TikTok สำนักงานแคนาดายื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลาง เพื่อขอให้ออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ตามที่รัฐบาลแคนาดา ออกคำสั่ง ปิดสำนักงานในประเทศเมื่อเดือนที่แล้ว
TikTok บอกว่าคำสั่งนี้สร้างผลกระทบต่อพนักงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายร้อยคน ซึ่งพวกเขามีหน้าสนับสนุนชุมชนผู้ใช้งาน TikTok ในแคนาดาที่มีมากกว่า 14 ล้านคน โดยเชื่อว่ารัฐบาลแคนาดาสามารถหาทางออกในประเด็นที่กังวลได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานในประเทศ
กลุ่มบริษัทสื่อ-สำนักข่าวรายใหญ่ในแคนาดา เช่น Toronto Star, Metroland Media, Postmedia, CBC และอีกหลายราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง OpenAI โดยบอกว่า OpenAI นำเนื้อหาข่าวของพวกเขาเทรน AI อย่างไม่ถูกต้อง
ในรายละเอียดการฟ้องต่อศาลออนแทรีโอ กลุ่มบริษัทสื่อได้เรียกค่าเสียหายและผลประโยชน์ที่ OpenAI ได้รับจากการนำข้อมูลพวกเขาไปใช้เทรน โดยคิดความเสียหายต่อบทความ ทำให้มูลค่ารวมอาจสูงถึงระดับหลายพันล้านดอลลาร์ รวมทั้งต้องการให้ออกคำสั่งห้าม OpenAI เข้าถึงเนื้อหาข่าวสำหรับการเทรน AI อีกในอนาคต
Competition Bureau หน่วยงานการแข่งขันของประเทศแคนาดา ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหามีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันในตลาดโฆษณาออนไลน์ของแคนาดา
พฤติกรรมกีดกันการแข่งขันของกูเกิลคือ เป็นเจ้าของเครื่องมือทั้งฝั่งผู้ซื้อโฆษณา (Google Ads และ Display & Video 360), พื้นที่แสดงโฆษณา (DoubleClick for Publishers ที่เจ้าของเว็บใช้แสดงโฆษณา) และตลาดซื้อขายพื้นที่โฆษณา (Ad Exchange) ในคำฟ้องบอกว่ากูเกิลครองตลาดเกือบเบ็ดเสร็จ และใช้อำนาจตรงนี้กำหนดวิธี-ราคาในการแสดงผลโฆษณา จนไม่มีผู้เล่นรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งกับกูเกิลได้
รัฐมนตรีกระทรวงนวัตกรรม, วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมของแคนาดา ประกาศว่ารัฐบาลแคนาดาออกคำสั่งให้บริษัท TikTok Technology Canada หรือเป็นสำนักงานของ TikTok ในแคนาดา ยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศ หลังจากรัฐบาลได้ประเมินในหลายขั้นตอน มีข้อสรุปว่าธุรกิจของ TikTok เป็นภัยต่อความมั่นคงของแคนาดา ซึ่งรัฐบาลอ้างว่ามีหลักฐานและข้อมูลสนับสนุน
อย่างไรก็ตามคำสั่งนี้เป็นการสั่งห้าม TikTok ดำเนินธุรกิจเปิดสำนักงานในประเทศเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งบล็อกการเข้าถึงแอป TikTok ในแคนาดา คนแคนาดาจึงยังสามารถใช้งาน TikTok ได้ตามปกติ ซึ่งรัฐบาลก็แนะนำให้ผู้ใช้งานดูแลความปลอดภัยของบัญชี และจัดการข้อมูลส่วนตัวในการใช้งาน ตามแนวทางใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียล
คณะกรรมการกำกับดูแลวิทยุและโทรทัศน์ของแคนาดา (CRTC) ออกคำสั่งให้แพลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิ่งรายใหญ่ ต้องจ่ายเงิน 5% ของรายได้ในแคนาดาให้กับรัฐบาล ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าจะได้เงินประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยเงินดังกล่าวจะนำมาใช้สนับสนุนรายการข่าวท้องถิ่น ตลอดจนผู้ผลิตคอนเทนต์ในประเทศ
คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับบริการสตรีมมิ่งทั้งวิดีโอและเพลง ที่มีรายได้มากกว่า 25 ล้านดอลลาร์ต่อปีในแคนาดา โดยก่อนหน้านี้ทั้ง Amazon, Apple, Disney, Google, Netflix, Paramount และ Spotify ได้ออกมาคัดค้านในช่วงการทำประชาพิจารณ์
คำสั่งดังกล่าวได้ยกเว้นการเก็บเงินจากกลุ่มหนังสือเสียง, พอดคาสต์, วิดีโอเกม และคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น (UGC) จึงทำให้ YouTube ไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องจ่ายเงิน
Canadian Radio-television and Telecommunications Commission (CRTC) หรือ กสทช. ของแคนาดา เตรียมเก็บส่วนแบ่งรายได้ 5% จากผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง
CRTC ใช้อำนาจตามกฎหมาย Online Streaming Act ฉบับใหม่ที่มีผลในปี 2023 เป็นการปรับปรุงกฎหมายโทรทัศน์ฉบับเดิม (Broadcasting Act) ให้เข้ากับยุคสมัย สิ่งที่ CRTC จะทำคือเก็บส่วนแบ่งรายได้ 5% ของรายได้ในแคนาดาจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง เพื่อนำเงินนี้ไปสนับสนุนกิจการด้านโทรทัศน์ในประเทศ เช่น ข่าวท้องถิ่น ข่าวภาษาฝรั่งเศส ข่าวภาษาของชนกลุ่มน้อย
แคนาดาเตรียมเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติขนาดใหญ่ (ซึ่งก็คือเพื่อนบ้านจากสหรัฐอเมริกาทั้งนั้น) ด้วยอัตรา 3% จากรายได้ของบริษัทนั้นๆ ที่ได้จากผู้ใช้บริการในแคนาดา และมีผลเฉพาะกับบริษัทที่มีรายได้มากกว่าปีละ 1.1 พันล้านดอลลาร์แคนาดาขึ้นไป
กฎหมาย digital service tax ของแคนาดา คล้ายกับ กฎหมายภาษีบริการดิจิทัลของยุโรปที่เริ่มใช้ในปี 2020 โดยกฎหมายของแคนาดาจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2024 แต่จะย้อนคิดรายได้กลับไปถึงปี 2022
แคนาดาบอกว่าจริงๆ ตั้งใจรอข้อตกลงภาษีนานาชาติที่เก็บผ่านองค์กร OECD แต่สหรัฐอเมริกาไม่ยอมลงนามสักที จึงตัดสินใจไม่รอแล้ว และเลือกออกกฎหมายภาษีของตัวเองแทน
รัฐบาลแคนาดา นำโดยนายกรัฐมนตรี Justin Trudeau เสนองบประมาณลงทุนด้าน AI มูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2024 เพื่อผลักดันให้แคนาดาเป็นประเทศแถวหน้าด้าน AI ของโลก
ในแพ็กเกจมูลค่ารวม 2.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา เงินก้อนใหญ่ 2 พันล้านดอลลาร์แคนาดา จะนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ (เรียกง่ายๆ คือซื้อจีพียู) ภายใต้กองทุน AI Compute Access Fund เพื่อให้นักวิจัยและภาคเอกชนมีทรัพยากรประมวลผลมากเพียงพอ และส่งผลระยะยาวคือช่วยดึงดูดทรัพยากรบุคคลเก่งๆ ของโลกมาทำงานในแคนาดาได้ด้วย
เงินก้อนอื่นๆ ในแพ็กเกจมีวัตถุประสงค์ดังนี้
Civil Resolution Tribunal หรือคณะอนุญาโตตุลาการแคนาดาตัดสินใจให้สายการบินแคนาดาต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เนื่องจากแชตบอตบนหน้าเว็บของสายการบินเองตอบข้อมูลผิดพลาด
