Feminist Frequency องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรวิเคราะห์สื่อกับประเด็นสังคมต่างๆ ทั้งเพศ เชื้อชาติ เผลรายงานบทบาทผู้หญิงในวงการเกมที่ทำมาแล้ว 6 ปี พบว่าปี 2020 มีเกมที่มีตัวละครหญิงรับบทนำเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ทำมา
ในปี 2020 นี้ มีเกมที่มีผู้หญิงเป็นตัวละครนำมี 18% ที่เหลือเป็นตัวละครชาย 23%, ผู้เล่นเลือกได้ 54%, ไม่ระบุเพศชัดเจน 3% และ N/A หรือไม่มีข้อมูลอีก 2% ตัวเลขของผู้หญิงถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2019 อย่างก้าวกระโดด เพราะมีตัวเลขเพียง 5% เท่านั้น
เว็บไซต์ Gamindustry.biz เผยแพร่รายงานขนาดยาว เล่าเรื่องราวจากปากพนักงาน Twitch ที่ไม่เปิดเผยตัวตน ถึงพฤติกรรมเหยียดเพศ เหยียดผิว และคุกคามทางเพศ ในบริษัท หลัง Emmett Shear ซีอีโอของ Twitch ออก แถลงการบนทวิตเตอร์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาพฤติกรรมคุกคามทางเพศ และสนับสนุนผู้ที่ออกมาส่งเสียงเรียกร้องสิทธิของตนเอง
ในปี 2018 ไมโครซอฟท์เปลี่ยนตัวหัวหน้าทีม Minecraft ใหม่ ดัน Helen Chiang ขึ้นมาแทน Matt Booty หัวหน้าทีมคนเดิมที่ได้โปรโมทไปคุม Microsoft Studios โดย Chiang ถือเป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกในอุตสาหกรรมเกมที่ก้าวขึ้นมาถึงระดับผู้นำบริษัทได้
อุตสาหกรรมเกมยังเป็นวงการที่มีผู้หญิงน้อย บริษัทเกมมีผู้นำส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย แถมยังมีประเด็นการคุกคามเพศ-ความไม่เท่าเทียมทางเพศสูงมากด้วย การขึ้นมาถึงระดับนี้ได้ของ Helen จึงไม่ธรรมดา
บทความนี้จะพาไปรู้จัก Helen ให้มากขึ้น ตั้งแต่บทบาทในไมโครซอฟท์ (Xbox), มุมมองต่อความหลากหลายในองค์กร และวิสัยทัศน์เรื่องเกมในอนาคต
ซีรีส์ Assassin's Creed เริ่มเปิดให้เลือกเพศตัวละครหลักได้ในภาค Odyssey โดยผู้เล่นเลือกได้ว่าจะเป็น Alexios เพศชายหรือ Kassandra เพศหญิง ซึ่งเป็นพี่น้องกันในเรื่อง (จากสถิติของ Ubisoft มีผู้เล่น 1/3 เลือกเป็น Kassandra)
พอมาถึง เกมภาคใหม่ล่าสุด Valhalla ก็มีคำถามตามมาเช่นเดิมว่ายังเลือกตัวละครเพศหญิงได้หรือไม่
Ubisoft ยืนยันแล้วว่าเราสามารถเลือกเล่นเป็นตัวละครหญิงได้ โดยรอบนี้ตัวเอกของเรื่องมีคนเดียวชื่อ Eivor แต่สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเพศชายหรือหญิง (แต่ยังไม่มีภาพของ Eivor เวอร์ชันผู้หญิงออกมา)
Uber ประกาศจัดตั้งกองทุนมูลค่า 4.4 ล้านดอลลาร์สำหรับให้ความช่วยเหลือพนักงานปัจจุบันและอดีตที่ถูกคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในบริษัท
Uber นั้นมีภาพลักษณ์ที่ไม่เป็นมิตรกับพนักงานหญิงมานาน โดยกรณีดังสุดคือเมื่อสองปีก่อน Susan Fowler อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงของ Uber ได้เขียนบล็อกอธิบายเรื่องนี้ ทำให้ช่วงหลังจากเปลี่ยนตัวซีอีโอ Uber ต้องปรับปรุงภาพลักษณ์ขนานใหญ่
คณะกรรมการเพื่อความเท่าเทียมกันในการจ้างงานของสหรัฐฯ หรือ EEOC ได้เข้าสอบสวน Uber เกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 2017 ซึ่งก็พบสาเหตุที่ทำให้เชื่อว่า Uber ปล่อยให้มีวัฒนธรรมองค์กรในการคุกคามทางเพศและแก้แค้นคนที่ร้องเรียนเรื่องดังกล่าว
