมวลชน
โดยได้แก้ไขเนื้อหา จากเดิมที่ประกาศเพิ่ม TH Sarabun Newให้เป็นฟอนต์มาตรฐานใน Windows 10เป็นการประกาศเพิ่ม TH SarabunPSKให้เป็นฟอนต์มาตรฐานที่ใช้งานได้ใน Office 365
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศรองรับชื่ออีเมลภาษาไทย ใช้ได้เป็นครั้งแรก สำหรับบัญชี Outlook บนพีซี เช่น สมชาย@อินโฟไทยแลนด์.คอม เป็นต้น พร้อมเพิ่มฟอนต์ Thai Sarabun New เป็นรูปแบบตัวอักษรมาตรฐานใน Windows 10
ผู้ใช้งานสามารถสมัครอีเมลภาษาไทยจากผู้ให้บริการการพัฒนารองรับอีเมล ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นกับพันธมิตรต่างๆ ภายนอกองค์กร ได้ที่ THnic
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 Insider Preview Build 17677 รุ่นทดสอบ มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือลดขนาดของอิมเมจไฟล์ลงไปอีก
ไมโครซอฟท์มี Windows Server Core รุ่นเล็กมาได้สักพักแล้ว ความต่างของ Server Core กับรุ่นปกติคือไม่มีเดสก์ท็อปและไม่มีเสียง ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ พยายามลดขนาดของอิมเมจลงเรื่อยๆ เพื่อให้รันใน container อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้สตอเรจและแรมลง
เราคงเห็นกันแล้วว่าบริษัทใหญ่ๆ มักชูเอกลักษณ์ของแบรนด์ด้วยการมีฟอนต์ของตนเองแล้วเอามาใช้ในโฆษณา, เว็บไซต์ และผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่นแอปเปิลก็มี San Francisco ที่เริ่มใช้จาก Apple Watch ก่อนจะมาถึง iOS และ OS X ในภายหลัง, ซัมซุงก็มีฟอนต์ชื่อ SamsungOne , กูเกิลก็มี Roboto และ Product Sans ในขณะที่ไมโครซอฟท์ใช้ Segoe
ก่อนหน้านี้ Netflix ใช้ฟอนต์ชื่อ Gotham ในการโฆษณาต่างๆ แต่ก็เป็นเพียงฟอนต์ที่ซื้อสิทธิ์การใช้งานมา ใครก็สามารถจ่ายเงินซื้อมาใช้ได้ Netflix เลยตัดสินใจพัฒนาฟอนต์ของตัวเองในชื่อ Netflix Sans ด้วยเหตุผล 2 อย่างคือเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ และลดค่าใช้จ่ายในการใช้ฟอนต์ Gotham เนื่องจากระยะหลัง Netflix ขยายธุรกิจไปหลายประเทศ ทำให้ค่าใช้จ่ายตรงนี้สูงขึ้นมาก การมีฟอนต์ของตัวเองจึงลดค่าใช้จ่ายไปได้หลายล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ชมภาพตัวอย่างการใช้งานของฟอนต์ใหม่นี้ได้ท้ายข่าวครับ
โครงการ Noto ซึ่งเป็นโครงการฟอนต์โอเพ่นซอร์สของกูเกิล ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานานแล้ว หนึ่งในภาษาที่รองรับมาตั้งแต่ต้นคือภาษาไทย โดยใช้ตัวแบบอักษรเดียวกับฟอนต์ Droid Sans ในโทรศัพท์แอนดรอยด์
ไม่นานมานี้ ชุดตัวอักษรภาษาไทยในโครงการถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบอักษรชุดใหม่ที่ออกแบบโดยคัดสรร ดีมาก ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานฟอนต์สุขุมวิท และฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts
ณ ปัจจุบันไฟล์ฟอนต์จะยังไม่มีตัวอักขระภาษาอังกฤษรวมมาอยู่ด้วย ผู้ใช้ที่ต้องการพิมพ์เอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำเป็นจะต้องหาโปรแกรมที่สามารถสลับฟอนต์ได้อัตโนมัติ หรือเปลี่ยนฟอนต์เองด้วยมือ
ไมโครซอฟท์ออก Windows Insider Build 17083 มีของใหม่หลายอย่าง ซึ่งรวมถึง Diagnostic Data Viewer เครื่องมือจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ส่งไปยังไมโครซอฟท์ ที่เป็นข่าวแยกไปแล้ว
ของใหม่ที่สำคัญและน่าจะได้ใช้กันเยอะคือ การรวมหน้าจอ Fonts เข้ามาอยู่ใน Settings แทนของเดิมที่อยู่ใน Control Panel (ตามแผนการระยะยาวของไมโครซอฟท์ที่จะเลิกใช้ Control Panel อย่างถาวร)
หน้าจอฟอนต์แบบใหม่มีความสามารถครบครัน ทั้งการพรีวิวฟอนต์ การตั้งค่าต่างๆ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังเปลี่ยนระบบการดาวน์โหลดฟอนต์มาใช้ Windows Store ด้วย อีกไม่นานเราคงเห็นการซื้อฟอนต์จาก Store ได้โดยตรง
IBM เปิดตัวฟอนต์ใหม่ที่จะใข้เป็นฟอนต์อย่างเป็นทางการของบริษัท แทนที่ฟอนต์ Helvetica Neue ที่ใช้มานานหลายสิบปี
Todd Simmons ผู้บริหารฝ่ายดีไซน์ของ IBM ระบุว่าต้องการสร้างการจดจำ ว่าถ้าหากปิดโลโก้ IBM แล้วดูแต่ฟอนต์ในเอกสาร เราจะยังแยกได้ไหมว่าเป็นเอกสารของ IBM ในเมื่อ Helvetica เป็นฟอนต์ที่ใช้กันทั่วไปในสารพัดแบรนด์
ฟอนต์ IBM Plex ถูกออกแบบโดยบริษัท Bold Monday จากเนเธอร์แลนด์ ภายใต้แนวคิดสะท้อนถึงรากเหง้าของบริษัท แต่ก็ต้องการแสดงให้เห็นการก้าวไปยังอนาคต ฟอนต์มีทั้งส่วนที่เป็นเส้นแข็ง แสดงถึงวิศวกรรม และเส้นโค้งที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ (half man, half machine)
ไมโครซอฟท์ออก Windows Insider Build 16273 สำหรับผู้ทดสอบกลุ่ม Fast Ring
ของใหม่เวอร์ชันนี้คือผู้ทดสอบกลุ่ม Insider สามารถ "กดข้าม" (Skip Ahead) ไปทดสอบระบบปฏิบัติการรุ่นถัดไปได้ เช่น ตอนนี้ Windows 10 Fall Creators Update (โค้ดเนม Redstone 3) ใกล้ออกตัวจริง ฟีเจอร์ใหม่เริ่มไม่เยอะเพราะเน้นแก้บั๊กเป็นหลัก ผู้ที่สนใจของใหม่ๆ สามารถข้ามไปใช้ Redstone 4 ที่เป็นรุ่นทดสอบตัวถัดไปแทนได้เลย
นอกจากนี้ผู้ทดสอบกลุ่ม Insider ยังสามารถเลือกติดตั้ง Windows 10 S แทน Windows 10 รุ่นปกติได้ด้วย โดยเลือกได้ในหน้าตั้งค่าของ Windows Insider