คดีนี้เกิดขึ้นหลัง Jake Moffatt เดินทางโดยสายการบินแคนาดาเพื่อไปงานศพยายของเขา แต่ Moffatt ซื้อตั๋วราคาเต็มแม้สายการบินจะมีตั๋วราคาพิเศษสำหรับการเดินทางไปร่วมงานศพ หลังจากนั้น Moffatt ได้สอบถามกับแชตบอตบนหน้าเว็บของสายการบินว่าสามารถขอคืนเงินส่วนต่างได้หรือไม่และแชตบอตยืนยันว่าทำเอกสารย้อนหลังได้ภายใน 90 วันหลังการเดินทาง
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แคนาดาประกาศห้ามใช้แอปจาก Tencent และ Kaspersky บนอุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดา โดยอ้างว่าแอปดังกล่าว มีความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่แคนาดาไม่สามารถยอมรับไม่ได้
รัฐบาลแคนาดากล่าวว่า มุ่งมั่นที่จะรักษาข้อมูล และเครือข่ายของรัฐบาลให้ปลอดภัย พร้อมทั้งติดตามภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ และจะดำเนินการทันทีเพื่อจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชัน WeChat และ Kaspersky ถูกลบออกจากอุปกรณ์มือถือที่รัฐบาลแคนาดาใช้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2023 เป็นต้นไป ผู้ใช้อุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดาจะถูกบล็อกไม่ให้ดาวน์โหลดแอปดังกล่าว
เครือข่ายช่องวิทยุ CBC Radio One ในแคนาดาเลิกช่วงเทียบเวลาประจำวันตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากถ่ายทอดทุกวันเวลาบ่ายโมงตรงตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 1939 หรือ 84 ปีมาแล้ว
ผู้รับผิดชอบส่งสัญญาณเทียบเวลาคือ National Research Council (NRC) ที่รับผิดชอบส่งสัญญาณเทียบเวลา สำหรับการเทียบเวลาในวิทยุ จะส่งเสียง 800Hz ยาว 300ms สิบครั้งก่อนครบชั่วโมง และเสียงสุดท้ายยาว 1 วินาทีระบุว่าถึงบ่ายโมงตรงแล้ว สัญญาณเช่นนี้เคยสำคัญมากในยุคก่อนที่นาฬิกาไม่เที่ยงตรงนัก การเทียบเวลาเป็นกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่องในทุกๆ ไม่กี่วัน แต่หลังจากยุคโทรศัพท์มือถือการเทียบเวลาก็ไม่จำเป็นนัก
- Read more about แคนาดาเลิกรายการเทียบเวลาในวิทยุ AM/FM
- 5 comments
- Log in or register to post comments
จากกรณี กฎหมายข่าวออนไลน์ของแคนาดา ที่บังคับแพลตฟอร์มต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้สำนักข่าว จนเป็นผลให้ Google และ Meta ตัดสินใจปิดกั้นการมองเห็นข่าวของผู้ใช้ในแคนาดา เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย
สัปดาห์ที่แล้ว แคนาดาเกิดเหตุไฟป่าใหญ่ในเขต Northwest Territories ทางตอนเหนือของประเทศ ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องอพยพ อย่างไรก็ตาม ชาวแคนาดาที่ต้องการแชร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไฟป่ากลับไม่สามารถทำได้ เพราะระบบตรวจจับข่าวของ Meta ไม่อนุญาตให้โพสต์ ผู้ใช้หลายคนจึงต้องเลี่ยงไปใช้วิธีแคปหน้าจอข่าวแล้วโพสต์แทน ซึ่งทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลละเอียดได้
Meta เริ่มปิดกั้นการมองเห็นโพสต์ข่าวในประเทศแคนาดาแล้ว หลัง กฎหมาย Online News Act ของแคนาดาเริ่มบังคับใช้
สำนักข่าวต่างๆ ทั้งในและนอกแคนาดาจะยังสามารถโพสต์ลิงก์และเนื้อหาข่าวได้ต่อไป แต่ผู้ใช้ Facebook และ Instagram ในแคนาดาจะมองไม่เห็นโพสต์เหล่านี้ (คนนอกแคนาดายังเห็นตามปกติ) มาตรการนี้มีเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย Online News Act ที่กำหนดให้แพลตฟอร์มต้องจ่ายส่วนแบ่งให้สำนักข่าวด้วย
ก่อนหน้านี้ กูเกิลก็ประกาศถอดลิงก์ข่าวออกจากแพลตฟอร์มของตัวเองในลักษณะเดียวกัน
รัฐบาลแคนาดา ประกาศยกเลิกโฆษณาบน Facebook, Instgram, และแพลตฟอร์มในบริษัทแม่ หลังจาก Meta เริ่มแบนเนื้อหาข่าวสำหรับผู้ใช้ภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลจาก กฎหมาย แบ่งปันรายได้ให้สื่อท้องถิ่น (Bill C-18)
Pablo Rodriguez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมรดกวัฒนธรรม ประเทศแคนาดา คาดว่า การตัดสินใจยกเลิกโฆษณาทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของ Meta ทำให้บริษัทสูญเงินราว 7.54 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดมากกว่า 116 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 ที่ผ่านมาของ Meta นับว่าไม่ได้มีผลกระทบมากเท่าไหร่สำหรับบริษัท
กูเกิลประกาศถอดลิงก์ข่าวออกจากบริการในเครือได้แก่ Search, News, Discover สำหรับผู้ใช้ในแคนาดา หลังกฎหมายฉบับใหม่ Online News Act (Bill C-18) มีผลบังคับใช้
ประกาศของกูเกิลเกิดขึ้นหลัง Meta ที่ประกาศถอดลิงก์ข่าวบน Facebook/Instagram ไปก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน
กฎหมาย Bill C-18 ของแคนาดา ออกมาเพื่อบีบให้บริษัทแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องแบ่งรายได้จากโฆษณาให้กับสื่อมวลชน แต่แคนาดาไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายลักษณะนี้ เพราะมี ออสเตรเลียเริ่มทำมาก่อน และผ่านกฎหมายแบบนี้สำเร็จในปี 2021 แต่กฎหมายของออสเตรเลียผ่อนปรนมากกว่า
รัฐบาลแคนาดาประกาศประกาศช่องทางขอวีซ่าทำงานด้วยเงื่อนไขพิเศษคือเป็นผู้ถือวีซ่า H-1B ของสหร้ฐฯ มาก่อน หลังจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ปลดคนจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
การขอวีซ่าทำงานด้วย H-1B นี้จะเริ่มวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ผู้ที่ได้รับอนุมัติจะได้รับวีซ่าทำงานแบบไม่จำกัดนายจ้างสูงสุด 3 ปี และครอบครัวมีสิทธิ์ขอวีซ่าผู้อยู่อาศัย, วีซ่าทำงาน, หรือวีซ่านักเรียนแล้วแต่กรณี ทางรัฐบาลแคนาดากำหนดโควต้าช่องทางนี้ไว้ 10,000 รายนับเฉพาะผู้ขอวีซ่าหลัก
แนวทางขอวีซ่าใหม่นี้เป็นหนึ่งในชุดนโยบายดึงคนทำงานสายเทคโนโลยีเข้าแคนาดา ช่องทางขอวีซ่าประเภทอื่นๆ เช่น Innovation Stream สำหรับผู้มีความสามารถเข้าข่ายที่กำหนด, วีซ่าสตาร์ตอัพ, และวีซ่าทำงานสำหรับแรงงานด้าน STEM
ย้ำก่อนว่าเรื่องนี้(ยัง)ไม่เกิดที่ประเทศไทย โดย Netflix เฉพาะในประเทศแคนาดา ได้ประกาศ ยกเลิก ตัวเลือกแพ็คเกจสมาชิกแบบพื้นฐาน (Basic) มีผลสำหรับผู้สมัครสมาชิกใหม่เท่านั้น แต่ลูกค้าที่อยู่ในแผนใช้งานนี้อยู่แล้ว ยังสามารถใช้แผนเดิมต่อไปได้จนกว่าจะยกเลิก หรือสลับแผน ก็จะไม่สามารถใช้แผน Basic นี้ได้อีก
แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่ Netflix ใช้ทดสอบรูปแบบบริการใหม่ ๆ โดยก่อนหน้านี้ก็เป็น หนึ่งในประเทศนำร่องระบบป้องกันการหารบัญชี ที่ต่อมาขยายมาใช้อีกหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย
Meta ประกาศเริ่มแบนแสดงผลเนื้อหาข่าวบน Facebook และ Instagram ในแคนาดา หลังจากที่สภา ผ่านร่างกฎหมาย Online News Act (Bill C-18) ที่บังคับให้แพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Google ต้องแบ่งรายได้ให้กับสื่อมวลชน ซึ่ง Meta เคยประกาศ (เชิงขู่) แบนข่าวในแคนาดา ไปก่อนหน้านี้แล้ว
เมื่อวันพฤหัสบดี กฎหมาย Bill C-18 ได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภา และจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ หลังกฎหมายถูกอนุมัติได้ไม่นาน Meta ก็ประกาศจะยุติการเผยแพร่ข่าวบน Facebook และ Instagram ในแคนาดาก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ โดยขณะนี้ Meta ได้ทดลองแบนการเข้าถึงข่าว ทั้งการดู และ แชร์เนื้อหา กับผู้ใช้บางรายในแคนาดาแล้ว
Meta ออกมาย้ำเตือนอีกครั้งว่าจะตัดการเข้าถึงข่าวบนแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram ในแคนาดา มากกว่าที่จะปฏิบัติตามที่ แคนาดาออกกฎหมายให้แพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้สำนักข่าว
กฎหมาย Online News Act หรือที่เรียกว่า C-18 จะบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์จ่ายเงินให้สำนักข่าวหรือบุคคลที่ทำข่าว ดังนั้นแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Google ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้สำนักข่าวสำหรับการผลิตและแชร์เนื้อหาข่าวบนแพลตฟอร์ม และจะส่งผลให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้อาจจะต้องเสียเงินหลายล้านดอลลาร์ต่อปี
รัฐบาลแคนาดาเป็นประเทศล่าสุดที่ออกคำสั่งห้ามใช้งาน TikTok ในอุปกรณ์สื่อสารของรัฐบาล ด้วยเหตุผลว่ากลัวความลับหรือข้อมูลสำคัญของภาครัฐรั่วไหล ตามหลัง สหรัฐอเมริกา และ EU ที่ออกคำสั่งแบบเดียวกันไปแล้ว
คำสั่งแบนของรัฐบาลแคนาดามีผลในวันนี้ 28 ก.พ. 2023 โดยแอพจะถูกถอนการติดตั้งจากอุปกรณ์รัฐบาลทั้งหมด และบล็อคการดาวน์โหลดใหม่ในอนาคต ส่วนการใช้งานบนเครื่องส่วนตัว รัฐบาลบอกว่าไม่บังคับ และขึ้นกับวิจารณญาณส่วนบุคคล
โฆษกของ TikTok Canada ออกแถลงการณ์ว่าผิดหวังกับคำสั่งนี้ของรัฐบาล และเป็นคำสั่งที่ไม่ชี้แจงรายละเอียดว่า TikTok อันตรายอย่างไร
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมาโรงพยาบาลเด็ก SickKids ในเมืองโตรอนโตประเทศแคนาดาถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ LockBit จนระบบจำนวนมากทำงานไม่ได้ ทั้งระบบไอทีภายใน, ระบบโทรศัพท์, และเว็บโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลกู้ระบบช่วงสิ้นปีจนกลับคืนมาได้ประมาณครึ่งหนึ่งแต่การทำงานโดยรวมก็ยังลำบาก ล่าสุดทางกลุ่ม LockBit ออกมาขออภัยการโจมตีครั้งนี้ และมอบกุญแจถอดรหัสโดยไม่คิดค่าไถ่
LockBit เป็นกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ให้บริการแบบ Ransomware-as-a-Service แฮกเกอร์ในเครือข่ายจะนำมัลแวร์เข้าไปโจมตีองค์กรต่างๆ จากนั้นเมื่อเรียกค่าไถ่สำเร็จก็จะแบ่งผลประโยชน์กันระหว่างตัวแฮกเกอร์และผู้ให้บริการมัลแวร์ กลุ่ม LockBit เองปกติเรียกค่าบริการประมาณ 20% ของค่าไถ่
Meta แถลงผ่านบล็อก ว่าบริษัทกำลังพิจารณาว่าอาจปิดไม่ให้ผู้ใช้งาน Facebook ในแคนาคาทำการโพสต์บทความข่าวบนแพลตฟอร์ม หลังจากที่แคนาดาเตรียมออกกฎหมาย Online News Act (Bill C-18)ซึ่งระบุว่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่น Facebook ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้สำนักข่าวท้องถิ่น
ท่าทีของ Meta นี้ได้ถูกสื่อออกมาภายหลังการประชุมของ House of Commons Heritage Committee (CHPC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่กำกับดูแลเกี่ยวกับแผนงานด้านวัฒนธรรม, ศิลปะ, ภาษา, กีฬา และการสื่อสารของประชาชน โดยสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวง Department of Canadian Heritage โดยการประชุมดังกล่าวว่าด้วยเรื่องกฎหมายใหม่ Online News Act นี้ซึ่งไม่ได้มีการเชิญตัวแทน Meta เข้าร่วมหารือด้วย (แต่มีตัวแทนของ Google เข้าร่วมให้ความเห็นหลังการร้องขอจาก Google)
รัฐบาลเยอรมนีออกแถลงการณ์ว่าในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ นาย Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีแคนาดาและนาย Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีเยอรมนีจะลงนามในโปรเจ็ค โรงงานผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียจากพลังงานลม โดยจะสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียเพื่อการส่งออกขึ้นในเมือง Stephenville รัฐ Newfoundland and Labrador ที่สำคัญคือโรงงานจะใช้พลังงานลมในการผลิตไฮโดรเจนแทนก๊าซธรรมชาติซึ่งมีข้อดีคือจะไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
บริษัท World Energy GH2 ซึ่งอยู่เบื้องหลังโครงการนี้ระบุว่าจะสร้างกังหันลมจำนวน 164 ตัวที่ท่าเรือน้ำลึกริมชายฝั่งเมือง Stephenville ในมลรัฐ Newfoundland and Labrador เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน และมีแผนจะขยายโครงการให้ใหญ่ขึ้นอีก 3 เท่าในอนาคต
Tim Hortons เชนร้านกาแฟรายใหญ่จากแคนาดา ถูกตรวจพบว่าแอพมือถือของแบรนด์แอบเก็บข้อมูลพิกัด (geolocation) ของลูกค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมก่อน ในช่วงปี 2019-2020 และถูกหน่วยงานด้านข้อมูลส่วนบุคคลของแคนาดาสอบสวน
เรื่องนี้เป็นผลมาจาก Tim Hortons ใช้ระบบเก็บพิกัดของบริษัท Radar อีกต่อหนึ่ง โดยเก็บพิกัดของผู้ใช้แทบตลอดเวลา (แม้แอพรันอยู่ในแบ็คกราวน์) เพื่อใช้ตรวจเช็คว่าผู้ใช้เดินทางไปกลับจากบ้านและที่ทำงานอย่างไร และซื้อโดนัทจากร้านคู่แข่งรายไหนบ้าง
Rogers เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในแคนาดาชี้แจง เหตุล่มครั้งใหญ่เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าเกิดจากการอัพเกรดระบบที่วางแผนมานาน และค่อยๆ ปรับทีละเฟสจากทั้งหมด 7 เฟส และช่วงเวลาที่มีปัญหาคือเฟสที่ 6 เกิดคอนฟิกผิด ทำให้ลบ routing filter ในเราท์เตอร์ออกไปจนระบบล่ม