ภาพ Lena Söderberg นางแบบนิตยสาร Playboy ที่ตีพิมพ์เป็นภาพกลางเล่มนิตยสารฉบับพฤศจิกายน 1972 และในปี 1973 ระหว่างทีมวิจัยใน University of Southern California กำลังพัฒนาอัลกอริธึมในการบีบอัดภาพที่เป็นต้นกำเนิดของ JPEG ทีมวิจัยก็ตัดสินใจใช้ภาพกลางเล่มนิตยสาร Playboy วันนี้สารคดี Losing Lena แสดงปัญหาว่าการใช้ภาพ Lena โดยไม่ได้ใส่ใจ ส่งผลต่อการผลักดันผู้หญิงออกจากวงการวิทยาการศาสตร์อย่างไร
หลังจากนั้นทีมวิจัยส่งต่อภาพสแกนให้ทีมวิจัยอื่นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอัลกอริธึมเพื่อมาเทียบผลกัน เนื่องจากภาพของ Lena เป็นภาพตัวอย่างที่ดีภาพหนึ่งในยุคนั้น จากการเป็นภาพพอตเทรตที่ต้องไล่สีผิว มีรายละเอียดทั้งผมและใบหน้า
บริษัทของเล่น Hasbro เจ้าของเกมเศรษฐี Monopoly สร้างเกมเศรษฐีรูปแบบใหม่ Ms. Monopoly เป็นเกมเศรษฐีที่ให้ผู้เล่นลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่สร้างโดยผู้หญิงโดยเฉพาะ และเป็นเกมที่ผู้เล่นหญิงจะได้เปรียบในเกมธุรกิจด้วย เป็นเกมที่สะท้อนความเป็นจริงว่ายังมีช่องว่างรายได้ระหว่างเพศในโลกธุรกิจอีกมาก
ในยุคที่ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ค่าย CD Projekt Red ก็ประกาศปรับปรุงแนวทางของเกม Cyberpunk 2077 ว่าไม่ต้อง "กำหนดเพศ" ให้ตัวละครหลักอีกต่อไป
เดิมที ฉากสร้างตัวละครของ Cyberpunk 2077 ต้องระบุเพศว่าเป็นชายหรือหญิง แต่เมื่อโดนเสียงวิจารณ์ว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่เข้ากับยุคสมัย ทีมงานก็ปรับปรุงโดยตัดการระบุเพศออกไป แต่ยังเปิดให้ผู้เล่นเลือก "รูปแบบร่างกาย" (body type) และเสียงพูด (voice) ได้อย่างอิสระ นั่นแปลว่าเราสามารถเลือกรูปแบบร่างกายเป็นชาย แล้วเลือกเสียงเป็นหญิง (หรือกลับกัน) ได้ตามต้องการ
2K Games ต้นสังกัดของเกมกีฬาตระกูล 2K ประกาศว่าเกมบาสเก็ตบอล NBA 2K20 ประจำปีนี้ จะมีนักกีฬาบาสเก็ตบอลหญิงจากลีก WNBA ทั้งหมด 12 ทีมมาให้เล่นด้วย
ผู้เล่นชื่อดังจาก WNBA หลายคนเข้ามาสแกนร่างกายด้วยเทคนิคโมชั่นแคปเจอร์ เพื่อให้โมเดลของตัวเองในเกมออกมาสมจริงมากที่สุด เกม NBA 2K20 จะออกวางขายวันที่ 6 กันยายน 2020
การเพิ่มผู้เล่นจากลีกบาสเก็ตบอลหญิงเข้ามา ถือเป็นภาพสะท้อนของกระแสเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในยุคนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้เล่นเกมทุกคนจะตอบรับการเปลี่ยนแปลงนี้ในทางบวก ตัวอย่างคือมีกระทู้ใน Reddit หรือผู้ใช้ Twitter บางส่วนตั้งคำถามว่าทำไมต้องมีผู้หญิงเข้ามา หรือทำมีมล้อเลียน เป็นต้น
Twitch มีเรื่องดราม่าเกิดขึ้น เมื่อครีเอเตอร์รายหนึ่งให้นมลูกขณะกำลังไลฟ์ (ช่อง HeatheredEffect) โดยเป็นการกระทำที่ตีความได้ว่าไม่ได้พยายามจะเรียกร้องความสนใจแต่ลูกของเธอต้องกินนมจริงๆ
หลังจากนั้น Twitch ก็ลบคลิปนี้ออก ส่งผลให้เกิดการดีเบตในชุมชนออนไลน์ว่าการให้นมลูกบนไลฟ์เป็นคอนเทนต์ผิดนโยบายแพลตฟอร์มหรือไม่ ล่าสุด Twitch กลับลำ เผยว่า ครีเอเตอร์สามารถให้นมลูกระหว่างไลฟ์ได้ ไม่ผิด
