ศึกในวงการ WordPress ระหว่าง Automattic ของ Matt Mullenweg ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง WordPress และให้บริการ wordpress.com กับ WP Engine บริษัทโฮสติ้ง WordPress ยังดำเนินต่อไป ล่าสุด Automattic ได้ เผยแพร่ ข้อตกลงที่เสนอให้กับ WP Engine เมื่อวันที่ 20 กันยายน เพื่อยืนยันว่าไม่ใช่ การขู่เรียกเงิน แบบที่ WP Engine ระบุ
Matt Wullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress ออกมาอธิบายสาเหตุของ ความขัดแย้งระหว่าง WordPress กับ WP Engine ผ่านบล็อกส่วนตัวของเขาเอง ว่ามาจาก WP Engine ละเมิด เครื่องหมายการค้าWordPress มายาวนานหลายปี
ฝั่งบริษัท Automattic ของ Matt พยายามเจรจาให้ WP Engine ซื้อไลเซนส์เครื่องหมายการค้ามานาน แต่ไม่เคยสำเร็จ ข้อเสนอที่ Automattic ยื่นให้มีทั้งการจ่ายเงินค่าไลเซนส์ตรงๆ หรือจะเป็นการสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สแทนก็ได้ เพราะจริงๆ แล้ว Automattic ไม่ได้ต้องการเงิน แต่คาดหวังว่าบริษัทอย่าง WP Engine ที่ทำเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์จาก WordPress ควรให้อะไรคืนกลับโครงการโอเพนซอร์สบ้าง แต่ WP Engine ปฏิเสธข้อเสนอทุกอย่าง
ก่อนหน้านี้แอปเปิลประกาศว่า App Store จะ เปิดให้แอปอีมูเลเตอร์ลงสโตร์ ได้ ซึ่งนักพัฒนาต้องรับผิดชอบส่วนซอฟต์แวร์เกมที่ให้ดาวน์โหลดทั้งหมด จึงคาดเดาว่านินเทนโดน่าจะดำเนินการฟ้องแอปอีมูเลเตอร์ที่มีอยู่บ้าง
ล่าสุดมีกรณีการเกือบถูกฟ้องร้องของผู้พัฒนาแอปอีมูเลเตอร์แล้ว แต่คนฟ้องไม่ใช่นินเทนโด โดย Delta แอปอีมูเลเตอร์ ยอดนิยมตัวหนึ่งบน App Store ตอนนี้ ถูกทนายของ Adobe ยื่นคำเตือน ว่าโลโก้แอปนั้นคล้ายกับโลโก้ตัว A ของ Adobe และให้เปลี่ยนโลโก้ นอกจากนี้ Delta ก็ได้รับคำเตือนจากแอปเปิล ซึ่งอ้างเหตุผลของ Adobe เช่นเดียวกัน
สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา ปฏิเสธคำขอของ OpenAI ที่ต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GPT"โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำอธิบายลักษณะทั่วไป จึงไม่สามารถให้เครื่องหมายการค้าได้
ด้าน OpenAI มีมุมมองที่ต่างออกไป โดยบอกว่าบริษัทเป็นคนที่ทำให้คำว่า GPT เป็นที่รู้จัก ซึ่งย่อมาจากคำว่า Generative Pre-trained Transformer จึงควรได้รับเครื่องหมายการค้านี้ อย่างไรก็ตามสำนักงานสิทธิบัตรก็มองว่ามีหน่วยงานจำนวนมากที่ใช้คำว่า GPT มานานแล้ว ในความหมายแบบเดียวกัน
Remedy Entertainment ค่ายเกมชื่อดังจากฟินแลนด์ผู้สร้าง Alan Wake ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าชื่อ FBC: Firebreakกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (EUIPO) โดยระบุว่าชื่อนี้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์เกมคอมพิวเตอร์, เสื้อผ้า, การผลิตเสียง, วิดีโอและมัลติมีเดีย และการถ่ายภาพ คาดว่าเกมนี้เป็น เกมยิงสำหรับเล่นหลายคนที่อยู่ในจักรวาลเดียวกับ Control ที่มีโค้ดเนมว่า Project Condor
หลังจาก Twitter เปลี่ยนโลโก้เป็น X ผู้คนก็เริ่มจับตามองค่าย Meta ว่าสนใจจะลอกอะไรอีกหรือไม่ จนมีคนไปค้นเจอว่า Meta เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า X สำหรับบริการโซเชียลมาตั้งแต่ปี 2019
แต่เครื่องหมายการค้า X ตัวนี้ไม่ใช่ของใหม่ที่น่าตกใจ เพราะมันคือโลโก้ของ Mixer บริการไลฟ์สตรีมเกมของไมโครซอฟท์ที่ต้องปิดตัวลงในปี 2020 และโอนลูกค้าไปยัง Facebook Gaming แทน จึงไม่น่าแปลกใจนักที่ Meta กลายเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า X ของ Mixer ด้วย
HuaweiCentral (HC) Newsroom เปิดเผยว่า HUAWEI เคยจดเครื่องหมายการค้า Vision Pro หมายเลขจดทะเบียน 38242888 ไว้ตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งอาจทำให้ Apple ต้องทำการเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ในประเทศจีน
HUAWEI ได้ยื่นจดเครื่องหมายการค้า ที่มีอายุตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2021 - 27 พฤศจิกายน 2031 ครอบคลุมสินค้าพวก อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, เมาส์, ปากกาและอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ VR Headset แบบสวมศีรษะ และ Wearable Video Displays
Valve ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า CS2 กับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ โดยเอกสารคำขอมีอ้างอิงถึงเครื่องหมายการค้าเก่า Counter-Strike และ CSGO ว่ามีความเกี่ยวโยงกัน
ก่อนหน้านี้ มีข้อความ CS2 และ CSGO2 ปรากฏอยู่ในไดรเวอร์ของ NVIDIA ทำให้เกิดการคาดเดาเรื่องการออก Counter-Strike 2 ขึ้นมา และล่าสุดการขอจดเครื่องหมายการค้าถือเป็นสัญญานอีกข้อของเรื่องนี้
ที่มา - PCGamesN
- Read more about พบ Valve ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า CS2
- 11 comments
- Log in or register to post comments
ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ยื่นจดเครื่องหมายการค้า "TikTok Music" ในสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดประเด็นว่า ByteDance สนใจเข้ามาทำตลาดเพลงแบบสตรีมมิ่งแข่งกับ Sportify, Apple Music หรือไม่
ในช่วงที่ผ่านมา TikTok เริ่มมีอิทธิพลกับวงการเพลงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เพลงที่นิยมใน TikTok อาจทำให้เกิดการฟังเพลงนั้นเพิ่มขึ้นจนกลับมาติดชาร์ทเพลงยอดฮิต และจริงๆ แล้ว ByteDance เองก็มีแอพฟังเพลง Resso ที่ทำตลาดในประเทศกำลังพัฒนาบางแห่ง เช่น อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย จึงเป็นไปได้ว่าอาจใช้เอนจิน Resso มารีแบรนด์เป็น TikTok Music ที่น่าจะเจาะตลาดได้ดีกว่า
EA ประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว หลัง มีข่าว สัปดาห์ก่อน ว่าเกมฟุตบอล EA FIFA จะเปลี่ยนชื่อเป็น EA Sports FC ตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งประเด็นว่า EA ต้องการรีแบรนด์เกมฟุตบอลนี้ มีข่าวมาตั้งแต่ปี 2021
นอกจากชื่อที่เปลี่ยน ในส่วนอื่นของเกมน่าจะยังเหมือนเดิม เพราะ EA บอกว่ายังคงมีพาร์ตเนอร์มากกว่า 300 ราย ทั่วโลก ทำให้มีข้อมูลผู้เล่นมากกว่า 19,000 คน จากกว่า 700 ทีมฟุตบอล ใน 100 สนามแข่งขัน และลีกมากกว่า 30 รายการทั่วโลก ซึ่งรวมทั้ง Premier League, LaLiga, Bundesliga และ UEFA
Jeff Grubb นักข่าวของเว็บเกม Giant Bomb อ้างแหล่งข่าวว่า EA ตัดสินใจเดินหน้า แผนการเลิกใช้ชื่อเกม FIFA หลังตกลงสัญญาฉบับใหม่กับ FIFA ไม่ได้ โดยชื่อใหม่คือ EA Sports Football Club หรือ EA Sports FC ตามที่เคยหลุดออกมาก่อนหน้านี้ และเป็นชื่อที่ EA จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเรียบร้อยแล้ว
ในอีกด้าน องค์กร FIFA เองก็ปรับแก้รายละเอียดเครื่องหมายการค้าของชื่อ FIFA ให้ครอบคลุมถึง "วิดีโอเกม" ด้วย เป็นสัญญาณว่าเราจะได้เห็น FIFA ทำเกมเอง หรือหาบริษัทอื่นมาทำเกมภายใต้ชื่อ FIFA ในอนาคต ซึ่ง ตรงกับแนวทางของ FIFA ที่บอกว่าไม่ต้องการให้บริษัทใดมาผูกขาดชื่อเพียงรายเดียว
Elastic Inc และ AWS มีปัญหากันมานานจากความไม่พอใจที่ AWS ตั้งชื่อบริการว่า Amazon Elasticsearch Service นำไปสู่การเปลี่ยนไลเซนส์ของ Elasticsearch จนทำให้ทุกวันนี้ ไม่ถือว่าเป็นโครงการโอเพนซอร์สอีกต่อไป ล่าสุดทาง Elastic ก็ยุติคดีความเรื่องเครื่องหมายการค้าชื่อ Elasticsearch กับ AWS แล้ว
ข้อตกลงนี้ทำให้บริการต่างๆ ที่ขายโดย AWS เอง และผู้ให้บริการภายนอกที่ขายบน AWS Marketplace ต้องเปลี่ยนชื่อหลบ Elasticsearch ของ Elastic Inc ทั้งหมด
Ice Universe บัญชีนักปล่อยข่าวหลุดสายมือถือชื่อดัง พบว่าซัมซุงยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเกาหลีใต้ โดยมีชื่อซีรีส์สินค้ากลุ่ม Galaxy ทุกตัว ยกเว้น Galaxy Note
ที่ผ่านมา ซัมซุงเกาหลีใต้เคยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามชื่อรุ่นอยู่แล้ว (เช่น "Samsung Galaxy Z Flip" หรือ "Galaxy S20") ส่วนการยื่นขอจดทะเบียนรอบล่าสุดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2021 เป็นการจดทะเบียนชื่อซีรีส์ 4 ชื่อ ได้แก่
Yahoo! Japan ซึ่งปัจจุบันเป็น บริษัทลูกของ Z Holdings ที่มี SoftBank เป็นเจ้าของ ประกาศบรรลุข้อตกลงในการใช้ไลเซนส์เครื่องหมายการค้า Yahoo! และ Yahoo! Japan ในญี่ปุ่น
ในข้อตกลงนี้ Yahoo! Japan จะยกเลิกข้อตกลงในการใช้เครื่องหมายการค้าเดิม ที่ต้องจ่ายค่ารอยัลตี้รายปี พร้อมข้อกำหนดต่าง ๆ เปลี่ยนเป็นการซื้อสิทธิมูลค่า 1.785 แสนล้านเยน ทำให้ Yahoo! Japan มีความคล่องตัวในการนำเครื่องหมายการค้า Yahoo! นี้มาใช้กับบริการต่าง ๆ ในเครือได้ง่ายขึ้น
ข้อตกลงนี้จะเริ่มมีผลหลัง ดีล Verizon ขาย Yahoo และบริษัทในเครือให้กับบริษัทการลงทุน Apollo เสร็จสิ้น
Tesla จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ โดยระบุว่าเป็นแบรนด์ด้านธุรกิจอาหาร เป็นสัญญาณว่าบริษัทเตรียมเดินเครื่องดำเนินธุรกิจด้านร้านอาหารอย่างจริงจังแล้ว หลังจากที่ Elon Musk เคยทวีตไว้ช่วงต้นปี 2018
ข้อมูลจากเอกสารที่ยื่นต่อ USPTO เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมระบุว่า Tesla ได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ 3 รายการ ครอบคลุมในหมวดบริการร้านอาหาร, บริการร้านอาหารแบบป๊อปอัพ, ร้านอาหารแบบบริการตัวเอง และบริการร้านอาหารแบบเทคเอาท์ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดก่อนการอนุมัติ
Nothing บริษัทใหม่ของ Carl Pei ผู้ร่วมก่อตั้ง OnePlus เข้าซื้อแบรนด์สมาร์ทโฟน Essential จากเจ้าของเก่า Andy Rubin บิดาแห่ง Android ที่ปิดตัวในช่วงต้นปี 2020
9to5google ค้นพบเอกสารการโอนทรัพย์สินทางปัญญา ชื่อแบรนด์ โลโก้ ที่ Nothing ยื่นต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ กระบวนการเสร็จสิ้นตั้งแต่ 6 มกราคม 2021
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า Nothing อยากได้แบรนด์ Essential ไปทำไม เพราะตัวแบรนด์ Essential เองก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก
ที่มา - 9to5google
Apple ยื่นหมายคัดค้านการใช้โลโก้รูปลูกแพร์ของ Prepear แอปจัดเมนูอาหารและทำรายการซื้อของเพื่อทำอาหารเมนูต่างๆ เพราะโลโก้ของแอป Prepear “ประกอบด้วยรูปผลไม้ในสไตล์มินิมอล พร้อมใบไม้ที่เอียงไปด้านขวา” ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้นึกถึงโลโก้ Apple และเกิดผลทางการค้าได้ นอกจากนี้ยังเป็นโลโก้ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และบริการเกี่ยวกับสุขภาพ สารอาหาร การบริโภค และเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งใกล้เคียงกับสินค้าที่ Apple อาจทำ และทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของแอปจาก Apple
มีคนตาดีไปค้นเจอว่า ไมโครซอฟท์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Series X แบบเงียบๆ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา โดยชนิดของสินค้าครอบคลุมวิดีโอเกม รวมถึงเสื้อผ้า แก้วน้ำ ของที่ระลึกต่างๆ ด้วย
สถานะของเครื่องหมายการค้ายังเพิ่งเข้ามาในระบบ ยังไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ แต่ก็เผยให้เห็นโลโก้ของ Xbox Series X ที่เขียนคำว่า Series ในแนวตั้ง และตัวอักษร X มีช่องว่างตรงกลางด้วย
ที่มา - USPTO , Reddit , Windows Central
กูเกิลจดเครื่องหมายการค้าคำว่า Pigweed โดยระบุว่าอยู่ในหมวดระบบปฏิบัติการ แต่ยังไม่มีข้อมูลอื่นใดมากกว่านี้
เว็บไซต์ 9to5google ค้นพบคำว่า pigweed ใน โค้ดของระบบปฏิบัติการ Fuchsia แต่โค้ดที่อ้างถึง Pigweed ถูกแก้เป็น Fuchsia แทน พร้อมคอมเมนต์ว่าเป็นการอ้างถึงที่ผิดพลาด ตอนนี้จึงไม่แน่ชัดว่า Pigweed เป็นระบบปฏิบัติการใหม่แยกต่างหาก หรือยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fuchsia
ชื่อ Pigweed เป็นวัชพืชกลุ่มหนึ่งในวงศ์บานไม่รู้โรย (Amaranthaceae) ค่อนข้างมีลักษณะคล้ายกับผักโขม
Huawei ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Huawei VR Glassและ Huawei AR Glassกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของยุโรป (EUIPO) โดยคาดว่าสินค้าน่าจะเปิดตัวในงาน IFA 2019 ช่วงเดือนกันยายนนี้ (น่าจะเปิดตัวไล่เลี่ยหรือพร้อมกับ Huawei Mate 30)
ก่อนหน้านี้เพิ่งมีข่าวว่า Huawei เซ็นสัญญากับ Gentle Monster แบรนด์แฟชั่นจากเกาหลีใต้ ซึ่งทั้งสองบริษัทจะร่วมกันออกแบบแว่น VR/AR และ Huawei เคยให้ข้อมูลว่ามันจะรองรับการสั่งงานด้วยเสียงด้วย
ที่มา - Gizmo China
เปิดตัวมาไม่ทันไรก็งานเข้าซะแล้ว Facebook Calibra กระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับสกุลเงิน Libra ถูก Current สตาร์ตอัพธนาคารดิจิทัลแบบไม่มีสาขา ออกมาโวยว่าโลโก้ของ Calibra แทบจะเหมือนกับ Current ทุกประการ
ยิ่งไปกว่านั้น Stuart Sopp ซีอีโอของ Current ยังเล่าว่า Facebook จ้างบริษัทออกแบบเจ้าเดียวกับที่ทำโลโก้ให้ Current ด้วย นั่นคือบริษัท Character ในซานฟรานซิสโก ซึ่งรับงานออกแบบให้บริษัทไอทีหลายราย (เช่น Google, Uber, Fitbit, Adobe)
จากกรณี ศาลอินเดียตัดสิน ASUS ไม่สามารถใช้แบรนด์ ZenFone, ZenBook ทำตลาดในประเทศได้ หลายคนอาจสงสัยกันว่า ASUS จะรับมือปัญหานี้อย่างไร และใช้แบรนด์อะไรทำตลาดแทน
ตอนนี้คำตอบออกมาแล้ว โดย หน้าเพจของ ASUS ZenFone 6z บนเว็บอีคอมเมิร์ซอินเดีย ได้ตัดคำว่า "ZenFone" ออก และใช้เพียงชื่อ "ASUS 6z" สั้นๆ อย่างไรก็ตาม ใน URL ของเว็บเพจยังมีคำว่า zenfone ของเดิมติดอยู่
ศาลสูงในกรุงเดลีย์มีคำตัดสินไม่ให้ ASUS ใช้แบรนด์ Zen ไม่ว่าจะ ZenFone หรือ ZenBook ในผลิตภัณฑ์ใดๆ ของตัวเองตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคมเป็นต้นไป หลังบริษัท Telecare Network ยื่นฟ้องว่าตนเองถือสิทธิ์ใช้แบรนด์ ZEN และ ZENMOBILE ในอินเดียอยู่ก่อนแล้ว
Telecare อ้างว่าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2008 ส่วน ASUS เข้ามาทำตลาดทีหลังในปี 2014 รวมถึงทั้งสองแบรนด์ทำสมาร์ทโฟนในกลุ่มราคาเดียวกัน ทำให้ผู้บริโภคอาจสับสนได้ด้าน ASUS แย้งว่า Zen ที่เอามาใช้นำมาจากปรัชญาของนิกายเซน (Zen) ทำให้คำว่า Zen เป็นคำทั่วไป (generic) อยู่แล้ว รวมถึงว่า ZenFone มักมาคู่กับแบรนด์ ASUS อยู่แล้ว ไม่น่าทำให้ผู้บริโภคสับสน
เว็บไซต์ Android Headliners ค้นพบว่า Huawei ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Huawei Ark OS", "Huawei Ark", "Ark", "Ark OS" ต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (EUIPO) โดยเพิ่งยื่นขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า Ark OS คืออะไร และ มีความเชื่อมโยงกับ Hongmeng OS อย่างไรบ้าง แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงว่ามันคือระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน และ Ark OS คือชื่อของ Hongmeng OS ที่ใช้ทำตลาดนอกประเทศจีน
ที่มา - Android Headliners
พูดถึงกันมาเยอะกับระบบปฏิบัติการ Hongmeng OS ของ Huawei ล่าสุดมีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า Huawei จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Hongmeng" เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์ของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีน (China's National Intellectual Property Administration) ระบุว่า Huawei ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าคำว่า Hongmeng ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2018 และได้รับอนุมัติในวันที่ 14 พฤษภาคม 2019 มีอายุคุ้มครองนาน 10 ปี
ตอนนี้เรายังไม่มีรายละเอียดของ Hongmeng OS มากนัก นอกเหนือจากที่ Richard Yu ผู้บริหารสูงสุดฝั่งธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Huawei ที่ออกมาพูดถึงระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่ใช้กับอุปกรณ์ได้ทุกประเภท และบอกเพียงว่ามันรันแอพ Android และเว็บแอพได้