Arm เปิดตัวสถาปัตยกรรมคำสั่ง (Instruction Set Architecture - ISA) ชุดใหม่ Arm v9 หลังจากเปิดตัวสิบปีหลัง Arm v8 เปิดตัวเมื่อปี 2011 ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเพราะ Arm เริ่มรองรับคำสั่งขนาด 64 บิตเป็นครั้งแรกจนกระทั่งชิป Arm มีความสามารถระดับเดสก์ทอปเช่นทุกวันนี้
ทาง Arm ยกตัวอย่างฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Arm v9 ได้แก่
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Fugaku ของสถาบันวิจัย Riken ประเทศญี่ปุ่น ( ขึ้นอันดับ 1 ของโลกในอันดับ TOP500 รอบเดือนมิถุนายน 2020 ) พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้นักวิจัยเข้ามาใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว
Fugaku เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดย Fujitsu และใช้ซีพียู Fujitsu A64FX ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM จึงถือเป็นครั้งแรกที่ ARM ได้ครองตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก ตัวระบบเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยส่วนใหญ่รันงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
Amazon เริ่มใช้งาน ซีพียูออกแบบเอง Graviton2 ที่เป็น ARM ใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์บน AWS โดยชูจุดเด่นเรื่องราคา/ประสิทธิภาพที่ดีกว่า x86 แต่ในช่วงแรกๆ ยังใช้เฉพาะบริการเช่าเครื่อง EC2 โดยตรงเท่านั้น
ช่วงหลัง Amazon เริ่มนำ Graviton2 มาใช้กับบริการอื่นๆ ในเครือ AWS เพิ่มมากขึ้น บริการล่าสุดคือฐานข้อมูล Amazon Aurora (ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของ AWS เองที่เข้ากันได้กับ MySQL/PostgreSQL) ที่หันมาใช้เครื่อง Graviton2 โดยระบุว่ามีประสิทธิภาพดีขึ้นสูงสุด 20% และราคาต่อประสิทธิภาพดีขึ้นสูงสุด 35%
CNBC อ้างแหล่งข่าวว่า Qualcomm เดินสายพบปะหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆ เพื่อคัดค้าน ดีล NVIDIA ซื้อ Arm
เหตุผลที่ Qualcomm คัดค้านก็เพราะกลัวว่า NVIDIA จะกีดกันผู้ผลิตชิปรายอื่นๆ ไม่ให้เข้าถึงสิทธิบัตรและเทคโนโลยีของ Arm
ตามข่าวบอกว่า Qualcomm พูดคุยกับคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC), คณะกรรมการยุโรป (European Commission), คณะกรรมการการแข่งขันของอังกฤษ (Competition and Markets Authority) และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีน (State Administration for Market Regulation)
NVIDIA จำเป็นต้องให้หน่วยงานเหล่านี้อนุมัติการซื้อกิจการ โดยในสหรัฐ FTC ยังอยู่ในขั้นตรวจสอบ และขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
Bloomberg รายงานข่าวว่า ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทล่าสุดที่กำลังออกแบบชิป ARM ใช้เอง โดยตั้งเป้าจะใช้กับศูนย์ข้อมูลก่อน แต่ในระยะถัดไป อาจมีชิปที่ใช้กับอุปกรณ์ตระกูล Surface ด้วย
ตามข่าวบอกว่า หน่วยออกแบบชิปของไมโครซอฟท์อยู่ภายใต้ Jason Zander หัวหน้าธุรกิจคลาวด์ Azure แทนที่จะเป็น Panos Panay ที่เป็นคนคุมทีม Surface จึงแสดงให้เห็นว่าชิปของไมโครซอฟท์เน้นใช้กับ Azure
โฆษกไมโครซอฟท์ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ แต่พูดกว้างๆ ว่าไมโครซอฟท์มีทั้งลงทุนในชิปของตัวเอง และใช้ชิปของพาร์ทเนอร์จำนวนมาก
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 21277 ของใหม่ที่สำคัญคือรองรับการรันแอพ 64 บิต x64 ผ่านอีมูเลเตอร์บน ARM ตามที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม
การรองรับแอพ x64 ถือเป็นการทิ้งช่วงยาวนานถึง 3 ปีนับจากการเปิดตัว Windows on ARM ช่วงปลายปี 2017 ซึ่งรองรับเฉพาะแอพ x86 แบบ 32 บิตเท่านั้น
ไมโครซอฟท์บอกว่าสามารถลองติดตั้งแอพ x64 จาก Microsoft Store หรือจะติดตั้งเองก็ได้ ตัวอย่างแอพที่ถูกเอ่ยชื่อได้แก่ Autodesk Sketchbook, Rocket League และ Chrome ที่จะกลายเป็น x64 บน ARM64 มีผลให้เรียกใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้น
หนึ่งในแอพที่คนน่าจะถามหามากที่สุดบน Apple Silicon คือ Photoshop ตอนนี้ออกรุ่นทดสอบ Beta แล้ว (รวมถึงรุ่นทดสอบสำหรับ Windows ARM ก็ออกมาช่วงไล่เลี่ยกัน)
Adobe บอกว่ารุ่นทดสอบนี้รองรับฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับแต่งภาพ แต่ก็ยังขาดฟีเจอร์อีกหลายอย่าง เช่น Camera RAW, ฟีเจอร์กลุ่ม Content Aware, Healing Brush หรือบางฟีเจอร์ที่ยังมีบั๊กอยู่ เช่น การนำไฟล์เข้ามาจาก Lightroom ซึ่งจะทยอยแก้ไขใน Beta ถัดๆ ไป
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก .NET 5 มาตั้งแต่กลางปี 2019 และออกรุ่นพรีวิวมาตลอดปี 2020 ตอนนี้ถึงเวลาออกรุ่นเสถียร .NET 5.0 แล้ว
.NET 5.0 เป็นก้าวแรกของการหลอมรวมจักรวาล .NET ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากการรวม .NET Framework และ .NET Core ก่อน ( ตามแผนเดิมจะรวม Xamarin/Mono ด้วยแต่ทำไม่ทัน เลื่อนไปรวมใน .NET 6.0 ออกปีหน้าแทน )
Arm เปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรม Cortex-A78C ซึ่งเป็นเวอร์ชันย่อยของ Cortex-A78 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยอัพเกรดประสิทธิภาพเพื่อใช้กับโน้ตบุ๊ก
ตอนนี้ซีพียูตระกูล Cortex-A78 มีด้วยกัน 3 เวอร์ชันย่อยคือ
- Cortex-A78 สำหรับสมาร์ทโฟน
- Cortex-A78AE สำหรับรถยนต์ (automotive)
- Cortex-A78C สำหรับโน้ตบุ๊ก (compute)
AWS เปิดตัวซีพียู Graviton ของตัวเอง (เป็น ARM) ในปี 2018 , อัพเกรดเป็น Graviton 2 ในปี 2019 และ เพิ่งเริ่มนำ Graviton 2 มาให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2020 นี้เอง
ล่าสุด AWS ประกาศว่าบริการ Amazon ElastiCache จะเริ่มนำ instance ที่เป็นซีพียู Graviton 2 (M6g และ R6g) มาใช้งานแล้ว ความน่าสนใจคือ ElastiCache จะเลือกใช้ Graviton 2 เป็นค่าดีฟอลต์ด้วย ถ้าลูกค้าไม่เปลี่ยนค่าอะไร แปลว่าจะรันบน ARM แทนที่จะเป็น x86 นั่นเอง
VS Code ออกอัพเดตรายเดือนตามรอบปกติ แต่รอบบนี้มีจุดเด่นคือการรองรับ ลินุกซ์ที่รันบนชิปสถาปัตยกรรม ARMv7 และ ARM64 ทำให้สามารถใช้งาน VS Code ได้บน Raspberry Pi แม้ไม่ได้ระบุว่ารุ่นใดบ้าง แต่น่าจะครอบคลุมแทบทุกรุ่นเพราะบอร์ด Raspberry Pi เก่าๆ ก็เป็น ARMv7 แล้ว นอกจากนี้ยังรองรับ Chromebook ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM ไปพร้อมกัน
นอกจากจะใช้รัน VS Code แบบเต็มบน Raspberry Pi แล้ว การรองรับครั้งนี้ยังรองรับการรันแบบ Remote Development ทำให้เครื่องเดสก์ทอปสามารถรีโมตเข้าไปแก้ไขโค้ดบน Raspberry Pi ได้
เมื่อช่วงกลางปี เราเห็น Arm เปิดตัว Cortex-X1 แกนซีพียูรุ่นพิเศษที่แรงที่สุดของบริษัท ที่ขายไลเซนส์แบบคัสตอมให้ผู้ผลิตซีพียูรายอื่นซื้อไปใช้งานอีกที
รูปแบบการใช้งานคือใช้ Cortex-X1 ตัวเดียวเป็นแกนหลัก บวกด้วยแกนชนิดอื่นๆ เช่น Cortex-A78 หรือ Cortex-A55 เข้ามาเสริม (จะกลายเป็น 1+3+4 คอร์ แทนที่จะเป็น 4+4 คอร์ แบบที่นิยมใช้กัน)
พาร์ทเนอร์ที่ Arm เคยระบุชื่อไว้คือซัมซุง ทำให้ตอนนี้เริ่มมีข่าวลือออกมาว่า Exynos 2100 ตัวใหม่ของซัมซุง (น่าจะใช้กับ Galaxy S21) จะใช้ Cortex-X1 ด้วย แถมยังมีตัวเลขเบนช์มาร์คหลุดจาก Geekbench เป็นหลักฐานออกมาด้วย
ARM ประกาศในงาน ARM DevSummit ว่าซีพียูตระกูล Cortex-A ที่จะออกในปี 2022 เป็นต้นไปจะรองรับชุดคำสั่ง 64 บิตเท่านั้น
ARM ระบุว่าตอนนี้แอป (น่าจะหมายถึงที่รองรับสถาปัตยกรรม ARM) ราว 60% รองรับ 64 บิตเรียบร้อยแล้ว ขณะที่นักพัฒนาก็มีเวลาปรับปรุงแอป เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จริงจะออกถึงผู้บริโภคก็น่าจะราวปี 2023 ขณะที่ Google ก็เริ่มบังคับให้แอปที่ส่งขึ้น Play Store ต้องรองรับ 64 บิต ไปแล้ว แม้ตัวระบบปฏิบัติการเองจะยังคงรองรับ 32 บิตอยู่ ตรงกันข้ามกับ iOS ที่ประกาศแล้วว่าจะไม่รองรับแอป 32 บิตในปี 2022 เป็นต้นไป
ที่มา - XDA
VMware เปิดตัว ESXi Arm Edition รองรับการรัน ESXi บนซีพียู Arm เต็มรูปแบบ หลังจากในงาน VMworld เพิ่ง ประกาศ Project Monterey ที่นำ ESXi ไปรันบน SmartNIC ที่เป็นชิป Arm เช่นกัน แต่เป็นการรันงานบางส่วนเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการใช้งานครั้งแรกของโครงการ ESXi Arm ที่ยังอยู่ระหว่างการทดสอบกับผู้ผลิต วันนี้ทาง VMware ประกาศปล่อย ESXi Arm ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาใช้งานในโครงการ Fling ที่เป็นโครงการพิเศษเพื่อให้ชุมชนได้ทดสอบฟีเจอร์หรือโครงการใหม่ๆ และให้ความเห็นกับทาง VMware
- Read more about VMware เปิดให้ดาวน์โหลด ESXi Arm รองรับ Raspberry Pi
- 4 comments
- Log in or register to post comments
ความเคลื่อนไหวแรกหลัง NVIDIA ซื้อ Arm คือการประกาศพอร์ตซอฟต์แวร์ของตัวเองจำนวนมากไปรันบนสถาปัตยกรรม ARM
ฝั่งของฮาร์ดแวร์นั้น NVIDIA มีผลิตภัณฑ์ที่เป็น ARM อยู่ก่อนหน้าแล้วพอสมควร (ตัวล่าสุดคือ BlueField DPU ที่ได้มาจากการซื้อ Mellanox ) และคงต้องใช้เวลาสักพักเราถึงจะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกตามมา
แต่ฝั่งซอฟต์แวร์นั้นทำได้เลย นอกจาก CUDA on ARM ที่เคยประกาศไปแล้ว ยังมี NVIDIA AI ชุดซอฟต์แวร์เทรนนิ่ง AI, NVIDIA Rapids สำหรับงาน data science, HPC SDK สำหรับงานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง, Nsight เครื่องมือสำหรับ visualization เป็นต้น
จุดอ่อนสำคัญของอุปกรณ์สาย Windows on ARM ในปัจจุบันคือ รองรับการรันแอพ x86 ผ่านอีมูเลเตอร์ แต่เฉพาะแบบ 32 บิตเท่านั้น ทำให้อุปกรณ์อย่าง Surface Pro X มีความน่าสนใจลดลงไปมาก เพราะแอพจำนวนมากยังไม่ซัพพอร์ต
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศสิ่งที่หลายคนรอคอยกันมานานคือ Windows 10 จะรองรับการรันแอพ x86-64 (x64) บน ARM แล้ว โดยจะเริ่มเปิดทดสอบในกลุ่ม Windows Insider ในเดือนพฤศจิกายนนี้
ปกติแล้วเมื่อพูดถึงสินค้าของ Arm เรามักนึกถึงซีพียูตระกูล Cortex แต่จริงๆ แล้ว Arm ยังมีซีพียูแบรนด์อื่นๆ สำหรับงานเฉพาะทาง เช่น SecurCore สำหรับงานด้านความปลอดภัย, Ethos สำหรับงานประมวลผล AI เป็นต้น
เมื่อต้นปี 2019 Arm พยายามบุกตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายด้วย แบรนด์ใหม่ Neoverse โดยเปิดตัวซีพียูมาสองรุ่นคือ Neoverse N1 และ E1
เมื่อวานนี้ Arm ประกาศแผนอัพเดตแพลตฟอร์ม Neoverse ในระยะอีก 2 ปีข้างหน้าคือ 2021-2022 โดยจะออกซีพียูใหม่อีก 2 รุ่นดังนี้
กลายเป็นว่าฝ่ายที่กังวลที่สุดในดีล NVIDIA / Arm ไม่น่าใช่แค่บริษัทผลิตชิปที่กังวลในแง่การแข่งขัน แต่เป็นจีน ที่เกรงว่า Arm จะถูกการเมืองแทรกแซงและเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับที่ Huawei โดน
รองประธานของสมาคมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนเปิดเผยว่าดีไซน์หรือเทคโนโลยีของ Arm ถูกใช้งานในการพัฒนาและออกแบบชิปกว่า 95% ในจีน และการที่สหรัฐเป็นเจ้าของ Arm เป็นอะไรที่ไม่น่าไว้ใจ หากดูจากสิ่งที่สหรัฐทำกับ Huawei เช่นเดียวกับตัวแทนจาก HiSilicon หรือแม้กระทั่งสื่อของรัฐบาลจีนเองที่แสดงความกังวลในแบบเดียวกัน
หลังดีล NVIDIA ซื้อ Arm เมื่อวานนี้ Jack Gold นักวิเคราะห์จาก J. Gold Associates มองว่าดีลนี้อาจส่งผลกระทบกับหลายบริษัทที่ไลเซนส์ชิป Arm ไปใช้ ไม่ว่าจะ Qualcomm, Broadcom แม้กระทั่งแอปเปิล เพราะกลายเป็นว่าโมเดลไลเซนส์ชิปเซ็ตแบบเปิด ถูกบริษัทผลิตชิปคู่แข่งซื้อกิจการ
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EC2 แบบใหม่ T4g ที่ใช้ซีพียู Graviton2 ที่เป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Arm ที่ AWS พัฒนาเอง
T4g ราคาถูกกว่า T3 20% ทำให้ราคาเครื่อง t4g.nano แรม 0.5GB มีค่าใช้งานเพียงเดือนละ 3.024 ดอลลาร์ ที่ราคาศูนย์ข้อมูล US East (Ohio) หรือประมาณ 95 บาทต่อเดือนเท่านั้น นับเป็นเครื่องรุ่นแรกของ AWS ที่ค่าบริการไม่ถึงเดือนละร้อย
T4g คิดค่าใช้งานแบบเครดิตซีพียู โดย AWS จะรับประกันประสิทธิภาพพื้นฐาน (baseline performance) เพียงบางส่วนของประสิทธิภาพคอร์จริง และหากใช้งานไม่เกินก็จะได้เครดิตสำหรับใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพคอร์
วันนี้หลัง NVIDIA ประกาศเข้าซื้อ Arm ก็มีการแถลงข่าวผ่านทางโทรศัพท์เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงการเข้าซื้อครั้งนี้ โดย Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ระบุถึงเหตุผลของการซื้อว่า Arm เป็นแพลตฟอร์มสำหรับ Edge Computing ที่ใหญ่ที่สุดและ NVIDIA ก็เป็นแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำคัญ การรวมตัวตัวจะสร้างโอกาสในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น รถไร้คนขับ, หุ่นยนต์, และ IoT
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือพนักงานของ Arm ที่ถนัดการขายไลเซนส์ชิปอยู่แล้วจะเข้ามาช่วย NVIDIA ขายไลเซนส์เพิ่มเติม น่าสนใจว่าทาง Arm เองก็มีวงจรเร่งความเร็วกราฟิกและปัญญาประดิษฐ์อยู่ก่อนแล้ว การขายไลเซนส์ของ NVIDIA ซ้อนไปด้วยจะอยู่ในรูปแบบใด
อัพเดต NVIDIA ประกาศข่าวเป็นทางการแล้ว การซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2021 หรืออีก 1 ปีถัดจากนี้
NVIDIA ระบุว่าจะยังคงโมเดลความเปิดกว้างในการขายไลเซนส์ของ Arm แก่ลูกค้าทุกรายเหมือนเดิม แม้แต่คู่แข่งของ NVIDIA ก็ตาม ส่วนสำนักงานใหญ่ของ Arm จะยังอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ในอังกฤษเช่นเดิม และ NVIDIA ยังประกาศจะตั้งศูนย์วิจัยด้าน AI ขนาดใหญ่ที่เคมบริดจ์เพิ่มเติมด้วย
ข่าวเดิม
Arm เปิดตัวชิปใหม่ Cortex-R82 สำหรับตลาดอุปกรณ์เรียลไทม์ โดยเน้นตลาดอุปกรณ์สตอเรจ เช่น SSD หรือโซลูชันสตอเรจสำหรับองค์กร ที่ต้องการใช้ชิปสมรรถนะสูงขึ้นมาควบคุมสตอเรจรุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ
Arm มีชิปสาย Cortex-R สำหรับงานเรียลไทม์อยู่แล้วคือ Cortex-R52 ที่ออกในปี 2016 การออก Cortex-R82 จึงถือเป็นการอัพเกรดใหญ่ในรอบ 4 ปี เพื่อให้ได้ชิปตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เมื่อปลายปี 2018 Qualcomm เปิดตัวหน่วยประมวลผล Snapdragon 8cx สำหรับพีซี ARM รันวินโดวส์ โดยชูจุดเด่นเรื่องการประหยัดแบตเตอรี่ และการเชื่อมต่อเครือข่าย LTE ตลอดเวลา (Always On, Always Connected) แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในแง่ยอดขายหรือจำนวนสินค้าที่ใช้งาน (มีเพียง Samsung Galaxy Book S , Lenovo Yoga 5G และ Surface Pro X ที่ใช้ชิป SQ1 ซึ่งเป็น 8cx รุ่นพิเศษ)
แต่ Qualcomm ก็ยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ล่าสุดวันนี้เปิดตัว Qualcomm Snapdragon 8cx Gen 2 5G ที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในบางจุด
เดือนที่แล้วมีรายงานว่า ARM ประกาศแผนโอนย้าย 2 ธุรกิจ IoT ให้ SoftBank เพื่อโฟกัสที่ธุรกิจออกแบบชิปมากขึ้น ล่าสุด ARM ยืนยันว่ายกเลิกแผนการณ์ดังกล่าวแล้ว
โฆษกระบุว่าการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังการพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนแล้วและพบว่าประโยชน์ที่จะเกิดกับบริษัทไม่แตกต่างจากการโอนย้ายให้ SoftBank เลยเลือกที่จะเก็บเอาไว้ แต่บริษัทก็จะแยก 2 ธุรกิจ IoT ให้อยู่คนละส่วนกับธุรกิจออกแบบชิป ทั้งส่วนดำเนินธุรกิจและงานด้านบัญชี อย่างไรก็ตามโฆษกปฏิเสธว่าการตัดสินใจนี้เกี่ยวข้องกับการ ขาย ARM ของ SoftBank หรือไม่
- Read more about ARM ยกเลิกแผนโอนย้าย 2 ธุรกิจ IoT ให้ SoftBank
- Log in or register to post comments