ในงาน CES 2019 ที่จัดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ เมื่อ Ose สินค้า sex toy สำหรับผู้หญิงของบริษัท Lora DiCarlo ถูกแบนในงานแสดงสินค้า นอกจากนี้ตัวสินค้ายังได้รางวัลนวัตกรรมแต่ถูกถอนรางวัลออกด้วย ล่าสุดผู้จัดงานพิจารณาใหม่ จะนำสินค้าทางเพศมาจัดแสดงใน CES 2020
บริษัท Lora DiCarlo ได้รับเชิญให้ไปแสดงสินค้าในงาน CES หลังจากผลิตภัณฑ์เล่นสำหรับผู้ใหญ่ รุ่น Ose ได้รับรางวัลนวัตกรรมสาขาหุ่นยนต์และโดรน แต่ถูกถอนรางวัลในอีกสองสัปดาห์ต่อมาและถูกห้ามไม่ให้บริษัทเข้าร่วมแสดงผลงาน โดย Consumer Technology Association ผู้จัดงาน CES กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเกิดจากข้อผิดพลาด และให้เหตุผลที่ถอนรางวัลว่าเนื่องจากไม่สามารถจัดหมวดหมู่ให้กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ เพราะ Ose เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ จึงไม่สามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่หุ่นยนต์และโดรน และไม่เหมาะสมที่จะให้มาจัดแสดงในงาน CES
หลังการเปิดตัว Battlefield V และเผยภาพปกไปจนถึงเทรลเลอร์ ที่มีตัวละครผู้หญิงเป็นตัวเอกแทนที่จะเป็นตัวละครผู้ชายเหมือนที่ผ่านๆ มา ได้เกิดกระแสดราม่าในหมู่ผู้เล่นในแง่ของความไม่สมจริงบ้าง ไม่ตรงตามประวัติศาสตร์บ้าง (ที่ผู้หญิงออกรบเป็นแถวหน้า)
ล่าสุด EA ออกมาแก้ปัญหานี้ (ตามสไตล์ EA) ด้วยการออกเวอร์ชัน Deluxe เป็นปกผู้ชายที่แพงกว่าเวอร์ชัน Standard อยู่ 20 ดอลลาร์ ให้คนที่ต้องการได้ซื้อไปเสพให้สมใจ
ประเด็นคุกคามทางเพศในเกาหลีใต้ปะทุขึ้นเมื่อยูทูเบอร์ ยังเยวอน ออกมาเผยแพร่คลิปเล่าประสบการณ์ถูกกระทำประมาณว่าเธออยากเป็นนางแบบแต่กลับถูกหลอกให้ถ่ายภาพโป๊ และมีผู้ชายที่เป็นตัวประกอบแตะเนื้อต้องตัวเธอเป็นอย่างมาก อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่
จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีคนเซ็นชื่อสนับสนุนคำร้องดังกล่าวของยังเยวอนกว่าแสนราย และหนึ่งในนั้นมีนักแสดงนักร้องชื่อดังของเกาหลีอย่าง ซูจี ร่วมเซ็นชื่อด้วย ซูจี ชี้แจงผ่านอินสตาแกรมว่า เรื่องนี้ได้รับการพูดถึงน้อยมาก และควรสืบสวนให้ลึกซึ้ง นอกจากซูจีแล้วยังมี ซอลฮยอน วง AOA ร่วมเซ็นชื่อด้วย
มีรายงานด้วยว่า กลุ่มผู้ชายวิจารณ์ซูจี และ ซอลฮยอน ว่า ยุ่มย่ามไม่เข้าเรื่อง และอีกหลายคอมเม้นท์ที่แสดงถึงความไม่เห็นด้วยที่ดาราสาวทั้งสองแสดงการต่อต้านการคุกคามทางเพศ
Uber เปลี่ยนนโยบาย หากมีเหยื่อถูกคุกคามทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารหรือพนักงานในบริษัท Uber จะใช้ อนุญาโตตุลาการในการอ้างสิทธิ์ในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่วิจารณ์มานานว่าเป็นช่องทางทำให้เหยื่อปิดปากเงียบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อนุญาโตตุลาการ คือ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยคู่กรณีอาจเลือกบุคคลที่สามเป็นอนุญาโตตุลาการจำนวนหนึ่งคนหรือหลายคนเป็นคณะอนุญาโตตุลาการก็ได้ โดยอนุญาโตตุลาการจะทำหน้าที่วินิจฉัยการชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียง Uber ที่ใช้ช่องทางนี้แต่หลายบริษัทเวลามีกรณีฟ้องร้องแรงงานก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน
สตาร์ทอัพบางแห่งในจีน ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดีให้พนักงาน และดึงดูดคนเก่งๆ ให้เข้ามาทำงาน หนึ่งในวิธีที่สตาร์ทอัพใช้คือ จ้างผู้หญิงหน้าตาดีมานวดไหล่โปรแกรมเมอร์ที่เมื่อยล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ให้สร้างบรรยากาศสดชื่นด้วยการจัดปาร์ตี้ อีเวนท์เล็กๆ ในออฟฟิศ
Google เปิดตัวโครงการ Maharat min Google สอนทักษะดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ให้ชาวอาหรับเน้นคนอายุน้อยและผู้หญิง โดยคำว่า Maharat min Google แปลว่า การสร้างความสามารถด้วย Google จุดประสงค์ของโครงการคือ เพื่อเตรียมพร้อมบุคคลเหล่านี้ให้พร้อมกับตลาดงานในอนาคต
สถิติจาก World Economic Forum ระบุว่า ทักษะอาชีพดิจิทัลยังไม่แพร่หลายนักในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นหลัก ซึ่งภายในปี 2020 ทักษะดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในห้าทักษาะงานที่ตลาดงานต้องการ
ในโครงการ Maharat min Google มีการฝึกทักษะดิจิทัลแบบส่วนตัวให้กับผู้เรียน และยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์ประกอบด้วยบทเรียนมากกว่า 100 บท พร้อมด้วยวิดีโออธิบายทักษะด้านการตลาดดิจิทัล, การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ
ในงานประชุมนักลงทุน Morgan Stanley จัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก Sheryl Sandberg ซีโอโอ Facebook ได้พูดถึงประเด็นข่าวปลอมที่เป็นหนามยอกอก Facebook มาโดยตลอด
เธอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดข่าวปลอมทุกข่าวบนแพลตฟอร์ม 100% แต่ Facebook กำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ มาจากบัญชีที่มีตัวตนจริง
Sandberg ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ข่าวปลอมคงอยู่ได้เพราะมีแรงผลักดันทางการเงิน มากกว่าจะเป็นแรงผลักดันทางการเมือง คนสร้างข่าวปลอมจะเขียนหัวข่าวที่ดูน่าคลิกเพื่อจะได้ทำเงินโฆษณา ซึ่ง Facebook จึงต้องทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าผู้กระทำจะไม่ได้เงินตรงนี้ไป
นอกจากประเด็นข่าวปลอม Sandberg ยังพูดถึงกระแส #MeToo ด้วย เธอบอกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงที่จะลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องความเสมอภาคในสถานที่ทำงาน เธอยังพบว่าผู้ชายรู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่กับผู้หญิงตามลำพัง ซึ่งเป็นผลจากการเรียกร้องสิทธิผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ
นักวิจัยจาก MIT และ Stanford ร่วมกันทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าจาก 3 บริษัทใหญ่ พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ผลการทำงานที่ดีกับภาพใบหน้าผู้ชายเหนือกว่าภาพใบหน้าผู้หญิง ทั้งยังทำการวิเคราะห์ภาพใบหน้าคนผิวขาวได้ดีกว่าภาพใบหน้าคนผิวสีด้วย
ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าของ Microsoft, IBM และ Face++ โดยใช้ภาพใบหน้าบุคคลต่างๆ จำนวน 1,270 ภาพ ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกภาพใบหน้าของผู้คนที่มีสิผิวคล้ำแตกต่าง โดยปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการแบ่งภาพใบหน้าออกเป็น 6 กลุ่มตามความเข้มของสีผิว (อิงตาม มาตรวัดโทนสีผิว Fitzpatrick ) และได้ผลการทดสอบที่น่าสนใจดังนี้
Twitch ร่วมมือกับ 1,000 Dreams Fund (1DF) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เปิดรับสมัครวัยรุ่นหญิงที่อยากได้เงินทุนสนับสนุนด้านเกม แต่ให้สิทธิ์เฉพาะวัยรุ่นหญิงที่เป็นสตรีมเมอร์บน Twitch เท่านั้น เงินมีมูลค่าระหว่าง 500-2,000 ดอลลาร์ โดยจะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มีความต้องการทางการเงินชัดเจนและพิสูจน์ได้
เงินทุนจะครอบคลุมในส่วนของการเข้าร่วมประชุมเกม การประชุมทางการศึกษา อัพเกรดฮาร์ดแวร์ โปรแกรมการเรียนการสอนการสร้างสรรค์ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเกม เงินทุนไม่ได้รวมใช้จ่ายประจำวันและค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาทางการแพทย์
โครงการเปิดรับสมัครสตรีมเมอร์ผู้หญิงที่ยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมตอนปลายและมหาวิทยาลัย และ Twitch จะประกาศผู้ที่ได้รับเงินภายในเดือนมีนาคม
James Damore อดีตพนักงาน Google ที่ถูกไล่ออกเพราะเขียน จดหมายเวียน แสดงความเห็นเชิงกีดกันทางเพศในที่ทำงาน นำไปสู่การตั้งคำถามว่า Google ทำผิดกฎแรงงานหรือไม่ที่ไล่เขาออกเพียงเพราะแสดงความคิดเห็นเรื่องนโยบายความหลากหลายในที่ทำงานเท่านั้น
ล่าสุด NLRB หรือ US National Labor Relations Board คณะกรรมการสภาแรงงานแห่งชาติ ปัดตกข้อร้องเรียนของ Damore ที่ยื่นไปยัง NLRB ในเดือนสิงหาคม 2017 (ยื่นหลังจากถูกไล่ออก) โดย NLRB ระบุว่าเนื้อหาในจดหมายของ Damore เป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างชัดเจน
Uber ต้องปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรครั้งใหญ่เนื่องจาก การคุกคามทางเพศ อันเป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้มีตำแหน่งใน Uber หลายคนหลุดจากตำแหน่ง และยังนำไปสู่การลาออกของซีอีโอ Travis Kalanick
หลังจากนั้นก็มีการตั้งทีมสืบสวนการคุกคามทางเพศใน Uber ดำเนินการโดย Eric Holder และ Tammy Albarran ซึ่งได้คำแนะนำมาว่า บริษัทควรมีผู้นำอาวุโสที่มีความสามารถ มารับผิดชอบต่อความหลากหลาย และเสนอให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น Chief Diversity and Inclusion Officer โดยรายงานความคืบหน้าต่อซีอีโอ และซีโอโอโดยตรง เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของ Uber ในการแก้ปัญหา
ล่าสุด Uber ได้จ้างคนมาเป็นหัวหน้าสร้างความหลากหลายในองค์กรแล้ว คือ Bo Young Lee ดำรงตำแหน่งด้านความหลากหลายที่ Marsh & McLennan บริษัทผู้ให้บริการด้านธุรกิจ ประกันภัย บริหารความเสี่ยง Bo Young Lee จะเริ่มงานที่ Uber มีนาคมนี้
อีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโซเชียลมีเดียแห่งปี 2017 คือ การคุกคามทางเพศจนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #MeToo ที่เริ่มต้นจากมีการเปิดโปงพฤติกรรมของโปรดิวเซอร์ใหญ่ในวงการฮอลลีวูด Harvey Weinstein ว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศดาราหญิงและลูกจ้างหลายราย คนแรกที่เริ่มเปิดโปงพฤติกรรมของ Weinstein คือ Ashley Judd นักแสดงสาว เธอบอกว่า Weinstein เชิญเธอไปที่โรงแรม Peninsula Beverly Hills เพื่อนัดทานอาหารเช้า แต่กลายเป็นว่าเขาเชิญเธอไปบนห้อง และปรากฏตัวด้วยชุดคลุมอาบน้ำแทน และยังถามเธออีกว่าเธอสามารถมองดูเขาอาบน้ำได้ไหม หลังจากนั้นก็มีอีกหลายคนออกมาเปิดโปงด้วย บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Weinstein effect
เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว James Damore ที่ขณะนั้นเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ของกูเกิลได้ส่ง จดหมายเวียน เรื่องความหลากหลายทางเพศจนเกิดกระแสขึ้นมา ส่งผลให้เขาถูกไล่ออกจากบริษัทกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อสัปดาห์ก่อนเขาและวิศวกรชายอื่นๆ ก็ได้ ฟ้องกูเกิล ที่เขาโดนไล่ออก โดยให้เหตุผลว่าละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
ล่าสุด Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลและ Susan Wojcicki (อ่านว่า โว-ชิส-กี้) ซีอีโอยูทูบได้ให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC ว่าเหตุผลที่ไล่ Damore ออกเป็นเพราะต้องการทำให้ผู้หญิงในองค์กรมั่นใจว่าการทำงานที่กูเกิลนั้นให้ความรู้สึกอบอุ่น
ประเด็นความหลากหลายทางเพศ-เชื่อชาติ กลับมาคุกรุ่นใน Google อีกครั้ง เมื่อบริษัทถูกฟ้องข้อหาปฏิบัติไม่เท่าเทียม โดยกลุ่มผู้ชายผิวขาวในบริษัทถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ส่วนผู้ฟ้องไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น James Damore เจ้าของ จดหมายเวียนตั้งคำถามนโยบายความหลากหลาย ของ Google นั่นเอง
เนื้อหาในจดหมายเวียนของ James Damore อดีตพนักงานใน Google แบ่งแยกบทบาทชายหญิงชัดเจน ระบุว่าผู้หญิงสนใจเรื่องทางสังคมมากกว่า จึงเป็นสาเหตุให้จำนวนชายหญิงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ในองค์กรเทคโนโลยี จดหมายของเขาจุดประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่จน Google ต้องปลดเขาออก
ในคดีใหม่ที่ฟ้อง Google ไม่ได้ฟ้องในนามของ Damore คนเดียว แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้ชายวิศวกรคนอื่นอีก คำฟ้องระบุว่า พนักงานที่แสดงความคิดเห็นเบี่ยงเบนจากมุมมองส่วนใหญ่ใน Google เกี่ยวกับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน,โยบายการจ้างงาน รวมทั้งนโยบายความหลากหลายจะถูกตำหนิและลงโทษ ถือเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายของพวกเขา